ชนวน ชั้นดี -ขณะที่สื่อกระแสหลักของไทยพากันรายงานความสูญเสียตึกที่ถูกเผา แต่ละเลยเพิกเฉยต่อการที่เสื้อแดงตายมากกว่า80ศพ แถมแมกกาซีนสตรีฉบับหนึ่งยังกล่าวถึงผู้ชุมนุมเสื้อแดงว่าเป็น"ผ้าเช็ดเท้า" แต่สื่อระดับโลกอย่างนิตยสารTIME และBBCได้แสดงให้เห็นว่า"มืออาชีพ"นั้นต้องทำงานแบบไหน โดย2สื่อมวลชนที่ทรงอิทธิพลของโลกได้เดินทางลงไปทำข่าวที่หมู่บ้านชนบทภาค อีสาน แล้วรายงานความจริงออกไปสู่สายตาของคนทั่วโลก พร้อมได้เตือนว่านี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการลงใต้ดินต่อต้านรัฐบาลด้วย อาวุธแบบเดียวกับชายแดนภาคใต้ เพราะมีปัญหาคล้ายกันคือเรื่องเศรษฐกิจ กับความแตกต่างทางเชื้อชาติ
ที่มา นิตยสารTIME และ สำนัก ข่าวBBC
5 มิถุนายน 2553
นิตยสารTIME ฉบับวันที่ 7 มิถุนายน 2553 รายงานข่าวเรื่อง ชูธงแดงในประเทศไทย เขียนโดยฮันนาห์ บีซ รายงานจากจังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย ดังต่อไปนี้
ระหว่าง ปั้น ข้าวเหนียว เปิบ ลง ไป ใน จาน ส้มตำ รส จัด หญิง เสื้อ แดง คน นี้ พยายาม ฝืน กลั้น น้ำตา เอา ไว้ ไม่ใช่ เพราะ ความ เผ็ด จาก พริก ของ อาหาร อีสาน ที่ ทำให้ เธอ น้ำตา ไหล
"ฉัน กำลัง รันทด ใจ กับ เพื่อน ผู้ ร่วม ชุมนุม ที่ ถูก รัฐบาล ฆ่า เหมือน ผัก เหมือน ปลา "หญิง อายุ 50 ปี ที่ มี ภูมิลำเนา อยู่ อำเภอ เชียงยืน จังหวัด มหาสารคาม กล่าว
ทั้งนี้ เกิด สมรภูมิ เผชิญหน้า กัน นาน 6 สัปดาห์ ใน กรุงเทพฯ ระหว่าง กลุ่ม ผู้ เดินขบวน ประท้วง เสื้อ แดง กับ กอง กำลัง รักษา ความ มั่นคง ฝ่าย รัฐบาล อันเป็น เหตุ ให้ มี ผู้ เสีย ชีวิต ไม่ ต่ำ กว่า 85 ศพ ซึ่ง นับ เป็น ความ รุนแรง ทาง การเมือง ครั้ง เลว ร้าย ที่สุด ของ ไทย ใน ระยะ หลาย ทศวรรษ
"คอย ดูเถอะ" เธอ พูด แสดง ท่าที เป็นการ ก ล่ ว เตือน ด้วย กริยา เอียงอาย "ประชาชน กำลัง จะ ลง ใต้ดิน และ ต่อสู้ ด้วย อาวุธ นี่ จะ เป็นการ เริ่ม ต้น ของ สงคราม ที่ ยืดเยื้อ"
เมื่อ วันที่19พฤษภาคม ทหารของรัฐบาลเปิดศึกสุดท้าย กำหนดเป็นเส้นตายที่จะเคลียร์ผู้ประท้วงออกไปจากแคมป์จัดการการชุมนุมในย่าน ใจกลางกรุงเทพฯ แกนนำเสื้อแดงยอมจำนนทั้งน้ำตาต่อผู้กุมอำนาจรัฐ แต่ที่อีสานภูมิภาคที่มีการต่อต้านรัฐบาลอย่างกว้างขวาง ภูมิภาคที่สนับสนุนฝ่ายประท้วงอย่างเร่าร้อนที่สุด ไม่มีการยกธงขาวยอมแพ้ ความโกรธเกรี้ยวและคุคั่งเป็นคลื่นอารมณ์ในยามนี้ การยอม รับข้ออ้างของรัฐบาลว่าเพื่อสร้างการประนีประนอมกันภายในชาติก็เปรียบเสมือน กับอาหารที่ขาดรสชาติของพริก ในตัวเมืองขอนแก่น ป้ายบนถนนสายหลักที่มีรูปของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในชุดฟอร์มแบบที่หมอใส่ก็ยิ่งย้ำบอกว่าเขาเป็นพวกอำมาตย์อภิสิทธิ์ชนในสายตา ของคนอีสาน
"ผมเกรงว่าอีสานจะกลายเป็นฐานในการเคลื่อนไหวใต้ดินต่อต้านอำนาจ รัฐ"สุทิน คลังแสง อดีตส.ส.
"ประชาชน เต็ม ไป ด้วย ความ เกลียด ชัง และ เรา ต้อง เตรียม การ รับมือ กับ การ ก่อการ ร้าย"
( ดู TIME's video "Bangkok Before the Surrender: Inside the Red Camps.") ( ดู TIME's video "Before the Surrender Bangkok: Inside the Camps Network.")
ดิน แดน แห่ง รอย ยิ้ม ได้ เปลี่ยน เป็น ประเทศ แห่ง ความ เกลียด ชัง ไป ได้ อย่างไร? ไทย เป็นประเทศที่มักโอ้อวดว่าเป็นเพียงประเทศเดียวที่รอดพ้นไม่ตกเป็นอาณานิคม ของชาติมหาอำนาจตะวันตกในยุคล่าเมืองขึ้น
ทว่า การลุกฮือต่อสู้ก็เป็นรอยด่างให้กับประเทศไทยมาหลายศตวรรษ ซึ่งก็รวมทั้งเหตุการณ์ครั้งล่าสุดนี้ก็ไม่เป็นข้อยกเว้น ช่วงไม่กี่ปีมานี้จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อสายมาเลย์และนับถือศาสนาอิสลามก็เกิดการจลาจลขึ้นเป็นเหตุให้มีผู้ถูกสังหารไปแล้วมากกว่า 4,000 ศพ
ส่วนอีสาน มีเชื้อสายลาวเป็นหลัก และมีประชากรมากเป็น1ใน3ของประชากรทั้งประเทศ ภูมิภาคนี้เคยเป็นฐานที่มั่นของกองโจรคอมมิวนิสต์ในระหว่างช่วง ทศวรรษ1960และทศวรรษ1970
ทั้งสองภูมิภาคอยู่ในเขตที่ยากจนที่สุดของประเทศไทย
"ทั้งการถูกละเลยที่จะได้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีความเป็นไปได้ที่ความขัดแย้งจะมีประเด็นเรื่องชาติพันธุ์เข้ามาเกี่ยวด้วยอีก"เดวิด สเตร็คฟัสส์ นักวิชาการชาวอเมริกันที่มีฐานทำงานอยู่ในขอนแก่นกล่าว
"อย่าเพิกเฉยว่าจะเป็นประเด็นคุกคามประเทศให้แยกออกเป็นส่วนๆ"
การ ต่อสู้ล่าสุดที่เกิดขึ้นในภาคอีสานเริ่มขึ้นในปี2549 เมื่อทหารทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร มหาเศรษฐีโทรคมนาคมเชื้อสายจีน ผู้ที่เป็นเสมือนวีรบุรุษของคนยากทั้งในหมู่เกษตรกรชาวต่างจังหวัด และบรรดาผู้ใช้แรงงาน( ซึ่งทักษิณที่บัดนี้อยู่ต่างประเทศไม่ยินยอมถูกจำคุกในข้อกล่าวหาพัวพันการ คอรัปชั่น)ได้เปิดตัวนโยบายประชานิยมที่เอาชนะใจผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือก ตั้งที่เป็นชาวบ้านในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งโครงการ 30 บาท(1ดอลลาร์)รักษาทุกโรคและโครงการปล่อยสินเชื่อสู่ชนบท โดยผู้ออกเสียงเหล่านี้มักมองข้ามข้อครหาเรื่องคอรัปชั่นและการละเมิดสิทธิ มนุษยชนในยุคทักษิณเป็นรัฐบาล
( See pictures of the showdown in Bangkok.) ( See pictures of the showdown in Bangkok.)
เมื่อ ทักษิณถูกกองทัพโค่นล้มหลังจากการจัดประท้วงของคนเสื้อเหลือง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในกรุงเทพฯ แต่แล้วคนในภาคอีสานก็ช็อคเงียบประเทศด้วยการเทคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งแรก หลังการรัฐประหารด้วยการเทคะแนนเสียงให้พรรคการเมืองที่เป็นพรรคของทักษิณ เนื่องจากว่าผู้ออกเสียงในชนบทมีจำนวนมากกว่าพวกกรุงเทพฯหรือคนในเมือง ก็เลยทำให้พรรคทักษิณชนะ แต่ต่อมาในเดือนธันวาคม 2551ศาลก็ตัดสินสวนทางการเลือกตั้งของพวกเขาด้วยการยุบพรรคการเมืองนี้ โดยให้เหตุว่าเพราะมีการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทำให้อภิสิทธิ์ผู้สำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์จากอ๊อกฟอร์ดก้าวขึ้นสู่ อำนาจผ่านทางกระบวนการรัฐสภา คนอีสานนับแสนๆก็เริ่มต้นใส่เสื้อแดงเพื่อประท้วงมานับแต่นั้น
ผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งใหม่ขึ้น โดยเชื่อว่าประชาชนที่ศรัทธาทักษิณจะเอาชนะได้ เหมือนกับการเลือกตั้งหนที่ผ่านมา ทว่าการประท้วงนี้กลายเป็นสงครามศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเพราะมีการยกเรื่องอุดมคติ อันสูงส่งของประชาธิปไตย ความเสมอภาค และความยุติธรรมเข้ามาผสมด้วย โดยพวกเขาเคลื่อนขบวนลงไปประท้วงยังกรุงเทพฯ ในชั้นเรียนเรื่องชนชั้นที่สอนกันในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ผู้นำเสื้อแดงอาจส่งผู้ที่นิยมลัทธิมาร์กซ์ด้วยการบรรยายบนกระดาษเพื่อเปิด หูเปิดตาชาวนาแต่ก็ไม่เท่ากับว่าไปสัมผัสด้วยตาที่กรุงเทพฯเมื่อมาเห็นความ มั่งคั่งของคนกรุง ห้างสรรพสินค้าอร่ามไปด้วยเพชรพลอย ผู้หญิงที่โบ๊ะครีมผิวขาว --และกังขาว่าทำไมสิ่งมหัศจรรยย์พรรค์นี้เกินกว่าที่พวกเขาจะเข้าถึงมันได้
สำหรับ ชาวกรุง--บางคนที่กล่าวหาว่าชาวอีสานเป็น"ควาย"อพยพเข้ามาเมืองหลวงก็เพียง เพื่อจะทำงานเป็นคนรับใช้,พวกขายของเร่ หรือโสเภณี--องค์การคนเสื้อแดงมีวินัยลับว่าเป็นเป้าหมายอันตราย หากคนต่างจังหวัดปรับเปลี่ยนไปเป็นขบวนการใต้ดิน ชนชั้นนำในกรุงเทพฯจะพบความจริงอันน่าตกใจ โดยในเหตุการณ์วันที่ 19 พฤษภาคมในชั่วโมงที่พวกเขาถูกสลายการชุมนุม โดยรู้สึกโดนหักหลัง ได้มีการเผาตึกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ห้างสรรพสินค้าใหญ่ที่สุด ธนาคารกรุงเทพหลายแห่ง และนับแต่นั้นมาโรงเรีบนหลายแห่งและอาคารอื่นๆได้ถูกทำลายไปทั่วประเทศ รวมถึงระเบิดเวลาในตอนกลางคืน ขณะที่แกนนำคนเสื้อแดงถูกจับกุมโดยไม่ให้ประกันตัวไม่มีใครรู้ว่าใครคือผู้ กำกับการก่อความรุนแรง
"รัฐบาลบีบบังคับพวกเราให้จนตรอกและหันมาจับปืน"สะอาด เกษตรกรปลูกข้าวและมันสำปะหลัง ซึ่งเข้าร่วมประท้วงที่กรุงเทพฯรายหนึ่งกล่าว
"แผ่นดินจะร้อนเป็นไฟ"
( See pictures of the violent end to the standoff in Bangkok .) ( See pictures of the violent end to the standoff in Bangkok .)
ก็อาจ เป็นไปไดว่าวาทกรรมอันร้อนแรงของชาวอีสานอาจคลายความคุกรุ่นลง ภายหลังการทำพิธีศพเสื้อแดงรายสุดท้ายที่ถูกสังหาร และชาวนาเริ่มกลับสู่ท้องทุ่งนาอีกหนเมื่อฤดูฝนเยี่ยมกรายมาถึง แต่ที่กรุงเทพฯนั้น--เสมือนว่าเป็นทั้งหมดของประเทศ--ความขนขื่นแยกแยก ระหว่างเสื้อแดงกับเสื้อเหลือง
"ความแยกแยกมีไปทั่วทั้งสังคม ทั้งในชุมชน ครอบครัว ที่ทำงาน และแม้กระทั่งสถานที่ราชการ"ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สุขุมพันธุ์ บริพัตร สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ลูกพรรคของอภิสิทธิ์กล่าว
"คุณไม่สามารถที่จะจ่ายสำหรับค่าเสียหายทาง จิตวิทยาที่ถูกกระทำลงไปได้"
วัน ที่23พฤษภาคม ก็มีสิ่งหนึ่งที่พอจะแสดงให้เห็นถึงความสามัคคี ชาวกรุงเทพฯนับพันทั้งจนและรวยพากันขัดพื้นถนนบริเวณที่เคยเป็นที่ประท้วง นานหลายสัปดาห์ สุคัคกุล อรุณชัย เจ้าของร้านDVDในห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ที่โดนเผามในการจลจลกล่าวว่า
"ผมสูญ เสียทุกอย่างไปในกองไฟ"เขากล่าว"แต่ผมก็อยากช่วยเยียวยาสังคม และการมาช่วยขัดถูท้องถนนก็เป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่ผมสามารถทำได้"
มติ ชนออนไลน์ รายงานว่า ราเชล ฮาร์วีย์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย ได้เดินทางไปทำรายงานข่าวที่มีชื่อเรื่องว่า Thailand's red-shirts still reeling after protests (กลุ่มคนเสื้อแดงในประเทศไทยยังคงเคว้งคว้างภายหลังการชุมนุมประท้วง) ที่จังหวัดอุดรธานี
รายงานดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสังเขปว่า แม้ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครจะได้รับการฟื้นฟูแล้วภายหลังการชุมนุมอันต่อเนื่องยาวนานของ กลุ่มคนเสื้อแดง แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มคนเสื้อแดงกลับยังคงดำรงอยู่อย่างเคว้งคว้าง
ชาว บ้านที่ฮาร์วีย์เดินทางไปสัมภาษณ์มีชื่อว่า "ทองศรี" (Tongsri) และ "ประจบ" (Prachob) เธอเจอพวกเขาครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ขณะที่ทั้งคู่กำลังเตรียมตัวเดินทางมาร่วมชุมนุมที่กรุงเทพฯ จากนั้นฮาร์วีย์ได้พบกับทั้งสองคนอีกครั้งหนึ่งในสถานที่ชุมนุมบริเวณสี่แยก ราชประสงค์
ทองศรี และประจบอยู่ที่กทม.จนถึงช่วงยุติการชุมนุม พวกเขาได้เป็นประจักษ์พยานในเหตุการณ์สงครามกลางเมือง ซึ่งมีกระสุนปืนจากฝ่ายทหารถูกยิงไปยังกลุ่มคนเสื้อแดง
หลัง จากเดินทางกลับถึงบ้านที่จังหวัดอุดรธานีด้วยความปลอดภัย ทั้งคู่ก็รู้สึกว่าตนเองต้องพยายามต่อสู้อย่างหนักที่จะให้คำอธิบายต่อ เหตุการณ์ทั้งหมดที่เพิ่งผ่านพ้นไป
ในขณะ ที่พายุฝนในหน้ามรสุมกำลังซัดกระหน่ำเข้าใส่หลังคาบ้านอันประกอบไปด้วยสองห้องของพวกเขา ทองศรีและประจบนั่งอยู่บนพื้นคอนกรีตด้านล่างที่รายล้อมไปด้วยเสื้อแดงจำนวน มาก ผ้าคาดหัวสีแดง และธงแดง ซึ่งเป็นเครื่องแบบที่กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดปัจจุบันรักและหวงแหน เป็นอย่างยิ่ง
"ทำไม มัน จึง ยากเย็น นัก กว่า จะ ได้ ประชาธิปไตย ที่ แท้จริง?"
"อะไร เกิด ขึ้น กับ ประเทศไทย?" ทองศรี ถามฮาร์วีย์ ด้วยสีหน้าที่ผสมปนเปกันระหว่างความขมขื่นและความสับสนงุนงง ก่อนจะกล่าวว่า
"ฉันรับไม่ได้ที่พวกเขาใช้ทหารออกมาเข่นฆ่าประชาชน"
ในวัน ที่ 19 พฤษภาคม หลังจากข่าวการใช้กองกำลังทหารปฎิบัติการยึดพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์แพร่กระจายออกไป กลุ่มคนเสื้อแดงในอุดรธานีก็ได้ระบายความไม่พอใจทั้งหมดลงไปที่สัญลักษณ์ของ อำนาจแห่งรัฐบาลซึ่งปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดที่สุดในจังหวัดแห่งนี้ นั่นคือ ศาลากลางจังหวัด ที่ถูกเผาไหม้เสียหายในเวลาต่อมา
ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าความรุนแรง ณ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี เกิดขึ้นโดยไตร่ตรองเอาไว้ก่อน หรือเกิดขึ้นเองโดยสัญชาตญาณอย่างฉับพลันทันใด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นได้แสดงให้เห็นถึงความเกลียดชังอย่างแท้จริงที่ดำรงอยู่ เบื้องหลังเหตุรุนแรงดังกล่าว
"พวก เขาเก็บกักอารมณ์ความรู้สึกเช่นนี้ไว้มาเนิ่นนานหลายปี" วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์ รักษาการผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีกล่าวกับผู้สื่อข่าวบีบีซีและว่า
"จังหวัดแห่งนี้ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของเสื้อแดง จึงต้องใช้เวลาอีกนานในการจัดการกับขบวนการดังกล่าว"
ย้อนหลังกลับไปในเดือนมีนาคม คนเสื้อแดงที่อุดรธานีต่างรู้สึกกระตือรือร้น และเต็มไปด้วยความคาดหวัง แต่ในปัจจุบัน แม้แต่ศูนย์กลางชุมชนที่ถูกใช้เป็นสถานที่เก็บรวบรวมของบริจาคให้แก่คนเสื้อแดง รวมทั้งเป็นที่ประชุมวางแผนในการเคลื่อนไหว ก็แทบจะถูกทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า
รูปภาพของฝูงชนเสื้อแดงที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มยังคง ถูกติดไว้ที่ฝาผนังห้องของศูนย์กลางชุมชนดังกล่าว หลายรูปเป็นภาพของประธานชมรมคนรักอุดรฯ "ขวัญชัย ไพรพนา" ที่กำลังถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะเดียวกัน ประตูของสถานีวิทยุท้องถิ่นก็ถูกปิดตาย ด้วยคำสั่งของรัฐบาลภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รูปภาพ ของ ฝูง ชน เสื้อ แดง ที่ เต็ม ไป ด้วย รอย ยิ้ม ยัง คง ถูก ติด ไว้ ที่ ฝา ผนัง ห้อง ของ ศูนย์กลาง ชุมชน ดัง กล่าว หลาย รูป เป็น ภาพ ของ ประธาน ชมรม คน รัก อุดร ฯ "ขวัญ ชัย ไพร พนา" ที่ กำลัง ถูก ควบคุม ตัว โดย เจ้าหน้าที่ ตำรวจ ขณะ เดียวกัน ประตู ของ สถานี วิทยุ ท้องถิ่น ก็ ถูก ปิดตาย ด้วย คำ สั่ง ของ รัฐบาล ภาย ใต้ พ. ร.ก. ฉุกเฉิน
มีผู้ หวาดกลัวว่าเมื่อปราศจากที่นัดพบปะกันอย่างเปิดเผยเป็นทางการแล้ว กลุ่มคนเสื้อแดงจะตัดสินใจ "ลงใต้ดิน" และดำเนินการต่อสู้ทางการเมืองอย่าง "ถอนรากถอนโคน" มากยิ่งขึ้น
แม้ รัฐบาลได้ประกาศว่าจะดำเนินคดีกับกลุ่มคนที่ตนเองนิยามว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" เพียงเท่านั้น และจะดำเนินการเจรจากับกลุ่มผู้ประท้วงที่รักสันติ ซึ่งมีเรื่องราวอึดอัดคับข้องใจอย่างแท้จริง ตามโรดแมปแผนปรองดองแห่งชาติ
ทว่าใน ความเห็นของฮาร์วีย์ หากหวังจะให้โรดแมปดังกล่าวเดินทางไปสู่ปลายทางแห่งความสำเร็จ รัฐบาลก็ต้องพยายามโน้มน้าวใจชาวบ้านอย่างทองศรีและประจบให้ได้เสียก่อน
ย้อน กลับไปยังที่ดินส่วนตัวขนาดเล็ก ๆ ของทองศรีและประจบ ประจบกำลังเล่นดนตรีพื้นบ้านให้ฮาร์วีย์ได้รับฟัง ด้วยพิณสองสายซึ่งเขาประดิษฐ์ขึ้นเอง
บางครั้ง ชาวกรุงเทพฯก็ดูถูกเยาะเย้ยเพลงชนิดนี้ว่าเป็น "ดนตรีของคนบ้านนอก" แน่นอนนี่เป็นอีกหนึ่งความอึดอัดคับข้องใจที่ชาวบ้านแถวภาคอีสานรู้สึก
ทอง ศรี :If there's another red-shirt rally I'll go - I can't stop now
"ฉัน พร้อมที่จะต่อสู้อีกครั้ง" ทองศรีกล่าวขณะกำลังกำจัดวัชพืชบนที่ดินของตนเอง "ถ้ามีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงอีกครั้ง ฉันก็จะไปเข้าร่วม ฉันไม่สามารถหยุดยั้งการต่อสู้ของตนเองเอาไว้ได้ในตอนนี้"
ฮาร์วีย์ สรุปปิดท้ายรายงานข่าวของเธอว่า ความแตกแยกร้าวลึกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งถูกเปิดเผยออกมาผ่านความโหดร้ายรุนแรงเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนโดยกลุ่ม ผู้ประท้วงที่มีความรู้สึกขมขื่นนั้น ยังคงดำรงอยู่อย่างห่างไกลจากสภาวะที่จะได้รับการรักษาเยียวยา
Posted by นักข่าว ชาว ราก หญ้า at 05/06/2010 6:16:00 ก่อน เที่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น