แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กรรมการ สิทธิฯ วอนเจ้าหน้าที่เคารพสิทธิมนุษยชน หลัง 'นายสุไลมาน นาแซ' เสียชีวิตในค่ายอิงคยุทธ


Mon, 2010-06-28 04:46

เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.53 คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีการประชุมและสรุปผลการประชุม กรณีนายสุไลมาน แนซา เสียชีวิตระหว่างการควบคุมตัวของเจ้านหน้าที่ทหาร ที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี โดยคณะอนุกรรมการฯ เรียกร้องให้มีผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจพิสูจน์ศพ และบริเวณที่เกิดเหตุให้ละเอียดในทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความกระจ่างในกรณีที่เกิดขึ้น และขอให้เจ้าหน้าที่ทหารเคารถสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่วิธีการรุนแรง และหวังว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะนำแนวทางนี้ไปกำชับเจ้าหน้าที่ให้ถือ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

--------------------------------

สรุป ผลการประชุมคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

กรณี นายสุไลมาน แนซา เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ทหาร

ที่ ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี

ตามที่ปรากฏข่าว ตามสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับกรณีนายสุไลมาน แนซา ได้เสียชีวิตในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหาร ที่ศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ประชาชนในพื้นที่มีความสงสัย สาเหตุที่แท้จริงของการเสียชีวิตเป็นอย่างมาก รวมทั้งองค์กรภาคประชาสังคมก็กำลังเฝ้ามองการตรวจสอบหรือการแสวงหาข้อเท็จ จริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ความจริงปรากฏ ประกอบกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีการเสีย ชีวิตของนายสุไลมานฯ โดยขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและให้ความเป็นธรรม

คณะกรรมการสิทธิ มนุษยชนแห่งชาติได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ตรวจสอบเรื่องร้อง เรียนดังกล่าว โดยคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการตรวจสอบการ ละเมิดสิทธิมนุษยชน และการใช้กระบวนการตุลาการเพื่อสร้างความเป็นธรรม และประสานงานเพื่ออำนวยความยุติธรรมด้านสิทธิมนุษยชน

สำหรับกรณีการเสีย ชีวิตดังกล่าว คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ได้ลงพื้นที่

เพื่อตรวจสอบข้อ เท็จจริงและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นได้จำนวนหนึ่งแล้ว และในวันนี้ (วันที่ 25 มิถุนายน 2553) คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงใน กรณีดังกล่าว ได้แก่ 1) ผู้แทนกองทัพภาคที่ 4 2) ผู้บัญชาการศูนย์ข่าวกรองจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ผู้อำนวยการศูนย์เสริมสร้างความสมานฉันท์ 4) ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรหนองจิก 5) รองอัยการจังหวัดปัตตานี 6) พนักงานปกครองอำเภอปัตตานี 7) แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ 8) แพทย์ผู้ชันสูตรพลิกศพจากโรงพยาบาลหนองจิก

หลังจากการรับฟัง คำชี้แจง คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้มีความเห็นสรุปในเบื้องต้นว่า ประเทศไทยได้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งมีพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นต้น ตลอดจนการยึดปณิธานตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นหลักในการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชน และเป็นกรอบในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหลังจากคณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้ได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว จะได้สรุปและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิจารณา แล้วแจ้งผลการตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งในชั้นนี้ คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้มีข้อสังเกตที่สำคัญ ที่จะช่วยกันให้เกิดความเข้าใจในหมู่ประชาชน และมิให้เกิดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้น คือ

1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน สมควรมีผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจพิสูจน์ศพ และบริเวณที่เกิดเหตุให้ละเอียดในทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความกระจ่างในกรณี

ที่เกิดขึ้น

2. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่มาปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมควรเรียนรู้ข้อห้ามและข้อควรปฏิบัติในการปฏิบัติหน้าที่ ที่ได้กำหนดขึ้นภายใต้หลักการสิทธิมนุษยชนและการเคารพในศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ตามหลักสากล ตลอดจนการคำนึงถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต และอัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น จึงควรมีการกำชับให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้มีการปฏิบัติที่เป็นการละเมิดกฎหมายหรือหลักการสิทธิมนุษยชนในทุก กรณี

3. กระบวนการซักถามผู้ต้องสงสัยของเจ้าหน้าที่ทั้งในเชิงด้านการข่าว การแสวงหาข้อมูล หรือการปรับทัศนคติ จะต้องกระทำโดยไม่สร้างเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรม และไม่ใช้วิธีการที่รุนแรง เช่น การซ้อมทรมาน การซักถามโดยใช้ระยะเวลายาวนาน หรือการกดดันทางจิตใจด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ควรมีนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ ร่วมอยู่ด้วยหรือคลุกคลีกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยหรือถูกควบคุมตัวด้วย

4. การดูแลผู้ต้องสงสัยในระหว่างการควบคุมของเจ้าหน้าที่ เมื่อมีการเชิญตัวผู้ ต้องสงสัยมาซักถามและควบคุมตัว จะต้องมีการดูแลและคุ้มครองความปลอดภัยมิให้เกิดการกระทำอันตรายต่อชีวิตและ ร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการกระทำด้วยตนเองหรือถูกกระทำด้วยวิธีการใด ๆ เกิดขึ้นอีก

จากข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้น คณะอนุกรรมการชายแดนภาคใต้เห็นว่าหากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะรับไปเป็นแนว ปฏิบัติ และกำชับให้เจ้าหน้าที่ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ได้มากยิ่งขึ้น

คณะอนุกรรมการชาย แดนภาคใต้ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน