แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประธานองค์กรสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เรียกร้อง 'สีหศักดิ์' ออกคำสั่งไทยเลิก พรก. ฉุกเฉิน

ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง เอเชีย (AHRC) ส่งจดหมายเรียกร้องนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ’ (UNHRC) คนปัจจุบัน ให้ออกคำสั่งแก่รัฐบาลไทยยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน

เมื่อวันที่ 2 ก.ค.2553 นายเบซิล เฟอร์นานโด ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (AHRC) ส่งจดหมายถึงนายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ผู้แทนถาวรไทยแห่งสหประชาชาติ ประจำกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ’ (UNHRC) คนปัจจุบัน ซึ่งเพิ่งได้รับเลือกจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ ผ่านมา ระบุว่านายสีหศักดิ์จะต้องออกคำสั่งแก่รัฐบาลไทยให้ยกเลิกการประกาศใช้พระ ราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พรก.ฉุกเฉิน) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค.ที่ผ่านมา

นายเฟอร์นานโดระบุว่ารัฐบาลไทยจะต้องยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัดทั่วประเทศไทย รวมถึงพิจารณายกเลิกการประกาศกฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่ง มีผลบังคับใช้มานานกว่า 5 ปี และกำลังจะสิ้นสุดวาระลงในวันที่ 7 ก.ค.2553 โดยระบุว่าถึงแม้นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำรัฐบาลไทย จะยังมิได้มีคำสั่งให้ต่ออายุการใช้กฎอัยการศึกในภาคใต้ต่อไป แต่ก็ยังไม่มีคำสั่งยกเลิกการบังคับใช้เช่นกัน

เนื้อหาในจดหมายได้อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของนายสีหศักดิ์ ซึ่งถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 29 มิ.ย.2553 ระบุว่าสถานการณ์ (ในกรุงเทพฯ) สงบลงแล้วนายเฟอร์นานโดจึงเรียกร้องว่าหากนายสีหศักดิ์กล่าวกับสื่อมวลชนเช่นนั้นจริง ย่อมแสดงว่าไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่รัฐบาลไทยจะต้องคงอำนาจ พรก.ฉุกเฉินเอาไว้ เนื่องจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินต่อไป จะเป็นการกระทำผิด กติกาสากล ซึ่งประเทศไทยมีพันธะผูกพันและต้องปฏิบัติตามในฐานะประเทศที่เข้าร่วมเป็น ภาคี

ทั้งนี้ นายเฟอร์นานโดได้กล่าวถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางแพ่งและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ในข้อ 4 ซึ่งระบุว่ามาตรการในการบริหารจัดการสถานการณ์ต่างๆ ภายใต้การประกาศใช้กฎอัยการศึกควรมีขอบเขตและการต่อเวลาบังคับใช้ต้องขึ้นอยู่กับความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละสถานการณ์ซึ่งถ้าหากความจำเป็นเร่งด่วนที่ทำให้ต้องประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้ว ก็สมควรที่จะประกาศยกเลิกไปในคราวเดียวกัน

นอกจากนี้ยังได้มีการหยิบยกข้อความในรายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติซึ่งแสดงความวิตกกังวลต่อการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินของไทยเอาไว้ในปี 2548 ซึ่งมีใจความว่า:

คณะมนตรีฯ มีความกังวลต่อพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (ของรัฐบาลไทย) ซึ่งมิได้กำหนดนิยามคำว่าสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือขอบเขตการบังคับใช้ พรก.ที่ชัดเจน ทั้งยังมิได้กำหนดเงื่อนไขการบังคับใช้มิให้ละเมิดหรือขัดแย้งต่อพันธะอื่นๆ ของประเทศที่มีต่อกติกาสากล ซึ่งรวมถึงกติกาข้อ 4 ของกติกา ICCPR”

สิ่งที่น่ากังวลใจเป็นอย่างยิ่งคือ พรก.ดังกล่าวระบุว่าเจ้าหน้าที่ที่ใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินจะได้รับการยกเว้นจากการดำเนินคดีตามกฎหมายและการลงโทษทาง ระเบียบวินัย ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาผู้กระทำผิดลอยนวลจากโทษที่สมควรได้รับตามกฎหมาย และการจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลใดๆ เป็นเวลานานกว่า 48 ช.ม.โดยไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ถือเป็นเรื่องต้องห้ามซึ่งรัฐบาลประเทศภาคีจะต้องหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้น ทั้งยังต้องรับรองว่าจะไม่กระทำการใดๆ ที่ละเมิดเนื้อหาในข้อ 4 ของกติกา ICCPR อีกด้วย” (CCPR/CO/84/THA, 2005, para. 13)

รัฐบาลไทยยังมิได้แก้ไขเนื้อหาหรือข้อบังคับใดๆ ใน พรก.ฉุกเฉิน นับตั้งแต่วันที่คณะมนตรีฯ ได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ในรายงาน ฉะนั้น การบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน ตามเนื้อหาและรูปแบบเดิมเอาไว้จึงเป็นการกระทำที่ขัดแย้งต่อพันธะที่ประเทศ ไทยต้องยึดถือและปฏิบัติตามหลักกติกาสากล
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียแสดงความคาดหวังว่านายสีหศักดิ์จะแสดง บทบาทที่เหมาะสมในฐานะประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้วยการ ดำเนินมาตรการให้สาธารณชนประจักษ์ ไม่ว่าจะเป็นการแทรกแซงหรือเรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน
นอกจากนี้ AHRC ยังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมภายใต้อำนาจของ พรก.ฉุกเฉินทุกคนซึ่งมิได้ถูกตั้งข้อหาว่ากระทำผิดกฎหมายอาญาข้อใด และจะต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้ที่ถูกควบคุมตัว รวมถึงจัดหาทนายมาให้และเปิดโอกาสให้ครอบครัวหรือญาติเข้าเยี่ยมผู้ถูกควบ คุมตัวได้

ประเด็นสำคัญที่สุดคือการดำเนินคดีหรือตั้งข้อหาผู้ถูกจับกุมจะต้องดำเนินไป อย่างเปิดเผยในกระบวนการชั้นศาล และต้องอนุญาติให้สามารถประกันตัวได้ในระหว่างรอการดำเนินคดี หรือศาลจะต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนเพียงพอประกอบการตัดสินให้ควบคุมตัวต่อไป โดยจะต้องคุมตัวเอาไว้ในสถานที่ราชการและต้องไม่มีการซ้อมทรมานหรือทำร้าย ร่างกายผู้ถูกคุมตัวเกิดขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้องค์กรหรือหน่วยงานอิสระระหว่างประเทศ อาทิ กาชาดสากล เข้าไปสำรวจและสังเกตการร์ในสถานที่คุมขังด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน