แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มีเดียชิฟ: วิกฤติในประเทศไทยนำไปสู่การปราบปรามเน็ตและการ เซ็นเซอร์

วันอาทิตย์ 6 มิถุนายน 2010
tags: องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน, เซ็นเซอร์
โดย chapter 11
Crisis in Thailand Leads to Net Crackdown, Censorship
June 3, 2010
by Clothilde Le Coz
ที่มา – MediaShift
แปลและเรียบเรียง – แชพเตอร์ ๑๑

หมายเหตุ: บทความนี้ได้รับการแนะนำจาก Political Prisoners in Thailand หัวข้อเรื่อง “เซ็นเซอร์อย่างไม่ลดละ” ซึ่งพีพีทีกล่าวว่า ผู้อ่านอาจจะสนใจในบทความนี้ เพราะพีบีเอสเป็นแหล่งข้อมูลข่าว และทั้งความเห็นที่สำคัญในสหรัฐฯ ดังนั้นบทความนี้จึงมีความสำคัญมาก บทความได้มาจาก Reporters Without Borders ไม่มีข่าวใหม่มากนัก – แต่การสัมภาษณ์สั้นๆกับ ฟาบิโอ โพเลนกี้ นักข่าวอิตาลีซึ่งถูกสังหารจากการปราบปรามผู้ประท้วงเสื้อแดงของรัฐบาล มีคุณค่าน่าติดตามชม

อย่างน้อย ๘๐ ศพที่ถูกสังหารในระหว่างการปะทะครั้งล่าสุดในประเทศไทย แต่ทั้งความสับสน และอันตรายซึ่งมีอยู่หลายแห่งในกรุงเทพ ไม่ได้ให้ความกระจ่างว่าทำไมคนไทยจำนวนมาก และนักข่าวต่างชาติจึงถูกยิงนับตั้งแต่เดือนเมษายน นักข่าวสองคนที่เสียชีวิต สถานการณ์ทางการเมืองที่รุนแรงไม่ได้ทำให้การสกัดกั้นเว็บไซต์ต่อต้าน กษัตริย์ ที่มีมากกว่า ๔,๐๐๐ เว็บของผู้นำประเทศนั้นเป็นเรื่องถูกต้อง

ตามที่เราแห่งองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (Reporters Without Borders) ได้ออกมาแถลงการณ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการของรัฐบาลไทยว่า “ข้อมูลที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าครั้งใดๆ ในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะวิกฤติ” ใช่ นักข่าวจำนวนมากถูกยิงจนเสียชีวิต และอินเตอร์เน็ตกำลังตกเป็นเหยื่อของการเซ็นเซอร์ จนถึงเวลานี้ มีเว็บไซต์ประมาณ ๔,๕๐๐ เว็บที่ถูกสกัดกั้นโดยความพยายามของรัฐบาลที่จะทำการเซ็นเซอร์ข่าวบางข่าวใน วิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นมาเก้าเดือน ทวิตเตอร์ของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตรได้ถูกปิดกั้นนับตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤษภาคม

ในวันเดียวกันนั้น ศอฉ.ได้สกัดกั้นเฟสบุ้ค และทวิตเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งข่าวสำรองหลังจากสถานีโทรทัศน์เริ่มส่งสัญญาณเสนอรายการเฉพาะ ในการควบคุมของรัฐบาล ในวันเดียวกันนั้น สำนักงานใหญ่ของทีวีช่อง ๓ ถูกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลทำการเผา และหนังสือพิมพ์ภาคภาษาอังกฤษค่ายยักษ์ใหญ่ทั้งบางกอกโพสต์ และเนชั่น ต้องให้คนงานเลิกงานตั้งแต่บ่ายสาม เนื่องจากกลัวว่าสำนักงานของพวกเขาจะถูกเสื้อแดงเข้าโจมตี ถึงจุดนี้ นักข่าวในประเทศเกือบทั้งหมดต่างเลี่ยงที่จะออกไปทำข่าวบนท้องถนน เพราะต่างเห็นว่าเป็นการเสี่ยง

ตามเก็บข่าวในสภาพแวดล้อม ที่คับขัน

นักข่าวรวบรวมข้อมูลผ่านทางเว็บเครือข่ายสังคม ทางโทรศัพท์ และจากคำบอกเล่าของประชาชนที่ติดกับอยู่ในวัดปทุมวนาราม (ซึ่งอยู่ติดกับราชประสงค์ ซึ่งผู้ประท้วงเสื้อแดงได้ชุมนุมกันที่นั่น) มีเพียงนักข่าวต่างชาติไม่กี่คนทำการรายงานในภาคสนาม นี่เป็นการสัมภาษณ์ทางวิดีโอของนักข่าวและช่างภาพชาวอิตาลี ฟาบิโอ โพเลนกี้ ซึ่งเขาได้อธิบายถึงการปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างนักข่าวไทย และนักข่าวต่างชาติ:

สัมภาษณ์นัก ข่าวอิตาลี ฟาบิโอ โพเลนกี้ – องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน

องค์กรผู้สื่อข่าวไร้ พรมแดนขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับการเสียชีวิตของนักข่าว และช่างภาพชาวอิตาเลี่ยน ฟาบิโอ โพเลนกี้ เสียชีวิตเมื่อวันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างที่กองทัพใช้กำลังบุกเข้าปราบ “เสื้อแดง” ในกรุงเทพ

นี่เป็นวิดีโอสั้นๆของนัก ข่าวซึ่งได้รับความชื่นชมอย่างแพร่หลาย เขาดูผ่อนคลาย และมีความสุข เพียงไม่กี่วันก่อนที่จะเสียชีวิต

ฟาบิโอ โพเลนกี้: สวัสดีครับ ผม ฟาบิโอ โพเลนกี้ ผมทำงานให้กับเดอะนิวส์พิกเจอร์ ผมไม่มีปัญหาใดๆกับเสื้อแดง หรือกับตำรวจ และไม่มีใครในนี้คุกคามผม ทุกอย่างโอเคครับ

ผู้ถาม: คุณรู้จักนักข่าวไทย พวกที่สร้างปัญหาบ้างไหม
ฟาบิโอ โพเลนกี้: ที่แน่ๆคือ พวกนี้บางคนหลบหน้าไปเลย เพราะพวกนี้ถูกสงสัยว่าทำรายงานข่าวเรื่องที่ไม่เป็นความจริง ไม่มีใครต้องการพวกเขาเหล่านั้น แต่ผมก็เห็นนักข่าวไทยเยอะนะ ซึ่งไม่ได้มีปัญหาอะไร

เป็นเรื่องเศร้า ที่โพเลนกี้ได้เสียชีวิตในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ในระหว่างการบุกโจมตีเสื้อแดงของกองทัพในกรุงเทพ

นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม จนถึงวันนี้ นักข่าวสองคนได้ถูกสังหาร และหลายคนได้รับบาดเจ็บ จากคำสารภาพต่างๆที่องค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนได้รับ นักข่าวต่างชาติต่างรายงานถึงความรู้สึกของตัวเองที่ตกเป็นเป้า อาร์นอล ดูบัส นักข่าวจากหนังสือพิมพ์ฝรั่งเศส “ลิเบอเรชั่น” และรายการวิทยุสากลของฝรั่งเศส กล่าวกับเราว่า “นี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่ผมรู้สึกว่า นักข่าวต่างชาติกำลังตกเป็นเป้าอย่างแท้จริง”
อนุสัญญาเจนีวาห้ามไม่ให้ทหารยิงนักข่าว ประเทศไทยถูกเลือกเข้าไปเป็นสมาชิกสภาสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเมื่อวัน ที่ ๑๕ พฤษภาคม และในเวลานี้ ประเทศไทยได้ละเมิดกฎระเบียบทั้งทางด้านมนุษยธรรมและหลักกฎหมายสากล

การปราบปรามทางออนไลน์ อย่างไม่ลดละ

การสกัดกั้นทวิตเตอร์ และเฟสบุ้คไม่ได้เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่ของไทย อย่างน้อยตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ การสกัดกั้นเหล่านี้กลายเป็นงานประจำของตำรวจไทย จนกระทั่งวันนี้ สุวิชา ท่าค้อ บล็อกเกอร์เพียงคนเดียวที่ถูกจับขังคุกจากการกระทำทางออนไลน์ ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว สุวิชาถูกศาลอาญาฯรัชดาซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพ มีคำสั่งพิพากษาจำคุก ๑๐ ปี เนื่องจากเนื้อหาที่สุวิชาโพสต์ออนไลน์เชื่อว่าเป็นการหมิ่นฯกษัตริย์ สุวิชาถูกกักขังในเรือนจำคลองเปรม กรุงเทพตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม
เรื่องหนึ่งที่ท้าทายสำหรับอินเตอร์เน็ตซึ่งไม่ ได้รับการควบคุมที่ดีพอในประเทศไทย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ปี ๒๕๕๐ เต็มไปด้วยความคลุมเครือ นั่นหมายถึงคดีที่กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บข่าวประชาไท ซึ่งอาจเป็นตัวอย่างของคดี จีรนุชอาจจะถูกศาลสั่งจำคุกถึง ๕๐ ปีด้วยข้อหาที่ไม่ลบความเห็น “ล่วงละเมิด” ต่อกษัตริย์ซึ่งเขียนลงในเว็บไซต์ได้ทันท่วงที

การจับกุมจีรนุชเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม และหลังจากนั้นอีกสามชั่วโมงต่อมา เธอได้รับการปลดปล่อยเมื่อน้องสาวได้ประกันตัวในวงเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งเป็นข้อกำหนดของเจ้าหน้าที่ของศาล

จีรนุชกล่าวกับองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่า “ถ้าในเวลาที่มีเหตุการณ์ปกติ ฉันคงมั่นใจมากขึ้นกับการพิจารณาคดีเริ่มแรกนี้” “ฉันหวังว่าศาลจะยอมยกโทษ”

ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งเจ้าของ และบรรณาธิการของเว็บไซต์จะถูกดำเนินคดีหากพวกเขายอมให้ความคิดเห็นซึ่งดู เหมือนจะผิดกฎหมายได้หลุดรอดออกไป เจ้าของเว็บไซต์นั้นต้องรับผิดชอบเสมือนเป็นผู้แสดงความคิดเห็นเอง

เว็บไซต์ รวมถึงเฟสบุ้ค และทวิตเตอร์ของจีรนุชได้ถูก ศอฉ.ตะบี้ตะบันสกัดกั้นซ้ำแล้วซ้ำอีกนับตั้งแต่ที่ประเทศไทยเริ่มต้น เหตุการณ์วิกฤติในทางการเมือง ประชาไทเว็บข่าวได้เริ่มเปิดตัวเมื่อปี ๒๕๔๗ – ในขณะที่ทักษิณ ชินวัตรที่กำลังลี้ภัยในขณะนี้ ยังดำรงตำแหน่งนายกฯ – โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการหาแหล่งข่าว ส่วนข่าวของประชาไทมีผู้เข้าชมมากกว่า ๒๐,๐๐๐ คนต่อวัน สำหรับเว็บบอร์ดของประชาไทมีคนเข้าชมประมาณ ๓๐,๐๐๐ คนต่อวัน

การคุกคามเครือข่ายพลเมืองเน็ตนั้นแพร่กระจาย ออกไปทั่วไม่เพียงแค่ในประเทศไทย ในปี ๒๕๔๙ แอนโทนี่ ชัย พลเมืองอเมริกันจากแคลิฟอร์เนีย ได้ถูกสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ทางการของไทยในประเทศไทย และยังตามมาสอบสวนถึงในสหรัฐฯ ด้วยข้อกล่าวหาว่า หมิ่นฯกษัตริย์ในปี ๒๕๔๙ ชัยมาจากประเทศไทย และแปลงสัญชาติเป็นอเมริกันในปลายทศวรรษ ค.ศ. ๑๙๗๐ (พ.ศ. ๒๕๑๓) เขาอาจจะโดนจับหากเขาเดินทางกลับเมืองไทย เขากล่าวว่า “เหมือนกับว่าในเวลานี้สหรัฐฯยอมให้คนอเมริกันถูกสอบสวนจากเจ้าพนักงานต่าง ชาติ บนผืนแผ่นดินสหรัฐฯ” คุณสามารถอ่านคดีของชัยได้ที่นี่

(คลอททิลด์ เลอ คอซ (Clothilde Le Coz) ทำงานกับองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนในปารีสตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ ขณะนี้เธอเป็นบรรณาธิการที่วอชิงตันเพื่อคอยช่วยเหลือส่งเสริมเสรีภาพของ สื่อ และเสรีภาพในการแสดงออกทั่วโลก ในปารีส คอซรับผิดชอบต่อโต๊ะเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต และทำงานโดยเฉพาะในประเทศจีน อิหร่าน อียิปต์ และประเทศไทย ในระหว่างที่ทำงานในปารีส คอสยังได้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม “คู่มือสำหรับบล็อกเกอร์ และนักเคลื่อนไหวไซเบอร์ (Handbook for Bloggers and Cyberdissidents)” ซึ่งตีพิมพ์ในปี ๒๕๔๙ บทบาทของคอซในขณะนี้นั้นคือการเผยแพร่ข่าวสารเพื่อให้ผู้อ่าน และนักการเมืองต่างๆได้รับรู้ถึงการข่มขู่ต่อนักข่าวอย่างไม่หยุดหย่อน ซึ่งขณะนี้ได้เสนอต่อหลายประเทศ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน