Posted by คมชัดลึก
การลงมืออย่างย่ามใจของกลุ่มกองกำลังติด อาวุธที่ก่อเหตุทั้งลอบวางระเบิด และยิงเอ็ม 79 เข้าใส่อาคารคิงเพาเวอร์ถึงสองครั้งซ้อนๆ รวมทั้งเหตุยิงเอ็ม 79 ชุดล่าสุดที่สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (เอ็นบีที) เท่ากับเป็นการตบหน้ารัฐบาล และกองทัพอย่างแรง
โดยเฉพาะด้าน "การข่าว" ที่นายสุเทพถึงขนาดว้ากในที่ประชุม ศอฉ. และออกมาระเบิดอารมณ์ต่อหน้านักข่าวในทำนองไม่พอใจการทำงานของหน่วยข่าวที่ ทำงานแบบไม่บูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันจนทำให้เกิดเหตุป่วนเมืองซ้ำ ซาก
หวยจึงมาออกที่หน่วยข่าวด้านความมั่นคง ทั้งสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจสันติบาล
นอกจากจะออกมาบ่นดังๆ แล้ว นายสุเทพยังสั่งให้มีการ "ยกเครื่อง" งาน ข่าวทั้งระบบอีกครั้งเพื่อต้องการให้หน่วยข่าวทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียว กัน เพื่อให้สามารถป้องกันเหตุได้ทันท่วงที ไม่ใช่รู้แค่จุดที่จะลงมือ แต่ไม่สามารถระบุวัน ว. เวลา น.ได้เหมือนที่ผ่านมา
ทั้งนี้ การบูรณาการด้านการข่าวจะทำให้มีลักษณะเป็น “ประชาคมข่าว” โดยมีการสนธิจากหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งจากรัฐบาล ศอฉ. กองทัพ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยมอบหมายหน้าที่ให้ นาย
นอกจากนี้ ศอฉ.ยังส่งทีมเฉพาะกิจ (ฉก.) ลงติดตาม "พื้นที่เสี่ยง" ที่จะเกิดเหตุการณ์ทั่วกรุงเทพมหานคร ทั้งบ้านพักบุคคลสำคัญ สถานที่ราชการสำคัญ แหล่งพลังงานเชื้อเพลิง โรงเรียน สถานีโทรทัศน์ รวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ตลอด 24 ชั่วโมง
ศอฉ.ยังออกแผนปฏิบัติการดูแลพื้นที่ 3 มาตรการ คือ 1.การป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ และปิดช่องโอกาสในการก่อเหตุ 2.การกดดันเข้าไปตรวจสอบกลุ่มที่มีแนวโน้มว่าจะก่อเหตุ โดยกระบวนการสืบสวนสอบสวน และ 3.มาตรการเชิงรุก หรือการปฏิบัติการทางจิตวิทยา
ทั้งยังมีการแบ่งโซนจุดเสี่ยง 3 ระดับ คือ 1.พื้นที่ เฝ้าพิเศษ คือ พื้นที่มีแนวโน้มก่อเหตุสูง หรือพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุขึ้น และมีแนวโน้มการก่อเหตุสูง หรือพื้นที่ที่ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด 130 จุด โดยจะมีการสนธิกำลังจากสารวัตรทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และเทศกิจ
2.พื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ ซึ่งจะมีภัยคุกคามน้อยกว่าระดับที่ 1 คือ สถานที่ราชการอื่น โดยเฉพาะเป้าหมายที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ รวมถึงจุดที่เคยมีการปะทะกันประปราย รวม 198 จุด และจะมีการจัดจุดตรวจ และมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
3.พื้นที่เฝ้าระวัง คือ ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร และศูนย์การค้าที่ง่ายต่อการก่อเหตุ รวม 136 จุด รวมถึงมีการจัดกำลังชุดเฉพาะกิจ หรือชุดปฏิบัติการพิเศษกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือเหตุการณ์ขนาดใหญ่ ซึ่ง ศอฉ.ได้จัดเตรียมไว้ถึง 10 ชุด
นาย
โดย เฉพาะการอยากรู้ว่าฝ่ายตรงข้ามจะเคลื่อนไหวอย่างไร จะเกิดเหตุอย่างนั้นอย่างนี้ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เป็นเรื่องที่นักการเมืองทุกคนอยากรู้อยู่แล้ว และนักการข่าวก็ต้องการจะตอบสนองเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าจะตอบสนองได้ "ถูกใจ" แค่ไหนเท่านั้น
ส่วน การออกมาแสดงความไม่พอใจของนาย
ขณะ เดียวกัน หากหน่วยข่าวทำงานเต็มที่แล้ว แต่ขาดปัจจัยสำคัญคือ งบประมาณที่จะใช้ในการหาข่าว หรือสร้างแหล่งข่าวเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การออกมาโวยวายของฝ่ายการเมืองก็ออกจะไม่เป็นธรรมเท่าไรนัก
อดีต ผอ.สขช.กล่าวย้ำว่า แม้จะจัดสรรงบประมาณให้มากแค่ไหนก็ตาม แต่ไม่ว่าหน่วยข่าวที่ไหนในโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ หรืออิสราเอล ก็ไม่ใช่ว่าจะรู้ทุกเรื่อง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าหน่วยข่าวป้องกันไม่ได้มา แล้ว
"ต้อง ยอมรับว่า การป้องกันทำได้ยาก และเวลาที่เกิดเหตุมา คนที่จะโดนตำหนิคนแรกก็คือหน่วยข่าว ทั้งที่สมมติว่า มีความพยายามก่อเหตุ 10 ครั้ง และหน่วยข่าวป้องกันได้ 5 ครั้งจะไม่เป็นข่าว แต่อีก 5 ครั้งที่เกิดเหตุก็จะเป็นข่าวในทันที"
ส่วน แนวโน้มการก่อเหตุรุนแรงขึ้นอีกในอนาคต เช่น ข่าวการเตรียมระเบิดสถานีรถไฟฟ้า เขามองว่า ก็มีสิทธิ์เกิดขึ้นได้ ถ้ามองจากศักยภาพของฝ่ายตรงข้ามที่ยังก่อเหตุได้เรื่อยๆ แต่คำถามก็คือ เขาจะทำเพื่ออะไร
"เรื่อง การก่อเหตุก่อกวน ผมว่าเขาคงทำเรื่อยๆ เพื่อให้ดูว่ารัฐบาลควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ส่วนเหตุที่ทำให้เกิดความสูญเสียมากๆ ผมว่าคนที่มีสติสัมปชัญญะดีๆ คงไม่กล้าทำ เพราะถ้าเขาทำ คนก็จะยิ่งไม่ยอมรับเขามากขึ้นไปอีก"
เมื่อถามว่า "เขา" ที่ ว่า ยังมีสติปชัญญะดีอยู่หรือ อดีต ผอ.สขช. หัวเราะร่วน ก่อนจะย้อนถามกลับทันทีว่า...แล้วคุณล่ะ คิดว่าเขายังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่หรือเปล่า !?!?ทำให้การประชุมศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ที่มี นาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น