แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เอเชีย เซน ทิเนลตีพิมพ์ "การปรองดองของไทยและนโยบายสหรัฐฯ"

Posted by editor01

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
12 มิถุนายน 2553

เว็บไซต์เอเซียเซนติเนล หนึ่งในสื่อต่างประเทศที่มักจะนำเสนอข่าวสารเบื้องลึกถึงแก่นของการเมืองไทย
ได้ออกบทความล่าสุดเขียนโดย Fabio Scarpello เมื่อวานนี้ (11 มิ.ย.)
ชื่อ Thai Reconciliation and US Geopolitics
http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_content&task=view&id=2528&Itemid=185
หรือ มีความหมายว่า "การปรองดองของไทยและนโยบายของสหรัฐฯ"

บทความโดย รวมต้องการเตือน สหรัฐฯให้เลือกนโยบายที่ใช้กับประเทศไทยให้ถูกต้อง
โดย เริ่มต้นกล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการสภาที่พูดถึงประเทศไทยและเส้นทางไป สู่การปรองดอง
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา ในที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมาก
และเชื่อว่าปัญหาใน ประเทศไทยจะมีส่วนเชื่อมโยงไปทั้งภูมิภาคและทั้งโลก
ในที่ประชุมได้มอง เห็นความเกี่ยวเนื่องของปัญหาแตกแยกระหว่างเสื้อแดงและ เสื้อเหลือง ว่า
มี ส่วนเชื่อมโยงไปถึงปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เชื่อมโยงไปสู่ความยุ่งเหยิงอื่นๆ
และกระทบไปกับประเทศมาเลเซีย

ใน ที่ ประชุมมองว่า ปัญหาในกรุงเทพฯอาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่มากขึ้น
ระหว่าง กัมพูชาและประเทศไทย เนื่องจากพรรคต่างๆอาจจะใช้เกมชาตินิยมในการเล่นเกม
ดัง เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมันจะขัดแย้งกับแนวทาง
โดยรวมขององค์กรอาเซียน ที่ ต้องการให้มีการแก้ปัญหาโดยสันติและยอมรับจากทุกฝ่าย

ในภาพกว้าง มี การให้ความเห็นว่า ประชาธิปไตยในไทยจะเป็นเรื่องสำคัญ
เพราะหลายๆ ประเทศในภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศพม่าที่กำลังจับตามองประเทศไทยอย่างใกล้ชิดว่า
รัฐบาลใน กรุงเทพฯจะดำเนินนโยบายต่างๆด้วยเทคนิคอย่างไร

ในขณะเดียว กันในที่ประชุมมีความเห็นว่าประเทศไทยคือ
มิตรประเทศที่เป็นยุทธศาสตร์ สำคัญ ของสหรัฐฯในภูมิภาค
ในการที่จะดำเนินยุทธศาสตร์กับประเทศอื่นๆใน เอเชียอาคเนย์และประเทศจีน

อย่าง ไรก็ดี ในบทความได้ตำหนิคณะกรรมการชุดดังกล่าวว่า
ได้ส่งท่าทีที่มีลักษณะตื้น เขิน
และมองแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า "narrow, immediate interests"
ดัง เช่นที่เคยปฏิบัติโดยรัฐบาลเก่าของนายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช
ซึ่งได้ ละเลยที่จะไม่แสดงการประนาม
การทำรัฐประหารต่อรัฐบาลอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ในปี 2006 โดยให้ข้อมูลว่า
ในขณะนั้นบทวิเคราะห์ส่วนมากที่ส่ง ไปยังส่วนกลางได้ให้ความเห็นในเชิงที่ว่า
"นายทักษิณเป็นภัยต่อชนชั้น สูงในกรุงเทพฯ ดังนั้น
เขาจึงเป็นภัยต่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯ"
(Thaksin was a threat to the Bangkok elite, he thus was also a threat to American interests.)


บท ความได้ยกความเห็นของนาย Joshua Kurlantzick
http://www.cfr.org/bios/15522/joshua_kurlantzick.html
ผู้ เชี่ยวชาญคนหนึ่งเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
ในบทความวันที่ 18 พ.ค. http://blogs.cfr.org/asia/2010/05/18/thailand-and-us-policy/ ที่กล่าวว่า
"มันพิสูจน์ว่านี่เป็นความผิดอันใหญ่หลวง การรัฐประหารแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลย
และได้ทำให้ปัญหาต่างๆแย่ยิ่งขึ้นไป อีก"

ใน ที่ประชุมคณะกรรมการสภาของสหรัฐได้เลือกที่จะใช้ท่าทีที่เอื้อไปในกลุ่มสนับ สนุนอำมาตย์
ความเห็นของผู้เขียนชี้ว่า สิ่งนี้เป็นอันตรายและจะก่อให้เกิดปัญหาอันใหญ่หลวงอันอื่น
ทั้งไม่เป็น ประโยชน์กับประเทศไทย และยังไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสหรัฐฯด้วย

ใน บทความได้ให้รายละเอียดว่า คณะกรรมการสหรัฐฯสนับสนุนแผนโร๊ดแม๊ปของนายอภิสิทธิ์
โดยกรรมการชุดดัง กล่าวเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่ จุดจบของความขัดแย้ง
เป็นการสนับสนุนพันธะสัญญาของสหรัฐฯต่อไทย ที่จะนำไทยกลับไปสู่ความมีเสถียรภาพ
แต่เจ้าของบทความชี้ว่า ข้อสรุปดังกล่าวได้ละเลยอย่างชัดแจ้งต่อความจริงที่ว่า
นายอภิสิทธิ์ได้ ทำการซิกแซ๊กแผนโร๊ดแม๊ปของเขาเอง และเป็นแผนที่ถูกปฏิเสธไปก่อนหน้านี้แล้ว
โดยกลุ่ม คนเสื้อแดงก่อนการสลายการ ชุมนุม พวกกรรมการชุดดังกล่าวยังได้ละเลยความจริงที่ว่า
แม้ว่าปากนายอภิสิทธิ์ จะป่าวประกาศถึงการปรองดอง
แต่นายอภิสิทธิ์ได้นำประเทศเข้าสู่ระดับ เดียวกับการปกครองในระบอบเผด็จการ
(despite the facade of talks of reconciliation,
Abhisit has moved the country to an unprecedented level of
"legal authoritarianism,")

ผู้ เขียนยังชี้ด้วยว่า ภายใต้บรรยากาศ "ปรองดองๆ" อันนี้นี่แหละ
ที่หลักกระบวนการทางกฏหมายก็ หายไป หลักการจับกุมตัวก็ไม่ได้ใช้ สิทธิในทางการเมืองก็สิ้นไป
การ เซ็นเซอร์ข้อมูลข่าวสารภายใต้พระราชกำหนดฉุกเฉินก็ได้กลายเป็นเรื่อง ปฏิบัติธรรมดา

ผู้เขียนได้ตำหนิคณะกรรมการชุดดังกล่าวที่มองแต่ เรื่องสั้นๆ ละเลยข้อมูล
ที่แสดงให้เห็นว่านายอภิสิทธิ์ได้กระทำการที่ ตรงกันข้ามกับแผน โร๊ดแม๊ปของเขา
พร้อมกับแนะนำให้คณะกรรมการดังกล่าว เรียกร้องให้มีการดำเนินการสอบสวนที่
เหมาะสม ดำเนินการให้เป็นตัวอย่างว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตยควรจะทำอย่างไร
อย่าง ไรก็ดีท้ายที่สุดผู้เขียนยังหวังว่าแม้ว่าทางคณะกรรมการรัฐสภาจะดำเนิน นโยบายที่ไม่ได้เรื่อง
แต่กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนินนโยบายที่ถูก ต้องกว่า ดังที่ได้เห็น
จากท่าทีที่นายเคริท์ แคมป์เบล ได้เข้าเยี่ยมคนเสื้อแดงเมื่อเดือนก่อนขณะที่มาเยือนประเทศไทย

อ่าน เพิ่ม

Thailand and U.S. Policy/ Joshua Kurlantzick / Council on Foreign Relations /May 18, 2010
http://blogs.cfr.org/asia/2010/05/18/thailand-and-us-policy/
ฉบับ แปลโดย Siam Intelligence Unit
http://www.siamintelligence.com/thailand-and-us-policy/

คลิ ปที่ เกี่ยวข้อง

การดำเนินนโยบายของกลุ่มชนชั้นสูงในกรุงเทพฯตาม สไตล์
ที่ถนัดด้วยการไปล็อบบี้หาเสียงถึงกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐ

Thai PM Special Envoy in DC (VOA Thai)
http://www.youtube.com/watch?v=IR5l6uq3BJQ&feature=player_embedded

http://thaienews.blogspot.com/2010/06/blog-post_12.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน