แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อำมาตย์ บ่งเสี้ยนตำใจทุบอนุสาวรีย์ปราบกบฎ

วันอาทิตย์, กรกฎาคม 04, 2010


ขจัด เสี้ยนหนามตำใจ-อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฎ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่คณะราษฎร สามารถปราบกบฏบวรเดช ซึ่งนิยมเจ้าและต้องการให้ประเทศกลับไปเป็นราชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 (อ่าน รายละเอียด) เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2479 ในสมัยพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2479 สถานที่นี้เป็นจุดรวมพลคนเสื้อแดงเมื่อ12มีนาคมก่อนการชุมนุมใหญ่ที่จบลง ด้วยความพ่ายแพ้ในวันที่ 19 พฤษภาคม ล่าสุดกำลังมีการรื้อย้าย โดยอ้างว่าจะเอาไปทำสะพานลอยแก้รถติด



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ฐานเศรษฐกิจ

อนุสาวรีย์ปราบกบฎได้กลับมามีบทบาทหนล่าสุด เมื่อคนเสื้อแดงเริ่มการชุมนุมรอบล่าสุดนี้ นายวีระ มุสิกพงษ์ ประธานนปช.ได้เลือกเป็นสถานที่รวมพลเป็นครั้งแรกเมื่อ 12 มีนาคม 2553 ก่อนกิจกรรมการชุมนุมใหญ่ที่ยืดเยื้อมาจบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 โดยนายวีระประกาศในตอนนั้นว่ามาสักการะดวงวิญญาณของคณะราษฎร์ เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย(ดูภาพ กิจกรรม)


การ ชุมนุมของเสื้อแดงจบลงด้วยความพ่ายแพ้ ขณะที่อนุสาวรีย์ปราบกบฎก็อาจจะถึงจุดจบตามไปด้วย หลังจากเป็นเสี้ยนหนามตำใจฝ่ายนิยมเจ้ามาอย่างยาวนาน

กรมทางหลวง เร่งเดินหน้าก่อสร้าง โครงการสะพานลอยบริเวณวงเวียนหลักสี่ ในเดือนกรกฎาคม 2553 ทั้งที่ต้องลงมือก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เนื่องจากต้องปรับแบบใหม่ให้ขนาดเสาตอม่อ จากที่ใหญ่ล้ำผิวจราจรพื้นราบ ให้มีขนาดที่เล็กลงแต่มีความมั่นคงแข็งแรงเช่นเดิม ทั้งนี้ กองบังคับการตำรวจนครบาล (บช.น.) เห็นว่า หากไม่ปรับ จะส่งผลกระทบต่อการจราจร ทำให้ช่องทางเดินรถแคบลง ในขณะที่ปริมาณรถจากรอบทิศทางมีปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน



ล่า สุด ได้มีกลุ่มนักอนุรักษ์โบราณคดี และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้าน การเคลื่อนย้ายอนุสาวรีย์ ดังกล่าว ออกไปจากบริเวณเดิม เพื่อก่อสร้างสะพานลอย โดยอ้างว่า มีความสำคัญทางด้านจิตใจและเป็นโบราณสถานทางประชาธิปไตย มีอายุเกือบ 100 ปี ขณะเดียวกัน หากไม่เคลื่อนย้ายและก่อสร้างสะพานข้ามอนุสาวรีย์ดังกล่าว ก็ไม่เหมาะสม

อย่างไรก็ดี กรมทางหลวง ยืนยันว่า โครงการนี้ล่าช้ามานานและก่อนหน้านี้ได้มีการปิดผิวจราจรบางช่วงเพื่อรื้อ ย้ายสาธารณูปโภคโดยรอบ ส่งผลให้รถติดขัดหากต้องชะลอโครงการเพราะสาเหตุนี้ ก็คงไม่มีเหตุผลอะไรเพราะอนุสาวรีย์ดังกล่าว ได้มีการรื้อย้ายมา 3 ครั้งแล้ว อาทิ ช่วงที่มีการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนพหลโยธิน

และ ที่ผ่านมาได้หารือกรมศิลปากรเมื่อ 4 ปีก่อน ช่วงที่อยู่ระหว่างศึกษาและออกแบบโครงการว่าสามารถรื้อย้าย หรือ ดำเนินการในส่วนงานก่อสร้างสะพานได้หรือไม่ กรมศิลปากรก็อนุญาต ให้กรมทางหลวง เดินหน้าก่อสร้างได้ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อจะลงมือก่อสร้างกลับมีผู้ออกมาคัดค้าน

ขณะ เดียวกันอนุสาวรีย์แห่งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใดเพียงเป็นสัญลักษณ์ทางการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่ง ประชาธิปไตยเท่านั้น เช่นเดียวกับ นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ระบุว่า อนุสาวรีย์ดังกล่าว เป็นเพียงสัญลักษณ์จำลองเท่านั้น ซึ่งไม่มีผลอะไร ดังนั้นจึงมองว่า น่าจะก่อสร้างได้โดยไม่มีผลกระทบอะไร



ล่าสุด นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง ออกมาระบุว่า ได้เตรียมลงมือก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ ได้รับอนุมัติแผนการจัดการจราจรจาก กองบังคับการตำรวจจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาลแล้วสำหรับการก่อสร้างสะพานลอยที่อนุสาวรีย์หลักสี่ โดยลงมือ หลังจากรื้อย้ายงานสาธารณูปโภคเรียบร้อยทั้งหมด ขณะเดียวกัน ได้ดำเนินการก่อสร้างงานฐานรองรับอนุสาวรีย์ ในบริเวณวงเวียนและงานรื้อย้ายสาธารณูปโภคอื่นๆในแนวถนนรามอินทรา

โดยแนวสายทางสะพานลอยหลักสี่ เริ่มต้นจากถนนแจ้งวัฒนะบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมสาธิต วัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เข้าสู่พื้นที่วงเวียนหลักสี่เชื่อมเข้าสู่ถนนรามอินทรา โดยมีจุดสิ้นสุดสะพานบริเวณก่อนถึงทางเข้ามหาวิทยาลัยเกริก ลักษณะของสะพานเป็นสะพานคู่ฝั่งละ 2 ช่องจราจร โดยที่มุ่งหน้าฝั่งทิศตะวันออก (รามอินทรา) สะพานมีความยาวรวม 908.90 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.75 เมตร

ส่วนฝั่งที่มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก (ถนนแจ้งวัฒนะ) สะพานมีความยาวรวม 586.00 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.75 เมตร งานปรับปรุงถนนช่วงขึ้นและ ลงสะพานด้านละประมาณ 200.00 เมตร งานก่อสร้างเชิงลาดคอสะพาน (Bridge Approach Structure) ความยาวด้านละ 58.75 เมตร งานไฟฟ้าแสงสว่าง งานติดตั้งกำแพงกันเสียง (Noise Barrier) งานสะพานลอยคนเดินข้ามบริเวณหน้าโรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและหน้าที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา

การคัด ค้านของกลุ่มอนุรักษ์ก็ยังคงเดินหน้าคัดค้านต่อไป ขณะที่กรมทางหลวงยืนยันเดินหน้าก่อสร้างแน่ นับจากนี้ อีก 600 วันน่าจะเปิดใช้เส้นทางได้ !!!

กรมทางหลวงยันไม่ได้ทุบแค่ ย้ายเพื่อแก้รถติด


กรม ทางหลวงชี้แจงว่า แนวเส้นทางการก่อสร้างสะพานวงเวียนหลักสี่จะก่อสร้างตามแนวถนนแจ้งวัฒนะ บริเวณ ก.ม.1+002.000 ถึง ก.ม. 0+702.045 ของถนนรามอินทรา โดยจะก่อสร้างเป็นสะพานคู่ขนาน 4 ช่องจราจรไปกลับ โค้งอ้อมอนุสาวรีย์ พิทักษ์รัฐธรรมนูญ

ในเนื้องานจะรวมงานรื้อย้ายอนุสาวรีย์ พร้อมก่อสร้างฐานรับอนุสาวรีย์ งานก่อสร้างสะพานลอยคนเดินข้าม งานระบบระบายน้ำ งานสีตีเส้นและป้ายจราจร รื้อ และติดตั้งไฟแสงสว่าง

ทั้ง หมดนี้ไม่ใช่แค่เป็นตัวช่วยให้สภาพการจราจรพื้นที่กรุงเทพฯโซนเหนือและตะวัน ออกเฉียงเหนือคล่องตัวมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังให้อานิสงส์ต่อเนื่องทำให้การจราจรหน้าศูนย์ราชการแห่งใหม่แจ้งวัฒนะ คล่องตัวมากขึ้นด้วย

"อนุสาวรีย์ฯ ไม่ได้กีดขวางการก่อสร้างสะพาน โดยยังเหลือพื้นที่ห่างอยู่ประมาณ 40-50 ม. และงานรื้อย้ายอนุสาวรีย์ฯ ในเนื้องานไม่ได้ย้ายที่ แต่เป็นการยกให้สูงขึ้น เพื่อความสง่างาม"
0000000000

กบ ฎบวรเดช ที่มาของอนุสาวรีย์ปราบกบฎ

\

ที่ มา วิ กิพีเดีย

กบฏบวรเดช เกิดขึ้นเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นับเป็นการกบฏครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475

สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่าและระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่องเค้าโครงเศรษฐกิจที่เสนอโดยนายปรีดี พนมยงค์ ที่ถูกกล่าวหาจากผู้เสียประโยชน์ว่าเป็น "คอมมูนิสต์" และชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระ มหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายาได้หนีไปยังประเทศกัมพูชา

อนุสาวรีย์ บริเวณหลักสี่ บางเขน กรุงเทพมหานคร ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฎ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช

กบฏ บวรเดชเกิดขึ้นในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 นำโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของ รัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นายถวัลย์ ฤทธิเดช ได้ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า "สมุดปกเหลือง" โดยออกเป็นสมุดปกขาว

ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีเสนอแนว ทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยหวังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลายแนวคิดที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยมอาจมีผลกระทบต่อ พื้นฐานโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายของประเทศ

พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม อย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภา ในที่สุดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางดังกล่าวจึงเสนอให้ยกเลิกข้อเสนอนั้น เป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศสชั่ว คราว ซึ่งทำให้คณะราษฎรหลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยเฉพาะฝ่ายทหาร และนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดารัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 หลังจากการรัฐประหารพระยาพหลพลพยุหเสนาผู้นำคณะรัฐประหารได้เป็นนายก รัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
ความวุ่นวายทางการ เมืองทั้งหลายมีส่วนทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุดร (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอกพระยาศรีสิทธิ์สงครามไม่ร่วมมือกับ ฝ่ายรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ทหารกรุงเทพฯหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพฯต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพฯนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิ์สงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช

อย่าง ไรก็ตาม ในมุมมองของทางฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่า แท้ที่จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นั้นเป็นเพียงแค่การรัฐประหาร (coup d'etat) เท่านั้น มิใช่การปฏิวัติ (revolution) เพราะหลังจากนั้นแล้ว อำนาจที่ถูกผ่องถ่ายมาจากพระมหากษัตริย์ก็ตกอยู่ในมือของคนแค่ไม่กี่คน อีกทั้งหลัก 6 ประการที่ได้สัญญาว่าจะปฏิบัติ ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็มิได้มีการกระทำจริง เหตุการณ์ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่มิอาจยอมรับได้ จึงต้องดำเนินการดังกล่าว


การต่อสู้และการปราบปราม


การ ยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ อ. ปากช่อง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทางดอนเมืองและยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า คณะกู้บ้านเมือง และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า แผนล้อมกวาง

โดย ทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฎครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อ พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยมมณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ ขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับเครื่องบินลงจอดที่สนามและได้ยื่นจดหมายฉบับหนึ่งให้แก่ พระยาสุรพันธเสนี สมุหเทศาภิบาลมณฑล แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้าก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ ส่งมาเพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯ ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที

คณะรัฐบาลแต่งตั้ง พันโทหลวงพิบูลสงคราม (จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ยศขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถปตอ. รุ่น 76 และรถถัง รุ่น 76 บรรทุกรถไฟยกออกไปปราบปรามได้สำเร็จ แต่ต้องเสียพันโทหลวงอำนวยสงคราม (ถม เกษะโกมล) ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 8 เพื่อนของหลวงพิบูลสงครามเพราะถูกยิงเข้ามาในรถจักรดีเซลไฟฟ้า

ฝ่าย รัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้เป็นตัวประกัน พร้อมกับยืนเงื่อนไข 6 ข้อ

เวลา 12.00 น. ฝ่ายกบฏได้ส่ง พันเอกพระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ พันโทพระยาเทเวศวร อำนวยฤทธิ์ และเรือเอกเสนาะ รักธรรม เป็นคนกลางถือหนังสือของพระองค์เจ้าบวรเดชมาเจรจากับรัฐบาล โดยยืนเงื่อนไขทั้งหมด 6 ข้อ คือ

1.ต้องจัดการในทุกทาง ที่จะอำนวยผลให้ประเทศสยามมีพระมหากษัตริย์ปกครองประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญ ชั่วกัลปาวสาน
2.ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญโดยแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การตั้งและถอดถอนคณะรัฐบาลต้องเป็นไปตามเสียงของหมู่มาก
3.ข้าราชการ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งประจำการทั้งหลายและพลเรือนต้องอยู่นอกการเมือง ตำแหน่งฝ่ายทหารตั้งแต่ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือลงไปต้องไม่มีหน้าที่ทางการเมือง
4.การแต่งตั้ง บุคคลในตำแหน่งราชการ จักต้องถือคุณวุฒิและความสามารถเป็นหลัก ไม่ถือเอาความเกี่ยวข้องในทางการเมืองเป็นความชอบหรือเป็นข้อรังเกียจในการ บรรจุเลื่อนตำแหน่ง
5.การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ต้องถวายให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเลือกจริง ๆ
6.การปกครองกอง ทัพบกจักต้องให้มีหน่วยผสมตามหลักยุทธวิธี เฉลี่ยอาวุธสำคัญแยกกันไปประจำตามท้องถิ่น มิให้รวมกำลังไว้เฉพาะแห่งใดแห่งหนึ่ง

สุดท้ายได้ขอประกาศนิรโทษ กรรมแก่คณะตนเอง ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย โดยคณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน



มีการ วิเคราะห์กันว่า แท้ที่จริงแล้วแผนล้อมกวางนี้ เป็นเพียงแผนขู่ไม่ใช่แผนรบจริง ดั่งบันทึกของหม่อมราชวงศ์นิมิตรมงคล นวรัตน หนึ่งในคณะกบฏที่ได้บันทึกเรื่องราวตอนนี้ไว้ในหนังสืออัตชีวประวัติของตน เอง ซึ่งได้ตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. 2482 ว่าแท้ที่จริงแล้วแผนการจะเริ่มขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2476 โดยจะลงมืออย่างรวดเร็ว แต่เมื่อปฏิบัติจริงกลับถูกเลื่อนออกไปหนึ่งวัน จึงเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายรัฐบาลได้มีเวลาตั้งตัวได้ติดและโต้กลับอย่างรวดเร็ว

โดย ทางฝ่ายรัฐบาลได้ตั้งกองอำนวยการปราบกบฏขึ้นที่สถานีรถไฟบางซื่อข้างโรงงาน ปูนซีเมนต์ไทยในปัจจุบัน โดยกำลังทหารปืนใหญ่จากนครสวรรค์ ซึ่งขณะยกกำลังมาเพื่อสมทบกับกำลังฝ่ายปฏิวัตินั้น ได้ถูกกองกำลังฝ่ายรัฐบาลที่สถานีโคกกระเทียมตีสกัดไว้จนถอยร่นกระจายกลับ คืนไป ส่วนพระยาเสนาสงคราม แม่กองได้พยายามหนีเล็ดลอดลอบมาสมทบได้ในภายหลัง

กอง ทหารเพชรบุรี ก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลที่ราชบุรีตีสกัดกั้นไว้ที่สถานีบ้านน้อย (สถานีเขาย้อย) ไม่สามารถจะผ่านมารวมกำลังกับฝ่ายปฏิวัติได้

ส่วนทาง กองทหารจากปราจีนบุรี ไม่มั่นใจว่าฝ่ายกบฏจะได้รับชัยชนะเหนือรัฐบาล จึงประกาศเข้าร่วมกับฝ่ายรัฐบาลทำการปราบปรามฝ่ายปฏิวัติเสียอีกด้วย เหตุการณ์ระส่ำระสายทำให้ฝ่ายปฏิวัติสูญเสียกำลังใจในการสู้รบเป็นอย่างมาก

แต่ ทางฝ่ายกบฏก็ยังคงปักหลักต่อสู้อย่างเหนียวแน่น จนถึงวันที่ 14 ตุลาคม ณ สถานีรถไฟหลักสี่ มีกำลังทหารม้าจำนวน 5 กองร้อยของนครราชสีมาประจำแนวรบ แม้จะมีปืนกลอยู่เพียง 5 กระบอกเท่านั้นก็ตาม แต่ก็ยังสามารถรุกไล่ทหารฝ่ายรัฐบาลถอยร่น จนเข้ายึดคลองบางเขนไว้ได้อีกครั้งหนึ่ง

รุ่งขึ้น วันที่ 15 ตุลาคม ฝ่ายรัฐบาลได้หนุนกำลังพร้อมอาวุธหนักนำขึ้นรถไฟ มีทั้งรถเกราะและปืนกล รุกไล่ฝ่ายปฏิวัติจนเกือบประชิดแนวหน้าฝ่ายปฏิวัติซึ่งเป็นรองทั้งกำลังสนับ สนุนและอาวุธต่าง ๆ จำเป็นต้องถอยกลับ

และเมื่อเพลี่ยงพล้ำ ฝ่ายกบฏได้ใช้หัวรถจักรฮาโนแม็กเปล่า ๆ เบอร์ 277 พุ่งชนรถไฟของกองทัพรัฐบาล จนมีทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นอันมากก่อนล่าถอยไปโคราช เช่น หลวงกาจสงคราม ก็หูขาดจากการครั้งนี้ โดยคนขับเป็นนายทหารหนุ่มชื่อ อรุณ บุนนาค ซึ่งต่อมาถูกจับและนำส่งตัวไปเกาะตะรุเตา

เมื่อประเมินกำลังการ ต่อสู้กับฝ่ายรัฐบาลแล้วเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีกำลังเหนือกว่า เพราะโดนฝ่ายรัฐบาลสั่งให้เอานัดดินออกจากลูกกระสุนปืนใหญ่หมดไปก่อนหน้าที่ จะก่อกบฏ พระองค์เจ้าบวรเดชก็สั่งให้ถอยทัพไปยึดช่องแคบสถานีปากช่อง เตรียมการต่อสู้กับรัฐบาลต่อไป ขณะที่เคลื่อนกำลังถอยไปนั้น ก็ได้ทำการระเบิดทำลายสะพานและทางรถไฟเสียหายหลายแห่ง เพื่อเป็นการประวิงเวลาการติดตามรุกไล่ของฝ่ายรัฐบาล

ฝ่ายปฏิวัติถูก กำลังฝ่ายรัฐบาลติดตามปราบปรามถึงสถานีหินลับ-ทับกวาง และปากช่อง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก พระองค์เจ้าบวรเดชขึ้นเครื่องบินหนีออกนอกประเทศ และฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามฝ่ายปฏิวัติได้สำเร็จในที่สุด


ผล ที่เกิดขึ้น

เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้นายทหารฝ่ายกบฏ ได้แก่ นายพันเอก พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) ถูกยิงเสียชีวิตโดยทหารจากกองพันทหารราบที่ 6 นำโดยพันตรีหลวงวีรวัฒน์โยธา เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2476 ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังเมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2476 และต่อไปยังประเทศกัมพูชาตามลำดับและกลับมายังประเทศไทย เมื่อปีพ.ศ. 2491 ขณะที่พระอนุชาของท่าน (หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร) ถูกทหารจับกุม

ภาย หลังได้มีการตั้งศาลพิเศษ มีการคุมขังทหารและพลเรือนผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนี้นับร้อยคนที่เรือน จำบางขวาง แต่ที่ไม่มีการประหารชีวิต เพราะพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้รับโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต และผู้ได้รับโทษจำคุกก็ได้รับการลดโทษตามลำดับขั้น

รัฐบาลได้จัดให้ มีรัฐพิธีให้แก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนคราวปราบกบฏบวรเดช โดยได้จัดสร้างเมรุชั่วคราว ณ ทุ่งพระเมรุ (สนามหลวง) ซึ่งเดิมรัชกาลที่ 7 ไม่ทรงยินยอมให้ใช้พื้นที่ทุ่งพระเมรุนี้ แต่ทางคณะราษฎรยืนยันที่จะสร้างเมรุชั่วคราวบนทุ่งพระเมรุ รัชกาลที่ 7 จึงต้องทรงยินยอม แต่ระบุถ้อยคำด้วยท่วงทำนองว่าไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”[1] เมรุชั่วคราวอันนี้ถือเป็นเมรุสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง ซึ่งก่อนหน้านั้นจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำหรับเจ้าเท่านั้น[2]

เมื่อ วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2479 ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฎหรืออนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญที่บริเวณหลักสี่ บางเขน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเพียงตามแหล่งที่ตั้งว่า อนุสาวรีย์หลักสี่”[1]

พ.ศ. 2482 นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชนี้ พร้อมกับนักโทษการเมืองอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏนายสิบ ถูกส่งไปกักบริเวณอยู่ที่อ่าวตะโละอุดัง นิคมฝึกอาชีพตะรุเตา เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล[3] ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

พ.ศ. 2487 ได้มีการปล่อยตัวบรรดาผู้ได้รับโทษกรณีกบฏบวรเดชทั้งหมดออกจากเรือนจำ จากการนิรโทษกรรมโดยคณะรัฐมนตรีชุดนายควง อภัยวงศ์

หลังจาก ปราบกบฏได้สำเร็จ ต่อมาวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2476 (แท้จริงแล้วคือ พ.ศ. 2477 เพราะในขณะนั้นยังถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่อยู่) รัชกาลที่ 7 กับพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีก็เสด็จราชดำเนินออกนอกประเทศเพื่อไปรักษาพระเนตร ณ ประเทศอังกฤษ และทรงพำนักยังประเทศอังกฤษโดยตลอดจนกระทั่งเสด็จสวรรคต โดยมิได้ทรงนิวัติกลับประเทศไทยอีกเลย

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 7/05/2010 08:41:00 ก่อนเที่ยง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน