วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553
ซีรีส์ยุทธการตอแหลแห่งชาติ : หลังรัฐประหาร
ตอนที่ 56: แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
โดย : กาหลิบ
พิมพ์ ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2550 (หนังสือพิมพ์โลกวันนี้รายวัน)
*******************************************************************************
คืบ ก็กะลา ศอกก็กะลา โลกมันจะใหญ่โตขนาดไหนกันเชียว ก็เลยไม่ได้ยินคนอื่นๆ เขาหัวเราะกันครืนอยู่ภายนอก
*******************************************************************************
แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง
http://img28.imageshack.us/img28/3277/39319375.jpg
วันนี้ เป็นวันที่เราควรคิดถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระพุทธเจ้าหลวงกันเป็นพิเศษ ไม่ใช่เพียงเพลิดเพลินว่าเป็นวันหยุดยาว
รัช สมัยของพระองค์ท่าน ผ่านช่วงเวลาของปากเหยี่ยวปากกาอย่างหวุดหวิดหลายครั้ง ใช้เกมการเมืองระหว่างประเทศทุกเกมที่เดี๋ยวนี้ก็ยังทันสมัยและยังใช้กัน อยู่
ตั้งแต่สมดุลอำนาจและการสร้างระบบพันธมิตร การแลกเปลี่ยนดินแดนและสิทธิประโยชน์ของรัฐ การทำให้รัฐบาลมีลักษณะ “นานาชาติ” ไปจนถึงการพัฒนาโครงสร้างของประเทศให้กลมกลืนกับมหาอำนาจ
นึก ถึงเหตุร้ายในสมัยนั้นแล้วก็เหนื่อยแทนพระองค์ท่าน เพราะเป็นเหตุที่คนอื่นทำ ส่วนในระยะหลังๆ เราต้องผจญกับเหตุร้ายที่กระทำเองเป็นส่วนใหญ่ แม้กระทั่งภัยคอมมิวนิสต์ที่การแทรกซึมจากภายนอกไม่สำคัญเท่ากับความแตกร้าว จากภายใน
คำว่า โลกาภิวัตน์ ยังไม่มีใช้ในรัชสมัยนั้น แต่น่าแปลกที่เนื้อหาสาระของพระบรมราชวิเทโศบาย หรือนโยบายต่างประเทศในยุคนั้นมีความเป็นนานาชาติอย่างเต็มเปี่ยม และไม่ได้มีลักษณะที่น่าละอายหรือเสียศักดิ์ศรีแต่อย่างใดด้วย
พระ พุทธเจ้าหลวงทรงสอนแผ่นดินสยามไว้ว่า การมีภาวะจิตใจแบบนานาชาติ (international mindset) คือคิดอะไรกว้างไปในระดับโลก ไม่ใช่คิดแบบสยามและทำแบบสยามราวกับไม่มีประเทศอื่นใดในโลกอีกเลย เป็นเรื่องจำเป็นในการรักษาเอกราช และไม่ใช่การเอาใจ “ฝรั่ง”
ใคร ที่บังอาจคิดว่าเมืองไทยยิ่งใหญ่เหลือประมาณ อยากทำอะไรข้าก็จะทำ นอกจากจะไม่เดินตามรอยพระยุคลบาทของพระพุทธเจ้าหลวงแล้ว ยังทำให้ประเทศชาติเสี่ยงอันตรายอีกต่างหาก
พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณค่อยๆ ยกกะลาที่ครอบกบตัวน้อยออกและโยนทิ้งไป โดยทรงหวังให้กบนั้นมองอะไรได้ไกลและเป็นประโยชน์
จะทราบ เกล้าฯ หรือไม่ก็ไม่รู้ว่าบางครั้งบางคราวกะลานั้นก็ย้อนกลับมาครอบกบใหม่ กบใหญ่น้อยก็กระโดดโลดเต้นอย่างดีใจว่าได้กลับมาเป็นใหญ่อีกครั้ง
คืบ ก็กะลา ศอกก็กะลา โลกมันจะใหญ่โตขนาดไหนกันเชียว
ก็เลยไม่ได้ ยินคนอื่นๆ เขาหัวเราะกันครืนอยู่ภายนอก
สิ่งที่พระพุทธเจ้า หลวงพระราชทานไว้ให้คนทั่วแผ่นดินในครั้งนั้น ความจริงคือสิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๔๐ เรียกว่าศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์นั่นเอง
เพราะคนที่เข้าใจ อะไรกว้างขวางจะสามารถพัฒนาตัวเองได้อย่างชาญฉลาดและทะมัดทะแมง และคนที่พัฒนาตัวเองได้อย่างนั้นถือว่าเกิดมาและใช้ชีวิตได้คุ้ม
การ รักษาเอกราชของสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพระราชอาณาจักร คล้ายๆ กับที่เรียกกันอย่างโก้หรูในยุคนี้ว่า HRD (Human Resource Development) ซึ่งยังมีความจำเป็นอย่างเหลือเกินในโลกใบนี้
ชาติอื่นๆ เขาไม่ได้เกิดมาเพื่อจะรักเมืองไทยอย่างไม่มีเงื่อนไข ทุกชาติเขาก็รักตัวเขา และต้องแข่งขันห้ำหั่นกับชาติอื่นๆ ทั้งนั้น คนไทยจึงต้องพัฒนาตัวเองเพื่อให้ต่อสู้กับเขาได้
การเปลี่ยน แปลงใดๆ ในบ้านเมืองจึงต้องคำนึงของพระบรมราชวิเทโศบายของพระพุทธเจ้าหลวงเสมอ
ทำ ไปแล้วคนไทยฉลาดขึ้นหรือโง่ลง
ทำไปแล้วคนไทยเข้มแข็งขึ้นหรือ อ่อนแอลง
กบในกะลาออกจะมีความสุขจริง เพราะรื่นเริงกันในโลกแคบๆ ว่าข้าไม่ต้องพึ่งใคร แต่เมื่อเขายกกะลาขึ้นแล้วตีโครมทีเดียวก็เลิกกัน
ยางหัวก็ ไม่มี สู้คางคกยังไม่ได้เลยครับ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น