วันที่ 01 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 34 ฉบับที่ 4223 ประชาชาติธุรกิจ
1 ในหลายบันทึกประวัติศาสตร์ที่สมบูรณ์ คือ หนังสือ "ปฏิวัติสยาม พ.ศ.2475"
เรียบเรียง-ค้นคว้าโดย "รศ.ดร.
วาระ 24 มิถุนายน 2553 "อาจารย์นครินทร์" พูดถึงประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง...อีก ครั้ง
รศ.ดร.
"ดร.นครินทร์" เขียนหนังสือเล่มนี้ เพราะกูรู-ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ชักชวน เข้าสู่วงการ
"ผมเขียนบทความ ชิ้นแรกในปี 2525 และได้เข้าไปอยู่ในข้อโต้เถียงซึ่งผมเบื่อมาก โดยเฉพาะข้อโต้เถียงระหว่างคณะราษฎรกับคณะเจ้า"
"ผมพูดตรง ๆ ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายบอกความจริงไม่หมด พูดเฉพาะสิ่งที่ตัวเองได้ประโยชน์ ไม่พูดความจริงทั้งหมด เช่น คณะเจ้าก็จะพูดถึงการเตรียมการพระราชทาน รัฐธรรมนูญ ส่วนฝ่ายตรงข้ามชิงสุกก่อนห่าม พวกคณะราษฎรก็จะยกย่องหลายเรื่องจน เกินเหตุ"
ข้อค้นพบของ "ดร.นครินทร์"...
"ยกตัวอย่างที่ผม รู้สึกช็อก คือใครที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจไทยเป็นคนแรก ? ถ้าบอกว่าหลวงประดิษฐมนูธรรม อันนี้แหละคือความเท็จ ผมจึงหนีจากคณะรัฐศาสตร์ไปอยู่อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเหตุที่ผมเบื่อความเท็จ ความจริงที่มันเลอะเทอะ ถ้าอ่านหนังสือ เข้าหอจดหมายเหตุ หรืออ่านรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ก็จะรู้ว่าคนที่เขียนเค้าโครงเศรษฐกิจคนแรกชื่อ "มังกร สามเสน""
"คน ไทยจะชอบแห่แหน ยกย่องคน บางคนจนเกินเหตุ ถามว่า มังกร สามเสน คือใคร คนนี้คือวีรบุรุษในดวงใจของผม คนหนึ่งในหนังสือ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 1 ใน 70 คน เป็น ส.ส.รุ่นแรกที่มาจากการแต่งตั้งจาก 3 คน ซึ่งผมสนใจทั้ง มังกร สามเสน และอีก 2 คนคือ มานิต วสุวัต และ ซุ่นใช้ ฮุนตระกูล"
"ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีหนังสือ หรืองานวิจัย บอกว่าคณะราษฎรคือใคร ประกอบด้วยใครบ้าง ทำอะไรบ้าง และพวกเรามี แนวโน้มอย่างหนึ่ง คือมักเอาคณะราษฎร ไปเท่ากับ ปรีดี พนมยงค์ มันเป็นไปได้อย่างไร คุณไม่นับหลวงพิบูลสงครามเลย เหรอ พอบอกว่าคณะราษฎรคือหลวงพิบูลสงคราม หลายคนโกรธมาก"
"อาจารย์ ปรีดีเป็นเพียงเสี้ยวเดียวขององค์คณะ ทำไมไม่นับพระยาพหลฯล่ะ ? ความจริงคนที่เป็นแกนกลางในการวิ่งติดต่อประสานงานในคณะราษฎร ในการประชุมทุกครั้งคือ ประยูร ภมรมนตรี เราก็ไม่นับประยูร ไปหาว่าประยูรเป็นพวกทรยศไปอยู่กับเจ้า ด่าประยูร ไปเลอะเทอะ แต่ถ้าไม่มีประยูร ไม่มี แนบ พหลโยธิน ก็ไม่มีคณะราษฎร"
"อาจารย์ นครินทร์" บอกว่า "หนังสือชุด 2475" นั้นอ่านยาก เพราะ
"ผมตั้งใจทำ ให้อ่านยาก ไม่ได้ตั้งใจเขียนให้ง่าย เพราะว่าผมเบื่อหน่ายมาก ทั้ง นักประวัติศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์ ความจริงถ้ามีเวลา ผมจะทำให้ยากกว่านั้นอีก"
กัลยาณมิตรทางวิชาการคนสำคัญ ของ "นครินทร์" ที่ทำให้งานประวัติศาสตร์ 2475 สมบูรณ์ คือ "อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์" แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อครั้ง 2528
"โครง เรื่องในการปฏิวัติ 2475 จะมี 2 ปีกใหญ่ ๆ ปีกหนึ่งจะบอกว่าชิงสุก ก่อนห่าม อีกปีกหนึ่งจะพูดว่าเป็นการปฏิวัติยังไม่เสร็จ ไม่สมบูรณ์ ไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ปีกมีอิทธิพลมาก ผมว่ายิ่งกว่า พวกเชียร์คณะราษฎร ซึ่งผมคิดว่าจิ๊บจ๊อยมากในสายตาผม"
"แต่ผมเผชิญหน้าในทาง วิชาการกับ พวกสำนักที่บอกว่า unfinished revolution มาก คนหนึ่งคือ "ฉัตรทิพย์ นาถสุภา" เป็นปรมาจารย์ใหญ่ เป็นคนที่ผมเคารพมาก พวกฝ่ายซ้ายทั้งหมดจะบอกว่าการปฏิวัติ 2475 ยังไม่สำเร็จ ยังไม่เสร็จสิ้น การปฏิวัติยังตกค้างอยู่ เพราะกระฎุมพียังไม่ใหญ่พอ มาเที่ยวนี้มีนักกฎหมายบอกว่า การปฏิวัติ 2475 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะยังไม่ได้ชำระสะสางองค์กรตุลาการ"
"ในความเห็นของผม ผมถือว่าเรื่องนี้ จบไปแล้ว ผมเขียนงานชิ้นนี้จบเมื่อปี 2535 ใน 18 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ผมพิมพ์ ออกมา มีคนวิจารณ์ผมเยอะ บางเรื่องผมก็ตอบไม่ได้ มีหลายเรื่องที่ผมยังไม่ทำ เช่น ทำไมไม่เก็บข้อมูลการเคลื่อนไหวขบวนการพระ, ทำไมไม่ไปเก็บข้อมูลคนจีน"
"โดย เฉพาะคนจีนที่มาจากสายคอมมิวนิสต์แท้ ๆ ผมยอมแพ้เพราะผมอ่านภาษาจีนไม่ได้ ผมไม่รู้จะเก็บข้อมูลยังไง คนจีนมี 2 กลุ่ม คอมมิวนิสต์กลุ่มหนึ่ง ก๊กมินตั๋งกลุ่มหนึ่ง ทั้ง 2 กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนแรง มาก แจกใบปลิวถล่มคณะราษฎรตั้งแต่แรกแล้ว ความจริงมีการเคลื่อนไหวก่อนเปลี่ยน แปลงการปกครอง 2475"
แม้หนังสือเล่มนี้จะหนากว่า
"ผมยังไม่ ได้ทำอีกหลายเรื่อง ถ้าจะทำ ก็ไปหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ไม่มีทางเลือกอย่างอื่น อย่าคิดกันเองเลยครับ ผมไปอ่านฎีกาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ผมตกใจมาก มีฎีกาอย่างนี้ได้ยังไง เจอฎีกาของ ถวัติ ฤทธิเดช นรินทร์ ภาษิต คนพวกนี้อยู่ในดวงใจของผม"
"และสิ่งที่ผมทึ่งคือ แถลงการณ์ของคณะราษฎร ที่อาจารย์ปรีดีเขียน ไปก๊อบปี้คำของฎีกาเหล่านี้มา ใช้ เช่น ประเทศนี้ปกครองอย่างหลอกลวง เอาราษฎรเป็นทาส คำเหล่านี้ไม่ใช่อาจารย์ปรีดีคิดเอง แต่อยู่ในฎีกาก่อนปฏิวัติตั้ง 4-5 ปี แปลว่าอะไร ฎีกาพวกนี้บางส่วนมาจาก ต่างจังหวัดด้วย ต้นตำรับฎีกา พิษณุโลก อยุธยา ฉะเชิงเทรา เรื่องนี้เป็นมิติใหญ่ เรื่องชนชั้นนำที่มาจากต่างจังหวัด ที่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติ 2475"
"อย่า ไปคิดว่าคณะราษฎรเป็นปีก เดียวกันทั้งหมด อย่างตระกูลตุลารักษ์มาจากฉะเชิงเท รา ...คณะราษฎรมีทั้งปีกซ้ายสุดและปีกขวาสุด ผมว่าเราอย่า ไปรังเกียจ ประยูร ภมรมนตรี ว่าไม่ใช่คณะราษฎรเลย ถึงเราจะไม่ชอบก็ตาม"
"แต่ถ้า พูดอย่างนี้ สานุศิษย์อาจารย์ปรีดีจะโกรธมาก ไปบอกว่าหลวงพิบูลฯเป็นคณะ ราษฎรก็ไม่ได้ คือพวกเราพยายามเอาอาจารย์ปรีดีเป็นคณะราษฎรทั้งหมด ผมคิดว่าความจริงมันไม่ใช่ เพราะคณะราษฎรคือทุกคนที่มีส่วนร่วมในการ เปลี่ยนแปลง และจริง ๆ ตอนเขามีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง เริ่มในการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าก็มีข้อจำกัดมาก"
"เราเรียกร้องต่อ อดีต ในสิ่งที่มันเป็นไปไม่ได้ ในฐานะนักเรียนประวัติศาสตร์ ผมเห็นว่าหลาย ๆ เรื่องมันจบไปแล้ว ผมเองเห็นแย้งทั้ง 2 พวก ผมถือว่าการปฏิวัติ 2475 จบสิ้นไปแล้ว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อระบบการเมืองคงตัวอยู่ ทั้งหมดเป็นเรื่องที่สร้างใหม่ทั้งสิ้น"
"คนแต่ละกลุ่มก็สร้าง ตำนานของตัวเองขึ้นมา คนแต่ละกลุ่มก็สร้างศัตรูของตัวเองขึ้นมา แต่ผมไม่มีปัญญา ไม่มีพละกำลังดูการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีก"
"ผม เป็นคนแรกที่ใช้คำว่าสยาม ผมไม่อยากเรียกการปฏิวัติครั้งนี้ว่าเป็นการ ปฏิวัติประเทศไทย เพราะตอนนั้น ประเทศไทยยังไม่เกิด ประเทศไทย เกิด 2482 อีก 7 ปีให้หลัง สภาวการณ์ตอนนั้นเป็นภาวการณ์ของคนหลากหลายชาติพันธุ์ เป็นภาวการณ์ซึ่งไม่มีเอกราชสมบูรณ์"
"คณะราษฎรบางปีก พยายามยืนยันว่า ประเทศสยามไม่มีเอกราชสมบูรณ์เพราะเสียสิทธิสภาพนอก อาณาเขต คำอธิบายแบบนี้หลายคนรับไม่ได้ เพราะทุกคนพยายามยืนยันว่าเรามีเอกราช มาตลอด ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นใคร คือพูดเรื่องเดียวกันแต่พูดคนละเรื่อง และผมสนใจข้อขัดแย้งเหล่านี้ในเชิงของความคิด และข้อโต้แย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง"
"ผมถือ ว่าการปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว ที่เหลือคือการตีความซึ่งเป็นเรื่องของ ทุกคน ใครจะชอบรสนิยมยังไงก็เชิญตามสบาย ผมไม่ขัดข้อง ใครจะเป็นซ้ายก็ซ้ายให้สุด ๆ ใครจะเป็นขวาก็เป็นขวาให้สุด ๆ ความจริงประวัติศาสตร์ history เป็นของทุกคน ไม่ใช่สมบัติของคนใดคนหนึ่ง ประวัติศาสตร์เป็นของทุกคน"
อย่างน้อยก็มีเรื่องที่ "ดร.นครินทร์" ไม่กล้าเขียน คือเรื่อง "คณะราษฎร" แม้ว่าเวลาผ่านมาแล้วหลายสิบปี
"ผม ท้าทายเด็กรุ่นใหม่ที่รักคณะราษฎร มีหลายคนพูดว่าการต่อสู้ของคณะ ราษฎรยังไม่จบ การต่อสู้ของคณะราษฎรกับ คณะเจ้ายังคงมีต่อไป... คุณช่วยเขียนหนังสือเรื่องคณะราษฎรให้ผมอ่านหน่อยสิ ช่วยออกแรงหน่อยได้ไหมครับ ออกแรงเขียนหนังสือให้อ่านหน่อยสักเล่ม เรื่องคณะราษฎร ...ผมเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่ง ผมยังไม่กล้าเขียนเพราะมันไม่สมบูรณ์"
"ผม เดาไม่ได้ว่าใครเป็นใครในคณะราษฎร ผมรู้สักประมาณ 1 ใน 3 อีก 2 ใน 3 ผมไม่รู้ชัด ๆ ว่าเขาคือใคร ฉะนั้นคณะราษฎรไม่ใช่อาจารย์
ชื่อ "ดิเรก ชัยนาม" คือชื่อที่ "ดร.นครินทร์" เอ่ยพาดพิงกรณีเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ 2475
"ยกตัวอย่าง เช่น ดิเรก ชัยนาม ผมพยายามพูดเสมอว่า คณบดีคณะรัฐศาสตร์คนแรก คือคณะราษฎร แต่ผมเข้าไปในบ้านของตระกูลชัยนาม หลายคนพยายามไม่พูดเรื่องนี้ เพราะว่าการเป็นสมาชิกคณะราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากนัก คือไปมีส่วนร่วมกับคณะปฏิวัติ แล้วกลับบ้าน ถูกด่า คุณต้องไปถามตระกูลชัยนาม ไม่ใช่คิดเอาเอง ต้องไปถามญาติพี่น้อง ลูกหลานของตระกูลชัยนาม ว่ายังภาคภูมิใจกับการเป็นสมาชิกคณะราษฎรหรือ เปล่า"
"ความเห็นของผม การปฏิวัติ 2475 จบไปแล้ว และทำให้การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ กลายเป็นระบอบประชาธิปไตย จุดเปลี่ยนผ่านใหญ่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เป็นประมุขของคณะรัฐมนตรีอีก"
"ก่อนปี 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, 6, 7 ทรงประทับในที่ประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เรียกว่าเสนาบดีสภา ท่านทรงประชุมร่วมกับเสนาบดีสภา ทุกสัปดาห์ คือทุกวันอังคาร แต่หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ เสด็จ ไปที่นั่นอีกแล้ว"
"ฉะนั้นสมบูรณาญาสิทธิราชย์มันจบไป แล้ว เพียงแต่ว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่าง พระเจ้าอยู่หัวกับรัฐธรรมนูญจะ เป็นอย่างไร ทุกสังคมจะต้องแสวงหาเอาเองเราไม่มีทางไปก๊อบปี้ ประเทศใดประเทศหนึ่งได้"
ก่อนจบการอภิปราย "ดร.นครินทร์" แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มคือ "การปฏิวัติฝรั่งเศส"
ที่เขียนโดย พระองค์เจ้าอาทิตย์ ทิพอาภา และคำนำโดย "ปรีดี พนมยงค์"
คำนำ-หัว ที่ยังทันสมัย แม้ตีพิมพ์เมื่อ 2477 ความว่า "การปฏิวัติของประเทศฝรั่งเศส เป็นการปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ์ และ เราไม่ควรเอาแบบอย่างเป็นเด็ดขาด การปฏิวัติของสยามเป็นการปฏิวัติที่ไม่ ต้องมาโต้แย้งกันเรื่องรูปแบบ การปกครองอีก คือให้พระเจ้าอยู่หัวอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเสีย ส่วนที่เหลือก็ต้องจัดการกันเอง..."
หน้า 35
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น