วัตถุ สิ่งของที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะกิจภายในระยะเวลาสั้นๆ นั้น มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมดำรงอยู่ในตัวของมันเอง อย่างไรก็ตาม มันกับกลายเป็นของหายาก เนื่องจากไม่ได้ถูกเก็บสะสมโดยผู้คนทั่วไป หรือไม่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างเหมาะสม
วัตถุ สิ่งของเหล่านั้นบ่งบอกถึงแง่มุมต่างๆ ในสังคม เช่น การเปลี่ยนผ่านทางสังคม, ความเห็นที่แตกต่างและขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง, นโยบายของรัฐบาล, แฟชั่นตามกระแส ฯลฯ รวมทั้งยังบรรจุไว้ซึ่งความเข้าใจลึกซึ้งบางประการ ที่งานศึกษาวิจัยทั่วไปมักจะมองข้าม
ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้ ถึงสิ้นเดือนตุลาคม ห้องสมุดแห่งชาติออสเตรเลีย จึงได้เก็บรวบรวมของที่ระลึกซึ่งเกิดจากความขัดแย้งทางการเมืองและสงครามสีในประเทศไทยที่ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 มาจัดแสดงในห้อง "เอเชี่ยน คอลเล็คชั่นส์"
ทั้งนี้ ห้องสมุดดังกล่าวยังรวบรวมนิตยสารของคนเสื้อแดงที่ถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทยมาจัดแสดงด้วย ได้แก่ วอยซ์ ออฟ ทักษิณ, ความจริงวันนี้, ไทย เรด นิวส์, เรด พาวเวอร์ และธงแดง
(ข้อ มูลจากเว็บล็อก "นวมณฑล" (นิว มันดาลา) ซึ่งจัดทำโดยกลุ่มนักวิชาการสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น