แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เมื่อเชียงใหม่จะจัดการตนเอง

เมื่อเชียงใหม่จะจัดการตนเอง



โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

ที่มา : ไทยอีนิวส์

หนึ่ง ในความเคลื่อนไหวที่ควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองสีเหลืองสีแดงที่ หันมาจับมือกันกลายเป็นเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็น(The Peaceful Homeland Network)อันทรงพลังของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ฝ่ายบ้านเมืองมองด้วยสายตาหวาดระแวงว่าอนาคตการบริหาราชการแผ่นดินจะ เหลือเพียงการบริหารราชการส่วนกลาง และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีราชการบริหารราชการส่วนภูมิภาคอีก ต่อไป

การเกิดขึ้นของเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นมีเหตุเนื่องมาจาก ความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาที่ผู้คนต่างถูกแบ่งออกเป็น สีต่างๆซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจสังคมเป็นอันมาก จึงเกิดการรวมตัวของนักธุรกิจกลุ่มหนึ่งสังกัดในทั้งสีเหลืองและแดงหันหน้า เข้ามาพูดคุยกันอย่างเงียบๆโดยนักวิชาการที่รักสันติเป็นแกนกลางว่าเราไม่ สามารถปล่อยให้เชียงใหม่ตกอยู่ในสภาพของความขัดแย้งแบบนี้อีกต่อไป

หลัง จากมีการก่อตัวของเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นเกิดขึ้น ผู้คนที่มีความหวังดีต่อบ้านเมืองไม่ว่าจะเป็นสมาชิกหอการค้า สภาอุตสาหกรรม นักกฎหมาย นักวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มองค์กรปกครองท้องถิ่น กลุ่มอดีตนายทหารชั้นพลแกนนำทหารกองหนุน กลุ่มโชเชียลเน็ตเวอร์ค(เฟซบุค) กลุ่มเกษตรกร กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ ฯลฯ จึงได้มีการสัมมนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริม ประชาธิปไตย(National Democratic Institute)เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาและตามด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการอีก หลายครั้ง

ผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มีความคืบหน้ามาตามลำดับ นั้นได้ผลสรุปว่าเหตุแห่งปัญหาทั้งมวลที่ทำให้บ้านเมืองของเรายังไม่มีความ ก้าวหน้าเท่าที่ควรไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง ด้านธุรกิจหรือด้านภาคเกษตรกรรมก็คือปัญหาของการรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทยนั่น เอง เครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นจึงมีมติร่วมกันว่าถึงเวลาที่จะได้เป็นแกนนำใน การขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่นจัดการตนเองดังเช่นในนานาอารยประเทศทั้งหลาย

การ จัดการตนเองในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะมุ่งไปยังความเป็นอิสระร้อย เปอร์เซ็นต์ดังที่ผู้ครองอำนาจรัฐทั้งหลายหวาดระแวงหรือใช้เป็นข้ออ้างในการ ปกป้องอำนาจของตนเอง แต่มุ่งไปที่การลดขั้นตอนของการบริหาราชการแผ่นดินและเพิ่มอำนาจในการตัดสิน ใจของท้องถิ่น

๑) จะจัดการตนเองในเรื่องอะไรบ้าง ประเด็นในการขับเคลื่อนได้มุ่งเน้นไปยัง

• การศึกษา
• เกษตรกรรม
• การท่องเที่ยว
• วัฒนธรรม
• สิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ
• ระบบภาษี/การเก็บภาษี/การจัดสรรงบประมาณ
• ตำรวจ
• สาธารณสุข
• สวัสดิการสังคม
• ผังเมือง

๒)โครงสร้างภายในจังหวัดควรเป็นอย่างไร

• ระบบบริหาร ที่ประกอบไปด้วย ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและกรรมาธิการภาคประชาชน
• ที่มาของฝ่ายแต่ละฝ่าย มีการระดมความเห็นเพื่อกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่และการออกจากตำแหน่งให้ชัดเจน


๓)การจัดความสัมพันธ์ระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลาง


• หัวหน้าฝ่ายบริหารของจังหวัดซึ่งอาจจะอยู่ในชื่อผู้ว่าราชการจังหวัดหรือใน ชื่ออื่นที่มาจากการเลือกตั้ง(ที่สามารถถูกประชาชนดุด่าว่ากล่าวและถูกปลด ออกจากตำแหน่งได้)แทนที่การแต่งตั้งจากส่วนกลางเสมือนหนึ่งการไปปกครองเมือง ขึ้นในยุคอาณานิคม


• หัวหน้าส่วนราชการต่างๆจะอยู่ในการกำกับดูแลของหัวหน้าฝ่ายบริหารของที่มาจากการเลือกตั้ง


• การปกครองท้องที่(กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน)จะยังคงมีต่อไปหรือไม่ หากยังคงอยู่ต่อจะอยู่ต่อในลักษณะใดในองค์กรปกครองท้องถิ่นเพราะไม่มีการ บริหารราชการส่วนภูมิภาคอีกต่อไป

กระบวนการขับเคลื่อน

ใน การขับเคลื่อนของกลุ่มบ้านชุ่มเมืองเย็นจะวิเคราะห์ระบบโครงสร้างเก่าให้ เห็นถึงผลกระทบจาก การรวมศูนย์ในปัจจุบัน โดยเชื่อมประเด็นเดิมว่ามีโครงสร้างและความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร อย่างไร การก้าวเข้าไปสู่ระบบโครงสร้างใหม่และที่สำคัญที่สุดก็คือประชาชนจะได้ ประโยชน์อะไรจากการนำเสนอโครงสร้างใหม่นี้ โดยจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตนเองซึ่งสามารถยกตัวอย่างประเทศที่ มีโครงสร้างหรือประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับไทย

ตัวอย่างที่สามารถนำมา เสนอให้เห็นความชัดเจนของการจัดการตนเอง เช่น การเป็นรัฐเดี่ยวและมีสถาบันกษัตริย์ของญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นไม่มีการบริหารราชส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด มีเฉพาะการบริหาราชการส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเท่านั้นและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ของจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งและดูแลส่วนราชการต่างๆ

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ อังกฤษที่มีการปกครองในระบอบรัฐสภามีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเช่นกันก็ไม่ มีการบริหาราชการส่วนภูมิภาคแต่อย่างใด หรือแม้กระทั่งเกาหลีใต้ที่ผ่านยุคเผด็จการมาเช่นเดียวกับไทยแต่ปัจจุบันนับ ตั้งแต่ปี ๑๙๙๕ เกาหลีใต้ก็มีเฉพาะราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นเท่านั้นไม่มีราชการส่วน ภูมิภาคแต่อย่างใด

ที่สำคัญก็คือฝรั่งเศสที่เราไปลอกรูปแบบการปกครอง ส่วนภูมิภาคของเขามา ในปัจจุบันฝรั่งเศสรูปแบบการปกครองของภาคและจังหวัดก็กลายเป็นการปกครองส่วน ท้องถิ่นไปหมดแล้วมีประธานสภาภาคและประธานสภาจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ผู้ว่าราชการจังหวัดเดิมก็แปรสภาพไปเป็นผู้ตรวจการณ์แห่ง สาธารณรัฐ(Commissioner of the Republic)แทนตั้งแต่ปี ๑๙๘๒ แล้ว

หาก การขับเคลื่อนโมเดลเชียงใหม่จัดการตนเองซึ่งเป้าหมายสุดท้ายคือการเสนอร่าง กฎหมายโดยประชาชนเข้าชื่อกันใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญประสพความสำเร็จแล้ว ก็เชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายของการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าใน ปัจจุบันของจังหวัดอื่นๆ

ป่วยการที่จะอ้างว่ายังไม่ถึงเวลาด้วยเหตุ ว่าประชาชนยังไม่พร้อม บัดนี้ ประชาชนพร้อมแล้วครับ ฝ่ายเจ้าหน้าที่ของรัฐเองต่างหากที่ยังไม่พร้อม

ผู้ที่ขัดขืนกระแสโลกาภิวัตน์ของประชาชนย่อมที่จะเป็นฝ่ายถูกกวาดตกเวทีไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปในที่สุด

---------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน