Wed, 2010-06-30 01:43
ชำนาญ จันทร์เรือง
เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 29 มิ.ย. 53
ผมก็เหมือนกับคนค่อนโลกที่นั่งและนอนดูการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก๒๐๑๐จากอา ฟริกาใต้ด้วยความตื่นเต้นและสนุกสนาน ที่แน่นอนที่สุดก็คือในบางครั้งก็เกิดความเซ็งในอารมณ์ที่กรรมการตัดสินผิด พลาดหรือตามเกมไม่ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนวันที่ทีมอังกฤษเตะไปโดนคานแล้วล้ำเข้าไปในเขตประตู ของเยอรมันเรียบร้อยแล้วแต่กระเด้งออกมาหน้าประตูซึ่งจบลงด้วยการที่ผู้ รักษาประตูของเยอรมันสามารถรับลูกเอาไว้ได้ แต่อังกฤษก็ไม่ได้ประตูทั้งๆ ที่คนทั้งโลกที่ชมการถ่ายทอดโทรทัศน์เห็นอยู่ชัดๆว่าได้ประตูแล้ว
ต่อมารอบดึกก็เกิดปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกันอีกระหว่างทีมอาร์เจนตินากับ เม็กซิโกที่เห็นได้ว่าผู้เล่นของอาร์เจนตินาที่ยิงเข้าประตูไปนั้นล้ำหน้า แต่ทว่ากลับได้ประตู ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้มิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ FIFA กลับไม่ยอมแก้ไขโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เช่นกีฬาอื่นๆ อาทิ เทนนิส รักบี้หรืออเมริกันฟุตบอล ฯลฯ ที่สามารถรีเพลย์หรือเล่นซ้ำเทปการแข่งขันในทันทีและกลับคำตัดสินหากเห็นว่า กรรมการหรือผู้ตัดสินวินิจฉัยหรือตัดสินผิดพลาด
หากเรามองเผินๆโดยไม่คิดอะไรมากก็ดูเหมือนว่า FIFA นั้นนับถือในความเป็นมนุษย์มากกว่าเครื่องจักรกลหรือด้วยเหตุผลว่าต้องการ อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมของกีฬาฟุตบอลไว้เช่นครั้งในอดีตที่ผ่านมา แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ความตั้งใจของ FIFA ที่ไม่ยอมนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ล้วนแล้วแต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่ เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจ เพราะ FIFA ไม่ต้องต้องการลดอำนาจของกรรมการที่ตนเองเป็นคนตั้งมากับมือและสามารถบงการ หรืออย่างน้อยก็การควบคุมกำกับลงไป ดังจะเห็นได้จาการที่เกาหลีใต้สามารถล้มอิตาลีโดยความช่วยเหลือของกรรมการจน ได้ที่สี่ในการแข่งขันเมื่อครั้งปี 2002 ที่เกาหลีใต้กับญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกันมาแล้วนั่นเอง
การที่ FIFA ให้อำนาจกรรมการหรือผู้ตัดสินมากก็เพื่อให้ทีมที่เป็นแม่เหล็กหรือเจ้าภาพ ได้เข้าไปเล่นในรอบลึกๆ เพื่อดึงดูดผู้ชมและโฆษณาให้เพิ่มมากขึ้นนั่นเองถึงแม้ว่าในบางครั้งตั๋ว หรือโฆษณาจะถูกขายล่วงหน้าไปหมดแล้วในบางนัดก็ตาม ซึ่งหากปล่อยให้ทีมโนเนมอย่างทีมจากยุโรปตะวันออกหรือทีมจากอาฟริกาหรือแม้ กระทั่งเอเชียเองก็ตามหลุดเข้าไปแทนทีมแม่เหล็ก ที่เคยเป็นอดีตแชมป์โลกทั้งหลายแล้วไซร้กำไรของFIFAย่อมลดลงอย่างแน่นอน ฉะนั้น กรรมการหรือผู้ตัดสินจึงถูก FIFA สร้างขึ้นให้เป็นเทวดาหรือยาวิเศษที่จะทำให้ทีมดังๆ หรือทีมเจ้าภาพหลุดเข้าไปในรอบลึกๆ ส่วนทีมกระจอกงอกง่อยที่หลุดรอบคัดเลือกจากโซนต่างเข้าไปนั้นก็เพื่อให้ได้ ชื่อว่าเป็นฟุตบอลโลก มิใช่เป็นเพียงฟุตบอลยุโรปตะวันตกกับอเมริกาใต้เท่านั้นเอง
เมื่อดูปรากฏการณ์ในฟุตบอลโลกหันแล้วหันกลับกลับมาดูปรากฏการณ์การเมือง ไทยในปัจจุบันแล้วแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย เพียงแต่ FIFA เน้นไปทางด้านธุรกิจที่แฝงไว้ด้วยการเมืองซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น เศรษฐศาสตร์การเมือง (political economy) แต่ปรากฏการณ์การเมืองไทยเน้นไปที่การเมืองที่เป็นเรื่องของการยึดกุมอำนาจ ไว้ให้ได้นานที่สุด ซึ่งก็ส่งผลต่อผลประโยชน์อื่นอันที่เป็นผลพวงของการถือครองอำนาจรัฐนั่นเอง
การที่ FIFA ไม่ยอมใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการตัดสินก็เปรียบได้กับการที่รัฐบาล อภิสิทธ์ไม่ยอมใช้กรรมการที่เป็นกลางหรือผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ สามารถตรวจสอบเหตุการณ์การสลายการชุมนุมในถ้อยคำว่าขอพื้นที่คืนหรือการ กระชับพื้นที่จนมีคนเสียชีวิต 90 ศพและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนนับพันคน และที่มีปัญหามากที่สุดก็คือเหตุการณ์ 6 ศพที่วัดปทุมวนารามทั้งๆที่อยู่ในเขตอภัยทาน
แน่นอนว่าหากรัฐบาลอภิสิทธิ์ยอมให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นจากองค์การนิรโทษกรรมสากล หรือองค์การเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆหรือแม้กระทั่งกลไกอื่นขององค์การสห ประชาชาติเข้ามาตรวจสอบย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะพบเห็นความไม่ชอบมาพากลของการ สลายการชุมนุมหรือการกระทำที่เกินกว่าเหตุของเจ้าที่หน้าที่ที่อาจกระทำ การนอกเหนือคำสั่งได้
แต่ในทำนองกลับกันผู้เชี่ยวจากองค์การระหว่างประเทศนั้นอาจได้ข้อเท็จ จริงที่อาจเป็นผลดีต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ได้ หากความเป็นจริงเป็นดัง ศอฉ. หรือผู้นำรัฐบาลพร่ำบอก (ข้างเดียว) อยู่เสมอว่ากระทำตามกฎหมายพอสมควรแก่เหตุแล้ว หรือฝ่ายเสื้อแดงเป็นผู้ที่มีอาวุธร้ายจนเข้าข่ายเป็นผู้ก่อการร้ายที่สมควร จะต้องถูกปลิดชีวิตหรือถูกจับกุมคุมขังด้วย “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับถาวร” นี้
แต่รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ไม่กล้า เพราะเกรงภัยจะถึงตัวและอำนาจที่มีอยู่จะหลุดลอยไป โดยลืมไปว่าการใช้ พรก.ฉุกเฉินอย่างยาวนานเช่นนี้ย่อมมีวันที่จะสิ้นสุดลงสักวันหนึ่ง อย่างช้าที่สุดก็ภายในอายุของสภาผู้แทนราษฎรชุดนี้ที่จะสิ้นสุดลงภายในปลาย ปี 2554 และจะต้องเลือกตั้งใหม่อยู่ดี และก็ไม่แน่ว่าตนเองจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลเช่นเดิมอีกหรือ ไม่
การคงอยู่ของ พรก.ฉุกเฉินนี้มีผลดีเฉพาะแต่ทางด้านการเมืองของรัฐบาลในระยะสั้นเหมือนกับ การเอาหินทับหญ้าไว้เท่านั้น แต่ผลเสียอื่นกลับมีมากมายนักไม่ว่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ของประชาชนอย่างสาหัสสากรรจ์โดยไม่ได้แก้ปัญหาความมั่นคงตามที่รัฐบาลว่าไว้ แต่อย่างใด ดังจะเห็นได้จากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินในภาคใต้อย่างยาวนานแต่ปัญหาความไม่สงบก็ไม่ได้ดีขึ้นแต่อย่างใด
ผลเสียที่สำคัญที่สุดก็คือผลเสียทางด้านเศรษฐกิจการลงทุนของประเทศนั่น เอง ตราบใดที่ประเทศยังอยู่ในภาวะฉุกเฉิน (state of emergency) อย่าว่าแต่นักท่องเที่ยวจะไม่เข้ามาเลย นักลงทุนทั้งหลายก็ต้องคิดหนัก อย่างน้อยที่สุดต้นทุนที่จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้นก็คือการที่ต้องทำประกันภัย การก่อการร้ายซึ่งแพงมากและต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากปกติอีกหลายเท่าตัว ทั้งๆที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นการก่อการร้ายจริงหรือไม่ แต่รัฐบาลกลับประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกออกไปเสียแล้วโดยที่ยังไม่มีคำพิพากษาที่ ถึงที่สุดออกมาแต่อย่างใด
ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวฉันใด ดูฟุตบอลโลกแล้วก็ย้อนดูการดำเนินการทางการเมืองของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เราจะพบว่าแทบจะไม่มีอะไรแตกต่างกันเลย ซึ่งก็คือผลประโยชน์ของFIFAและผลประโยชน์ของรัฐบาลอภิสิทธิ์กับผู้ที่หนุน หลังอยู่เท่านั้น ส่วนคนดูฟุตบอลหรือประชาชนไทยนั้นก็ต้องก้มหน้ารับกรรมในผลแห่งความละโมบของ FIFA และการเสพติดอำนาจของผู้ที่ถือครองอำนาจรัฐไทยอยู่ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น