Wed, 2010-12-01 19:37
จาตุรนต์ ฉายแสง
ขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องคดียุบพรรค - คดีไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่ผ่านมานี้ ในการสู้คดีโดยตลอดก็ปรากฏว่าทีมทนายของพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ต่อสู้ในข้อ เท็จจริงเท่าไร ไม่สามารถหักล้างพยานหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าได้กระทำผิดกฎหมายและสมควรแก่ การยุบพรรค แต่ว่าได้สู้ด้วยวิธีการพยายามดิสเครดิตหรือพยายามลดความน่าเชื่อถือของผู้ ร้องหรือพยานฝ่ายผู้ร้อง พยานฝ่ายตรงข้าม
ในตอนท้ายๆปรากฏว่าทีมทนายของพรรคประชาธิปัตย์ได้พยายามล็อบบี้คนของศาล รัฐธรรมนูญ รวมทั้งยังได้ปรากฏหลักฐานเป็นคลิปวีดีโอ ทั้งภาพของการล็อบบี้ดังกล่าวและการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนได้พูดจา หารือกันเพื่อที่จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ให้พ้นจากการถูกยุบพรรค คลิปวีดีโอนี้ทำให้เชื่อได้ว่ามีความพยายามที่จะล็อบบี้ศาลรัฐธรรมนูญ และมีความพยายามของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่จะช่วยพรรคประชาธิปัตย์ให้พ้นจาก การถูกยุบพรรค มีเสียงเรียกร้องให้มีการตรวจสอบพิสูจน์ว่าคลิปวีดีโอนั้นจริงหรือไม่จริง อย่างไร ใครทำอะไร ใครพูดอะไร ปรากฎว่าจนบัดนี้ก็ยังไม่มีการตรวจสอบพิสูจน์และสอบสวนว่ามีความพยายาม ล็อบบี้ศาลรัฐธรรมนูญหรือมีความพยายามของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่จะ ช่วยพรรคประชาธิปัตย์จริงหรือไม่
เรื่องผมเคยให้ความเห็นไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่า หากศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีการตรวจสอบเรื่องนี้ให้ชัดเจน ศาลรัฐธรรมนูญย่อมขาดความชอบธรรมที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีใดๆ รวมถึงที่จะทำหน้าที่ตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ จนถึงบัดนี้ จนถึงวันตัดสิน และจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการตรวจสอบ ยังไม่มีการพิสูจน์ใดๆทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้นในความเห็นของผมซึ่งได้พูดมาก่อนหน้านี้แล้ว ก็ยังมีความเห็นอย่างเดิมว่า ในขณะที่ตัดสินคดียุบพรรคประชาธิปัตย์นั้นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคณะนี้ ก็ไม่มีความชอบธรรมอยู่แล้ว
ต่อมาเมื่อมีคำวินิจฉัย ก็ต้องบอกว่าการที่วินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ใช่เรื่องที่ผิดคาด ผมเองก็เคยเขียนบทความไว้ก่อนหน้านี้ เสนอว่าประชาชนควรทำอะไร ถ้าไม่มีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ ก็คือ คาดการณ์ไว้อยู่แล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์จะไม่ถูกยุบ
ยุบพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ยุบ ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เรื่องสำคัญอยู่ที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญและ กระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีความเสื่อมเสียและไม่น่าเชื่อถือมาก่อนแล้ว ที่น่าเป็นห่วงก็คือว่าจากคำวินิจฉัยนั้นเกรงว่าจะเกิดความเสียหายต่อความ น่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญหนักยิ่งขึ้นไปอีก
ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตั้งขึ้นเพื่อที่จะวินิจฉัยนี้มีทั้ง 5 ข้อ แต่สุดท้าย 4 ข้อไม่ได้วินิจฉัย วินิจฉัยไปข้อเดียว คือกระบวนการร้องของผู้ร้อง จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่คนทั่วไป ทั้งคนที่เห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ผิดหรือเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ผิด ทั้งสองฝ่ายนี้ก็เลยไม่สามารถรู้ได้ว่าจริงๆแล้วผิดหรือถูก ต้องเป็นไปตามความเชื่อของแต่ละคนแต่ละฝ่าย คงผิดหวังไปตามๆกัน เพราะอุตส่าห์ติดตามการพิจารณาคดีมาตั้งนานเป็นหลายๆเดือนและสุดท้ายไม่มี การวินิจฉัยเลย ใน 4 ประเด็นนั้น ก็คงจะมีแต่แฟนพันธุ์แท้ของพรรคประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ดีใจ ที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ต้องถูกยุบ ด้วยเหตุของการที่บางคนใช้คำว่าคนร้องแพ้ฟาวล์ไปทำนองนั้น
ซึ่งก็เป็นคำถามตามมาอีกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ เหตุใดจึงไม่วินิจฉัยไปก่อนเลยว่าผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องแล้วเพราะเกินเวลาไป แล้ว แต่ว่าที่ผมคิดว่าเป็นปัญหาสำคัญที่จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ทำให้คนเคลือบแคลงสงสัยต่อไปก็คือ ในคำวินิจฉัยนั้นมีปัญหา มีคำถามซึ่งก็ต้องถามต่อสังคมไทยด้วย ถามต่อนักกฎหมาย ถามต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอง เป็นคำถามและปัญหาในเชิงข้อกฎหมาย ตรรกะ เหตุผลและสามัญสำนึก
คือ คำวินิจฉัยนี้บอกว่ากระบวนการยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะยื่นคำร้องหลังพ้นระยะเวลา 15 วันตามที่กฎหมายกำหนด ระยะเวลา 15วัน ก็คือ 15 วันนับจากความปรากฏต่อนายทะเบียน
ปัญหามีว่า ความปรากฏต่อผู้ร้องในฐานะนายทะเบียนนี้นับอย่างไร ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยเรื่องนี้ไว้อย่างไรหรือไม่ วินิจฉัยเรื่องทำนองเดียวกันนี้ไว้อย่างไร แล้วกรณีนี้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ความจริงก็มีกรณีตัวอย่างหลายกรณี การยุบพรรคหลายพรรคที่เข้าข่ายทำนองเดียวกัน ขอยกตัวอย่าง 2 พรรคก็คือ กรณีพรรคไท ในคำวินิจฉัยซึ่งเขามีประเด็นทำนองเดียวกันว่า มีการสู้ว่าเรื่องมีมาตั้งนานแล้วผู้ร้องเพิ่งมาร้อง เลยเวลามาแล้วเพิ่งมาร้อง
ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ คดีพรรคเพื่อไทยบอกว่าวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อ ศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 27 กันยายน 2545 ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งมีบันทึกรายงานผู้ร้องจ่ายเงิน ก็คือ ถือเอาวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้อง
พอมาในกรณีของพรรคพลังธรรม พรรคพลังธรรมก็สู้ว่าเลยเวลามาแล้ว ผู้ร้องถึงจะมาร้อง ไม่มีอำนาจแล้ว ฝ่ายกกต. ฝ่ายนายทะเบียนพรรคการเมือง สู้ความว่า ได้มีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 28 ตุลา 2546 เรื่องนายทะเบียนพรรคการเมืองขอให้สั่งยุบพรรคไทว่า วันที่ปรากฎต่อนายทะเบียนนั้น คือวันที่ผู้ร้องได้พิจารณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หมายความว่าเขาอ้างกรณีพรรคไท แล้วเขาก็มาสู้ในกรณีพรรคพลังธรรม คนที่สู้ความนี้ ในนามประธานกกต.และนายทะเบียนพรรคการเมืองคือนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ นายทะเบียนพรรคการเมืองปัจจุบันเคยสู้ความมาแล้ว
และศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในคราวนั้นว่า เห็นว่าวันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองนั้นคือวันที่ผู้ร้องได้ พิจารณาและเห็นชอบให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และก็มีความต่อไป ก็คือข้ออ้างของผู้ถูกร้องข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น
หมายความว่าศาลรัฐธรรมนูญได้เคยวินิจฉัยมาแล้ว อย่างน้อยในสองกรณีของ2 พรรคการเมือง ทำนองเดียวกัน โดยถือว่า วันที่ความปรากฎต่อผู้ร้องหรือนายทะเบียนคือวันที่ผู้ร้องพิจารณาและเห็นชอบ ให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
ทีนี้มาในกรณีนี้ กรณีของพรรคประชาธิปัตย์นี้ ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าในวันที่ความปรากฎต่อนายทะเบียนคือวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งกกต.มีมติเสียงข้างมากให้ไปดำเนินการ เพราะฉะนั้นพอมายื่น ในวันที่ 26 เมษาก็เลยเกิน 15 วัน
ข้อเท็จจริงก็ปรากฎว่า วันที่ 17 ธันวาคม ที่มีมติกัน ไม่ใช่เป็นมติให้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ นายทะเบียนไม่ได้ทำความเห็นก็หมายความว่านายทะเบียนยังไม่ได้พิจารณาเห็นชอบ ให้ร้อง ส่วนนายทะเบียนพอไปเป็นประธานกกต.ก็ลงมติว่าไม่เห็นชอบให้ไปยุบพรรค กกต. 3 คนเป็นเสียงข้างมาก บอกให้ส่งนายทะเบียนไปทำความเห็น คนที่มีความเห็นให้ยุบพรรคมีคนเดียวคือ คุณ
เมื่อเป็นอย่างนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ไม่มีอำนาจและไม่มีหน้าที่ที่ จะไปร้อง ส่วนตัวเข้าก็ไม่เห็นชอบให้ร้องอยู่แล้ว จะนับจากวันที่ 17 ธันวา มันก็ไม่น่าจะถูก จะนับต้องมานับวันที่ 21 เมษา เมื่อทั้งนายทะเบียนพรรคก็เสนอให้ยุบ ในฐานะประธานกกต.และกกต.ทั้งคณะก็เห็นร่วมกันให้ไปส่งศาลรัฐธรรมนูญ ดำเนินการตามมาตรา 93 ในตอนวันที่ 17 ธันวาที่พิจารณาก็พูดมาตรา 95 ซึ่งไม่ใช่มาตราที่ว่าด้วยการไปส่งศาลรัฐธรรมนูญ
เพราะฉะนั้นการที่วินิจฉัยว่า วันที่เริ่มมีอำนาจหน้าที่ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญนั้นคือวันที่ 17 ธันวา จึงไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และอีกอย่างหนึ่ง ที่สำคัญคือไม่สอดคล้องกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยในกรณียุบ พรรคอื่นๆมาแล้ว ปัญหาสองมาตรฐานอย่างน้อยๆที่สุดก็เห็นอยู่ตรงเรื่องนี้ ที่เป็นความแตกต่างในการพิจารณาคดีนี้กับการพิจารณาคดีอื่น
เวลานี้ก็มีเสียงเรียกร้องว่า ถ้าอย่างนี้แสดงว่าเป็นความบกพร่องของกกต. เป็นความบกพร่องของนายทะเบียน หรืออย่างไร ซึ่งผมคิดว่านายทะเบียนพรรคการเมืองและกกต.ทั้งคณะก็คงจะต้องชี้แจง แต่ว่าถ้าคิดแทนนายทะเบียนพรรคการเมืองและกกต. นายทะเบียนพรรคการเมืองคือคุณอภิชาติ เคยสู้ความมาแล้วและเคยสู้ด้วยประเด็นว่า ความปรากฎต่อนายทะเบียนต้องนับจากวันที่นายทะเบียนพิจารณาและเห็นชอบให้ร้อง ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยตามนั้น คุณอภิชาติในฐานะนายทะเบียนก็ย่อมจะต้องเห็นว่านี่เป็นบรรทัดฐานที่กกต.จะ ต้องปฏิบัติตาม มาถึงเวลาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิชาติพิจารณาแล้วยังไม่เห็นชอบให้ร้อง กกต.ก็ไม่ได้มีมติให้ร้อง เขาก็ยังไม่ไปดำเนินการร้อง รอต่อมาจนกระทั่งในฐานะนายทะเบียนและกกต.ทั้งคณะเห็นตรงกัน ให้ร้อง เขาจึงไปดำเนินการในเวลาต่อมา
เพราะฉะนั้นจะไปโทษกกต. ผมก็ดูแล้วไม่น่าจะถูก แต่ว่าถ้ามีเสียงเรียกร้องกกต.ก็ควรจะชี้แจงว่าเห็นด้วย แต่ผมยังคิดว่าประเด็นอยู่ที่การวินิจฉัย ประเด็นที่เป็นปัญหาน่าจะอยู่ที่การวินิจฉัย
ที่นี้ก็อยากจะวิเคราะห์ต่อไปถึงผลที่ตามมา ผลที่ตามมาจากกรณีอย่างนี้จะโดยเจตนาอย่างไรก็ตาม มันมีคำถามตามมามากมายทั้งในแง่ อย่างที่ว่าคือ ตรรกะ เหตุผล สามัญสำนึก ข้อกฎหมาย ผลที่ตามมาก็คือ ถ้าไม่มีการชี้แจงให้ดี เรื่องนี้จะมีปัญหากระทบต่อความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญเองมากยิ่งขึ้น เพราะว่าอย่าลืมว่าศาลรัฐธรรมนูญเดินเข้าสู่การตัดสินในขณะที่ผู้คนสงสัยว่า ที่คุยกันในคลิปวีดิโอนั้นจริงหรือไม่จริงอยู่แล้ว พอตัดสินออกมาเป็นประเด็นที่คนไม่คาดคิดด้วย
กรณีที่วินิจฉัยไปว่า มาร้องเมื่อเลยกำหนดมาแล้ว แม้แต่ทนายความของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหมด ก็ไม่ได้สู้ประเด็นนี้ ไม่ได้สู้เพื่อประเด็นนี้เลย ประเด็นนี้เมื่อมาไล่ข้อเท็จจริงเทียบกับของเดิมจะกระทบความน่าเชื่อถือ ผมที่ตามมาก็จะกลายเป็นว่า ทั้งหมดนี้จะเป็นความพยายามเจตนาดีที่จะรักษาพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็น เครื่องมือสำคัญของระบบปัจจุบันเอาไว้ แต่ขณะเดียวกันก็กลับจะกระทบต่อระบบในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น กระทบยิ่งกว่าถ้าจะยุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วยซ้ำ
นอกจากนั้นจะทำให้ยังทิ้งปัญหาค้างไว้คือความไว้วางใจต่อกกต. ซึ่งเกิดปัญหานี้ขึ้นในขณะที่จะมีการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้าแล้ว
เพราะฉะนั้นผลที่ตามมาก็จะเกิดเป็นความวิกฤตต่อความน่าเชื่อถือ ผู้คนจำนวนไม่น้อยอาจจะไม่หวังขึ้นระบบ จะนำไปสู่ความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตในสังคมหนักหน่วงยิ่งขึ้น การวิเคราะห์อย่างนี้ก็จะเห็นว่าตรงกันข้ามกับสิ่งที่นักธุรกิจและวิชาการ บางส่วนได้ออกมาให้ความเห็นว่าไม่ยุบน่ะดีแล้ว รัฐบาลจะได้มีเสถียรภาพ การเมืองจะได้มีเสถียรภาพ แต่ว่าผมยังเห็นว่าเรื่องมันจะเป็นตรงกันข้าม รัฐบาลอาจจะอยู่ต่อไปได้เพราะพรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ แต่เมื่อมีวิกฤตความน่าเชื่อถือ คนไม่เชื่อถือระบบ คนไม่หวังพึ่งระบบ วิกฤตการเมืองของประเทศจะยิ่งหนักหน่วงรุนแรงยิ่งขึ้น และก็ยากต่อการแก้ปัญหามากยิ่งขึ้น ในอนาคตก็จะเป็นปัญหาต่อธุรกิจเอง
เพราะฉะนั้นก็ยังอยากจะเสนอเป็นข้อเสนอต่อประชาชน ต่อผู้ไม่เห็นด้วย และผู้ที่ต้องการให้เกิดความยุติธรรมทั้งหลายว่า ถึงอย่างไรก็ตามก็ควรจะมีการศึกษาคำวินิจฉัย วิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและเห็นปัญหาความไม่ถูกต้อง เพื่อจะไปหาทางสร้างความยุติธรรมโดยสันติวิธีต่อไป ไม่ควรจะไปหันหน้าเข้าหาวิถีทางอื่นใด แต่ว่าพยายามที่จะสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้น
ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ในระยะยาวถ้าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญก็คงจะต้องไปแก้ศาลรัฐธรรมนูญให้มีที่ไป ที่มาที่ถูกต้องกว่านี้และสามารถจะตรวจสอบได้มากกว่าปัจจุบัน อยากให้มุ่งไปในทิศทางนี้มากกว่าที่จะหมดหวังกับการหาทางออกให้กับสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น