โดย ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ ผู้ประสานงานแดงสยาม
หมายเหตุ:บท ความนี้เป็นส่วนหนึ่งที่คุณชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ ผู้ประสานงานกลุ่มแดงสยาม บรรยายให้นักศึกษาฟัง ที่คณะนวตกรรมสังคมท มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่17 กันยายนที่ผ่านมา
ด้วยความคิดแว้บแรกสืบจากการได้เห็นความสนใจในหลายๆผู้คนที่พบปะแลกเปลี่ยน กับผู้เขียน และมักจะถามถึงว่าขบวนการคนเสื้อแดงว่าเป็นมาเป็นไปอย่างไร?
ผม จึงตกลงใจว่าจะลองประมวลข้อมูลในหลายๆมิติที่ผู้เขียนเข้ามาอยู่ในขบวนการ เสื้อแดงตั้งแต่ต้นแ ละตรวจสอบจากแหล่งวัตถุดิบที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตทั้งหลาย หวังว่าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้างต่อพี่น้องเสื้อแดง แม้ศอฉ. สันติบาล ทั้งหลายจะทำเป็นรายงานเสนอเจ้านายก็ไม่ว่ากัน ซึ่งข้อเขียนนี้ ผู้เขียนขอรับผิดชอบหากผิดพลาด แต่หากสมประโยชน์ก็อย่านำไปบิดเบือน แค่นี้ก็พอใจแล้วครับ
กลุ่มแรกขอเรียกว่ากลุ่มประชานิยม มีความหลากหลายและแตกต่างด้าน เศรษฐกิจ สังคม อาชีพ การศึกษา แต่มีส่วนร่วมทางการเมืองเหมือนกัน คือชมชอบนโยบายประชานิยม รักเชื่อมั่นผู้นำ ยึดมั่นในระบอบ ประชาธิปไตย รัฐสภา
หัวขบวนการ คือแกนนำแดงสามเกลอ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน ประกอบไปด้วย คุณวีระ มุกสิกพงษ์ คุณจตุพร พรหมพันธ์ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กลุ่ม ส.ส.พรรคเพื่อไทย กลุ่มบ้านเลขที่111 ซึ่งจะมาเป็นบุคคล หรือกลุ่มเพื่อน กลุ่มวิทยุชุมชนในเมืองและต่างจังหวัดทั่วประเทศ กลุ่มพีเพิลแชลแนล กลุ่มไซเบอร์เนต
ช่วงก่อนเหตุการณ์19 พ.ค.2553 กลุ่มประชานิยมคุมเสียงใหญ่สุดในการขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่หลังเหตุการณ์19 พ.ค.2553 เมื่อแกนนำที่มีบทบาทการนำถูกจับกุมและอีกส่วนหนึ่งหลบภัยกบดาน เท่ากับว่าได้ยุติการนำโดยปริยาย แม้จะมี ส.ส.พรรคเพื่อไทยแ ต่การขยับทางการเคลื่อนเหมือนครั้งที่ผ่านมาคงทำได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น
กลุ่มที่สองมีสองกลุ่มหลักๆที่แตกต่างในทิศทางการต่อสู้และเคลื่อนไหว ซึ่งมีประสบการณ์ต่อสู้ภาคประชาชนมายาวนาน แต่มีความสับสนในเรื่องการสร้างมวลชนแต่เริ่มแรก และเคยเข้าร่วมกับ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย คือนายแพทย์เหวง โตจิรการและ อาจารย์ใจ อึ้งภากรณ์ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่ม
2.1กลุ่มสันติวิธีจัดตั้งโดยหมอเหวง (นายแพทย์เหวง โตจิราการ) สาย ปฏิรูปอ่อนๆคือ เชื่อมั่นในกลไกรัฐ แต่ก็พยายามเสนอความคิดของตัวเองผ่านการชุมนุมบนเวทีและโรงเรียน นปช. ซึ่งมวลชนใช้แนวคิดการพึ่งพาตัวเอง และได้ทะยานเป็นอาสาสมัครแถวหน้าที่มีจำนวนแม่บ้านเสื้อแดงมากที่สุด
2.2 กลุ่มเลี้ยวซ้าย มีอาจารย์ใจ อึ้งภากรณ์ เป็นผู้นำความคิดมาร์กซิตส์ สายทรอตสกี้ เชื่อ มั่นการปฎิวัติไม่ปฎิเสธความรุนแรงโดยชนชั้นกรรมาชีพแดงปฎิวัติ แม้การปรากฎตัวบนเวทีเสื้อแดงครั้งแรกของเขาจะเป็นครั้งสุดท้ายก็ตาม แต่อิทธิพลทางความคิดอันแหลมคม และบุคลิกภาพโดดเด่นได้ทำให้เสื้อแดง กรรมาชีพในเมือง แม่บ้านเสื้อแดง ตื่นตัวและฝากความหวังลึกๆกับเขาในกระแสที่ผ่านมา และกลุ่มนี้มีสื่อสิ่งพิมพ์ของตัวเองใช้ในการจัดตั้งเผยแพร่ความคิดของกลุ่ม ตน รวมถึงต่อกลุ่มอื่นๆซึ่งฐานสมาชิกของกลุ่มเลี้ยวซ้ายจะมีนักสหภาพแรงงานบาง ส่วนเข้าร่วม
2.3 กลุ่ม 24 มิถุนา ประชาธิปไตย มีสมยศ พฤษาเกษมสุข และส.ส. สุนัย จุลพงศธร มีแนวคิดเชิงปฎิรูป มี รูปแบบการเคลื่อนไหวแบบนักกิจกรรมทางการเมือง NGO คือมีลักษณะเชิงรับต่อสถานการณ์ เคลื่อนเป็นประเด็น มีสื่อของตัวเอง Red Power ในการประชาสัมพันธ์ข่าวการเคลื่อนไหวต่างๆ และพยายามก่อตั้งสมัชชาประชาธิปไตย โดยนำตัวแทนคนเสื้อแดงในกลุ่มภูมิภาคต่างๆตั้งขนานเป็นกลุ่มปฏิรูปคู่ขนาน คณะปฎิรูปของรัฐบาลอภิสิทธิ์
กลุ่มที่สาม น่าจะเป็นกลุ่มแดงสยาม มีคุณจักรภพ เพ็ญแข เป็นศูนย์กลางเชื่อมประสานงานความคิด อาจารย์สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ มีแนวทางการลุกขี้นสู้ลักษณะปฎิวัติ และแกนนำยังคงเชื่อมั่นในตัวคุณทักษิณ ชินวัตร มวลชนกลุ่มนี้มีจุดยืนอุดมการณ์ลักษณะแรงกล้า แต่ขาดไร้การจัดตั้งที่ชัดเจน ไม่มีการทำงานในรูปกลุ่มงานทางการเมือง หากว่าการปรับองค์กรขับเคลื่อนภายหลังเหตุการณ์ 19 พ.ค.2553 น่าสนใจว่า ทั้งในส่วนแกนนำและมวลชนซึ่งต่างรอคอยสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นว่า องค์กรนำใหม่ของคนเสื้อแดง นามว่า แดงสยาม จะนำเสนออะไรต่อสังคมและอนาคตใหม่เสื้อแดงจะเป็นอย่างไร?
กลุ่มที่สี่ คือกลุ่มที่ไม่ได้ปฏิเสธการใช้กำลังในการปกป้องมวลชนเสื้อแดง จะ เป็นทั้งการ์ดของคุณอารีย์ การ์ดของเสธ.แดง(พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล) ซึ่งที่มีประสิทธิภาพการใช้กำลังที่สุดคือ อาสาทหารพราน กลุ่มนักรบพระเจ้าตากฝึกการป้องกันตัว ไม่มีการฝึกใช้อาวุธ จะเป็นการ์ดอาสาสมัครทั่วไป
กลุ่มที่ห้า กลุ่มเสรีชน ชนชั้นกลางบน กลางล่าง กลางๆ รวมตัวแบบหลวมๆ สร้างกิจกรรมขึ้นมาเอง และพอใจกับสีสันที่ตัวเองแต่งแต้มขึ้น แต่ก็ยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในมวลชนเสื้อแดง เช่น กลุ่มวันอาทิตย์สีแดง เครือข่ายเฟชสบุค กลุ่มกาแฟต่างๆ รัก ประชาธิปไตยแบบหลากหลาย ซึ่งไม่มีแนวคิดชี้นำ ชอบกิจกรรมท้าทายแต่ออกแนวรสนิยมไฮเปอร์ เสียดสีล้อเลียน คล้ายเด็กดื้อแบบลูกคนชั้นกลาง ไม่รุกเร้าและไม่ขนาดท้าทายต่ออำนาจชนชั้นนำ แต่หากมีกิจกรรมใหม่ขึ้นมา กลุ่มนี้ก็จะเข้าไปเป็นแนวร่วมได้ไม่ ซึ่งทั้งนี้ กลุ่มที่ห้าจะโยกตัวเองไปอยู่กลุ่มใดๆได้ทุกกลุ่มที่มีสถานการณ์ทางการเมือง เกิดขึ้นใหม่
กลุ่มที่หก คือกลุ่มที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเฉพาะตัวไม่นิยมฝักใฝ่ฝ่ายใด ขี้นอยู่กับสถานการณ์เป็นตัวเร่งการทำงานของกลุ่ม เช่น กลุ่มพลังรวมใจ กลุ่มประกายไฟ กลุ่มเสรีปัญญาชน กลุ่มสมัชชาสังคมก้าวหน้า ฯลฯ และการจัดตั้งจะหนักไปในรูปแบบจัดวงเสวนาต่างๆมีความเป็นนักกิจกรรมและ ปัจเจกชนค่อนข้างสูง
การเปลี่ยนผ่านสถานการณ์ปัจจุบันและความแพ้พ่าย บอบช้ำของคนเสื้อแดง อาจจะทำให้พลังขับเคลื่อนกลุ่มต่างๆมีความพลวัตรในเชิงเทคนิค การปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่ๆ กำลังสร้างให้พวกเขามิใช่แค่คนเสื้อแดงในการรับฟังความคิดชี้นำจากแกนนำ เพียงอย่างเดียว ซึ่งจากจุดเริ่มต้นนี้จะนำไปสู่ คุณภาพใหม่ และปริมาณใหม่ แต่ก็ยังรักษาปรัญชาการต่อสู้ในหลักทางสากลต่อไป
อย่างไรก็ตามผู้ เขียนมิได้กล่าวถึงกลุ่มอื่นๆที่เป็นพลังสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ เพราะ คนเสื้อแดงต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า เขาคือ ประชาชนอาสาสมัครเพื่อประชาธิปไตย ออกทุนเองมิใช่ม็อบรับจ้างทั่วไป
คุณละอยู่กลุ่มไหน?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น