แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ICG แนะไทยเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จัดการเลือกตั้งที่สันติ เพื่อสร้างความปรองดองในชาติ


Mon, 2010-07-05 05:44

อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ปเผยแพร่รายงานฉบับล่าสุด ประสานรอยแยกในประเทศไทยแนะรัฐบาลไทยหากต้องการนำเสถียรภาพกลับคืนมาสู่ประเทศควรเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ทันทีเพื่อสร้างบรรยากาศการปรองดองในชาติ นำไปสู่การสร้างฉันทามติใหม่ทางการเมืองและการเลือกตั้งอย่างสันติ

วันนี้ (5 ก.ค. 53) อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป (International Crisis Group) หรือ ไอซีจี ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ศึกษาวิกฤตระดับนานาชาติเพื่อป้องกันและแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งรุนแรง มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม ได้เผยแพร่รายงานฉบับที่ 192 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดที่ชื่อ “Bridging Thailand's Deep Divide” หรือประสานรอยแยกในประเทศไทย

โดยเนื้อหาของรายงานโดยสรุประบุว่า ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มชนชั้นนำและกลุ่มผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อให้เกิดความแตกแยกอย่างรุนแรงในสังคมไทย ในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมาได้เกิดเหตุการณ์เผชิญหน้ากันทางการ เมืองซึ่งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษและทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คนและบาดเจ็บอีกเกือบ 2,000 คน เหตุการณ์นั้นยังคงทิ้งรอยแผลลึกในความรู้สึกของคนในชาติ ก่อนหน้าที่รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะจะตัดสินใจใช้ทหารเข้าสลายการชุมนุม รัฐบาลได้เสนอแผนปรองดองแห่งชาติกับฝ่ายที่ต่อต้าน และขณะนี้รัฐบาลก็ยังคงพยายามดำเนินการตามแผนนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการปราบปรามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง การบังคับใช้พระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นได้จำกัดสิทธิพื้นฐานของกลุ่ม คนเสื้อแดง

นายจิม เดลา-จิอาโคม่า ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป กล่าวว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่การปรองดองอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นข้อเสนอจากรัฐบาลที่รับผิดชอบโดยตรงต่อการสลายการชุมนุมของกลุ่มคน เสื้อแดงซึ่งทำให้ผู้คนบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงยังคงมีการปรามปรามอยู่ในขณะนี้ สัญญาณแรกที่จะบ่งบอกถึงความพยายามที่จะเชื่อมสะพานอีกครั้งหนึ่งก็คือการยก เลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินโดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข

เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างกว้างขวางภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่ขณะนี้บังคับใช้อยู่ใน 24 จังหวัดหรือหนึ่งในสามของประเทศ เจ้าหน้าที่ได้ห้ามการชุมนุมทางการเมือง ปิดสื่อ คุมขังแกนนำคนเสื้อแดงและระงับการทำธุรกรรมการเงินของคนที่ถูกมองว่าเป็น เป็นผู้สนับสนุนทางการเงิน การปรองดองไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ในสภาวะที่ผู้ที่ควรจะมีส่วนอย่างยิ่งยวดใน การเข้าร่วมกระบวนการนี้กำลังถูกละเมิดสิทธิทางการเมืองและอยู่ในสภาพที่ ต้องหลบหนีการจับกุม เมื่อกลุ่มคนเสื้อแดงไม่มีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นอย่างสันติและเปิดเผย อันเป็นผลจากกฎหมายอันรุนแรงที่บังคับใช้อยู่นี้ ก็เสมือนเป็นการผลักพวกเขาให้ลงไปสู่ใต้ดินและมีโอกาสที่จะนำไปสู่การกระทำ ที่รุนแรง

การแสวงหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงและการนำคนที่กระทำความผิด ทางอาญาของทุกๆ ฝ่ายมาลงโทษเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการสร้างความปรองดองในชาติ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติที่มีนาย คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าคณะนั้น ไม่ควรแต่จะแสวงหาความจริงเพียงเท่านั้น แต่ควรจะริเริ่มกระบวนการทางกฎหมายเพื่อนำคนที่สอบสวนแล้วว่าได้กระทำการผิด กฎหมายและก่อความรุนแรงมาลงโทษ การที่รัฐบาลใช้ข้อหาก่อการร้ายดำเนินคดีกับแกนนำคนเสื้อแดงนั้นเป็นการ กระทำที่เกินกว่าเหตุกับการชุมนุมประท้วงที่โดยส่วนใหญ่แล้วสันติและไม่ได้ มีความมุ่งประสงค์ในการทำร้ายพลเรือน การตั้งข้อหานี้เป็นการมองแบบสั้นๆ ซึ่งจริงๆ แล้วคนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่จะต้องเข้ามาร่วมกระบวนการปรองดองเพื่อแก้ปัญหาอัน ยากลำบากที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่

ในระยะยาว ประเทศไทยจะต้องพิจารณาเรื่องการปฏิรูปการเมืองในระดับกว้าง ซึ่งรวมถึงระบบการบริหารการปกครอง รัฐธรรมนูญ รวมถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพ จำเป็นจะต้องมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมให้ทุกฝ่ายเข้าถึงความยุติธรรม อย่างเสมอภาคและมีการกระจายอำนาจมากขึ้น

การเลือกตั้งจะต้องเกิดขึ้นโดยเร็ว และเป็นจุดเริ่มต้นไม่ใช่จุดสุดท้ายของกระบวนการปรองดอง รัฐบาลใหม่ที่มีความชอบธรรมจากการเลือกตั้งโดยประชาชนและได้รับการยอมรับจาก ทุกฝ่ายเท่านั้นที่จะสามารถผลักดันการปฏิรูปให้เดินไปข้างหน้าได้นายโรเบิร์ต เทมเพลอร์ ผู้อำนวยการโครงการเอเชียของอินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ปกล่าว

สำหรับบทคัดย่อของรายงาน ประสานรอยแยกในประเทศไทยมีรายละเอียดดังนี้

000

Asia Report N°192

5 กรกฎาคม 2553

ประสานรอย แยกในประเทศไทย

บทคัดย่อและข้อเสนอแนะ

การต่อสู้อันยืดเยื้อระหว่างฝ่ายชนชั้นนำกับกลุ่มที่ สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกโค่นอำนาจลงส่งผลให้เกิดความแตกแยกที่รุนแรงในสังคมไทยและนำไปสู่การ เผชิญหน้าทางการเมืองที่รุนแรงสุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีผู้คนเสียชีวิตและบาดเจ็บเกือบ 2,000 ชีวิตซึ่งทำให้เกิดบาดแผลที่ร้าวลึกในความรู้สึกของคนในชาติ แผนการปรองดองแห่งชาติซึ่งเสนอโดยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพียงฝ่ายเดียวไม่อาจนำไปสู่การแก้ปัญหาได้หากปราศจากการมีส่วนร่วมของฝ่าย ตรงข้าม ซึ่งรวมถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ กระบวนการสอบสวนความรุนแรงที่น่าเชื่อถือ การปฏิรูปกฎหมายที่มีผลอย่างยั่งยืน รวมถึงการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไม่อาจเกิดขึ้นได้หากปราศจากการมี ส่วนร่วมของกลุ่มคนเสื้อแดง สิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ หากแกนนำคนเสื้อแดงยังคงถูกควบคุมตัว ปราบปรามหรือต้องหลบหนี บททดสอบแรกว่าประเทศนี้จะสามารถกลับคืนสู่หนทางที่ถูกต้องได้หรือไม่หรือยัง คงหลงทางอยู่ที่ความสามารถที่จะจัดการเลือกตั้งครั้งใหม่ให้เป็นไปอย่างสงบ เรียบร้อย ยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย รัฐบาลไทยควรยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีผลบังคับใช้ในหลาย พื้นที่ของประเทศ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำลายระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการปรองดองและยังเป็นการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่ง ความขัดแย้งที่รุนแรงต่อไปในภายภาคหน้าอีกด้วย

การเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญเมื่อทักษิณซึ่ง เป็นอดีตนายตำรวจและเจ้าของกิจการโทรคมนาคมได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการ เลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 ความนิยมของเขาพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่คนยากจนซึ่งได้รับประโยชน์จาก โครงการประชานิยม เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ในเวลาเดียวกัน การปกครองที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จซึ่งมีการคอร์รัปชั่นมากขึ้นก็ทำให้ชนชั้น กลางในเมืองไม่พอใจ ส่วนชนชั้นนำฝ่ายอนุรักษ์นิยมก็กลัวว่าความนิยมในตัวทักษิณจะกลายเป็นสิ่ง ที่ท้าทายอำนาจของพวกเขา พลังของฝ่ายชนชั้นนำประกอบไปด้วยคณะองคมนตรี ทหาร และฝ่ายตุลาการ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) หรือที่เรียกว่า กลุ่มเสื้อเหลือง การเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ประสานสอดคล้องกันในการขจัดทักษิณออกจากการเมืองและลดอิทธิพลของเขา ลง ช่วงต้นปี 2549 กลุ่ม พธม. ได้ท้าทายรัฐบาลทักษิณครั้งแรกด้วยการเดินขบวนประท้วง ต่อมาทหารก็ก่อการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลออกไป ศาลได้มีคำสั่งยุบพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 ในขณะที่ทักษิณลี้ภัยอยู่ต่างแดน แต่พรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นพรรคที่ตั้งขึ้นมาแทน และได้ขึ้นสู่อำนาจก็ถูกศาลสั่งยุบพรรคในช่วงปลายปีอีกเช่นกัน พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมขึ้นภายใต้แรงสนับสนุนของทหารโดยไม่ได้ มีการเลือกตั้งใหม่และนายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

แม้จะต้องสูญเสียอำนาจจากการรัฐประหาร แต่ทักษิณก็ยังไม่สิ้นอิทธิพล ผู้สนับสนุนของเขาเคลื่อนไหวในนามกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ แห่งชาติ (นปช.) ซึ่งการเคลื่อนไหวก็มีความกว้างขวางมากกว่าการต่อสู้เพียงเพื่อบุคคลคนเดียว กลุ่มเสื้อแดงมีแกนนำที่หลากหลาย ทั้งสมาชิกรัฐสภา นักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองและนักจัดรายการวิทยุซึ่งเป็นที่นิยม ซึ่งแกนนำเหล่านี้ก็ไม่มีเอกภาพกันเสียทีเดียว นปช. ได้รับความสนับสนุนจากคนจนทั้งในเมืองและชนบทซึ่งได้กลายเป็นพลังสำคัญที่ เดินขบวนประท้วงขับไล่รัฐบาลที่ทหารแต่งตั้งขึ้นและต่อมาได้ต่อต้านรัฐบาล อภิสิทธิ์ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นนำ ภายหลังจากที่ศาลตัดสินให้ยึดทรัพย์ของทักษิณเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ กลุ่ม นปช. ก็ได้เดินขบวนอีกครั้งและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง การเข้ายึดพื้นที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญ ของกรุงเทพฯ และการบุกเข้าไปในรัฐสภาเป็นเหตุให้รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และพื้นที่ปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 เมษายน ซึ่งทำให้การชุมนุมประท้วงเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย รัฐบาลได้สั่งปิดสื่อและมีการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยโดยไม่ต้องตั้งข้อหา พ.ร.ก. ฉุกเฉินได้ให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างขวางและปกป้องเจ้าหน้าที่จากการถูก ฟ้องร้องดำเนินคดี จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้ถูกประกาศในพื้นที่ทั้งหมด 24 จังหวัดซึ่งนับเป็นพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ การปะทะกันครั้งสำคัญสองครั้งในเดือนเมษายนและพฤษภาคมและเหตุการณ์รุนแรงอีก หลายครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 90 คน ก่อนที่ทหารจะเข้าสลายการชุมนุมด้วยการใช้อาวุธปืนจริง

หลังสลายการชุมนุม รัฐบาลเชื่อว่าตนเองประสบชัยชนะและสามารถฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ได้แล้วแต่อันที่จริงรัฐบาลประเมินความแตกแยกอันลึกซึ้งที่เกิดขึ้นจากการ ใช้ความรุนแรงต่ำเกินไป แผนปรองดองแห่งชาติที่รัฐบาลประกาศนั้นไม่เพียงพอ จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องหาฉันทามติทางการเมืองครั้งใหม่โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วน ร่วมอย่างเท่าเทียม ต้องลดการพูดจาจ้วงจาบรุนแรงใส่กัน รวมทั้งยุติการใช้ข้อหา ก่อการร้ายกับทักษิณและแกนนำ นปช. ในส่วนของแกนนำกลุ่ม นปช. พวกเขาควรประกาศอย่างเปิดเผยว่าจะไม่ใช้ความรุนแรง ไม่ยอมรับบทบาทฝ่ายที่ติดอาวุธและเรียกร้องให้สมาชิกกระทำตาม ผู้ที่ชุมนุมอย่างสันติควรได้รับสิทธิในการดำเนินการทางการเมืองกลับคืนมา การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อพฤติการณ์ที่เป็นความผิดทางอาญาทั้งในอดีตและอนาคต ควรจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน

ในระยะยาว ประเทศไทยต้องครุ่นคิดอย่างลึกซึ้งถึงการปฏิรูประบบการเมืองในระดับกว้าง ซึ่งรวมถึงบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์และกองทัพ จำเป็นจะต้องมีการกระจายรายได้ที่เท่าเทียม ให้ทุกฝ่ายเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเสมอภาค และมีการกระจายอำนาจมากขึ้น การสอบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นจะต้องกระทำอย่างเต็มที่โดยถือเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการปรองดอง การเลือกตั้งครั้งใหม่ควรจะเกิดขึ้นโดยเร็วซึ่งควรจะเป็นจุดเริ่มต้น ไม่ใช่จุดสุดท้ายของกระบวนการปรองดอง โดยรัฐบาลชุดใหม่ที่มีความชอบธรรมจากฉันทามติที่ได้รับจากประชาชนและได้รับ การยอมรับจากทุกฝ่ายจะเป็นผู้ขับเคลื่อนวาระการปฏิรูป และเพื่อนำไปสู่จุดนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันจำเป็นจะต้องเลิกการดำเนินการแบบอำนาจนิยมและหันมาสู่แนว ทางที่เปิดเผย เน้นการมีส่วนร่วมและเป็นประชาธิปไตยในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ

ข้อเสนอแนะสำหรับรัฐบาลไทย

1. ยกเลิกพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินที่บังคับใช้ในเขตกรุงเทพฯ และ 23 จังหวัดโดยทันที

2. สอบสวนข้อเท็จจริงความรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 อย่างเต็มที่ โปร่งใสและเป็นอิสระ หากการสอบสวนไม่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน รัฐบาลก็ควรพิจารณาความช่วยเหลือจากนานาชาติเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจต่อ กระบวนการนี้

3. ยุติการใช้ข้อกล่าวหาก่อการร้ายกับแกนนำกลุ่มเสื้อแดง รวมทั้งอดีตนายกฯ ทักษิณด้วย และใช้บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาตามฐานความผิดต่าง ๆ แทน เช่น การทำร้ายร่างกาย การวางเพลิง หรือการครอบครองอาวุธโดยผิดกฎหมาย

4. บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมในการดำเนินคดีอาญาต่อการชุมนุมประท้วงที่ไม่ สงบสันติ ก่อกวนหรือมีความรุนแรง โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองใด

5. ยุติการสั่งปิดสื่อต่าง ๆ ของกลุ่มเสื้อแดง สถานีวิทยุชุมชนและเว็บไซต์ และเร่งออกกฎหมายเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อควบคุมดูแลสื่อวิทยุและ โทรทัศน์ เพื่อป้องกันการใช้สื่อในการกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงหรือสร้างความเกลียด ชัง

6. ตระหนักว่าเสถียรภาพทางการเมืองในระยะยาวของไทยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมี การพูดคุยเจรจากับอดีตนายกฯ ทักษิณ แทนที่จะพยายามสร้างภาพอันชั่วร้ายให้เขาต่อไป

7. พิจารณานิรโทษกรรมนักการเมืองที่ถูกตัดสิทธิ 220 คนเพื่อให้พวกเขาสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้และเสริมสร้างบทบาทของรัฐสภา ในการเป็นเวทีแก้ไขข้อขัดแย้งทางการเมือง

8. อนุญาตให้องค์กรต่างประเทศเข้าร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งต่อไป เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของการเลือกตั้ง

9. ดำเนินการปฏิรูปหน่วยงานความมั่นคงอย่างเข้มข้น โดยเน้นการฝึกอบรมและให้ค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม ให้ตำรวจเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องความมั่นคงภายใน ซึ่งรวมถึงการควบคุมการจลาจลและการดูแลการชุมนุมประท้วง โดยจำกัดบทบาทของทหารเฉพาะในการป้องกันประเทศ

10. พัฒนาบริการด้านสังคมและการสนับสนุนทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ กับคนจน รวมถึงตอบสนองความต้องการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขา เพื่อเป็นการช่วยลดช่องว่างความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจ

สำหรับแกนนำกลุ่มเสื้อแดง

11. ดูแลให้สมาชิกยึดมั่นต่อหลักการสันติอหิงสาในกิจกรรมที่จะกระทำในอนาคต

12. ปฏิเสธไม่ให้มีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในขบวนการและประณามการกระทำที่รุนแรง แม้จะเป็นกลุ่มที่อ้างว่าประสงค์จะช่วยคุ้มครองสมาชิกก็ตาม

13. เมื่อมีการยกเลิกกฎหมายที่จำกัดเสรีภาพทางการเมือง ให้ความร่วมมืออย่างจริงใจในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์รุนแรงที่ เกิดขึ้น การสร้างการปรองดองในชาติ การปฏิรูปกฎหมาย รวมถึงการวางแผนการเลือกตั้งในอนาคต

สำหรับทักษิณ ชินวัตร

14. สนับสนุนให้มวลชนร่วมมือเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งอย่างสันติ และพิจารณาแนวทางที่แต่ละฝ่ายยอมรับได้สำหรับเดินทางกลับสู่ประเทศไทยของตน ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างความปรองดองในชาติ

สำหรับพรรคการเมืองทุกพรรค กลุ่ม นปช. และกลุ่มพธม.

15. ลงนามในข้อตกลงเพื่อช่วยให้เกิดการเลือกตั้งอย่างสันติ ควบคุมการเคลื่อนไหวของสมาชิกไม่ให้ใช้ความรุนแรงและเคารพผลการเลือกตั้ง

16. มุ่งดำเนินการเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งระดับชาติอย่างสันติ โดยลดการใช้ถ้อยคำรุนแรงที่อาจนำไปสู่การเผชิญหน้า และตกลงกันในเรื่องกติกาการรณรงค์เลือกตั้งที่ยอมรับได้และให้สัญญาว่าจะไม่ ขัดขวางการหาเสียงเลือกตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน