แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เมื่อการ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (อาจ)ต้องเป็นโมฆะ ?

เมื่อการ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
(อาจ)ต้องเป็นโมฆะ ?
โดย...เทิด ไท ประชาธรรม
.......................................................

ท่านผู้อ่านที่เคารพ ปกติจะพบกับผู้เขียน "เทิดไท ประชาธรรม" เป็นประจำในคอลัมน์ "สถานีไพร่" ทาง นสพ.ไทยเรดนิวส์ ทุกวันศุกร์ แต่หลังจากฉบับที่ 51 (เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว) เป็นต้นมาพวกรัฐบาลโดย "นายกอำมหิต อภิสิทธิ์ร้อยศพ" มันก็ได้สั่งปิด นสพ.ไทย เรดนิวส์ พร้อมกับพี่น้องสื่ออีก 2 ฉบับ คือ voice of Taksin และ ความจริงวันนี้ เรียบ ร้อยโรงเรียนอำมาตย์ชาติชั่ว
ท่านผู้อ่านครับ เมื่อสื่อทางเลือกของคนเสื้อแดงทุกช่อง ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ รัฐบาลนอมินีอำมาตยาสามานย์ มันใช้อำนาจเถื่อนตาม พรก.ฉุกเฉิน โดยให้ ศอฉ.สั่งปิดจนหมดเกลี้ยง ผู้เขียน คนชอบเขียน เขียนแล้วไม่ได้ลงพิมพ์ มันเหมือนจะลงแดงจริง ๆ ครับท่านที่เคารพ
ในเมื่อสื่อ ที่จะลงพิมพ์มันถูกปิด ศอฉ.โปรดทราบ ช่องทางนี้ จึงเป็นช่องทางเดียวที่เหลือให้ผมเลือก คุณบีบให้ผมต้องเลือกช่องทางนี้เองนะ ศอฉ.
(ขอขอบคุณ กลุ่ม tsro/redthai และเพื่อน ๆ ทุกท่านที่ช่วยส่งบทความของผู้เขียนต่อ ๆ กันไป )

ท่านผู้อ่านครับ มีแฟนประจำท่านหนึ่งที่เป็นนักกฎหมาย โดยเหตุผลส่วนตัว และหน้าที่การงาน จึงไม่ประสงค์ออกนาม ได้ส่งบทความวิเคราะห์กรณี เมื่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอาจเป็นโมฆะ ถึง ผู้เขียนให้ช่วยพิจารณาลงพิมพ์ใน "ไทยเรดนิวส์" เมื่อไทยเรดนิวส์ถูกปิดอย่างที่ทราบ จึงจำเป็นต้องลงพิมพ์ทางช่องทาง นี้ ดังนี้ครับ

"หลังจากที่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงว่า คณะะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีออก ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 จนก่อให้เกิดผลตามมามากมาย ไม่ว่าการอาศัยอำนาจของ พระราชกำหนดการบ ริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ นั่นคือ ศูนย์อำนวยการแก้ไขในสถานการณ์ฉุก เฉิน หรือ ศอฉ. การแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์ การแต่งตั้งผู้กำกับการปฏิบัติงาน การแต่งตั้งหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไข สถานการณ์ การสั่งการให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน ปฏิบัติหน้าที่ต่างๆตามคำสั่งที่ออกมาในแต่ ละครั้ง จน กระทั่งมีการสลายการชุมนุม หรือในภาษาศัพท์ใหม่ที่รัฐบาลบัญญัติไว้ว่า "การขอคืนพื้นที่" "การกระชับพื้น" และสุดท้ายคือ มีการบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก มีการเผาอาคารสถานที่ทั้งของรัฐและเอกชน และการจับกุมกลุ่มผู้ต้องหา การมอบตัวของแกนนำ นปช. ในที่สุด

หลายท่านคงจำกันได้ว่า เมื่อ ต้นเดือนพฤษภาคม 2553 มีการออกหมายจับกลุ่ม นปช.จำนวน 16 คน และได้ยื่นคำร้องและคำคัดค้านต่อศาลอาญาว่า การประกาศสถานการณ์ฉุก เฉิน เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย เนื่องจากรัฐธรรมนูณฉบับ ปี 2540 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2553 ศาลอาญาได้มีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านที่ 16 แกนนำนปช. ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับได้คัดค้านการออกหมายจับ ในคดีที่กระทำการฝ่าฝืน พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การออกหมายจับดังกล่าวเป็นไป ตามขั้นตอนกฎหมาย จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะเพิกถอนหมายจับดังกล่าว ส่วนประเด็นที่ว่า การออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่นั้น ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยลงมาก่อน

ประเด็นจึงมาอยู่ที่ว่า มี ความเป็นไปได้มากน้อยขนาดไหนที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 (รวมทั้งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพิ่มเติม 17 จังหวัดเมื่อ วันที่ 22 พฤษภาคม 2553 ) จะไม่ชอบด้วยกฏหมาย และตกเป็นโมฆะเนื่องจากไม่มีกฏหมายรองรับ

เรามาตั้งข้อสังเกตพร้อมๆกันครับ

1.
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ2548 เป็นกฏหมาย ที่ออกมาในรูปของพระราชกำหนด ในยุคของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยมี การกำหนดไว้ด้วยว่า "พระ ราช กำหนดนี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๖ มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ และมาตรา ๕๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำ ได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย..." ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยในขณะนั้นคือ รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540

2. การออกพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวนี้ ได้เกิดขึ้นท่ามกลางเสียงวิจารณ์จากนักวิชาการ นักการเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิ มากมายหลายท่าน ตัวอย่างเช่น นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในขณะที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านก็ยังแสดงความ แคลงใจเหมือนกันว่า พระราชกำหนดฉบับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมทั้งยังเคยเสนอให้รัฐบาลในขณะนั้นทบทวนการออกพระราชกำหนด ฉบับนี้เช่นกัน

3.
โดยทั่วไปแล้ว การออกกฏหมายในรูปของพระราชกำหนด มักจะต้องเป็นกรณีเร่งด่วน ฉุกเฉินที่รอช้าไม่ได้ และเมื่อรัฐบาลออก พระราชกำหนดมาใช้บังคับแล้ว จะต้องรีบนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภาพิจารณาอนุมัติในการประชุมสภาครั้งถัดไปโดยเร็ว หากได้รับการอนุมัติจากสภาทั้งสองตามวิธีการที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ พระราชกำหนดดังกล่าวก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพระราชบัญญัติ คือเป็นกฏหมายที่ออกโดยนิติบัญญัติโดยทันที แต่ถ้าไม่ได้รับการอนุมัติ พระราชกำหนดดังกล่าวก็จะตกไปเช่นกัน หรือหมดสภาพบังคับต่อไป ซึ่งในส่วนนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 หรือ มาตรา 184 ของรัฐธรรมนูญปี 2550

4. ในขณะที่ เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีข้อความตอนหนึ่งที่ระบุว่า "อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย..." แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อ้างบทบัญญัติบางประการที่เกี่ยวกับการ จำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลนั้น เป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญปี 2540

5. คำถามที่เห็นชัดๆเบื้องต้นก็คือ พระ ราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เป็นกฏหมายที่มีบทบัญญัติเฉพาะในบาง มาตราบางประการของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เท่านั้น โปรดสังเกตว่า จะมีมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 31 มาตรา 35 มาตรา 36 มาตรา 37 มาตรา 39 มาตรา 44 มาตรา 48 มาตรา 50 และมาตรา 51
แต่ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีการอ้างอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
5 และ มาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ2548 ซึ่งเป็นฉบับเดียวกัน แต่อ้างบทบัญญัติบาง มาตราบางประการที่แตกต่างกัน คือ อ้างมาตรา 29 ประกอบมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 ซึ่งแตกต่างกันเกือบทุกมาตราเมื่อเทียบกับวรรคแรก

6.
ถึงแม้ว่า ข้อความของมาตราทั้งหมดดังกล่าว เมื่อเทียบกันแล้วจะเหมือนกันทุกประการ แต่พระราชกำหนดในเรื่องนี้ มีเพียงฉบับเดียวเท่านั้นที่มีผลบังคับใช้คือฉบับ พ.ศ.2548 ที่มีข้อความปรากฏโดยไม่เคยมีการแก้ไขใดๆมาก่อนเลย ดังนั้น ฉบับที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอ้างอาศัยอำนาจนั้น ทำไมจึงมีข้อความระบุบทบัญญัติ(มาตรา)ผิดไปจากพระราชกำหนดฉบับเดิม

7.
ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนว่า ในการใช้อำนาจตามบทบัญญัติทาง กฏหมายในรูปของพระราชกำหนด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้รัฐธรรมนูญมา เป็นฉบับใหม่ รัฐบาลสามารถเปลี่ยนแก้ไขบทบัญญัติตามมาตรา(เดิม)จากรัฐธรรมนูญฉบับเก่า มาเป็นมาตรา(ใหม่) ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทันที

8.
กรณีเช่นนี้ สมมตหากรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ไม่มีบทบัญญัติในมาตราที่เหมือนกับมาตรา 29 มาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 34 มาตรา 36 มาตรา 38 มาตรา 41 มาตรา 43 มาตรา 45 และมาตรา 63 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจะกระทำได้หรือไม่ แล้วจะอ้างมาตราข้อไหน

9.
พระราชกำหนดการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ2548 เป็นการอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของ รัฐธรรมนูญปี 2540 ดังนั้น เมื่อมีการยกเลิกการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ก็ เท่ากับว่าพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ2548 ได้ถูกยกเลิกไปโดยปริยายเช่นเดียวกัน

10.
หากรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต้องการให้มีการใช้ประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย ก็หมายความว่า รัฐบาลนี้ต้องอ อกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2552 หรือ 2553 มาก่อน หรือ พ.ศ.2548 แก้ไขปี พ.ศ.........(ไม่ใช่ออกโดยอาศัยอำนาจตามฉบับปี 2548 ที่ไม่มีการแก้ไขใดๆ)และต้องอ้างการอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติที่เกี่ยว กับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ของบุคคล ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เท่านั้น

จากเหตุผลดังที่กล่าวมาทั้งหมด จึงน่าจะสรุปได้ว่า การออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และในครั้งต่อๆมานั้น เป็นการออกประกาศโดยไม่มีกฏหมาย ใดๆรองรับ ประกาศ ข้อกำหนดและคำสั่งที่ออกมาทั้งหมดจึงต้องตกเป็นโมฆะ การสั่งการใดๆ การกระทำใดๆที่อ้างอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินจึง เป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายมาตั้งแต่ต้น

ที่สำคัญ การกระทำที่ผิดกฏหมายทั้งหมดนี้ เป็นจุดเริ่มของการก่อให้เกิดความสูญ เสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน การบาดเจ็บของผู้คนจำนวนมาก ผู้ที่สั่งการมาทั้งหมดต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ แม้ว่าต่อมาจะมีการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในอีกไม่ กี่วันข้างหน้า แต่ความผิดที่ผ่านมาถือได้ว่า ได้กระทำสำเร็จแล้ว

ท้ายสุดจึงอยู่ที่ ว่า ทุกคนย่อมเคารพต่อคำตัดสินของศาล แต่ก็อดไม่ได้ที่จะใจจดใจจ่อเฝ้าคอย ฟังว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไรต่อประเด็นที่ว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินชอบด้วยกฏหมายหรือไม่
สายตาทุกคนคงต้องจ้องอย่างไม่กระพริบตาเช่นเดียวกับคดียุบพรรค ประชาธิปัตย์ที่บังเอิญเข้ามาในห้วงจังหวะเวลาเดียวกัน"

@@@@@@@@@

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน