รักประชาธิปไตยไม่เอาเผด็จการ ต่อต้านการรัฐประหารทุกรูปแบบ สร้างขวัญกำลังใจและความสุขเพื่อปวงชน
แดงเชียงใหม่
กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม
เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน
"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"
.
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
มากกว่า 'ทุนนิยม' ที่ตลาดขุนยวม
บรรยากาศในตลาดขุนยวม
มากกว่า 'ทุนนิยม' ที่ตลาดขุนยวม
โดย : ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
ตลาดนัดที่ขุนยวมซึ่งอาจรวมถึงที่อื่นๆ จึงเป็นมิใช่พื้นที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นพื้นที่ของการปะทะสังสรรค์ของผู้คนในรูปแบบต่างๆ
ผมตระหนักทันทีว่าตนไม่สามารถทนอยู่ในเมืองหลวงอันแสนศิวิไลซ์ (?) ได้ต่อไป มันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากความหวาดกลัวต่อภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น แต่เป็นเพราะผมเริ่มรู้สึกว่าคนกรุงเทพฯ ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใครและมีกำพืดเดิมจากไหนบ้าง เริ่มพร้อมใจกันสร้าง 'กระบวนการลืม' ชีวิตที่บาดเจ็บล้มตายและหันมาเสียดายกับซากปรักหักพัง ด้วยเหตุผลสากลว่าด้วยการกระตุ้นและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจการค้าในกรุงเทพฯ ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม
ครั้นจะหาที่พึ่งทางปัญญา ผมกลับพบว่านักวิชาการอาวุโสหลายท่านกลับสร้างคำผิดหวังปนหงุดหงิดและอึดอัด ด้วยคำอธิบายง่ายๆ อาทิ ผู้ชุมนุมฯ ส่วนมากมาจากชนบทซึ่งกำลังถูกทุนนิยมทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามจนได้รับความไม่ เป็นธรรม อันเป็นสาเหตุของการเข้าร่วมชุมนุมฯ หรือไม่ก็อธิบายการเลือกตั้งใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกลทำนองว่า คนในชนบทเหล่านี้ก็จะเลือกผู้มีบารมี มีอิทธิพล และผู้อุปถัมภ์อีกเหมือนเดิม เราจึงเชื่อถือการเลือกตั้ง (ที่เป็นของฝรั่ง?) ไม่ได้
นักวิชาการกลุ่มนี้ไม่รู้ตัวเลยว่า ความหมายระหว่างบรรทัดของคำอธิบายในข้างต้นก็คือ การยอมรับว่าความตายของคนมีค่าไม่เท่ากัน เนื่องมาจากคนที่ตายไม่ได้ฉลาด รู้เท่าทันเกมการเมืองเฉกและระบบทุนนิยมเฉกเช่นพวกเขาและคนในเมือง
เมื่อคิดเช่นนี้ ความรู้สึกนานานับประการก็ถั่งโถมเข้ามาจนต้องรีบออกไปจากกรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นไม่นาน ผมกลับพบว่าตนเองกำลังนั่งรถสองบัสเพื่อเดินทางไป อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมกับนักมานุษยวิทยารุ่นกลางเก่ากลางใหม่คนหนึ่งซึ่งมีเรื่องราวในใจไม่ ต่างกัน
วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางครั้งนี้อยู่ที่การเดินทางไป 'เยี่ยมเพื่อน' ซึ่งสนิทสนมกันระหว่างการทำวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของนักมานุษยวิทยา ส่วนผมถูกชักชวน 'ไปเป็นเพื่อน' ด้วยสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน กิจวัตรประจำวันในช่วงเวลาสั้นๆ ของพวกเราคือ การตระเวนคุยกับบรรดาเพื่อนๆ ของนักมานุษยวิทยาตั้งแต่เช้าจนดึกดื่นค่อนคืน ทั้งนี้ก็เพื่อทราบถึงสารทุกข์สุกดิบและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอำเภอขุนยวม
แน่นอน เราทราบถึงชีวิตที่ต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงจากคำบอกเล่ามากมายแต่ ที่ทำให้เข้าใจจริงๆ คือ 'ตลาด'
ตลาดขุนยวมมีอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือตลาดประจำอำเภอซึ่งถือเป็นตลาดเช้าแต่เอาเข้าจริงๆ การเริ่มต้นขายอย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นราวตีสี่จนถึงเจ็ดโมงเช้า ของส่วนมากจะเน้นอาหารสำเร็จรูป อาทิ โจ๊ก ก๋วยจั๊บ กาแฟ ปาท่องโก๋กับน้ำเต้าหู้ และอาหารถุง ส่วนของสดจำพวกเนื้อหมูกับผักสดนั้นมีประปราย ลูกค้าส่วนมากมักเป็นข้าราชการและคนทำอาชีพค้าขายภายในตลาดซึ่งมีชีวิตรีบ ด่วนยามเช้า และแน่นอนว่าในส่วนของราคาขายนั้นแทบไม่ต่างอะไรกับบรรดาของที่ขายอยู่ใน ตลาดเช้าทั่วไปแถบกรุงเทพฯ เท่าไรนัก ขณะเดียวกัน ในยามเย็นบริเวณด้านหน้าตลาดแห่งนี้จะแปรสภาพเป็นร้านขายบะหมี่ โรตี และของปิ้งย่างเล็กๆ สัก 2-3 ร้าน ซึ่งก็พอขายได้ตามอัตภาพตามสัดส่วนของลูกค้าชุดเดิมที่ลดลงมาเกือบร้อยละ 70
ถามว่าคนทั่วไปในขุนยวมซึ่งเป็นคนไต (ไทใหญ่) และกระเหรี่ยงเป็นส่วนใหญ่นั้นจับจ่ายใช้สอยที่ไหน? หรือ คนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีชีวิตพอเพียงและเน้นการพึ่งพาตนเอง ไม่พึ่งพาตลาด ? คำตอบคือ คนกลุ่มนี้เลือกที่จะซื้อข้าวของในตลาดประเภทที่สองคือตลาดนัด ตลาดนัดในขุนยวมมีอยู่สองวันคือ ช่วงเย็นของวันเสาร์และช่วงเช้าของวันจันทร์ซึ่งมีบรรยากาศคึกคักและสินค้า นานาประเภทปะปนกันจนแทบไม่ต่างไปจากตลาดนัดทั่วไป ตั้งแต่ของสด ของแห้ง ขนม (ทั้งที่เรียกว่าเบเกอรี่และขนมพื้นบ้าน) จะมีให้รู้สึกแปลกตาหรืออยู่ในสถานที่ห่างจากเมืองไปบ้างก็เช่นผักป่าและผัก พื้นบ้าน ของทั้งหมดนี้ล้วนมีที่มาจากทั้งภายในและภายนอกขุนยวม โดยเฉพาะของแห้งและของทะเลสดซึ่งมักจะรับซื้อมาจากพ่อค้าคนกลางอีกทอด โดยอย่างหลังนั้นมีตู้แช่คอนเทนเนอร์รับของมาโดยตรงจากตลาดมหาชัย
หากมองอย่างผิวเผิน ตลาดนัดทั้งสองแห่งนี้เป็นเสมือนพื้นที่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยง ระหว่างระบบตลาดที่ศูนย์ทางเศรษฐกิจของประเทศกับพื้นที่ในบริเวณชายขอบทาง ภูมิศาสตร์อย่างชัดเจน ยังไม่กล่าวถึงกลไกทางเศรษฐกิจระดับนานาชาติที่คอยกำหนดราคาสินค้า หรือที่มาของปลาและของทะเลมากมายซึ่งล้วนเกิดขึ้นเพราะแรงงานข้ามชาติจำนวน มาก
แน่นอน ราคาของสินค้าที่ขายในตลาดนัดจึงมีลักษณะของการกำหนดราคาตายตัว (fixed price system) เพื่อเป็นมาตรฐานและคาดเดาราคาของสินค้าได้ง่าย เช่น ผัก (ชนิดไหนก็ได้) 3 กำราคา 10 บาท หรือการกำหนดราคาตายตัวตามน้ำหนักของสินค้านั้นๆ ซึ่งลักษณะการค้าเช่นนี้ในทางมานุษยวิทยาเรียกว่าระบบเศรษฐกิจแบบสมัยใหม่ และตรงข้ามกับระบบ 'บาซาร์' หรือตัวแทนการแลกเปลี่ยนในระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมที่เน้นสินค้าขนาดเล็ก เคลื่อนย้ายง่าย มีการหมุนเวียนของสินค้าและราคาที่เลื่อนไหล (sliding price system) ตามการต่อรองและความสัมพันธ์ระหว่างผู้ขายและผู้ซื้อ
ในแง่นี้ ตลาดนัดที่ขุนยวมจึงง่ายต่อการถูกพิจารณา อย่างง่ายๆ ว่ากำลังถูกทุนนิยมเข้ามาคุกคาม กระทั่งทำให้ความสัมพันธ์แบบแบ่งปันและเกื้อกูลหมดไป เพราะบรรยากาศในตลาดนัดนั้นเต็มไปด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ พากันแต่งชุดเต็มยศและไม่เต็มยศบ้างออกมาจับจ่ายกันอย่างคับคั่ง กระเหรี่ยงหลายคนเข้าคิวเพื่อซื้อปลาทะเลไปตุนที่บ้าน ม้งจากหมู่บ้านที่ห่างออกไปเกือบร้อยกิโลเมตรนั่งรถรวมกันมาเพื่อซื้อวีซีดี คาราโอเกะและเสื้อผ้าทรงสมัย ขณะที่เด็กไตตัวเล็กๆ ปากเปรอะไปด้วยโดนัทไส้แยมบลูเบอรี่ นักวิชาการโรแมนติกหลายคนอาจคิดหัวข้อวิจัยใหม่ๆ ได้ผ่านคำสำคัญประเภท 'การสูญเสียอัตลักษณ์หรือตัวตนทางชาติพันธุ์ท่ามกลางระบบการค้าเสรี' 'การฟื้นฟูอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์' หรือกระทั่งการจัดเวทีสัมมนาเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไข 'ปัญหา' (?)
ทว่า เมื่อเราพิจารณาให้ลึกลงไป ความสัมพันธ์ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่กับระบบบาซาร์นั้นมีความแยบยลพอสมควร ด้านหนึ่ง ท่ามกลางบรรดาข้าวของที่วางขายนั้นยังคงปรากฏสินค้าพื้นบ้านจำพวกยาผีบอก สมุนไพร ถั่วเน่าแผ่น ปลาแห้ง และผักพื้นบ้านขายปะปนอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ เป็นเพราะพื้นฐานของการเกิดตลาดนัดอย่างที่เห็นในปัจจุบันมีฐานมาจากระบบการ แลกเปลี่ยนสินค้าพื้นบ้านมาก่อน นอกจากนี้ ในชีวิตประจำวันของคนขุนยวมส่วนมากยังต้องอาศัยวัตถุ ดิบเหล่านี้ไปปรุงอาหาร ที่สำคัญคือ สินค้ากลุ่มนี้มักมีราคาย่อมเยาและยังสามารถต่อรองราคาชนิดลด แลก แจกแถมได้ แม้ว่าพ่อค้าจะกำหนดราคาไว้อย่างตายตัวแล้วก็ตามที
อีกด้านหนึ่ง ในบรรดาสินค้าสมัยใหม่ประเภทขนม ข้าวของเครื่องใช้ และเสื้อผ้ายังคงปรากฏการซื้อขายที่มีความสัมพันธ์ทางสังคมแทรกอยู่ด้วยหลาย ครั้ง ผมเห็นคนขายโดนัทไส้ต่างๆ ถามถึงอาการป่วยของลูกชายของผู้ซื้อซึ่งรู้จักกันและแถมโดนัทไป 1 ลูกเพื่อเป็น 'ของเยี่ยม' นอกไปจากนี้ยังทราบถึงการแถมส้มและมะม่วงอย่างละ 1 กิโลกรัมจากพ่อค้า เพื่อเป็น 'ของกำนัล' หลังจากทราบว่าผู้ซื้อกำลังจะนำไปเยี่ยมผู้ใหญ่คนหนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพโดย ทั่วไป
ด้านสุดท้ายคือ ตลาดนัดวันจันทร์ช่วงเช้าซึ่งคึกคักกว่าวันเสาร์ช่วงเย็นนั้นเป็นการจัดโดย ไม่ง้อลูกค้าซึ่งต้องทำงานในเวลาราชการ เพราะผู้จับจ่ายส่วนมากมักทำงานตามฤดูกาลโดยมีการรับจ้างทั่วไปเป็นอาชีพ เสริม
ตลาดนัดที่ขุนยวมซึ่งอาจรวมถึงที่อื่นๆ จึงเป็นมิใช่พื้นที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นพื้นที่ของการปะทะสังสรรค์ของผู้คนในรูปแบบต่างๆ จนเราไม่อาจสรุปได้อย่างง่ายดายว่าทุนนิยมกำลังเข้ามาคุกคามชีวิตของชาวบ้าน ที่แสนซื่อหรือ 'ชาวบ้าน' กำลังถูกครอบงำ แน่นอนว่า ภัยร้ายของระบบทุนนิยมซึ่งทำงานท่ามกลางความแตกต่างทางชนชั้นของคนและการขูด รีดมูลค่าส่วนเกินทางเศรษฐกิจและแรงงานเพื่อการบริโภคนั้นเป็นสิ่งที่ดำรง อยู่จริงในสังคมโดยรวม แต่การพิจารณาอย่างฉาบฉวยซึ่งแยกชีวิตออกจากการแลกเปลี่ยนและแยกตลาดออกจาก ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแช่แข็งวัฒนธรรมของคน อื่นให้หยุดนิ่งกับเวลาในอดีตแบบไม่ไม่วันหวนกลับ มุมมองเช่นนี้เองมักเป็นต้นตอของการมองไม่เห็นถึงลีลาการปรับตัวและดิ้นรน ของผู้คนในที่ต่างๆ ซึ่งไม่เคยระบุไว้ในตำราเล่มไหนและเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่เคยเกิดขึ้นบนฐานที่เป็นจริง
คิดได้เช่นนี้ ทำให้ผมหวนนึกถึงเรื่องราวที่กรุงเทพฯ...
ผมอยากให้หลายๆ คนที่นั่น (โดยเฉพาะนักวิชาการอาวุโสทั้งหลาย) ได้มีโอกาสเดินจับจ่าย เห็นชีวิต และพูดคุยกับผู้คนในตลาดแห่งนี้สักครั้งเผื่อว่าจะเกิดความเข้าใจในความ เปลี่ยนแปลงในพื้นที่ซึ่งพวกเขาเรียกว่า 'ชนบท' มากขึ้น
แต่อีกใจหนึ่ง ก็อดวิตกไม่ได้ว่า ตลาดที่พวกเขาเห็นจะเป็นเพียงสถานที่เล็กๆ อันว่างเปล่าและไม่มี 'คนในชนบท' แบบที่พวกเขาต้องการ คำถามปรากฏขึ้นในใจว่า บ้านเมืองของเราจะเป็นเช่นไร หากมีคนส่วนมากไม่รู้สึกถึงคุณค่าของสิ่งที่ไม่ต้องการ เราคงชินชากับความตายที่ไร้นาม-ไร้เรื่องราวกันอีกมาก และเราคงด้านชากับเรื่องราวของคนอื่นกันอีกนานแสนนาน
ใช่ ผมรู้สึกเกลียดและกลัวสังคมของเรามากขึ้นทุกที...
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น