แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พิชญ์ฉะประชาธิปไตยไทยไม่ไปพร้อมสิทธิมนุษยชน

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในหัวข้อ "ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน: หลังสลายการชุมนุม" ในกิจกรรม Light Up Night ซึ่งจัดโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ว่า ขณะที่บางสังคมมองว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ไปคู่กัน ขาดกันไม่ได้ โดยเชื่อว่าสิทธิมนุษยชนจะทำให้ประชาธิปไตยมีคุณภาพ บางครั้งมีการใช้สองคำนี้แทนกัน ในการประชุมเรื่องสิทธิมนุษยชนก็มีนักกิจกรรมเรื่องประชาธิปไตยเข้าร่วม ขณะที่ในการประชุมเรื่องประธิปไตยก็มีนักสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมเช่นกัน แต่ในบางสังคม หลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยถูกแยกออกจากกัน โดยเปลี่ยนให้สิทธิมนุษยชนเป็นเพียงมาตรฐานที่รัฐมอบให้ จะยกเลิกเมื่อใดก็ได้ ไม่ใช่สิทธิที่มาจากประชาชนเอง ส่วนประชาธิปไตยก็เป็นเพียงทางเลือกของแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ตาม เขามองว่าสิทธิมนุษยชนต้องไปควบคู่กับประชาธิปไตย ไม่ใช่การมองปัญหาสิทธิมนุษยชนรายกรณี แต่ต้องเชื่อมกับประชาธิปไตยให้ได้ รวมถึงมีกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง โดยพิชญ์ได้วิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าไม่มีกลไก ในการป้องกันด้านสิทธิมนุษยชน โดยจะเห็นจากก่อนและขณะเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุม กรรมการสิทธิฯ ไม่ได้ทำอะไร ขณะที่พอหลังเหตุการณ์ก็ค่อยตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อตรวจสอบหาข้อเท็จจริง

นอกจากนี้ เขาตั้งคำถามด้วยว่า กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เคยบอกว่าจะสังเกตการชุมนุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความ รุนแรงนั้นหายไปไหน เมื่อเกิดการสลายการชุมนุมและการชุมนุมสิ้นสุดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน