แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

“ชาวบ้านแปดริ้ว” รวมตัวปิดถนน ค้านสร้าง “โรงไฟฟาถ่านหิน” เขาหินซ้อน


Thu, 2010-07-29 22:51

ชาวบ้าน อ.สนามชัยเขต-พนมสารคาม ร่วม 600 คน รวมตัวปิดกั้นถนนสาย 331 เส้นระยอง-สระแก้ว เรียกร้องไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่


วันนี้ (29 ก.ค.53) ชาวบ้าน อ.สนามชัยเขต และ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ร่วม 600 คนรวมตัวกันปิดถนนสาย 331 (เส้นระยอง-สระแก้ว) บริเวณเขตติดต่อหมู่ 7 และหมู่ 13 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม เรียกร้องระงับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินภายในพื้นที่หมู่ 9 ต.เขาหินซ้อน พร้อมตั้งเต็นท์ เวทีปราศรัยกลางถนน


สืบเนื่องจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน กำลังการผลิต 540 เมกกะวัตต์ ของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัทเกษตรรุ่งเรือง ดังกล่าว ผ่านการประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) เมื่อปลายปี 2550 ที่ผ่านมา โดยผ่านรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เมื่อเดือนตุลาคม 2552 และกำลังจะเข้ามาก่อสร้างในนิคมอุตสาหกรรม 304 หลังกลุ่มโรงงานพนมสารคาม


ส่วนข้อเรียกร้องของชาวบ้านในการปิดถนนครั้งนี้คือให้โรงไฟฟ้าดังกล่าว ยุติ และย้ายโครงการออกจากพื้นที่ เนื่องจากหากมีการสร้างโรงไฟฟ้า ชาวบ้านหวั่นว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต สุขภาพ การประกอบอาชีพ และคนในพื้นที่ไม่ต้องการที่จะมีชีวิตซ้ำรอยชาวแม่เมาะ จ.ลำปาง และชาวมาบตาพุด จ.ระยอง อีกทั้งโดยรอบของโครงการเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ทำอาชีพเกษตรกรรม และมี ศูนย์ศึกษาและพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อยู่ในบริเวณใกล้เคียง


ทั้งนี้ ที่ผ่านมาชาวบ้านได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่ แต่ไม่ได้รับการตอบรับหรือแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด อีกทั้งได้เคยมีการล่ารายชื่อกว่า 12,000 ชื่อ เมื่อปี พ.ศ.2551-52 ส่งไปยัง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) แต่ EIA ได้ผ่านการพิจารณาไปก่อนหน้าแล้ว หลังจากชาวบ้านได้พยายามจนคัดค้านทำให้กระบวนการในอีไอเอมีการตีกลับและ ทบทวนใหม่จนต้องมีการจัดทำใหม่ถึง 4 ฉบับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน