แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพแดงฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ ทำบุญฮ้องขวัญอุทิศวีรชนเสื้อแดงที่เสียชีวิต



























หมายเหตุ - "สืบสกุล กิจนุกร" นักศึกษาปริญโท สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่รายงานเรื่อง "ประมวลภาพแดงฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ ทำบุญฮ้องขวัญอุทิศวีรชนเสื้อแดงที่เสียชีวิต" ลงในเว็บไซต์สำนักข่าวประชาธรรม เมื่อ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา โดย "ประชาไท" ได้รับการเอื้อเฟื้อภาพและรายงานจาก "ประชาธรรม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ต่อ โดยมีรายละเอียดของรายงานดังนี้






หมายเหตุ - "สืบสกุล กิจนุกร" นักศึกษาปริญโท สาขาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยแพร่รายงานเรื่อง "ประมวลภาพแดงฝาง-แม่อาย-ไชยปราการ ทำบุญฮ้องขวัญอุทิศวีรชนเสื้อแดงที่เสียชีวิต" ลงในเว็บไซต์สำนักข่าวประชาธรรม เมื่อ 30 ส.ค. ที่ผ่านมา โดย "ประชาไท" ได้รับการเอื้อเฟื้อภาพและรายงานจาก "ประชาธรรม" เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ต่อ โดยมีรายละเอียดของรายงานดังนี้

หลังจากยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่จังหวัดเชียงใหม่ อุปมาดังพายุมรสุมที่ปกคลุมคนเสื้อแดงอยู่ได้ผ่านพ้นไป ความรู้สึกของคนเสื้อแดงที่เก็บไว้ เริ่มถูกระบายออกมาผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง อาทิตย์ที่ผ่านมาก็มีการจัดกิจกรรมผูกผ้าแดงที่ถนนคนเดินเชียงใหม่ มีคนเสื้อแดงเข้าร่วมกิจกรรมจนเต็มถนนคนเดิน

ล่าสุดที่ วัดสันทรายคลองน้อย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (29 ส.ค 53) ชมรมรักฝาง-แม่อาย-ไชยปราการจัดพิธีทำบุญให้วีรชนคนเสื้อแดง ซึ่งมีคนเข้าร่วมพิธี 1,000 กว่าคน บรรยากาศเป็นไปอย่างกันเองตามประสาชาวบ้านและพิธีกรรมก็เหมือนกับการทำบุญ เรียกขวัญทั่วไป (ลองจินตนาการภาพตามนะครับ)

เมื่อเข้าไปในหมู่บ้านแห่งนี้ก็ป้ายผ้าประกาศตัวอย่างชัดเจนว่าเป็น "หมู่บ้านประชาธิปไตย" เมื่อเข้าไปในบริเวณการจัดงาน ก็จะมีการตั้งซุ้มให้ลงชื่อว่ามาจากไหนกันบ้าง ถัดไปก็มีการตั้งเต้นจัดนิทรรศการเหตุการณ์การชุมนุมและการล้อมปราบของ รัฐบาล มีการนำรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 91 ศพ มาเป็นแสดงและเรียงร้อยต่อกัน รวมถึงมีการตั้งกล่องบริจาคเพื่อให้กลุ่มมีกองทุนดำเนินงานต่อ

เมื่อได้ฤกษ์เวลาอันสมควร ก็มีการนิมนต์พระสงฆ์ มาทำพิธีการทางศาสนา ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย หลังจากนั้นก็มีพิธีกรรม "ฮ้องขวัญ" (เรียกขวัญ) ตามแบบประเพณีล้านนาดังเดิม จากนั้นก็ได้เผาหุ่นจำลองที่เขียนคำว่า "เผด็จการ" เมื่อ เสร็จสิ้นกิจกรรมก็มีการเลี้ยงอาหารโดยตั้งเป็นโรงทาน(โรงทานเป็นวัฒนธรรม เฉพาะของเชียงใหม่และลำพูนผู้มีจิตศรัทธาหุงหาอาหาร ของคาวของหวาน มาบริการในยามมีงานปอยที่วัด) ซึ่งวันนี้มีคนมาออกโรงทานประมาณ 30 เจ้า ส่วนใหญ่เป็นผุ้ประกอบการกิจการร้านอาหารอยู่แล้ว

หลังจากการประกอบกิจกรรม ผุ้ใหญ่บ้านถูกอำเภอเรียกไปตักเตือนด้วย แต่ผู้ใหญ่บ้านยืนยันว่า "เขาไม่ได้ใส่เครื่องแบบผู้ใหญ่บ้านไปชุมนุนมเขาอยู่ในตำแหน่งก็ชั่วคราว แต่ "สิทธิ" ทางการเมืองเป็นของเขา เขาต้องไป" สิ่งเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนอย่างดีว่าการปราบหรือกำจัด หรือขู่คนเสื้อแดงด้วยความตาย ไม่ได้ทำให้คนเสื้อแดงเหี่ยวแห้งตายไป แต่เพิ่มพูนและรอวันกลับมายืนในพื้นที่ทางการเมืองที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย"

หมายเหตุ - พิธีฮ้องขวัญ หรือบางทีเรียก พิธีเรียกขวัญ หรือพิธีสู่ขวัญ เป็นความเชื่อสะท้อนการผสมผสานเรื่องของขวัญกับพุทธศาสนา และอำนาจลี้ลับเหนือ ธรรมชาติ

พิธีกรรมลักษณะนี้อยู่บนรากฐานความเชื่อทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตของคนไทย ในทุกท้องถิ่นแต่มีการปรับเปลี่ยนไปตาม วัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นนั้น

คำว่า "ขวัญ" หมายถึง ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย? สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่า มี อยู่ประจำชีวิตของคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญอยู่กับตัว ก็จะเป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็จะออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้นทำให้คนได้รับผลร้ายต่างๆ

ชาวล้านนามีความเชื่อกันว่าขวัญจะอยู่ประจำตัวเป็นพลังที่ช่วยในการปก ป้องรักษาเจ้าของขวัญให้ มีความอยู่เย็นเป็นสุขไม่ เจ็บไม่ป่วย แต่เมื่อใดที่ขวัญอ่อนลงหรือออกจากร่าง จะเป็นเหตุให้สภาวะของร่างกายและจิตใจของเจ้าของขวัญรู้สึกเสียใจ ตกใจ ท้อใจ อาจเรียกได้ว่า ขวัญหาย ขวัญหนีดีฝ่อขวัญเสียหรือเสียขวัญ ทำให้เจ้าของขวัญเจ็บป่วย กินไม่ได้นอนไม่หลับ ไม่มีกำลังใจ ในการดำเนินชีวิต ถ้าต้องการให้ขวัญกลับคืนสู่ตัวและชีวิตเป็นปกติสุข จำเป็นต้องทำพิธีฮ้องขวัญ

ในการประกอบพิธีฮ้องขวัญของชาวล้านนา ต้องอาศัยผู้ที่มีภูมิความรู้ความชำนาญในการจัดพิธีกรรม โดยผู้ประกอบพิธี ส่วนใหญ่เป็นเพศชายและผ่านการบวชมาแล้ว เรียกว่า หมอขวัญ อาจารย์วัด (ปู่วัด) พ่อหนาน ทำหน้าที่เป็นผู้เรียกขวัญใช้บทเรียก ขวัญที่มีเนื้อหาปฎิภาณไหวพริบโน้มน้าวเชิญชวนให้ขวัญกลับเข้ามา มีสำเนียงน้ำเสียงสุภาพอ่อนโยน มีภาษาบาลีประกอบบ้าง เพียงเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความขลังและศักดิ์สิทธิ์ของพิธี (อ่านเพิ่มเติม)

ภาพทั้งหมดสามารถติดตามได้ที่ สำนักข่าวประชาธรรม

https://www.suresome.com/proxy/nph-secure/00A/http/www.prachatham.com/detail.htmmoctod321ksa4cnelru3fcodemoctod321ksa4cnelru3dn3_30082010_02

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน