Posted by คมชัดลึก ,
สะท้อน ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ "รวยจริง" แม้ถูกห้ามทำธุรกรรมก็ไม่เดือดร้อน เพราะแทบไม่มีใครเดินเข้า ศอฉ.เพื่อขอถอนเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อีกทั้งการแช่แข็งเงินครั้งนี้เป็นเรื่องเฉพาะตัว ไม่ครอบคลุมถึงลูกเมียพี่น้อง ดังนั้นแม้จะยืดเวลาชี้แจงธุรกรรมออกไปอีกเดือนสองเดือนก็ไม่มีปัญหา
สำหรับ รอบสองที่กำหนดไว้ 52 ราย ซึ่งจะต้องเข้าชี้แจงอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม โดยคิวแรกเป็นผู้ที่มาขอประเด็นคำถามจากพนักงานสอบสวนไปแล้ว ได้แก่ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น บจ.เวิร์ธซัพพลายส์ บจ.บี.พี.พร็อพเพอร์ตี้ บจ.บี.บี.ดี.ดีเวลลอปเม้นท์ บจ.ประไหมสุหรี พร็อพเพอร์ตี้ บจ.พี.ที.คอร์ปอเรชั่น บจ.เอสซีเค เอสเทต และ บจ.เอสซี ออฟฟิซ ปาร์ค
คิว ที่สอง บจ.เอสซี ออฟฟิซ พลาซ่า บจ.โอเอไอ คอนซัลแตนท์ฯ บจ.โอเอ เมนเนจเม้นท์ บจ.โอเอไอลีสซิ่ง บจ.โอเอไอ เอ็ดดูเคชั่น คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร และนายไพโรจน์ ตันบรรจง ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย กำหนดนัดหมายวันที่ 20 กรกฎาคม
คิวที่สาม วันที่ 21 กรกฎาคม เป็นคิวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นางเยาว์วเรศ ชินน์วัตร์ นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ นางกาญจนาภา หงษ์เหิน พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร นายการุณ โหสกุล และนายวิชาญ มีนชัยนันท์
คิวที่สี่ วันถัดมาวันที่ 22 กรกฎาคม คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นายประชา ประสพดี ซึ่งในรอบแรกหอบแฟ้มข้อมูลเข้าชี้แจงต่อพนักงานสอบสวนถึงการถอนเงินหลักสิบ ล้านบาทออกไปเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกบ้านใหม่ รูดบัตรเครดิตซื้ออุปกรณ์ตกแต่งบ้าน ซึ่งพอเหมาะพอดีกับการชุมนุมของคนเสื้อแดง เช่นเดียวกับนายไชยา สะสมทรัพย์ ชี้แจงเบื้องต้นว่าถอนเงินไปจัดงานเลี้ยงและทำบุญวันเกิด โดยจะนำหลักฐานการเงินเข้าชี้แจงในรอบสอง ในส่วนของนายสันติ พร้อมพัฒน์ เคยเข้าชี้แจงว่าถอนเงินสดออกไปเก็บไว้ที่บ้าน เพราะไม่มั่นใจในรัฐบาล ซึ่งในนัดรอบสองจะนำเอกสารเข้าชี้แจงเพิ่มเติม
คิวที่ห้า วันที่ 23 กรกฎาคม เป็นคิวของนายอนุสรณ์ ปั้นทอง นายสงวน พงษ์มณี พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ และนายนิยม วรปัญญา พล.ท.มนัส เปาริก สมาชิกพรรคเพื่อไทย อดีตรองแม่ทัพภาคที่ 3
คิวที่หก ข้ามไปวันที่ 28 กรกฎาคม เพราะติดวันหยุดยาว เป็นรอบของนายนิสิต สินธุไพร ซึ่งถูกควบคุมตัวในเรือนจำ รอบแรกส่งทนายความ นปช.เข้าชี้แจงกระแสการเงินที่มีรายได้จากการจำหน่ายหนังสือและค่านายหน้า จากการประสานงานโครงการในพื้นที่ให้ ส.ส.หลายคน ส่วน พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ชี้แจงรายรับว่าเป็นการใช้คืนหนี้จากภรรยาประมาณ 300 ล้านบาท และนำไปใช้จ่ายในการปลูกบ้าน 3 หลัง รวมทั้งนายภักดี ธนปุระ เจ้าของหนังสือพิมพ์ไทยเรดนิวส์ ที่นำบัญชีเงินฝาก 4 เล่ม มีหลักฐานรายการเบิกถอน 2-3 ล้านบาทเข้าชี้แจง
คิวที่เจ็ด วันที่ 29 กรกฎาคม นายสาโรจน์ หงษ์ชูเวช คนสนิทครอบครัวตระกูลชินวัตร ที่ดูแลด้านการเงิน นางสุพิชฌาย์ พัฒนะพันธ์ บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ไทยเรดนิวส์
คิวที่แปด วันที่ 30 กรกฎาคม นางมยุรี เศวตาศัย แกนนำ นปช. จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งยอมรับว่าบริจาคเงินเป็นค่าอาหารสนับสนุนการชุมนุมของคนเสื้อแดง โดยมั่นใจว่าไม่มีความผิดเพราะการชุมนุมของพันธมิตรแจกข้าวได้โดยไม่มีความ ผิด ส่วนที่มารายได้นั้นมาจากการเป็นนายหน้าขายที่ดิน นายสมหวัง อัสราษี เสี่ยเครื่องใช้ไฟฟ้ามิตซูชิต้า นำเอกสารเข้าชี้แจงที่มาของรายได้จากการจำหน่ายสินค้าที่ระลึกในการชุมนุม ของคนเสื้อแดง และมีรายจ่ายส่วนหนึ่งไปกับการจัดกิจกรรมประกอบการชุมนุม ซึ่งพนักงานสอบสวนนัดให้นำหลักฐานเข้าชี้แจงเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีนางจุฑารัตน์ เมนะเศวต และนางวิยดี สุตะวงศ์ เพื่อนสนิทคุณหญิงพจมานด้วย
คิดที่เก้า วันที่ 2 สิงหาคม นายขวัญชัย สาราคำ (ไพรพนา) นางสุกัญญา ประจวบเหมาะ เจ้าของธุรกิจด้านการท่องเที่ยว บริษัท เดอะเพนนิลซูร่า ทราเวล เซอร์วิส จำกัด นายธนกฤต ชะเอมน้อย (วันชนะ เกิดดี) แนวร่วมน ปช. โดยก่อนหน้านี้มอบหมายให้ทนาย นปช.นำบัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสุขุมวิท 103 จำนวน 1 ฉบับ ซึ่งมีเงินหมุนเวียนประมาณ 1 ล้านบาท มาแสดงต่อพนักงานสอบสวน ซึ่งบัญชีธนาคารดังกล่าวมีการเบิกถอนระหว่างเดือนธันวาคม 2552 และในช่วงที่มีการชุมนุมของคนเสื้อแดงรวม 10 รายการ มีเงินโอนที่ได้มาจากการกู้ยืมเข้ามา 1 รายการ จำนวน 6 แสนบาท เพื่อนำไปซื้อรถยนต์โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ ส่วนที่มาของรายได้ส่วนหนึ่งอ้างว่าได้มาจากการจำหน่ายเทปคาสเซทในการชุมนุม
คิวที่สิบ วันที่ 3 สิงหาคม นายอดิศร เพียงเกษ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 พรรคไทยรักไทย คิวที่สิบเอ็ด วันที่ 4 สิงหาคม บจ.บี.บี.ดี.พร็อพเพอร์ตี้ คิวที่สิบสอง วันที่ 6 สิงหาคม นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว นายจักริน พัฒน์ดำรงจิตร ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย และ คิวที่สิบสาม เป็นคิวสุดท้ายของการชี้แจงรอบสองคือวันที่ 9 สิงหาคม เป็นคิวของนายไพวงษ์ เตชะณรงค์ เจ้าของโบนันซ่า เขาใหญ่
ส่วนกลุ่มที่นำสมุดบัญชีเงิน ฝากเข้าชี้แจงเสร็จสิ้น โดยไม่มีรอบสอง จำนวน 21 ราย ได้แก่ นายพานทองแท้ ชินวัตร น.ส.พินทองทา ชินวัตร ซึ่งทั้งโอ๊คและเอมส่งทนายความเข้าชี้แจงจนสิ้นข้อสงสัย เพราะเงินทุกบัญชีถูกอายัดโดย คตส.เรื่อยมาจนถึง ศอฉ. นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร นายเจริญ จรรย์โกมล นายสุชาติ ลายน้ำเงิน นายสุธรรม แสงประทุม นางดวงแข อรรณนพพร นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข พล.ต.อ.สล้าง บุนนาค นายปลอดประสพ สุรัสวดี นายจตุพร เจริญเชื้อ นายประยุทธ มหากิจศิริ นายเมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ นายวิเชียรชนินทร์ สินธุไพร นายเรืองยุทธ ประสาทสวัสดิ์ศิริ นายพศิน หอกลาง นายอัศนี เชิดชัย นายทัศ เชาวนเสถียร นายพันธ์เลิศ ใบหยก และนายเมธี อมรวุฒิกุล ซึ่งเหลือเพียงการส่งเอกสารเพิ่มเติม ส่วนนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน ส่งทนายความขอเลื่อนนัดไปจนกว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินทั่วประเทศ หรือรอจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำสั่ง ศอฉ.ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้รายที่ชี้แจงแล้วออกอาการ โล่งอก คือนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมั่นใจว่าสามารถชี้แจงได้ครบถ้วนทุกประเด็น เพราะมีความเคลื่อนไหวของการชำระเงินกู้ 4.5 ล้านบาท ครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำไปเงินซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ป ต่อมาได้ขายหุ้นดังกล่าวในช่วงการชุมนุมพอดี จึงมีการโอนเงินค่าหุ้นเข้ามาในบัญชีประมาณ 12 ล้านบาท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น