แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

13 ข้อการเมืองที่บิดเบี้ยว อ.รัฐศาสตร์ฟันธงอำนาจนอกระบบคือปัญหา


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
24 มิถุนายน 2553

เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. ดร.ประจักษ์ ก้องกรีติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอ "13 ข้อโครงสร้างการเมืองที่บิดเบี้ยว" ที่เวทีการสัมนาที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

โครงสร้างการเมืองที่บิดเบี้ยว

1. ปม ปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราเผชิญอยู่คือ ปมปัญหาทางการเมืองมากกว่าปมเศรษฐกิจสังคม

2. ปมปัญหาทางการเมืองที่ ว่า คือ โครงสร้างการเมืองไทยอยู่ในสภาพบิดเบี้ยว

3. สภาพบิดเบี้ยวที่ ว่าคือ ภาวะที่มีสองศูนย์อำนาจดำรงอยู่คู่กันในระบบการเมือง ศูนย์หนึ่งวางอยู่บนการเลือกตั้ง อีกศูนย์หนึ่งอยู่นอกการเลือกตั้ง เป็นอิสระจากการกำกับตรวจสอบจากประชาชน และขาดการยึดโยงกับประชาชน ซึ่งในทางทฤษฎี การดำรงอยู่ของศูนย์อำนาจอิสระที่พลเมืองกำกับตรวจสอบไม่ได้ จะเป็นอุปสรรคต่อการสร้างประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ (autonomous power centers) เพราะความพร้อมรับผิด (accountability) ยากที่จะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากการใช้อำนาจของศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้งไม่ต้องรับผิดชอบต่อ สาธารณะ แต่ชักใย บงการอยู่เบื้องหลังซึ่งยากต่อการรับรู้ของประชาชน ไม่ต้องพูดถึงการตรวจสอบที่ประชาชนจะมีต่อศูนย์อำนาจนั้น

4. โดยศูนย์ อำนาจนอกการเลือกตั้งมีศักยภาพในการแทรกแซงเข้ามาคุมกลไกรัฐ การจัดทำนโยบาย รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ทำให้ศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง (ไม่ว่ามาจากพรรคใด) ไม่สามารถบริหารอำนาจที่ได้อาณัติมาจากประชาชนอย่างอิสระ

5. ความ พยายามอย่างต่อเนื่องของศูนย์อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งที่ต้องการคง อำนาจของตนเองไว้ในระบบการเมืองไทย โดยไม่ยอมรับความชอบธรรมของระบอบรัฐสภาและกติกาการเลือกตั้ง และดิ้นรนใช้ทุกวิถีทางในการผูกขาดอำนาจของกลุ่มตนไว้ (ซึ่งรวมถึงการใช้ความรุนแรงทางการเมือง) ก่อให้เกิความตึงเครียดทางการเมือง

6. ศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้งใช้ กลไกศาล ทหาร และขบวนการเคลื่อนไหวมวลชนอนุรักษ์นิยม เป็นเครื่องมือในการกัดกร่อน ต่อต้าน และโจมตีสถาบันการเมืองในระบอบประชาธิปไตย นอกจากน้้นยังมีการสร้างวาทกรรมชุดหนึ่งเป็นเครื่องมือรองรับอำนาจด้วย

7. วาท กรรม "ซื้อเสียงขายสิทธิ" และ "ผู้เลือกตั้งชนบท โง่ จน เจ็บ" ถูกถักทอและเผยแพร่อย่างต่อเนื่องเพื่อทำลายความชอบธรรมของการเลือกตั้ง

8. วาท กรรม "การปกครองบ้านเมืองโดยคนดีมีศีลธรรม" ถูกสร้างขึ้นเพื่อค้ำจุนการเมืองแบบชนชั้นนำของศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้ง

9. ศูนย์ อำนาจนอกการเลือกตั้งโจมตีความไม่เป็นประชาธิปไตยและการคอร์รัปชั่นของฝ่าย เลือกตั้ง แต่เป้าหมายที่ศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้งต้องการก็ไม่ใช่การเมืองที่เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น และศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้งเองก็ไม่ปลอดพ้นจากการคอร์รัปชั่นเช่นกัน พวกเขาเพียงต้องการการผูกขาดอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจไว้กับตนเองโดย เบียดขับศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งให้ออกไปจากเวทีการเมือง

10. ศูนย์ อำนาจนอกการเลือกตั้งได้ปัญญาชน สื่อมวลชน และเอ็นจีโอจำนวนหนึ่งมาเป็นพันธมิตร เพราะแชร์ร่วมกันเรื่องไม่ไว้ใจอำนาจที่มาจากการเลือกตั้ง

11. ความ รุนแรงทางการเมืองเป็นผลลัพธ์จากโครงสร้างการเมืองที่บิดเบี้ยวนี้ เพราะสถาบันทางการเมืองในระบอบถูกทำลายความชอบธรรมไปจนหมด บวกกับภาวะศูนย์อำนาจที่มาจากการเลือกตั้งไม่สามารถคุมกลไกรัฐด้านความมั่น คงได้ จึงไม่เหลือช่องทางให้แก้ไขความขัดแย้งได้โดยสงบสันติ

12. ตราบใด ที่ไม่สามารถทำให้ศูนย์อำนาจนอกการเลือกตั้งยอมเข้ามาเล่นภายใต้กติกา (ไม่ว่าจะโดยมาตรการทางการเมือง กฎหมาย ฯลฯ) โครงสร้างการเมืองที่บิดเบี้ยวนี้จะดำรงอยู่ต่อไป

13. ตราบใดที่โครง สร้างการเมืองที่บิดเบี้ยวนี้ไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ความตึงเครียด ความรุนแรง และวิกฤตการเมืองก็จะดำรงอยู่ในสังคมต่อไป

Posted by editor01 at 6/24/2010 12:20:00 ก่อนเที่ยง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน