แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แกนนำพันธมิตรฯ ที่มีข้อหาผู้ก่อการร้ายเหมือนกัน ยังอยู่ปกติสุข กินอาหารดี ฟังดนตรีไพเราะเหมือนเดิม!??

ข่าวสดรายวัน

วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7150

เจาะลึกงานวิจัย คดี"พันธมิตรฯ" ยึด"สุวรรณภูมิ" ผลกระทบทั่วปท.

คอลัมน์ แฟ้มคดี


น่าสนใจอย่างยิ่งกับเอกสารของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อันเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์พันธมิตรฯ ที่บุกปิดสนามบินสุวรรณภูมิ

เอกสารเล่มนี้เผยแพร่ในแวดวงการศึกษาและการทำโพลมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา

ความสนใจประการหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินคดีกับกลุ่ม พันธมิตรฯ ในคดี ก่อการร้ายยึดสนามบินนั้นเนิ่นช้าอย่างผิดปกติ

เพราะตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่กลุ่มพันธมิตรฯเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง หลังจากเข้าครอบครองทำเนียบรัฐบาลมานานหลายเดือน

หากแต่รัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช ต่อเนื่องถึง นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งกองทัพในยุคนั้นมิได้ใส่ใจหรือพยายาม "ขอพื้นที่คืน"

ทำให้แกนนำตัดสินใจเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้ง ด้วยการยึดสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ

ก่อนที่จะเลิกการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน และเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล

และยิ่งทำให้สังคมอึดอัดหาวเรอมากขึ้นเมื่อรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้นายกษิต ภิรมย์ หนึ่งในแกนนำที่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับคดียึดสนามบินเข้ามาเป็นรมว.ต่างประเทศ

ทุกอย่างจึงเป็นไปตามที่คาด คดีพันธมิตรฯยึดสนามบินอันเข้าข่ายก่อการร้าย จนทุกวันนี้สำนวนยังอยู่ในมือของตำรวจ

อาจจะใช้คำว่าตำรวจหรือพนักงานสอบสวนได้ไม่เต็มปากเต็มคำนัก เพราะจริงๆ แล้วทีมสอบสวนคดีนี้นำโดยพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วยผบ.ตร. สรุปสำนวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งหมด 112 คน และนำเอกสารจำนวนมากเดินทางไปยังศาลอาญาเพื่อขอหมายจับตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา

แต่ในวันเดียวกันต้องหอบสำนวนกลับเมื่อมีคำสั่งให้ยกเลิกการขอหมายจับ!??

โดยอ้างว่าต้องการให้สอบสวนเพิ่มเติม

พล.ต.ท.สมยศ ก็ดำเนินการสอบเพิ่มตามสั่ง ก่อนนำเอกสารทั้งหมดส่งให้พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผบ.ตร.อีกครั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม พร้อมแนบความเห็นสั่งฟ้องเช่นเดิม



ผ่านไปอีกพักใหญ่ พล.ต.อ.ปทีป แทงหนังสือตอบกลับมาว่าให้ส่งสำนวนคดีนี้ให้พล.ต.ท.เจตน์ มงคลหัตถี ผบช.สำนักงานกฎหมายและคดีพิจารณาอีกครั้ง!??

โดยระบุว่าต้องการให้ดูสำนวนของผู้ต้องหาแต่ละคนอย่างละเอียด

และจนทุกวันนี้คดียังอยู่ที่สำนักงานกองคดี ซึ่งมีแนวโน้มอย่างสูงว่าจะใช้เวลาอีกนาน

และน่าจะไม่เสร็จก่อนวันที่พล.ต.อ.ปทีป เกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้

และอาจจะลากยาวไปอีกพักใหญ่ ซึ่งหากนับเวลาไปแล้วคดีก่อการร้ายของกลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะใช้เวลาในส่วนของตำรวจไม่ต่ำกว่า 2 ปี


แม้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงจากเหตุชุมนุมของนปช.หรือเสื้อแดงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม ที่มีการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก

ในการนี้จะเกิดเหตุเผาอาคารสถานที่ทั้งรัฐและเอกชน สร้างภาพลักษณ์ด้านลบให้เมืองไทยอย่างมาก

อาจจะเป็นหนึ่งในข้ออ้างที่ใช้ดำเนินคดีกับนปช.อย่างรวดเร็ว

แต่ถ้ามองอีกมุมพฤติกรรมของพันธมิตรฯ ก็ใช่ว่าจะน้อยกว่า ทั้งความรุนแรง ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและชื่อเสียงของเมืองไทย

จะต่างกันก็เพียงพันธมิตรฯมิได้ถูกทหารแบกปืนออกมาสลายการชุมนุม ความสูญเสียชีวิตจึงน้อยกว่า



ความชัดเจนหนึ่งในแง่การเปรียบเทียบความสูญเสียของเมืองไทยต่อกรณีชุมนุมของพันธมิตรฯ โดยเฉพาะการยึดสนามบิน นอกจากที่เห็นและเป็นอยู่ในช่วงเกิดเหตุ

ซึ่งมีการคำนวณความเสียหายในเบื้องต้นระดับหลายหมื่นล้านบาท และส่งผลต่อเนื่องถึงความมั่นใจของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนอีกชนิดประเมินค่าไม่ได้

การยึดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯนั้น แม้แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็ทราบดีว่าสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติขนาดไหน เห็นได้จากสนามบินเป็นจุดแรกๆ ที่รัฐบาลสั่งให้ทหารเสริมกำลังป้องกันในช่วงนปช.ชุมนุมกันใหม่ๆ

พร้อมคำสั่งเด็ดขาดว่าต้องป้องกันมิให้เกิดการยึดสนามบินขึ้นอีก

จึงเหมือนการยอมรับอยู่ในทีว่า หากมีม็อบมายึดสนามบินความเสียหายย่อมรุนแรงอย่างมาก

ด้วยเหตุนี้เองทำให้สวนดุสิตโพล มีโครงการทำวิจัยในหัวข้อ"กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ชุมนุมและบุกรุกบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

ใช้เวลาการวิจัยระหว่างวันที่ 3-12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,052 คน กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และสุ่มตามลักษณะประชากร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ

ไม่ได้สำรวจเฉพาะในกทม.ที่มีการปิดสนามบิน หากแต่เน้นไปยังหัวเมืองใหญ่ๆ แหล่งท่องเที่ยวด้วย

จำแนกเป็นประชาชนทั่วไป 2,359 คน ผู้ประกอบการ/ร้านค้า 550 คน และผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ 143 คน

เพื่อดูผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตใจ โดยสำรวจทรรศนะของคนไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและนำข้อมูลที่รวบรวมได้ ไปใช้ในการพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมบนพื้นฐานของสภาพความจริง


จากรายงานสรุปของสวนดุสิตโพลเรียงลำดับจากร้อยละมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า

การปิดล้อมสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าข่ายการก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองมากที่สุด 80.68 เปอร์เซ็นต์

อันดับสองคือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม 79.16 เปอร์เซ็นต์

อันดับสามคือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราชการ สิ่งแวดล้อม 77.85 เปอร์เซ็นต์



ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสภาวะจิตใจของประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า

ด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากที่สุด

อันดับสองคือ การเมือง

อันดับสามคือ สังคม

อันดับสี่คือ สภาวะจิตใจของประชาชนคนไทย

อันดับห้าคือ สภาวะจิตใจของชาวต่างชาติที่มาเมืองไทย และ

อันดับสุดท้ายคือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมจากการปิดล้อมสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อการเมือง 5 อันดับแรก คือ

1.ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคี มีการโจมตีกันระหว่าง 2 ขั้วที่รุนแรงยิ่งขึ้น

2.ทำให้ภาพลักษณ์ทางการเมืองไทยแย่ลง ขาดความมั่นคงทางการเมือง ประชาชนเชื่อมั่นรัฐบาลลดลง

3.
สามารถกดดันนักการเมือง/ผู้บริหารบ้านเมืองให้ออกไปได้

4.การบริหารงานของรัฐบาลเป็นไปอย่างยากลำบาก รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ และ

5.ทำให้ประชาชนสนใจและตื่นตัวทางการเมือง รู้ข้อมูลมากขึ้น นักการเมืองต้องฟังเสียงประชาชน

ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมด้านเศรษฐกิจ 5 อันดับแรกคือ

1.เศรษฐกิจในประเทศหยุดชะงัก หุ้นตก ผู้ประกอบการขาดทุน ต่างชาติถอนหุ้นคืน

2.สูญเสียความน่าเชื่อถือทางการค้าทำให้การค้าระหว่างประเทศมีปัญหาเนื่องจากต่างชาติขาดความเชื่อมั่น

3.การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ เสียหายมาก

4.
การขนส่งทางอากาศต้องหยุดชะงัก เสียหาย การเดินทางเข้า-ออกของผู้โดยสารได้รับผลกระทบ ติดค้างจำนวนมาก และ

5.ทำให้ร้านค้า ร้านอาหารภายในสนามบินต้องปิดกิจการลงชั่วคราว

ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมด้านสังคม 5 อันดับแรกคือ

1.ต่างชาติไม่มั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย

2.ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนลดลง

3.ต่างชาติมองประเทศไทยไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

4.ภาพลักษณ์ทางการเมืองไทยตกต่ำ ประเทศไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลไทยไม่น่าเชื่อถือ และ

5.ระบบขนส่งทางคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือ ชาวต่างชาติตกค้างที่สนามบิน



ผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจของประชาชนคนไทย 5 อันดับแรก คือ

1.รู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัวต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

2.รู้สึกว่าคนไทยไม่มีความรัก ความสามัคคีต่อกัน เอาแต่ทะเลาะ เกลียดชัง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย

3.
รู้สึกเบื่อหน่ายการเมืองไทยที่มีแต่การทะเลาะเบาะแว้งกัน

4.รู้สึกไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะการเรียกร้องควรอยู่ในขอบเขตของประชาธิปไตย ไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย

5.รู้สึกไม่มั่นใจต่อการบริหารประเทศในภาวะวิกฤตว่าจะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่

ผลกระทบที่ประชาชนได้รับที่เป็นรูปธรรมคือ

1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ

2.คนไทยต้องมาทำร้ายกันเองเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางคนจนก่อให้เกิดความร้าวฉาน และประชาชนเกิดความตึงเครียดอึดอัดในหลายๆ ด้าน เช่น ไม่สามารถใส่เสื้อสีเหลือง สีแดงได้

ในขณะที่ผู้ประกอบการ/ร้านค้า เห็นว่า

1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ

2.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ดี ต่างชาติมองประเทศไทยในแง่ลบมากขึ้น และ

3.คนไทยต้องมาทำร้ายกันเองเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางคนจนก่อให้เกิดความร้าวฉาน

ส่วนผู้โดยสารสนามบิน เห็นว่า

1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ

2.ระบบขนส่ง คมนาคมต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และ

3.คนไทยต้องมาทำร้ายกันเองเพราะความเห็นแต่ตัวของคนบางคนจนก่อให้เกิดความร้าวฉาน

ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังรวบรวมข้อคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม แนบท้ายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ผลจากการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นสร้างแรงสั่นสะเทือน และความเสียหายใหญ่โตขนาดไหน

แม้นาทีนี้ผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินบางส่วนได้รับการเยียวยา และพลิกฟื้นขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง

ไม่ต่างจากผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของนปช. ที่ได้รับการเยียวยาอย่างดีจากภาครัฐเช่นกัน

แต่สิ่งที่ยังแตกต่างกันมากก็คือ แกนนำนปช.ส่วนใหญ่ย้ายบ้านเข้าไปนอนในเรือนจำ พร้อมข้อหาผู้ก่อการร้าย

แต่แกนนำพันธมิตรฯ ที่มีข้อหาผู้ก่อการร้ายเหมือนกัน ยังอยู่ปกติสุข กินอาหารดี ฟังดนตรีไพเราะเหมือนเดิม!??

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน