แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ว่าด้วย การถอย

ว่าด้วย การถอย

โดย PHU

ไม่มีกองทัพใดในโลก ที่จู่ ๆ ก็ มีความสามารถทำการรุกรบได้ทันที ก็ดูอย่างกองทัพปฏิวัติอเมริกา ซึ่งเริ่มแรกเป็นเพียงกองอาสาสมัครชาวอาณานิคมที่อ่อนแอไม่มีระเบียบวินัย พ่ายแพ้กองทัพอังกฤษเจ้าอาณานิคมที่มีความเข้มแข็งจัดเจน ครั้งแล้วครั้งเล่า ถูกบีบบังคับให้ถอย อยู่เกือบตลอดเวลา สิ่งที่ทำให้กองทัพปฏิวัติอเมริกาสามารถยืนหยัดอยู่ได้ก็คือ 1) อุดมการณ์แห่งอิสรภาพ 2) การสนับสนุนของชาวอาณานิคม และ 3) ยุทธศาสตร์ไม่สุ่มเสี่ยง ถนอมกำลัง เลี่ยงแข็งตีอ่อน ไม่เกาะติดพื้นที่ ทำสงครามเคลื่อนที่ ในระหว่างนั้นก็ เรียนรู้ สรุปบทเรียนจากความพ่ายแพ้ ปรับปรุงกองทัพ จนในที่สุดก็สามารถเอาชนะกองทัพอังกฤษได้

ในประเทศจีน ก่อนที่จะมีกองทัพปลดแอกประชาชนจีน ในปี 1946 กองทัพมีชื่อเรียกว่า กองทัพแดงกรรมกรชาวนา ก่อตั้งขึ้นในเขตฐานที่มั่นปฏิวัติจิ่งกังซาน ในเขตแดนต่อแดนหูหนาน-เจียงซีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 หลังจากที่ต้องแตกพ่ายพ่ายแพ้ในการลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ทั่วประเทศ นี่ก็คือ การเริ่มต้นจัดกองทัพใหม่ ด้วยการถอย .. จากนั้นก็ค่อยพัฒนาเป็นกองทัพที่มีระเบียบวินัยเข้มแข็งขึ้น ทั้งนี้ ก็ด้วย 1) อุดมการณ์ที่จะปฏิวัติประเทศจีนให้ก้าวหน้า 2) การสนับสนุนจากประชาชน และ 3) ยุทธศาสตร์สงครามเคลื่อนที่ จนสามารถสร้างเขตอำนาจรัฐโซเวียต เจียงซี ขึ้น และสามารถยืนหยัดต้านการล้อมปราบขนาดใหญ่ของรัฐบาลก๊กมิ่นตั๋ง ได้ถึง 4 ครั้ง (1931-1933) แต่ด้วยยุทธศาสตร์และการนำที่ผิดพลาดของศูนย์กลางพรรค – ละทิ้งสงครามเคลื่อนที่ หันมาใช้สงครามป้อมค่าย ทำให้กองทัพแดงแทบจะละลายหมดสิ้น สูญเสียฐานที่มั่น เมื่อเหมาเจ๋อตงขึ้นเป็นประธานคณะกรรมการการทหาร จึงต้องใช้ถอยทางยุทธศาสตร์เพื่อรักษากองทัพแดงและการปฏิวัติเอาไว้ แล้วเริ่มต้น “การเดินทัพทางไกล” อันลือชื่อ ในปลายปี 1934 ที่จะนำการปฏิวัติจีนไปสู่ชัยชนะในปี 1949 “การเดินทัพทางไกล” ก็เป็นการถอยที่สร้างกองทัพเช่นกัน

ที่เล่ามา ต้องการใช้ให้เห็นกฎทั่วไปของสงคราม เกี่ยวกับ การถอย
การถอย มีเหตุผลหลายประการ ที่สำคัญก็คือ การหลีกเลี่ยงที่จะถูกทำลายในสถานการณ์ที่ข้าศึกแข็งฝ่ายเราอ่อน หรือเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ทางยุทธศาสตร์บางประการ สรุปง่าย ๆ คือ ถอย เมื่อเสียเปรียบ และถอยเมื่อได้เปรียบ


ชาวสีแดงจำนวนมากรวมทั้งผู้เขียนรู้สึกผิดหวังเมื่อ นปช. ประกาศถอยอย่างฉับพลัน จากหน้าทำเนียบ แม้มีเหตุผลบางประการที่บอกได้และบอไม่ได้ แต่ก็จำเป็น การถอยคราวนั้นชุลมุน และก่อความเสียหายแก่การนำไประดับหนึ่ง ผู้เขียนเคยวิจารณ์ไปแล้ว ก็จะไม่นำมากล่าวถึงอีก แต่เมื่อนำมาขบคิดทบทวน ขอบอกการถอยคราวนั้นมีข้อดีใหญ่หลวง

กล่าวคือ เมื่อเราเข้าใจร่วมกันแล้วว่า การเมือง กับ สงคราม เป็นเรื่องเดียวกัน แต่กระทำในเงื่อนไขที่แตกต่างกันเท่านั้น ยุทธศาสตร์ยุทธวิธี จึงสามารถปรับมาใช้ได้ และจุดยืนที่ต่าง ก็ทำให้มีทัศนะ(วิธีคิด)ที่ต่าง กำหนดให้มีวิธีการที่ต่างกันไปด้วย (คนเก่า ขอให้ทบทวนเรื่อง จุดยืน – ทัศนะ – วิธีการ คนใหม่ ไม่เข้าใจขอให้ถาม)

ข้อดีของการถอยครั้งนี้คือ พิสูจน์ว่า ขบวนการสีแดง รู้จัก “รุก” และ “ถอย” มองเห็นการต่อสู้ว่าเป็น สิ่งสัมพัทธ์ เคลื่อนที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง (ไดนามิก) การมีทัศนคติแบบวิทยาศาสตร์เช่นนี้ จะสามารถขับเคลื่อนยุทธการขนาดใหญ่ ที่ยืดเยื้อยาวนานได้ เห็นได้ว่า การเคลื่อนไหวสีแดงของเรา ไม่มีวันเป็นแบบ “ยุทธการม้วนเดียวจบ” อย่างของ พธม.

จากที่เห็นอยู่ต่อหน้าต่อตา พธม. มีทัศนคติแบบจิตนิยม ใช้อัตวิสัยกำหนด (คิดเอาเอง) เห็นการต่อสู้ว่าหยุดนิ่ง (สเตติก) จะ “รุก” อย่างเดียว ถอยไม่ได้ (ในทางกลับกัน เวลาถอยก็ถอยอย่างเดียว ว่าถอยแล้วจะตกกระดาน ก็ยังถอย หรือไม่ก็ หยุดอยู่กับที่ หดหัวอยู่ในกระดอง) จึงมักมีคำขวัญ “จะสู้ตาย” ใครเข้าร่วมแล้วถอนตัวออกมาไม่ได้ ถ้าจะถอนก็ต้องตาย! ยึดได้แล้วจะทิ้งไม่ได้ เกาะติดพื้นที่เหนียวแน่นยาวนาน เกิดลัทธิป้อมค่าย

ยุทธศาสตร์รุกไม่มีถอย และยุทธวิธีป้อมค่าย นี่เองคือ ความพินาศของ พธม. เห็นไหมว่า ไปที่ไหนก็จะตั้งป้อมสร้างค่ายที่นั่น ทิ้งการเป็น “ฝ่ายกระทำ” มาเป็น “ผู้ถูกกระทำ” คนจำพวกนี้ก็ทำผิดซ้ำซากอย่างนี้มาเป็นร้อย ๆ ปี 70 ปี 50 ปี 30 ปี เป็นมาอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น เคยมาทางไหนก็จะมาแต่ทางนั้น โดนซุ่มโดนตีเท่าไหร่ก็ไม่เข็ด อาจเป็นได้ว่าที่เจ็บที่ตายเป็นเพียงชั้นผู้น้อย พวกนายพันนายพลอยู่แต่ใน บก. เลยไม่รู้ว่าลูกน้องยากลำบากเสี่ยงภัยขนาดไหน

พล.ต.จำลอง เมื่อยามหนุ่มก็เคยรู้รสความผิดพลาดเอาตัวแทบไม่รอดอย่างไร ก็มาทำผิดซ้ำที่ “ทำเนียบฯและสนามบินสุวรรณภูมิ” อีกอย่างนั้น ไม่เคยเรียนรู้ ทั้งนี้เพราะวิธีคิดแบบหยุดนิ่งของพวกเขานั่นเอง และวิธีคิดแบบนี้ ยุทธศาสตร์แบบนี้ ก็เป็นไปกันทั้งกองทัพไทย เพราะพวกเขาเกาะยึดแต่สัญลักษณ์ เกาะยึดแต่พื้นที่ ไม่เกาะยึดประชาชน จึงปรากฏเสมอว่าพวกเขาอาจจะเริ่มต้นเป็นฝ่ายรุกเป็นฝ่ายกระทำ แต่ไม่นาน ก็กลายเป็นฝ่ายรับ เป็นฝ่ายถูกกระทำ เป็นอย่างนี้ไม่รู้กี่ครั้งกี่หนในประวัติศาสตร์

เมื่อรู้ตัวว่าผิดพลาด ก็ยังไม่ยอมถอย กลัวเสียเกียรติภูมิ เสียหน้า กลัวจะมีคนว่าพ่ายแพ้ ไม่กล้าถอนตัวจากการยึดสนามบินฯที่เป็นความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ใหญ่หลวงถึงชั้นชี้ขาดการแพ้ชนะกันเลยทีเดียว ในที่สุดพวกอำมาตย์ก็ต้องเปิดหน้ากากงัดเอาวิธีการที่ต่ำช้าเลวทรามมาใช้ คือ ยุบพรรคพลังประชาชน อย่างหน้าไม่อาย แม้จะยึดรัฐบาลได้ก็ไม่เกิดประโยชน์ กลับทำให้พวกสีแดงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว นี่คือ ยุทธศาสตร์ที่ตายด้าน ฝ่ายสีแดงพึงอย่าได้เรียนแบบ “ยุทธการม้วนเดียวจบ” ซึ่งก็จบลงจริง ๆ พธม. สูญเสียความชอบธรรม และแทบจะสลายไปลงทั้งหมด

เมื่อ นปช. ยกระดับข้อเรียกร้องขึ้นเป็น “โค่นล้มรัฐบาลประชาธิปัตย์” และแปรการต่อสู้สีแดง ยกระดับขึ้นเป็น สงครามเคลื่อนที่ กระจายกำลังออกไปปลุกระดมทั่วประเทศ ปักหลัก จัดตั้ง ยกระดับจิตสำนึกทางการเมือง “จิตสำนึกทางชนชั้น” สะสมกำลัง รอคอยโอกาส ถ้าจำเป็นก็จะทำ สงครามยืดเยื้อ (จำไว้ให้ดีและขบคิดทบทวน คำว่า “สงครามเคลื่อนที่” และ “สงครามยืดเยื้อ”)

ในสงครามมีกฎง่าย ๆ ในการตัดสินใจว่าจะรบหรือถอย ก็คือ ถ้าข้าศึกมากกว่าก็ให้ถอย ถ้าช้าศึกเท่ากับเราให้ตี เมื่อข้าศึกน้อยกว่าให้ล้อม แล้วถ้าล้อมแล้วยังต้องเปิดทางให้ข้าศึกมีทางถอยไม่ปิดตาย ดูอย่างกรณีเนปาล พคน. ล้อมเอาไว้เฉย ๆ ไม่หักเอากรุงกัฏมัณฐุ ใช้เวลา 12 วัน ในเดือนเมษายน 2006 รัฐบาลกิเยนทราก็ยอมแพ้ ถ้าเอากำลังหักเข้าเมืองก็คงมีคนล้มตายจำนวนมาก สูญเสียโดยไม่จำเป็น ชีวิตข้าศึกก็ชีวิตคนเหมือนกันไม่ใช่ฝักปลา นี่คือสงครามที่เป็นธรรมที่แท้จริง

เมื่อรุกเข้าไปแล้วบรรลุจุดประสงค์ทางยุทธศาสตร์แล้วก็ถอย เป็น ยุทธวิธีทั่วไปในการทำสงครามเคลื่อนที่ ไม่เกาะติดสนามรบนานเกินไป ไม่ว่าจะฉุกเฉินฉับพลันเพียงใด เมื่อถอย ต้องถอนกำลังอย่างมีจังหวะก้าว เป็นธรรมเนียมมาตรฐานของกองทัพปฏิวัติ มีแผนที่จะรุก ก็ต้องมีแผนที่จะถอย ว่าจะเกาะสนามรบไว้นานเท่าใด เวลาใด ส่วนไหนถอนก่อน ส่วนไหนหลัง ส่วนไหนซุ่มกันข้าศึกตามมาตี ในทุกส่วนทั้งส่วนหน้าส่วนหลัง แม้อยู่ในทับ ก็ยังต้องมีแผนถอย ในการรบติดพันบ่อยครั้งที่เกิดการประเมินผิด หรือมีความผิดพลาด เมื่อมีความคลุมเครือไม่ชัดเจนกุมสภาพข้าศึกหรือสนามรบไม่ได้ ก็ต้องถอย แม้ว่าในทางอัตวิสัยจะมั่นใจรู้สึกว่าจะชนะแล้วก็ตาม หรือที่เรียกว่าลัทธิสุ่มเสี่ยงทางการทหาร และส่วนใหญ่ก็มักเกิดความเสียหาย ดังนั้นจะรบก็เมื่อมั่นใจและมีหลักประกันในชัยชนะแล้วเท่านั้น

ย้ำหน่อยให้คนเก่าทบทวนหัวข้อ
1. อาวุธที่ทรงพลานุภาพที่สุดของกองทัพประชาชนก็คือ อาวุธทางความคิด
2. จิตสำนึกทางชนชั้น – ชนชั้นผู้กดขี่ และ ชนชั้นผู้ถูกดขี่
3. แนวทางมวลชน – “มีมวลชนก็มีทุกอย่าง”

.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน