แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งัดข้อก.ม.สนธิสัญญาไทย-ยูเออีนำตัวทักษิณกลับไทย



Posted by คมชัดลึก ,
ถึงเวลาที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทำหน้าที่ตัว เอง "เปิดเกม" ตาม "ไล่ล่า" พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

งัด ข้อกฎหมายสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เป็นอีกประตูแห่งความหวังของรัฐบาลไทย
พร้อมเรียกร้องต่อ รัฐบาลยูเออี เพื่อขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทย
ในแง่ มุมกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหัวหอกหลักที่รับผิดชอบ ในปฏิบัติการไล่ล่า พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในแง่ของการข่าว ระบุชัดว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีบ้านพักและธุรกิจในยูเออีที่ชัดเจน
ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศร้องขอให้รัฐบาลยูเออีสั่งห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ เคลื่อนไหวทางการเมืองในยูเออีเป็นอันขาด ทางยูเออีก็ให้ความร่วมมือในเรื่องนี้กับรัฐบาลไทยเป็นอย่างดี
ส่วน การห้าม พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเข้าออกประเทศ ทำได้ยาก เนื่องจากทางยูเออีอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้พาสปอร์ตที่ออกโดยประเทศมอนเตเนโกร เดินทางเข้าประเทศ ทั้งยังมีรายงานว่าใช้ชื่อเดินทางว่า "ทักกี้ ชินเนต้า"
ในเชิง กฎหมาย ดูเหมือนกระทรวงการต่างประเทศจะรุกหนัก เพื่อเจรจาทำข้อตกลงสนธิสัญญา เพื่อจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาขึ้นศาลไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศได้ตั้งเป้าให้สนธิสัญญาสำเร็จได้ภายในกลางปี 2553
ส่วน จะเป็นจริงได้เพียงใด ยังมีข้อติดขัดด้านเทคนิคทางกฎหมาย 2-3 เรื่อง ซึ่งคงต้องเจรจาตกลงกันให้ลงตัว และเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย
ข้อ ติดขัดเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องข้อสรุปเกี่ยวกับระยะเวลาการส่งมอบตัวผู้ร้ายข้ามแดน ตั้งแต่กระบวนการจับกุม ศาลพิจารณาส่งตัวกลับ จนถึงการยื่นอุทธรณ์ ซึ่งฝ่ายไทยต้องดำเนินการในระยะเวลา 90 วัน ขณะที่ในกฎหมายของยูเออีต้องดำเนินการภายใน 30 วัน นอกจากนี้ ยังติดขัดในเรื่องคำ ที่ระบุในเนื้อหาของสนธิสัญญา
สิ่งเหล่านี้ นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า มีการเจรจากันอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่มีประชุมเจรจาสนธิสัญญา รอบแรก เมื่อเดือนมกราคม 2553 ซึ่งขณะนี้สามารถเจรจาตกลงกันได้แล้ว เหลือแต่นัดวันประชุมเจรจา รอบที่ 2 เพื่อเจรจาสรุปข้อตกลง และพร้อมลงนามสัญญากันได้ทันที รอเพียงการตอบรับจากยูเออี
ยืนยัน ว่า ความล่าช้าที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นผลจากการเมือง แต่เป็นเรื่องหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะที่ต่างกัน โดยฝ่ายไทย เป็นกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ขณะที่ฝ่ายยูเออีเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด
อีกด้านหนึ่ง หากรัฐบาลคิดที่จะมุ่งทำสนธิสัญญา เพียงตั้งเป้าจะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทยให้ได้ จะยิ่งเป็นการตอกย้ำว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นเรื่องการเมือง ทางยูเออีคงจะไม่เห็นถึงประโยชน์ เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันในระยะยาว
โดยทั่ว ไป การทำสนธิสัญญากับประเทศใดก็ตาม ในการเจรจาตกลงกันค่อนข้างจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ขนาดประเทศที่มีความสัมพันธ์อันดีกับไทย ยังต้องใช้เวลา เนื่องจากมีความเกี่ยวพันทางกฎหมายที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นสนธิสัญญาฉบับนี้ อาจจะตกลงเสร็จสิ้นได้ไม่ทันใจรัฐบาล ที่สำคัญอาจต้องลุ้นจนตัวโก่งว่า การเจรจาจะตกลงกันได้ภายในอายุขัยของรัฐบาลนี้
ข้อควรคำนึงถึง สนธิสัญญายังมีบทเฉพาะกาลว่า จะใช้เมื่อไร และสามารถบังคับใช้ย้อนหลังกับคำพิจารณาคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีที่ดินรัชดาฯ ได้หรือไม่
อย่างไรก็ตาม แม้รัฐบาลจะมีสนธิสัญญาอยู่ในอ้อมกอดให้อุ่นใจ หากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับยูเออีไม่ดี ทางยูเออีไม่ให้ความร่วมมือตามสนธิสัญญา ทุกอย่างก็เป็นหมัน ฉะนั้นการฝากความหวังไว้กับสนธิสัญญา คงไม่ได้เป็นสิ่งรับประกันว่า จะนำ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์
สิ่งที่ รัฐบาลควรทำขณะนี้ คงไม่ใช่การเร่งรัดตกลงสนธิสัญญาให้สำเร็จโดยเร็ว แต่เป็นเร่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและแน่นแฟ้นมากขึ้นกว่าเดิม
ขยายปม ร้อน
นันทิดา พวงทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน