แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เสวนา 24 มิถุนา ฯ : 78 ปี จากสยามเป็นไทย: ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว?

ที่มา ประชา ธรรม
วันที่ 25 มิ.ย. 2553 เวลา : 00:58 น.

เชียงใหม่/ นักวิชาการเหนือเปิดวงเสวนา ประชาธิปไตยของไทยยังไม่ไปไหน อำนาจอยู่ที่ชนชั้นนำของประเทศ ชี้ต้องกระจายอำนาจ ปฏิรูปการศึกษาและสถาบันภายในประเทศ


วันนี้(24 มิ.ย.53) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดกิจกรรมโครงการเสวนาวิชาการเรื่อง "70 ปีประเทศไทย : ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตย" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีเสวนาทางวิชาการให้ความรู้และบริการวิชาการ แก่ชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนทัศนะทางวิชาการระหว่างนักศึกษา นักวิชาการทั่วไป รวมทั้งส่งเสริมให้สังคมไทยเป็น "สังคมแห่งปัญญาความรู้"เนื่องในโอกาสครบรอบ 78 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ปาฐกถา นำ ความขัดแย้งไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง

ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวปฐกถานำว่า การเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตยที่ทุกคนต่างแสวงหาเสรีภาพอย่างแท้ จริง มันยังไม่เกิดขึ้นจริง เพราะทุกฝ่ายได้มองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหา แต่แท้จริงแล้ว ความขัดแย้งเป็นเพียงปลายเหตุของปัญหา ที่ต้องค้นหา คือ สาเหตุในก้นบึงของปัญหาที่เกิดจากการครอบงำซึ่งทำให้ มองสิ่งที่เกิดขึ้นในเชิงลบ ถ้านำหลักคิดทางด้านสังคมสาสตร์เพื่อให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบอบ ประชาธิปไตย มีปัญหาบางอย่างที่ฝั่งรากลึกในการครอบงำสังคมไทยอยู่ 3ประการ

ประการ แรก การมองความขัดแย้งเป็นปัญหาผลกระทบด้านเดียวที่เกิดจากการครอบงำ มองความขัดแย้งเป็นเชิงลบด้านเดียวโดยไม่มีการสร้างสรรค์เท่ากับเป็นการปิด หูปิดตาไม่ให้เรามองเห็นอะไรได้เลย ที่จริงแล้วความขัดแย้งเป็นเพียงปรากฏการณ์ของปัญหาหรือปลายเหตุของปัญหาทำ ให้เราไม่เข้าใจว่าปัญหาที่เจออยู่คืออะไร ในสังคมไทยมีปัญหาที่ซ้อนอยู่อีก ตามที่ได้ศึกษาและวิจัยมาโดยต่อเนื่อง สังคมไทยปล่อยให้มีการตักตวงเอาส่วนเกินออกไปจากสังคมมากเกินไป กล่าวคือมีคนได้ประโยชน์จากคนจำนวนมาก ทั้งจากระบบภาษีที่บิดเบือน นโยบายที่เบี่ยงเบน เช่นการปล่อยให้มีการค้าอย่างเสรีแต่ไม่เน้นความเป็นธรรม ทำให้เกิดการบิดเบือน ในระบบทุนนิยมแบบเสรี มีการค้าที่เสรีแต่ไม่เป็นธรรม การใช้ทุนนิยมมากเกินไปจะนำสังคมเข้าสู่ภาวะความเจ็บเป็นความเจ็บที่เกิดจาก มนุษย์ทำมนุษย์มิใช่ธรรมชาติที่ทำให้เกิดผลกระทบจากคนบางส่วนที่ไม่รับผล ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุเช่น การลงทุนที่มาบตาพุดที่บริษัทต่างๆที่เข้ามาลงทุน ต่างก็ได้รับผลประโยชน์แต่ผู้ที่เดือดร้อนคือคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบและผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงคนบางส่วนในสังคม หลุดออกไปจากความเข้าใจของคนทั่วไปในสังคม ซึ่งในอดีตที่มีชนชั้นสูง ชนชั้นต่ำ ชาวไร่ชาวนาจะมีบทบาทที่ชัดเจน แต่ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดกลุ่มคนกลุ่มใหม่ ๆ ขึ้นมา แต่เรากลับมองไม่เห็นเช่นในอดีตชนบทที่มีแต่ชาวไร่ชาวนาแต่เดี๋ยวนี้มีคนงาน หรือที่เราเรียกคนงานนอกระบบซึ่งไม่อยู่ในสายตา กลุ่มคนเหล่านี้จึงกลายเป็นมนุษย์ล่องหน ที่บางกลุ่มเกิดความไม่ใยดีกับเขาเพราะเพียงแต่ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่เรามอง ไม่เห็นจึงเป็นปัญหาในสังคมไทย

ประการที่สอง เมื่อเกิดปัญหา จะเพิ่งพิงสถาบันเดิมในการแก้ไข ซึ่งถือว่าเป็นการครอบงำ สถาบันแบบเดิม ได้แก่บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ไม่ได้ลองใช้สถาบันใหม่เช่น ระบบภาษีที่เป็นธรรม,ระบบกรรมสิทธิ์ ปัญหาในปัจจุบันเช่น คนรวยที่มีการซื้อที่ดินต่างกักตุนไว้มีการจ่ายภาษีที่น้อยต้นทุนต่ำเราต้อง แก้ที่สถาบันการเสียภาษีที่มีความไม่ถูกต้องไปปรับปรุงระบบกรรมสิทธิ์คือ ทุกอย่างเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐและเอกชนเท่านั้นรัฐก็ไม่สามารถควมคุมได้นำไป สู่การทำลายทรัพยากรอย่างมหาศาลกลไกที่มีอยู่มันผุกร่อนไม่สามารถแก้ไขระบบ เสี่ยงนี้ได้ อีกระบบคือตุลากรเวลานี้เราปล่อยให้รัฐเป็นผู้เสียหายหลักประชาชนเป็นผู้ เสียหายไม่ได้นั้นประชาชนต้องเป็นผู้เสียหายให้ได้ให้มีศาลที่ให้ประชาชน เป็นผู้ที่ยื่นฟ้องในความไม่ถูกต้องได้การมีปัญหาแล้วพึ่งสถาบันเดิมมันป็น สิ่งที่ครอบงำต้องมีสถาบันใหม่เพื่อให้สถาบันก้าวหน้าได้

ประการสุด ท้ายการครอบงำของความเป็นชาตินิยม การแก้ไขในความเป็นชาตินิยมที่สามารถยอมรับการแสดงออกทางความคิดเห็น แม้เราจะไม่เห็นด้วย เราต้องมีเสรีนิยมที่ให้กับผู้ที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างได้ แสดงออกทางความคิด มีโอกาสได้พูดเช่นกัน ในสังคมโลกปัจจุบันการอยู่ในโลกไร้พรหมแดนโดยในสังคมอาเซียนก็มีการเปิด กว้างแต่ในสังคมไทยยังยึดติดเรื่องพรหมแดนคือรอบข้างเรากำลังจะเป็นสังคมที่ ไร้พรหมแดนแต่เรากำลังจะหลุดโลกเพราะการยึดติดในความเป็นชาตินิยมซึ่งสังคม ประชาธิปไตยคือการนำความขัดแย้งที่มีมาสร้างความคิด ปัญญาใหม่ในการพัฒนาประชาธิปไตย แต่ในประเทศไทยเมื่อเกิดความขัดแย้งก็ปัดมันทิ้งซึ่งสิ่งที่พูดไปใน 3 ข้อคือสิ่งที่ครอบงำการพัฒนาหรืออาจทำให้เรากลับมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาการ มองตามหลักสังคมศาสตร์มาพลิกแพลงโดยต้องลงสู่เนื้ออย่ายึดติดกับรูปแบบ การมีประชาธิปไตยต้องมาพร้อมกับสติปัญญา ประชาธิปไตยที่มืดบอดไร้จิตวิญญาณคงจะไม่ทำให้ประชาธิปไตยก้าวเดินตามความ ต้องการของประชาชนได้

24 มิย.53 ยังไม่มีประชาธิปไตย มีแต่คณาธิปไตย

ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ กล่าวว่า เมื่อต้นเดือนทีผ่านมา ผมถามเด็กม.ปลายกลุ่มหนึ่ง เด็ก มช. ปีหนึ่งว่าเดือน มิย.สำคัญกับชีวิตอย่างไร คำตอบทั้งหมดมาเรียงได้คือ รับน้องขึ้นดอย ไมเคิล แจ๊คสันตาย โพลนี้บอกกับผมว่าระบบการศึกษาบ้านเรามันแย่ ไม่มีใครพูดถึง 24 มิย. มันถูกปล้นไปจากสังคมไทย ไปจากความทรงจำของเด็กรุ่นใหม่ ไม่มีใครพูดถึงคณะราษฎร พูดแค่ในวันที่ 10 ธค ไม่ได้พูดถึงอุดมการณ์ของคนกลุ่มหนึ่งที่พยายามสร้างและใช้ในสังคมไทย อะไรที่ทำให้คณะราษฎรล้มเหลว สิ่งที่ทำให้อุดมการณ์คณะราษฎรล้มเหลวมีปัจจัยอยู่ 2 อย่างคือ

(1) คณะราษฎรที่ประกอบด้วยชนชั้นนำใหม่ ได้แก่ ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ผลิตซ้ำระบบเดิม มีการแย่งอำนาจกัน การทะเลาะกันเอง ทำให้การปูพื้นฐานหรือสร้างประชาธิปไตยเกิดขึ้นได้ยาก คณะราษฎร์ไม่สามารถสร้างวัฒนธรรมการเมืองได้ สังคมไทยถูกครอบอุดมการณ์บุญกรรมมากกว่าเรื่องประชาธิปไตย ไม่มีกระบวนการที่จะสร้างวัฒนธรรมการเมืองแบบใหม่ ที่จะสร้างความหมายให้แก่สังคมได้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย เป็นได้แค่ คณาธิปไตย เกิดวัฒนธรรมการเมือง แบบรัฐข้าราชการ คือมีข้าราชการเป็นตัวนำ ในด้านของการพัฒนาประเทศ ยิ่งเริ่มมีการพัฒนาเป็นต้นมา การผลิตมูลค่าส่วนเกินก็มากขึ้น และสร้างความลักลั่นของรูปแบบและเนื้อหาของระบบกรเมือง คนไทยถูกบอกมานานว่ามันคือการเลือกตั้งเท่านั้น

ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ระบบการเมืองของเราเป็นคณาธิปไตย เป็นเผด็จการทหารเต็มรูปแบบ 20 กว่าปี รากเหง้าของเผด็จการทำลายหลัก 6 ประการของคณะราษฎร์ไปจนหมด แม้แต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่เคยพูดถึง

ความคิดสมัยจอมพล สฤษดิ์ เริ่มเกิดระบบอุปถัมภ์ ผลิตซ้ำอุดมการณ์ผู้มีบุญขึ้นมาอีก กลุ่มชนชั้นนำรวมตัวกันได้ดี สิ่งที่เราได้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์ อุดมการณ์พวกนี้ได้รับการสถาปนาใหม่ จนปี 2510 อยากจะเชื่อว่ามีการท้าทายของระบบเผด็จการทหาร แต่ความจริงไม่ใช่ทหารทะเลาะกันเอง แต่ชนชั้นนำใช้เงื่อนไขการชุมนุมของ นศ เพื่อล้มถนอม พอปี 19 ก็ทวงคืนอำนาจกลับมาอีก

เหตุการณ์ 14 ตค ส่งผลให้นักการเมืองอาชีพ ชนชั้นกลางในกทม.มีอำนาจมากขึ้น เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า 2 นครา สิทธิล้มรัฐบาลถูกผูกขาดโดยคนกทม.มานาน เมื่อคนบ้านนอกจะล้มบ้างก็ไม่ยอม ไล่คนบ้านนอกกลับไป

ในช่วงพลเอก เปรม 8 ปี ที่เรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กทม.โตเร็ว อาศัยความได้เปรียบไปดึงทรัพยากรจากชนบทมาเลี้ยง กทม. เกิดปรากฎการณ์จนกระจาย รวยกระจุก

78 ปี ก็เรียกว่า คณาธิปไตย ชนชั้นนำเป็นคนกลุ่มเดิม นักธุรกิจ นักการเมือง และสื่อมวลชนก็อยู่ภายใต้รัฐอย่างแนบแน่น เราเห็นความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ เกิดสภาวะด้อยโอกาสในทุกด้าน ทรัพยากรพวกนี้มาจากภาษีของชนบท กทม.กลายเป็นเมืองโตเดี่ยว เกษตรกรเปลี่ยนจากกระดูกสันหลัง เป็นพวกบ้านนอก โง่ จนเจ็บ รอบรับคำสั่งจากศูนย์กลาง 20 ปี ทนไม่ไหว ก็เริ่มออกไปเป็นแรงงานรับจ้าง คนเริ่มเรียนรู้ที่จะปรับตัว เพราะหนี้สินจากการเกษตรมันเยอะ

คน ชนบทเริ่มแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ให้กับตัวเอง เกิดอาชีพใหม่ๆ เกิดจินตนาการอนาคต เกิดชนชั้นกลางระดับล่าง ชนชั้นใหม่เริ่มพัฒนาจิตสำนึก ขึ้นมา ที่จนเพราะไร้สิทธิ และถูกกีดกันการมีส่วนร่วม แต่คนกทม.ก็ยังยึดติดวาทกรรม คนบ้านนอก พวกตาสีตาสา สกปรกมอมแมม ในบริบทแบบนี้ นักการเมืองอย่างทักษิณสามารถฉกฉวยจินตนาการใหม่ของชนบทมาเป็นนโยบายการ เมือง เช่น กองทุนหมู่บ้าน โอทอป เป็นต้น มันเข้าได้กับความเปลี่ยนแปลงชนบท เป็นปัจจัยที่สำคัญกว่าเงิน เป็นครั้งเดียวในประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่จัดตั้งพรรครัฐบาลพรรคเดียวได้

คน ชั้นกลางมีศรัทธาต่อ ใช้ชีวิตอยู่กับคณาธิปไตย ใช้วิธีการแบบเดิมๆ คือยึดอำนาจ การยึดอำนาจครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดศักราชใหม่ของการเมืองไทย จบลงด้วยการมีการเลือกตั้ง ฉากที่สองที่จบเมื่อ พค. ตอนนี้กำลังเริ่มฉากที่สาม ดังนั้นส สิ่งที่รียกว่า ประชาธิปไตยยังไม่เกิดขึ้น มีแต่คณาธิปไตยที่ติดฉลากประชาธิปไตย ที่มาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่ใครจะมาหยิบยื่นให้เรา หากเราไม่สร้างขึ้นมาเอง มีคำถามฝากไว้ว่าเราควรจะถามตัวเอ งว่า ท่ามกลางบริบทการเมืองที่ชนกันระหว่างชนชั้นนำ เราอยู่ตรงไหน เราจะเลือกข้างเพราะชนชั้นนำไปทำไม คนพวกนี้มาแล้วก็ไป 78 ปี เราต้องลุกขึ้นมาเพื่อสานต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎร

การถกเถียงกันต่อ ไป จะทำให้ขบวนการของภาคประชาชนไม่ถูกทำลายไป ประเด็นที่อยากให้ผลักดันร่วมกันมี 4 ประเด็น

  1. พลิกระบบการ ศึกษาที่ห่วยแตก สอนให้เด็กคิดเป็น ให้หวงแหนเสรีภาพ ถ้าคนเห็นความยุติธรรมแล้วรู้สึกโกรธ เราเป็นเพื่อนกันได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่รู้สึกอะไร
  2. สื่อที่เปิดกว้าง และเสรีมากกว่าที่เป็นอยู่
  3. สังคมไทยถึงเวลาต้องปฏิรูป monarchy
  4. การ แบ่งพื้นที่ในการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ใช่การกระจายอำนาจ ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการแบ่งจากส่วนกลาง เช่น ภาคใต้ ที่เรียกว่า พื้นที่ยกเว้น ซึ่งจะต้องมีการอาศัยความรู้เข้าไป

รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ กล่าวว่า การประชุม ปัญหาเศรษฐกิจ เป็นปัญหาการเมือง วิกฤตในปจบ.คือมีการทำลายระบบสหภาพแรงงาน มีความคิดว่าการที่ ปชป. เรากำลังอยู่ในช่วงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ คนมองกันว่าวิกฤตที่มันแย่ลง เกิดจากปัญหาการเมือง การชุมนุมเสื้อแดง ทำให้ยิ่งแย่ไปกว่าเก่า การมองเช่นนี้เป็นการมองแบบไม่มีมิติทางประวัติศาสตร์ เฉพาะหน้า เราบอกว่าเราทำงานเพื่อคนส่วนใหญ่ แต่น้อยมากที่จะพูดถึงชีวิตคนที่สูญเสียไป ไม่มีใครประณามในการกระทำของภาครัฐ อยากตั้งคำถามว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดถี่ขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเราเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ และการเคลื่อนย้ายทุน ซึ่ง Un บอกว่ามันเป็นการขยายความเหลือมล้ำ ถ้ามองให้ลึกไปแล้วความเหลื่อมล้ำนั้นเป็นปัญหาของสังคมไทยมาตลอด มีการกระจุกตัวของรายได้อยู่ในกลุ่มชนชั้นสูง ช่องว่างขยายตัวยิ่งขึ้น เมื่อมีการเร่งรัดการพัฒนา และการส่งออก เพราะฉะนั้นข้อมูลนี้ก็ชี้ชัดว่าความเหลื่อมล้ำนั้นมีมาก่อนกระแสโลกาภิวัต น์ วิกฤต 40 มีการเลือกตั้ง คนงานจำนวนหนึ่งผันตัวเองมาเป็นคนจนเมือง ไม่เฉพาะการกลับชนบท

คำถามคือปัญหาความเหลื่อมล้ำมาจากไหน การกำหนดการเปลี่ยนแปลงรายได้มาจากการเมือง ดังนั้นปัญหาของสังคมไทยจึงเป็นเรื่องของโครงสร้างการเมือง ประชาชนไทยไม่มีส่วนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ปัญหาเศรษฐกิจ มาจากการที่รัฐรวมศูนย์ ที่เรียกว่าขั้นตอนเบ็ดเสร็จ รัฐนี้มีการปราบปราม ใช้ พรก.ฉุกเฉินในการไล่ล่า มันเป็นยุคเริ่มต้นหรือยุคของการเสื่อมสลายกันแน่ การที่ใช้กระบวนการปราบปรามนั้นมีต้นทุนสูงมาก ในสมัยปัจจุบันการมีรัฐแบบนี้ จะเอาเงินจากที่ไหน จะพึ่งชนชั้นใด

ประเด็น สุดท้าย ถ้าจะดูการเรียกร้อง ประชาธิปไตย การแสวงเรื่องสิทธิเสรีภาพความเป็นมนุษย์ การต่อสู้ถูกกำกับในวงที่แคบ เห็นกรรมกรที่ออกมาต่อสู้กับรัฐในช่วงนั้นก็ถูกประหารชีวิต ตั้งแต่ 14 ตค พฤษภาทมิฬ ก็ยังเป็นการเคลื่อนไหวในกลุ่มชนชั้นกลาง ครั้งนี้ถือเป็นการต่อสู้ทีแผ่ไปถึงชนชั้นล่างในวงกว้างไม่ว่าจะชนบท หรือเมืองไม่ใช่ความขัดแย้งธรรมดา ทำไมต้องแลกด้วยชีวิต เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่มีใครยอมกัน

แรงงานบอกว่า ปชต.ของเขาคือ กินได้ สิ่งที่เขายอมรับเสื้อแดง คือจน และสองมาตรฐาน ดังนั้นจึงคิดว่าเรื่องนี้น่าจะเป็นอุดมการณ์การต่อสู้ ปชต. การปกครองของรัฐที่รวมศูนย์กษัตริย์ เช่นการแต่งตั้งผู้ว่าไปปกครอง ดังนั้นกระบวนการของภาคประชาชนอาจจะเรียกร้องเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่าฯ โดยตรงก็ได้

ตั้งคำถามปรองดอง ความหมาย กับความเป็นจริง

รศ.ดร.ไช ยันต์ รัชชกูล กล่าวว่า มี 2 ประเด็นใหญ่ๆ ประเด็นแรกคือการมองย้อนเข้าไปในอดีต มองอดีตเข้าใจปัจจุบัน อดีตที่ผ่านมามีข้อคิดอะไรบ้างกับสถานการณ์ปัจจุบัน การประเมินสถานการณ์ต่างๆ มันเปลี่ยนไปตามเวลา การกระชับวงล้อมวันที่ 19 20 พค. เรารู้สึกหดหู่ รู้สึกว่ากระบวนการเสื้อแดงแพ้อย่างย่อยยับ แต่ในเวลาต่อมากลับเป็นอีกแบบ

เรามอง 2475 เปลี่ยนไปตามเวลา มีอยู่ช่วงหนึ่งมีวิทยานิพนธ์ทาง ประวัติศาสตร์ คือพระราชสาสน์ การสละพระราชสมบัติของ ร.7ว่า ลาออกบอกว่าอำนาจเป็นของราษฎร เหตุที่นำมาเพราะต้องการโจมตีนักการเมือง แสดงว่าเราประเมินอดีตจากความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน

ตอนนี้เรา รู้สึกว่าเสื่อแดงแพ้หรือไม่ คณะราษฎรแพ้หรือไม่ สำหรับตัวเองบอกว่าถ้าแพ้ก็ไม่มีในวันนี้ คณะราษฎรเสนอให้ กษัตริย์อยู่ใต้ รธน. สิ่งที่คณะราษฎร์ สามารถทำให้เกิดอำนาจนิติบัญญัติได้ เช่นการออกกม.ให้ผ่านระบบรัฐสภา อำนาจบริหารก็ไม่ได้อยู่ที่กษัตริย์แต่คณะราษฎร์ ทำได้แค่นี้ ทำให้เป็นค่อนข้างประชาธิปไตย แต่ที่ทำไม่ได้ คือการเปลี่ยนแปลง ปฏิรูปศาล ผู้พิพากษาต้องได้รับการพิพากษา อำนาจทั้งสามต้องคานกัน สิ่งที่ใหญ่กว่าอำนาจทั้ง 3 ต้องเป็นอธิปไตยของปวงชน ศาล บริหาร นิติบัญญัติ ก็ต้องขึ้นกับปวงชน ตอนนี้ก็ยังมีอำนาจอื่นๆ เช่น มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ขึ้นกับปวงชน

ประเด็นที่น่าคิด และฝากให้เป็นมรดกทางความคิดมีความล้มเหลวของคณะราษฎร์ คือ เขาเปลี่ยนแล้ว วันที่ 24 มิย.แล้วจะเปลี่ยนสำเร็จ สิ่งที่ลืมไปของคณะราษฎร์ คืออำนาจเดิมยังมีอยู่ ที่พร้อมจะยึดคืนทุกเวลา เหมือนกับขบวนการทั้งหลาย บรรดาผู้นำคิดไม่ตรงกัน คณะราษฎร์ มีซ้าย และขวา มีการประชุมกันหลายครั้ง ประเด็นที่ขัดแย้งคือเอาในหลวงไปไว้ไหน บางคนบอกว่าเปลี่ยนระบบไปเลย สุดท้ายคือสรุปคือในหลวงเป็น K ต่อไป แต่อยู่ใต้ รธน. บทเรียนที่น่าคิดคือ มีแรงต้านอยู่เสมอ ภายในขบวนการมีความขัดแย้งอยู่เสมอ

เราแพ้หรือชนะเราเสียหายไป เลือกที่หลั่งไป หลั่งไปเปล่าๆ หรือไม่ ขบวนการของเสื้อแดง ได้ตอบโต้ หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งอ่อนลงไปหรือไม่ พลวัตรการเปลี่ยนแปลงอาจจะแสดงออกในอนาคต ผมคดว่าเราประเมิน 2475 ที่ดีกว่าของคณะราษฎร์ ด้วยซ้ำ ตอนนั้นคนที่จะเปลี่ยนแปลงของคณะราษฎร์มีน้อยมาก สื่อก็จำกัดซึ่ งผิดกับยุคปัจจุบันที่มีเครื่องมือ เทคโนโลยีสื่อมากขึ้น ถือว่าการขยายเรื่อง ปชต.ของประชาชนก็ขยายกลุ่มคนไป

ความแตกแยกใน สังคมไทย เกิดขึ้นในทุกหน่วย ไม่มีหน่วยไหนที่ไม่แตกแยกทางความคิด โดนอบรมสั่งสอนเยอะ แต่ไม่มีผล กลับเชื่อหนักขึ้น ในสังคมไทยไม่เคยปรากฏการณ์แบบนี้ ถามว่าดีหรือไมดี บางคนก็บอกว่าต้องรักกัน เมื่อต้องปฏิรูปประเทศไทย เราจะรักกัน ข่าวตัดต้นไม้เขาใหญ่มันกลบ 90 ศพ คนอีกนับพันที่พิการ ก็ถูกลบไปเลย คำถามเดิมแล้วเราจะรักกันได้อย่างไร คณะกรรมการ "ปูดอง" จะเห็นปัญหานี้หรือไม่

บทความของอ.ธงชัย ตอนเสื้อแดงไปที่ รพ.จุฬา คนเสื้อแดงเป็นเชื้อโรคที่ต้องกำจัด จุดนี้ถือเป็นจุดพลิกที่คนกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับคนเสื้อแดงอย่างมาก มองคนเสื้อแดงเป็นส่วนเกินของสังคมไทย สกปรก ผ้าขี้ริ้ว เป็นบ้านนอก ต้องกำจัด หลังสลายการชุมนุมมีการกวาดล้างที่ราชประสงค์ ไม่มีการทำบุญให้คนตาย แต่ทำบุญเพื่อกำจัดเสนียดที่ราชประสงค์ คำถามเดิมคือ เราจะรักกันได้อย่างไร

คำถามของสังคมไทยคือขัดแย้งกัน มาตลอด ไม่ใช่ดีกัน รักกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งแล้วก็จะใช้วิธีปราบปราม ซึ่งไม่ถูกต้อง ความหมายของปรองดองหมายความว่าอย่างไร เราต้องตั้งคำถาม ถามต่อไปอีก ภาษาที่ใช้กับความเป็นจริงด้วยกันหรือไม่ เช่นขอคืนพื้นที่ กระชับวงล้อม หมายความว่าอย่างไร ปรองดองหมายความว่า คำพูดเป็นอย่างหนึ่ง ความเป็นจริงเป็นอย่างหนึ่ง กระนั้นหรือ

ส่วน เรื่องความขัดแย้งคืออะไร ซึ่งสังคมไทยก็ต้องหาคำตอบมากกว่าจะบอกว่าให้รักกัน ซึ่งจะเห็นว่าความขัดแย้งของการชุมนุมที่ผ่านมามีทั้งความขัดแย้งทางการ เมือง สังคม วัฒนธรรม ดังนั้นถ้าคำว่า "ปรองดอง" ใช้ตรงความหมายจริงๆ ไม่ใช่แปลว่า "กดเอาไว้ไม่ให้หือ" หรือไม่ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ เป็นการสร้างบรรยากาศความกลัวขึ้นมา ใครเป็นคนสร้าง ก็จะเห็นว่าใครคือผู้ก่อการร้ายตัวจริง เพราะคนที่สร้างบรรยากาศความกลัวคือรัฐบาลไม่ใช่หรือ ใครกันแน่คือผู้ก่อการร้ายต้องถาม

อำมาตยาธิปไตยแข็งแกร่ง อุปสรรคของประชาธิปไตย

รศ.ดร.ธเนศ เจริญเมือง กล่าวว่า ประมาณสามเดือนที่แล้วมีการส่งจม.มาให้ เป็นเรื่องของหญิงสาวที่เขียนถึงแม่ระดับดาวมหา ลัย พูดถึงความรักที่มีต่อแม่ พูดถึงความรักต่อสามี และฆ่าตัวตาย แม่ก็เขียนถึงลูก ว่าลูกน่ารัก แม่ดูแลอย่างดีทุกอย่าง เรียนหนังสือเก่ง นี่คือชะตากรรมของหญิงสาวที่ไม่เคยเผชิญความทุกข์ยากลำบากใดๆ เลย มันเกี่ยวพันกับสังคมไทย หญิงสาวนี้คือสังคมไทย เราเป็นสังคมที่ไม่เคยทุกข์ยาก เราไม่เคยมีประสบการณ์การต่อสู้ทางการเมือง มีความขัดแย้งกัน เราเป็นเอกราช แต่เราเป็นเมืองขึ้น หลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ชนชั้นนำก็พยายามดิ้นรนเอาตัวรอด ด้านหนึ่งก็เล่นเกมกับนักล่าอานานิคม ผนวกอีสาน ล้านนาน มาเป็นเมืองขึ้น ใช้กลยุทธ์ดูดกลืนให้ภูมิภาคนี้เป็นสยามประเทศอย่างนุ่มนวล

ระบบ ราชการใหญ่โตขึ้น จากความเป็นรัฐรวมศูนย์ มีทั้งสีกากี และสีเขียว การเป็นรัฐรวมศูนย์แข็งแกร่งตั้งแต่ 2453 จนถึง 2475 ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ คณะราษฎร์ เมื่อเข้ามาจัดการ อีกฝั่งหนึ่งคือแข็งแกร่งกว่ามาก พัฒนารัฐรวมศูนย์ สมัย ร.5 ทำลายความเป็นท้องถิ่นอย่างราบคาบ มีเรื่องนี้พูดถึงน้อยมาก ดังนั้น คณะราษฎร์จึงเชิญปัญหามากมาย คือการสถาปนา ระบบราชการส่วนภูมิภาค กลายเป็นมือเท้าของส่วนกลางอย่างชัดเจน

อีกเรื่องระบบการศึกษาไม่ให้ ความสนใจเลย คือเราไม่รู้จัก 24 มิย.น้อยมาก วัฒนธรรมอำมาตย์ก็โตวันโตคืนมาจนถึง ปัจจุบัน. จากนี้แล้วเราก็ต้องพูดถึง ที่สำคัญคือ 2490 จีนเวียดนาม กัมพูชา ยุโรป กลายเป็นสังคมนิยม ถ้าเรามีขบวนการแข็งแกร่ง เราก็อาจจะเป็นสังคมนิยม แต่เราเป็นหญิงสาวที่อ่อนเยาว์ สหรัฐก็เข้ามา สถาปนาอำมาตย์มาจนถึงปัจจุบันกล่อมเกลาให้เราเป็นอย่างทุกวันนี้ จนมีความขัดแย้งในปัจจุบัน

เราจะสรุปบทเรียน และเหตุการณ์ในช่วง 100 ปีนี้อย่างไร ขบวนการของ ประชาชนก็พัฒนามานานแล้ว ถ้าไม่มี 19 พค.ก็อาจไม่มีวันนี้

ที่ผานมาเราศึกษาบทเรียนต่างประเทศน้อยไป เราต้องรู้ว่า EU กับ สหรัฐ จีน คิดกับเราอย่างไร ทำไมกัมพูชาหันไปสนับสนุนรัฐบาล เพราะอะไร สหรัฐฯที่มีผลประโยชน์ในประเทศไทยอยางมหาศาล ถ้าจะเปลี่ยนแผ่นดิน เขาต้องคิดว่ามวยคู่นี้ เขาจะยืนอยู่ตรงไหน สรุปคือเราต้องศึกษาปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อประเทศไทยด้วย

การเปลี่ยน แปลง ประชาธิปไตยเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมด้วย การที่วัฒนธรรมของ นศ.เป็นเช่นนี้กล่าวคือ ไม่สนใจเรื่องการเมือง เราจะไปกันอย่างไร เราจะต้องมีการปฏิวัติวัฒนธรรมในบ้านเรา ใสถาบันการศึกษาด้วย ซึ่งเราต้องคุยกันให้มาก อีกอย่างคือสถาบันศาสนา เราจะจัดการและแก้ไขอย่างไร

ประเด็นท้องถิ่น ประชาธิปไตยไม่ใช่มีระดับชาติ แต่มีในระดับท้องถิ่นด้วย อปท.มีบทบาทอย่างไร ที่จะช่วยดูแลประชาธิปไตยอย่างไร ให้มันอยู่ได้ ไม่ใช่การไล่ล่าเสื้อแดง

วันนี้ ถ้าเราสรุปบทเรียนดี ๆ ทำเป็นเอกสารได้อ่านกัน ที่สำคัญคือ เราต้องมาร่วมมือกัน อุดมการณ์ของคนรุ่นพวกเรา บ้านเราดีขึ้น ลูกหลานเราไม่เหน็ดเหนื่อย วันนี้มองไปตรงไหนก็เป็นอำมาตย์ไปหมด ซึ่งเป็นผลพวงของความแข็งแกร่งที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง

หลัก การประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานคือความเท่าเทียมกันด้านปกครอง สิทธิเสรีภาพไม่ใช่ของแปลกปลอมจากต่างประเทศ มันอาจมาจากต่างประเทศ เพราะเขาเกิดก่อน เพราะความไม่เท่าเทียมกันนั้นเป็นเรื่องสำคัญ เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ที่อยากเห็นความเท่าเทียมกัน ไม่มีสองมาตรฐาน คนเราต้องมีเลือดเนื้อมี ชีวิตเท่านั้นเอง และมันจะสร้างประเทศของตัวเอง ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากต่างประเทศ

เราเห็นต่างกันได้ไม่มีปัญหา คนไม่มีสี เพราะไม่ค่อย active ก็ไม่เป็นไรก็อยู่ไป คนที่มันมีสี ก็เป็นพลเมืองเข้มแข็ง ประเด็นที่ว่าคือไม่พอใจการเรียกร้องของอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วเอาลูกปืนไปให้ ปัญหาของอำมาตยาธิปไตย คือการไม่ยอมรับเสียงส่วนใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน