แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วิกิลีคส์แพร่เอกสารทูตสหรัฐฯ สนทนากับ "เปรม-สิทธิ-อานันท์"

วิ กิลีคส์ปูดเอกสารล่าสุด บันทึกทูตสหรัฐสนทนากับ เปรม ติณสูลานนท์ - สิทธิ เศวตศิลา - อานันท์ ปันยารชุน เป็นการสนทนากันต้นปีนี้ โดยเปรมกล่าวว่าอภิสิทธิ์ หนุ่มไปและ ไม่เข้มแข็งพอแต่ยังเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นนายกฯ ส่วน พล.อ.อ.สิทธิ บอกว่ามาร์คเกาะโพเดียมมากไป พร้อมเผยไม่ไว้ใจ เสธ.แดงกังวล อนุพงษ์มั่นใจ ประยุทธ์

เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. เวลา 21.00 น. ตามเวลาสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์วิกิลีกส์ ได้เผยแพร่เอกสารลับ หมายเลข “S E C R E T SECTION 01 OF 03 BANGKOK 000192” ซึ่งเป็นบันทึกทางการทูตของนายอีริคส์ จี จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ลงวันที่ 25 ม.ค. 53 โดยบันทึกซึ่งถูกแบ่งเป็น 15 ย่อหน้า หัวข้อแรกเป็นบทสรุป รายละเอียดเป็นบันทึกของทูตภายหลังจากพบกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี พล.อ.อ.สิทธิ เศวตศิลา องคมนตรี และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี

ทูตระบุว่าได้สนทนากับ พล.อ.เปรม ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน วันที่ 13 ม.ค. 53 ส่วนทูตสหรัฐฯ สนทนากับ พล.อ.อ.สิทธิ ที่บ้านพักของ พล.อ.อ.สิทธิ เมื่อวันที่ 11 ม.ค. 53 ส่วนอานันท์สนทนากับทูตสหรัฐฯ เมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 52 ในรายงานส่วนใหญ่เป็นบันทึกความเห็นของ พล.อ.เปรม กับ พล.อ.อ.สิทธิ เป็นส่วนใหญ่ มีความเห็นของนายอานันท์ประกอบเล็กน้อย

ในรายละเอียดของเอกสาร มีการสนทนาหัวข้อสำคัญหลายหัวข้อ ทั้งเรื่องการตั้งรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ความท้าทายที่มาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา

บันทึกระบุ เปรมเห็นว่า อภิสิทธิ์หนุ่มไปและไม่เข้มแข็ง แต่เปรมยังไม่มีตัวเลือก

ในย่อหน้าที่ 3 ของบันทึก ระบุว่า พล.อ.เปรม เห็นว่านายกรัฐมนตรีหนุ่มเกินไปและไม่เข้มแข็งพอที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในช่วงเวลาที่ ยากลำบากอย่างไรก็ตาม พล.อ.เปรม รู้สึกว่าสิ่งที่อภิสิทธิ์ถูกทดสอบในปี 2552 ก็คือ การถูกท้าทายการทำงานในการขับเคลื่อนรัฐบาลผสมที่มีหลายค่าย ซึ่งไม่ใช่งานง่าย พล.อ.เปรม ยังเสริมว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนที่ดูมีหลักการและมีความซื่อสัตย์มากกว่าอภิสิทธิ์ และประเทศไทยต้องการมีผู้นำเช่นนี้ พล.อ.เปรม มีความหวังว่าชาวไทยและชาวต่างประเทศจะเพิ่มความอดทนกับอภิสิทธิ์ ซึ่ง พล.อ.เปรม เชื่อว่า เป็นบุคคลที่เหมาะสมที่มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

พล.อ.อ.สิทธิเห็นว่าอภิสิทธิ์ใช้เวลาบนโพเดียมมากไป

ในย่อหน้าที่ 4 บันทึกระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ วิจารณ์อภิสิทธิ์ มากกว่า พล.อ.เปรม โดย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าว่าได้บอกบิดาของนายอภิสิทธิ์แล้วว่าในปี 2553 ลูกชายควรเป็นคนกล้าตัดสินใจมากกว่านี้ และมีเพื่อนมากกว่านี้ พล.อ.อ.สิทธิ ยังวิจารณ์ว่าอภิสิทธิใช้เวลาอยู่บนโพเดียมมากเกินไป ไม่มีเวลาที่จะสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะทำให้อภิสิทธิ์สามารถมอบ หมายนโยบายและคิดริเริ่มเรื่องนโยบาย อภิสิทธิ์จำเป็นต้องไปมีส่วนร่วมกับคนรากหญ้า ซึ่งสิ่งนี้เป็นด้านหนึ่งของจุดแข็งทักษิณ ในความคาดหวังของ พล.อ.อ.สิทธิ ยังหวังให้อภิสิทธิ์ตั้ง พล.ต.อ.ประทีป (ตันประเสริฐ) เป็นผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติอย่างถาวร หวังให้อภิสิทธิ์ใช้อำนาจที่มีเหนือพรรคร่วมรัฐบาลโดยการขู่ว่าจะยุบสภาถ้า พวกเขาออกนอกแถว และบอกให้กองทัพดำเนินการขับ ทหารนอกแถวอย่าง พล.ต.ขัตติยะ (สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง) แม้ว่า พล.อ.ประวิตร (วงศ์สุวรรณ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมปฏิเสธคำสั่งปลด พล.ต.ขัตติยะ

ในย่อหน้าที่ 5 รายงานว่า พล.อ.เปรมสอบถามเกี่ยวกับกฎหมายของสหรัฐอเมริกา ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมที่ป่วนการทำงานของรัฐบาลและชีวิตประจำวันของ ประชาชน ทูตอธิบายว่าระบบของสหรัฐอเมริกาให้สิทธิผู้ชุมนุมในด้านเสรีภาพการแสดงความ เห็น แต่ไม่สามารถไปชุมนุมได้ทุกที่ ทูตยังแสดงความไม่พอใจในการตัดสินใจที่ส่งผลลบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการ ลงทุน อย่างเช่น มาบตาพุด การยกเลิกหวยออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมายที่มีความไม่เป็นธรรม การฝ่าฝืนข้อตกลง และการควบคุมเคลื่อนย้าย มีผลต่อบรรยากาศการลงทุนมากกว่าความยุ่งเหยิงทางการเมือง

ไม่ไว้ใจ เสธ.แดงกังวล อนุพงษ์มั่นใจ ประยุทธ์

ในย่อหน้าที่ 6 ทูตสหรัฐบันทึกว่า พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลมากกว่า พล.อ.เปรม ในเรื่องสถานการณ์ด้านความมั่นคงในปี 2553 โดยเสนอว่า ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ (เผ่าจินดา) ไร้ความสามารถในการควบคุมพล.ต.ขัตติยะ นายพลหัวแข็ง ซึ่งอยู่ในเครือของเสื้อแดงซึ่ง พล.อ.อ.สิทธิกล่าวหาว่า เป็นผู้ยิงระเบิดเอ็ม-79 ใส่ผู้ชุมนุมเสื้อเหลือง และ พล.ต.ขัตติยะ ยังได้ไปพบกับทักษิณในต่างประเทศด้วย พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวด้วยว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ใช่ผู้หาข่าวที่ดี

ในบันทึกของทูตอีริค ยังวงเล็บด้วยว่า สามวันถัดจากการคุยกับ พล.อ.อ.สิทธิ มีผู้โจมตีห้องทำงานของ พล.อ.อนุพงษ์ในช่วงกลางคืนด้วยเอ็ม-79 และ พล.ต.ขัตติยะ ถูกสงสัยอย่างมาก

โดยในย่อหน้าที่ 6 บันทึกของอีริค จี จอห์น ระบุว่า พล.อ.อ.สิทธิ มีความหวังกับรองผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.ประยุทธ์ (จันโอชา) มากกว่า โดยคาดหมายว่าจะได้มาแทนตำแหน่งของ พล.อ.อนุพงษ์ ในเดือนตุลาคม [...] พล.อ.อ.สิทธิอ้างด้วยว่า พล.อ.เปรม ได้ส่งสัญญาณว่าไม่พอใจ พล.อ.อนุพงษ์ โดยแสดงอาการดูแคลนในระหว่างที่บรรดานายพลเข้าพบ พล.อ.เปรม ที่บ้านพักเพื่ออวยพรวันเกิด โดย พล.อ.เปรม ไม่พูดคุยกับ พล.อ.อนุพงษ์เป็นการส่วนตัว ระหว่างที่ พล.อ.อนุพงษ์ยืนอยู่กับกลุ่มผู้บัญชาการทหารคนสำคัญๆ

นอกจากนี้ในบันทึกยังกล่าวถึงทัศนะของ พล.อ.เปรม พล.อ.อ.สิทธิ และนายอานันท์ ต่อเรื่องการสืบราชสมบัติด้วย […]

ทักษิณยังเป็นประเด็นสำหรับเปรม-สิทธิ-อานันท์

ส่วนในย่อหน้าที่ 13 บันทึกของทูตยังระบุด้วยว่า ทักษิณยังคงเป็นประเด็นสำหรับสามบุคคลสำคัญนี้ (เปรม-สิทธิ-อานันท์) อดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์กล่าวถึงพระพลานามัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว […] และการท้าทายของทักษิณเป็นต้นเหตุต่อเรื่องเสถียรภาพของประเทศนี้ พล.อ.เปรมถามต่อทูตสหรัฐฯ ว่าสหรัฐอเมริกาควรทำอย่างไรต่อสถานการณ์ของไทย ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านได้แต่งตั้งอดีตผู้นำรายนี้ (หมายถึงทักษิณ) ขึ้นเป็นที่ปรึกษา ซึ่งบุคคลนี้มีความแน่วแน่ในการโค่นล้มรัฐบาล ทูตสหรัฐฯ ตอบว่าขณะที่อดีตประธานาธิบดีสหรัฐจะกล่าวสุนทรพจน์ถึงประเด็นในประเทศอื่น เป็นบางครั้งคราว แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับรัฐบาลประเทศอื่น แต่ทูตสหรัฐ ได้แนะนำ พล.อ.เปรม และเจ้าหน้าที่ไทยให้ใช้วิธีให้ความเห็นต่อสาธารณะในเรื่องกัมพูชา และไม่ควรเล่นเกมตาต่อตาฟันต่อฟันกับทักษิณและฮุนเซ็น

ในบันทึกของทูตวงเล็บว่าดูเหมือนว่า พล.อ.เปรม จะรำพึงถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจน แต่ก็มีความชัดเจนว่า พล.อ.เปรม มุ่งไปที่ความรับรู้ต่อเรื่องการคุกคามโดยทักษิณ และการที่ฮุนเซ็น อำนวยความสะดวกให้กับกิจกรรมของทักษิณ

พล.อ.อ.สิทธิ ไม่ไว้ใจกัมพูชา บรูไน ลาว เวียดนาม หนุนหลัง ฮุนเซ็น

ในย่อหน้าที่ 14 พล.อ.อ.สิทธิ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์เพิ่งมาเยี่ยมเขาในวันคล้ายวันเกิดครบ 90 ปี และชี้ให้เห็นว่าอีกไม่นานไทยจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน อภิสิทธิ์จะมีข้อจำกัดน้อยลงในการตอบโต้ด้วยฝีปากกับฮุนเซ็น พล.อ.อ.สิทธิ แสดงความกังวลเพิ่มเติมต่อกรณีของกัมพูชา และบรูไน ว่าน่าจะอยู่ในฝ่ายทักษิณ โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดของทักษิณ กับฮุนเซ็น และสุลต่านบรูไน ลาว และเวียดนาม ซึ่งน่าจะหนุนหลังฮุนเซ็น ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศไทย-กัมพูชา ขณะนี้

ในย่อหน้าที่ 15 พล.อ.อ.สิทธิ โจมตีทักษิณว่า พยายามใช้เงิน, ผู้ชุมนุมเสื้อแดง และ ฮุนเซ็น เพื่อ ทำลายประเทศของเราแต่เขาทำนายว่าทักษิณจะทำไม่สำเร็จ ทักษิณไม่เคยพยายามเจรจา พล.อ.อ.สิทธิแนะนำว่า ข้อเรียกร้องทักษิณจะได้รับการตอบสนอง ถ้าเขากลับเข้าประเทศ และรับโทษในคุกพอเป็นพิธี ทักษิณก็น่าจะได้รับการอภัยโทษอย่างรวดเร็ว และได้รับการปล่อยตัวในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี แต่ตอนนี้ทักษิณพยายามก่อความยุ่งเหยิง จุดชนวนโดยใช้กำลัง ในขณะที่ พล.อ.อ.สิทธิ ยังคาดด้วยว่า ทักษิณจะแพ้คดีในวันที่ 26 ก.ย. (ปี 53) ต่อกรณีเงินที่ถูกอายัดเงินจำนวน 76,000 ล้านบาท แต่ พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่าจากข้อมูลของเขาแสดงให้เห็นว่าทักษิณยังคงมีเงินราว 240,000 ล้านบาทในต่างประเทศ ทักษิณแทนที่จะอยู่ต่างประเทศเงียบๆ แต่ทักษิณได้ตัดสินใจสู้ โดย พล.อ.อ.สิทธิ อ้างว่า ทักษิณได้ให้ทุนสนับสนุนบรรดาเว็บไซต์โจมตีพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าฯ เพื่อจุดชนวนต่อทัศนะการต่อต้านสถาบันกษัตริย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน