แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

31ตุลาคม รำลึกถึง... ลุงนวมทอง ไพรวัลย์ 4 ปี แห่งการจากไป

เชิญ ร่วมกิจกรรมรำลึก 4 ปี การเสียสละอาจหาญของ นวมทอง ไพรวัลย์ 31ต.ค.นี้ 16.00 ที่อนุสรณ์14ตุลาฯแยกคอกวัว,17.00น.ที่สะพานลอยฝั่งตรงข้ามไทยรัฐ,18.00 ที่อนุสาวรีย์3กษัตริย์ เชียงใหม่(ดูรายละเอียด)


โดย ทวีรัศมิ์ จันทิรา

แม้ วันเวลาผันผ่านไปนานถึง 4 ปี หากในวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี คนเสื้อแดง และผู้รักประชาธิปไตยทั้งหลาย ยังคงไม่ลืมบุรุษผู้หนึ่งซึ่งพลีชีพเพื่อประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ... ด้วยการแขวนคอตายที่สะพานลอยหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดี กรุงเทพฯ พร้อมจดหมายที่เขียนสั่งลาบอกเหตุผลในการกระทำอัตวิบาตกรรม ด้วยสติสัมปะชัญญะ ที่สมบูรณ์ในขณะนั้น ...

ก่อนหน้า ... ที่จะตัดสินใจพลีชีพตนเอง บุรุษผู้นี้ได้ขับรถแท็กซี่ชนรถถังเพื่อต่อต้านรัฐประหาร 19 กันยาฯ 49 แล้วโดนโฆษกกองทัพบกหมิ่นแคลนว่า "รับจ้างทักษิณ" ไม่เชื่อว่ามีใครยอมตายเพื่ออุดมการณ์ได้ ....

บุรุษท่านนี้ .... ลุงนวมทอง ไพรวัลย์

จึง สละได้แม้ชีวิต ... พลีชีพเพื่อพิสูจน์ให้คนไทยทั้งประเทศเห็นว่า "ประชาธิปไตย" นั้นสูงส่งมีค่าเพียงไร ประเทศไทยก้าวมาไกลแล้วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เรามีผู้นำที่มาจากการเลือกตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล พร้อมนำพาประเทศฝ่าวิกฤตที่เกิดจากความยากจน ... ภัยแล้ง ... ยาเสพติด ... ภาระหนี้สินของประเทศจากกองทุน IMF ... ปัญหาสังคม และอื่นๆ อีกมากมาย ไปสู่ความกินดีอยู่ดี เศรษฐกิจมั่งคงขึ้น ด้วยโครงการต่างๆ ที่เป็นนโยบายของรัฐบาล "ทักษิณ" ที่จับต้องได้ ...

และเป็นรูปธรรมออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

ที่ สำคัญ ประเทศไทยของเราขณะนั้น ... ประชาธิปไตยกำลัง "เบ่งบาน" ถึงแม้จะ "ไม่เต็มใบ" ก็ตาม !!! เรามีรัฐธรรมนูญปี 2540 ใช้ ซึ่งมาจากหลายฝ่ายหลายภาคส่วนร่วมกันร่างเป็นกฎหมาย

ผ่านการทำประชามติเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนในประเทศเห็นชอบ ....

การ ปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยนฯ 49 ของกลุ่มนายทหารที่เรียกตนเองว่า คณะ คมช. จึงเป็นการกระทำที่นำประเทศถอยหลังเข้าคลองโดยสิ้นเชิง !!!

วันเวลา ผ่านมา 4 ปี ประเทศชาติไม่ได้อะไร และไม่มีอะไรดีขึ้นมาจากการรัฐประหารในครั้งนี้ ได้แต่ความแตกแยกในสังคม แบ่งสี แบ่งฝ่าย และบาดแผลที่ร้าวลึกในหัวใจของคนไทย !!!

สุดที่คนไทย รวมทั้งคุณลุงนวมทอง ไพรวัลย์ จะรับได้ ...


แม้ ลุงนวมทอง ... เป็นเพียงคนขับรถแท็กซี่ที่หาเช้ากินค่ำ เป็นชนชั้นที่ถูกขนานนามว่า "ไพร่" หรือ "รากหญ้า" ของสังคม หากจิตใจนั้น สูงส่ง ยิ่งใหญ่นักเพราะเข้าถึงคำว่า "ประชาธิปไตย" อย่างแท้จริง ต่อต้านอำนาจเผด็จการ และแสดงออกอย่างกล้าหาญ โดยไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวต่ออำนาจหรืออิทธิพลใดๆ .....

ขณะที่คน บางกลุ่มที่ภาคภูมิใจว่าตนเองนั้นชนชั้นสูง สูงด้วยการศึกษา สูงด้วยยศฐาบรรดาศักดิ์ และเงินตรา กลับฝักใฝ่กับอำนาจเผด็จการ และสนับสนุนกับระบบอำมาตย์ที่คอยถ่วงรั้งประชาธิปไตย ไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า ฉันว่าคนพวกนี้ด้อยค่านัก ... เมื่อเทียบกับลุงนวมทอง


บท บันทึกนี้ ... ฉันขอคารวะ น้อมจิต เพื่อรำลึกถึงดวงวิญญาณของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ วีรบุรุษประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่ ... การจากไปของท่านไม่สูญค่า หากได้ปลุกจิตวิญญาณของคนไทยให้ลุกขึ้นมาต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย แม้ว่าเราจะเสียเลือดเนื้อ ... หรือแม้ "ความตาย"จะมาเยือน

ในวันนี้ "คนเสื้อแดง" เราได้ตระหนัก และพร้อมเผชิญแล้ว !!!


วัน อาทิตย์ที่ 31 ตุลาคมนี้ ในช่วงบ่ายถึงค่ำ ฉันจะไปร่วมรำลึกถึงลุงนวมทองในโอกาสครบรอบการจากไป 4 ปี ณ อนุสรณ์สถานสี่แยกคอกวัว

ฉัน ... สัญญากับตัวเองว่า .... ทุกวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ฉันจะไปร่วมกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงการจากไปของวีรบุรุษประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่ ยากที่จะมีใครเสมอเหมือน บุรุษผู้มีค่าแห่ง "ความทรงจำ" สำหรับฉัน .....

ภวังค์ นี้ !! ใจฉันเดียวดายนัก .... 78 ปี แล้วที่ประเทศไทยมีประชาธิปไตย ...แต่บนเส้นทางที่ทอดยาวแห่งถนนสายประชาธิปไตยนั้น ทำไม ? มันจึงขรุขระ เต็มไปด้วยขวากหนาม อุปสรรค .... หยาดเลือดที่หลั่งริน...

กี่ชีวิตกี่ดวงวิญญาณที่ต้องเซ่นสังเวยเพื่อ "ประชาธิปไตย" ที่เต็มใบ ที่คนไทยไขว่คว้า !!!


นับตั้งแต่ .... 14 ตุลาฯ 16

6 ตุลาฯ 19

พฤษภาฯ ทมิฬ 35

กระทั่ง ....

เมษาฯ - พฤษภาฯ 53 และ ...อื่นอีกต่อไปหรือไม่ ? ? ?



วันนี้ .... ลมหนาวเริ่มพัดมาเยือน แต่ "ใจ" ฉันนั้นกลับ "หนาว" ยิ่งกว่าสายลมหนาวที่พัดมากระทบผิวกาย !!!

วันนี้ .... ท้องฟ้าแจ่มใส แสงแดดเจิดจ้า แต่ "ใจ" ฉันกลับ "หม่นหมอง" .....เฝ้าภาวนา

ขอให้ฉันได้เขียนบทบันทึก เพื่อรำลึกถึงดวงวิญญาณวีรบุรุษนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ท่านนี้เป็นคนสุดท้ายเถิด !!!!
........................


ขอดวงวิญญาณลุงนวมทองฯ จงสงบสุข ณ สรวงสวรรค์ ....

รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53


วีระประชาชน-กลุ่ม คนเสื้อแดงสร้างรูปปั้นนวมทอง ไพรวัลย์ ที่บริเวณ"สะพานลอยนวมทอง" หรือสะพานลอยหน้าสำนักพิมพ์ไทยรัฐ ถนนวิภาวดีฯ บริเวณที่เขากระทำอัตวินิบาตกรรมเมื่อ 31 ตุลาคม 2549 หรือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (ชมภาพชุดทางface book)


4ปีรำลึกนวมทอง-สุ รชัย แซ่ด่าน แกนนำแดงสยาม ทำความเคารพรูปปั้นนวมทอง ไพรวัลย์ ซึ่งคนเสื้อแดงและผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจัดกิจกรรมรำลึก 4 ปีการจากไปของเขา ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน (ชมภาพกิจกรรมทั้งหมดทางfaxe book)

โดย อรรคพล สาตุ้ม
31 ตุลาคม 2553

รูป ปั้นลุงนวมทอง ในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ของตุลา 53 : บริบทเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53กับศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ของความใกล้ชิดธรรมชาติของแผ่นดินใน ประชาธิปไตยไทย และพรมแดนของสื่อมวลชนต่อความกล้าหาญของการตัดสินใจต่อสู้แนวสันติวิธี ยังรอคอยพิสูจน์ตอนจบในปัจจุบัน





ผู้เขียนเริ่มต้นตั้งใจเขียนงานขนาดไม่ยาวชิ้นนี้ โดยภาพร่างของความคิดเกี่ยวโยงปัญหาของทหาร

เช่น ปฏิรูปกองทัพเลิกเกณฑ์ทหารไปรัฐประหาร หรือเกณฑ์ไปฆ่าคนเหมือนเกณฑ์ไพ่รพลในอดีต และปฏิรูปสื่อเกี่ยวโยงทหาร กรณีททบ.5 เป็นต้น

แต่ ว่าผู้เขียนโดยส่วนตัวประสบขีดจำกัดของเวลา หน้าที่การงาน จึงต้องกระชับพื้นที่การเขียนให้ชัดเจนง่ายๆ เพราะว่า ผู้เขียนวิเคราะห์รูปปั้นลุงนวมทอง

โดยผู้เขียนคิดปรับชื่อบทความ ขนาดยาว คือ รูปปั้นลุงนวมทองในการเมืองเชิงสัญลักษณ์ตุลา 53 : บริบทเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 กับศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ของความใกล้ชิดธรรมชาติของแผ่นดิน ประชาธิปไตยไทย และพรมแดนของสื่อมวลชนต่อความกล้าหาญของการตัดสินใจต่อสู้แนวสันติวิธี ยังรอคอยพิสูจน์ตอนจบในปัจจุบัน

จากชื่อของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องการเขียนประเด็นใหญ่เพียงประเด็นเดียว ทำให้ต้องพยายามตั้งชื่อบทความนั้นให้สั้นลง ขณะนั้นก็ระลึกถึงมุมมองบางอย่างต่ออดีตของวันวาน เหมือนขอบเขตจำกัดของกรอบรูปภาพ ในคำว่าframe แปลว่า กรอบรูป(N.) และใส่ความ(V.) ได้ทั้งสองความหมาย ในการใช้คำว่า Frame สร้างกรอบรูปภาพ หรือ สร้างความเข้าใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

แน่นอนว่า เราอาจจะเห็นนัยยะบางอย่างของภาพเหมือนเราไม่อาจใช้คำหนึ่งคำเป็นองค์รวม ทั้งหมด เช่น ภาพLas Meninas โดยฟูโกต์ ผู้ศึกษาเรื่องวาทกรรม เกี่ยวกับอำนาจและความรู้ ซึ่งพวกเราหลายคนคงรู้จักฟูโกต์กันดี และฟูโกต์ ก็นำกรอบวาทกรรมมาวิเคราะห์ภาพLas Meninas ในหนังสือ The order of Things เป็นต้น

ถ้าผู้สนใจสามารถค้นหาภาพโดยกูเกิ้ลจะเจอภาพLas Meninas และนัยยะของฟูโกต์ คือ สื่อถึงเราไม่อาจมองเห็นตัวการสร้างภาพความจริงได้จากมุมมองทั้งหมดทุกซอก ทุกมุม

อีกนัยหนึ่งเราไม่สามารถอ้างตำแหน่งพิเศษของความเป็นนัก วิจัยหรือผู้เขียน ว่าสามารถกระโดดออกมานอกกรอบของบริบทการศึกษาแล้ว มองเห็นภาพในเชิงองค์รวมทั้งหมด(totality)

แม้ว่าการมองเห็นภาพ ทั้งหมดเป็นเรื่องยาก แล้วรูปภาพยังถูกใส่กรอบรูป และบูชาอีกต่างหาก ดังนั้น ผู้เขียนเน้นย้ำถึงรูปปั้นลุงนวมทอง ในมุมมอง 3แบบและการต่อสู้ในปัจจุบัน(*)

1.รูปปั้นลุงนวมทอง คือ ศิลปะแห่งความทรงจำเป็นสัญลักษณ์ธรรมชาติของแผ่นดินประชาธิปไตยไทย

ย้อน อดีตโดยผลกระทบของ 19 กันยา 49 ต่อลุงนวมทอง มาจากสาเหตุการรัฐประหารและผู้เขียนเคยเขียนในแง่มุมหนึ่งต่อลุงนวมทองไป แล้ว โดยผู้เขียนในฐานะคนเล็กๆ คนหนึ่งก็ยังคงระลึกถึงลุงนวมทอง(1)

จน กระทั่งต่อมา เมื่อคนสร้างรูปปั้นลุงนวมทอง คือ ศิลปะแห่งความทรงจำเป็นผู้พิสูจน์ตนใกล้ชิดธรรมชาติของประชาธิปไตยไทย ที่มีลุงนวมทองเป็นผู้พิทักษ์สภาวะของประชาธิปไตยไทย โดยศิลปะความทรงจำของความใกล้ชิดประชาธิปไตย

โดยผู้เขียนเคยเขียน เรื่องธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประชาธิปไตย แล้วล่าสุดผู้เขียนได้รับคำถามหนึ่งที่สำคัญ คือ เมื่อคุณถูกถามว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550(ที่มาจากการรัฐประหาร) ในมาตรา 1 คือ อะไร? คุณอาจจะตอบไม่ได้

เพราะ ว่าสิ่งที่หลงลืมไปจากความทรงจำ ดังนั้น ผู้เขียนเฉลย คือ หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1) คือ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ ซึ่งพวกเราจะตีความ หรือแปลความว่า แผ่นดินนี้แบ่งแยกไม่ได้ หรือ พรมแดนอันหนึ่งอันเดียว

โดยถ้าพวกเราคิดถึงแนวคิดแผนที่อันเป็นพรมแดนของความเป็นไทย โดยธงชัย วินิจจะกูล เคยเขียนถึงปัญหารัฐธรรมนูญเป็นของนอก หรือหากการปลูกวัฒนธรรมประชาธิปไตย และสมมติว่ารัฐธรรมนูญ ดั่งเปรียบเป็นเมล็ดพันธุ์ จึงเป็นรัฐธรรมนูญพันธุเทศ ที่นำเข้ามาปลูกในวัฒนธรรมไทย

ซึ่งถ้ามองดูในแง่ความใกล้ชิดของ ประชาธิปไตย ถูกทำให้ไกลตัวเป็นของนอก ทั้งรัฐธรรมนูญ และประชาธิปไตยต้องทำให้เป็นเรื่องใกล้ตัว ก็เป็นปัญหาต่อพัฒนาการ อันเป็นธรรมชาติของการเติบโตทางประวัติศาสตร์ ที่มีวิวัฒนาการกับประชาธิปไตย โดยพวกเรามักเห็นข้อโต้แย้งต่อฝรั่งไม่เข้าใจคนไทย หรือของนอกไม่เหมาะกับความเป็นไทย จากความไกลห่างของฝรั่ง ไม่ใกล้ชิดวัฒนธรรมไทย (2)

ดังนั้น เมื่อชาตินิยมไทย ก็เติบโตบนแผ่นดินของไทย ในการปลูกสร้างธรรมชาติให้วัฒนธรรมของไทย ก็มีลักษณะของความใกล้ชิดกัน เหมือนเครือญาติ ครอบครัวเดียวกัน โดยผู้เขียนยกตัวอย่างสิ่งที่เร้าอารมณ์ความรู้สึกของคนในหัวสมองกับหัวใจ โดยเบน แอนเดอร์สัน ผู้แต่งหนังสือชุมชนจินตกรรมก็เคยบอกว่า ในประเทศไทย"รัฐ"กับ"ชาติ"แต่งงานกัน แล้วพวกเราก็ต้องเข้าใจการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติ สัมพันธ์กับรัฐ

ซึ่งผู้เขียนขยายความ โดยเพิ่มเติมอธิบายต่อความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันของประชาชนกับรัฐบาลที่ผ่าน การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย หรือการตั้งโจทย์ คือ ชาติ+อารมณ์ความรู้สึกใกล้ชิดประชาชน+แต่งงาน+ประชาธิปไตย

เหมือน สมมติว่าคนที่มีความรู้สึกใกล้ชิดสนิทสนม เมื่อพวกเขาเลือกตัดสินใจเป็นคู่ครองแต่งงานกัน (ถ้ายกตัวอย่างเปรียบเทียบข่าวเหตุการณ์ในปี53กรณีสาวบุกทวงสัญญาแต่งงาน แฟนทหาร กลางราบ11 และสิ่งตรงกันข้ามทหารเกณฑ์ คือพลทหาร เครียด ผูกคอตาย กลัวถูกส่งสลายม็อบ)

เพราะฉะนั้น จากการเรียนรู้ และประสบการณ์ของชีวิต ที่ผ่านมาโดยแบบเรียนตั้งแต่ประถม ซึ่งพวกเราเรียนรู้ ผ่านอนุสาวรีย์ และวัฒนธรรมผลิตสร้างความทรงจำในหัวสมอง และหัวใจของพวกเรา ก็ถูกบันทึกประวัติศาสตร์ในศิลป์ของความทรงจำของพวกเรา

คือ รัฐธรรมนูญ กับความเป็นมาจากของฝรั่งก็เป็นพันธุ์ผสมไทย เหมือนกับศาสนาพุทธ ที่มาจากอินเดีย และรัฐธรรมนูญ ก็ควรน่าจะปลูกสร้างได้ลงตัวโดยไม่ต้องรัฐประหารตัดตอน และไม่ทำให้เกิดคนแบบลุงนวมทองมาฆ่าตัวตาย และลุงนวมทอง เขียนจดหมายโดยลายมือเขียนลาตายต่อครอบครัว และลูก รวมทั้งชี้แจงว่า เทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และลุงเขียนขีดฆ่ารัฐทหาร และรัฐตำรวจ (ต้องไม่มี)เป็นสัญลักษณ์ปรากฏในสื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ตโดยดูวิกีพีเดีย

ซึ่ง พวกเราไม่ต้องใช้เทคโนโลยียุคเก่าแบบโทรเลข ที่มีสมัยสร้างรัฐชาติ แผนที่ก็เริ่มวางสายโทรเลข จนกระทั่งพวกเรารู้ว่าเลิกใช้โทรเลขไป ซึ่งพวกเรารับรู้สื่อใหม่ทางอินเตอร์เน็ตเฟซบุ๊ค บล็อก สเปซเป็นเครือข่ายทางสังคมสำหรับเก็บข้อมูล และเผยแพร่นอกเหนือจากการออกอากาศทางทีวี หนังสือ หนังสือพิมพ์ โดยจดหมายของลุงนวมทอง ก็ปรากฏในสื่อใหม่ของวิกิพีเดียไว้

กระนั้น ผู้เขียนยกตัวอย่างที่สะท้อนการสร้างการปลูกฝังธรรมชาติของอุดมการณ์ ประชาธิปไตยให้เติบโต ในแผ่นดินไทยในเรื่องคุณค่าของความหมายของความตาย และความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิดของลุงนวมทอง คือ ชาติหน้าเกิดมาคงไม่พบเจอการปฏิวัติอีก เป็นสิ่งที่ปรากฏในจดหมาย และพวกเราคงไม่ต้องรอคอยประชาธิปไตย แล้วพวกเราต้องทำเหมือนค่ำคืนวันที่ 31 ต.ค.2549 เป็นต้น
ฉะนั้น

กรณีรูปปั้นลุงนวมทอง เมื่อกลุ่มศิลปินเสื้อแดง กล่าวว่ารูปปั้นดินเหนียวนี้ เมื่อเสร็จแล้วจะนำไปถอดเป็นแม่พิมพ์ซิลิโคน จากนั้นจะหล่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมเลือดของคนเสื้อแดงที่ได้เจาะออกมาแสดง สัญลักษณ์การต่อสู้ในแนวทางสันติวิธี โดยจะตั้งชื่อรูปปั้นว่า "นวมทองไพรวัลย์ ประชาทิพย์พิทักษ์ไทย" และตั้งไว้บริเวณด้านล่างเวทีการชุมนุม เพื่อให้ผู้ร่วมชุมนุมได้มาปิดทองระลึกถึงและคารวะต่อใจที่เด็ดเดี่ยวของนาย นวมทองต่อไป ขณะลงมือปั้นรูปเหมือนดินเหนียว(3) ซึ่งสะท้อนความเป็นดินจากธรรมชาติของแผ่นดิน และต่อมาหล่อด้วยปูนซีเมนต์ผสมเลือดของไพร่ ที่มีกระแสทางการเมืองของขบวนการเคลื่อนไหว ในขณะนั้น เพื่อธรรมชาติของประชาธิปไตยให้แข็งแรงไม่เสื่อมสลายหายไป โดยประชาธิปไตยไทยเติบโตต่อไป

2.ความเสื่อมของสื่อมวลชน ทำ ให้สร้างเส้นแบ่งพรมแดนของมวลชน ไม่มีความรู้สึกผูกพันใกล้ชิดรูปปั้นลุงนวมทอง เมื่อการเปรียบเทียบเรื่องความเสื่อมของสื่อมวลชน กรณีนับตั้งแต่เรื่องลุงนวมทอง ก็มีเพียงสถานีโทรทัศน์ ITV เท่านั้นที่นำเสนอรายละเอียดของบทสนทนาก่อนที่ลุงนวมทองจะตัดสินใจทำในสิ่ง ที่เกิดขึ้น (4)

แน่นอนว่า หลายคนมีวิธีเขียนเรื่องราวเป็นบันทึกให้ลุงนวมทอง บางคนเขียนบทกวีให้ลุงนวม เช่น จิ้น กรรมาชน และผู้เขียนเคยเขียนถึงการเมืองเชิงตราสัญลักษณ์ของทีวีไทย จึงเลือกนำเสนอผ่านภาพลุงนวมทองเกี่ยวโยงสถานีไอทีวีในอดีต

สิ่ง ที่สะท้อนให้ภาพลักษณ์โดยการสร้างภาพของสื่อมวลชนให้ขัดแย้งก่อเกิดความ เสื่อมต่อมวลชน และสร้างพรมแดนทางอารมณ์ความรู้สึกอันน่ากลัว คือ กรณีเช่นพาดหัวข่าวว่า แดงไม่กลัวเอดส์!! ปั้นหุ่นลุงนวมทองผสมเลือด จ่อตั้งสี่เสาฯ (5)

แต่ ว่า ภาวะหลังฝุ่นตลบจากสงครามกลางเมือง ผู้เขียนเคยเขียนถึงการสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติกับฺBig Cleaning Dayในเดอะเฮดว่ารัฐใช้สื่อมวลชน นอกจากปิดสื่อ แล้วใช้สื่อมวลชนสร้างภาพให้เมืองกรุงเทพฯ เหมือนล้างสมองของคน(6)

ทั้ง นี้ ประเด็นปัญหาต่อสื่อมวลชน ในเรื่องความตายของลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะเพื่อชาติ เพื่อประชาธิปไตยในเดือนตุลาคม 2549 ก็ไม่ได้ถูกยอมรับทั้งสองฝ่าย ซึ่งสองมาตรฐานอย่างแน่นอน และสังคมอาจจะยอมรับได้เหมือนการฆ่าตัวตายของสืบ นาคะเสถียรในอนาคต ก็ยังไม่แน่นอน แล้วทุกคนคงไม่ลืมลุงนวมทอง ต้องระวังถูกล้างหายไปจากในมันสมองเหมือนวันชาติไทย(7) โดยการกระทำของรัฐไทย ทั้งปิดกั้นสื่อเพื่อลบลืมเลือนความจริง

3.รูปปั้นลุงนวมทอง เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ สันติวิธี และผู้พิสูจน์อุดมการณ์ประชาธิปไตย เป็นโจทย์ท้าทายความเคลื่อนไหวหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา กรณีสันติวิธีไทยในปัจจุบัน

ส่วน ประเด็นหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา ซึ่งผู้เขียน ก็มีโอกาสไปกรุงเทพฯ สังเกตการณ์ช่วงเดือนเมษายน และหลังเหตุการณ์พฤษภาคม ก็มีโอกาสที่พวกผู้เขียน ได้รับฟังข้อมูลจากมุมมองของคนภายในขบวนการ คือ ไม้หนึ่ง ก.กุนที หลังจากภาวะฝุ่นตลบแล้ว ทั้งสถานการณ์ในการรับรู้เรื่องแกนนำ และรูปปั้นลุงนวมทอง โดยผู้เขียนขอกล่าวย่อๆ ในแง่มุมดังกล่าว เป็นต้น โดยประเด็นเพิ่มเติมต่อสถานการณ์การเมืองไทยที่ผ่านมา ในมุมมองของธงชัย วินิจจะกูล ที่มองการเมืองในฐานะของประชาธิปไตยและความใกล้ชิดของสันติ อหิงสาของไทย โดยแนวคิดและชื่อของคน ผู้นำความคิดใช้สันติ อหิงสา ใกล้ชิดผูกผันกับศาสนา โดยข้อเสนอของธงชัย ล่าสุดในวารสารอ่าน(8) ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า ทำให้ผู้เขียนคิดถึงสื่อมวลชน กับการเปิดพื้นที่สื่อสารให้คนรุ่นใหม่ แสดงออกสันติวิธีกับรูปปั้นลุงนวมทอง เป็นสัญลักษณ์สันติวิธีมากขึ้น

พวก เราจะตัดสิน(ใจ)ให้ความยุติธรรมต่อคนที่ใช้สันติวิธี ทำให้มีพื้นที่ในแผ่นดินไทย เนื่องจากเหตุการณ์ของลุงนวมทอง จนกระทั่ง ลุงนวมทองกลายเป็นรูปปั้นลุงนวมทอง และเหตุการณ์เมษา-พฤษภา เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยและสันติวิธี เพราะนักสันติวิธี และ นักประชาธิปไตย จะตอบคำถามได้อย่างไร? โดยยกตัวอย่างของผู้เขียนจากคิดตั้งคำถาม คือ ถ้าพวกเขาถูกถามว่า รัฐฆ่าผู้ก่อการร้าย ถูกต้องไหม? โดยถ้าพวกเขา คิดโดยตรรกะของเหตุผล ซึ่งยอมรับว่าธรรมชาติของคนไม่ฆ่าคน จะยอมรับอย่างไร? และพวกเขา ก็ต้องตอบว่าคนเสื้อแดงไม่ใช่สันติวิธีอย่างที่นิยามไว้ เพราะพวกเขาใช้อาวุธ จึงเกิดคำถามต่อว่า พวกเขาเหมาะสมที่ควรถูกฆ่าหรือ? และถ้าคนเสื้อแดง ตั้งคำถามต่อว่าทำไมต้องยิงประชาชนที่ไม่ใช้อาวุธในเขตวัดปทุมฯ ? และคำถามอันเป็นปัญหาประการต่อมา ในแง่การนิยามสันติวิธีแคบๆ ทำให้ลุงนวมทอง ก็ไม่ใช่สันติวิธีแบบนั่งสมาธิอดข้าวประท้วง แน่นอน คำตอบต่อความสนใจของปัจเจกบุคคลของนักสันติวิธี ซึ่งสนใจต่อเหตุการณ์นี้ อาจจะแตกต่างกัน ซึ่งพวกผู้เขียน ขอเล่าโดยย่อก็ได้มีโอกาสสนทนากับนารี เจริญผลพิริยะ ณ สถาบันศาสนา วัฒนธรรม และสันติภาพของมหาวิทยาลัยพายัพ ต่อกรณีรูปปั้นลุงนวมทอง และเหตุการณ์ภายในวัดปทุมฯ จากภายในมุมมองของนารี ซึ่งเล่าว่าได้เห็นรูปปั้นและถ่ายรูปตอนทหารยกรูปปั้นหายไป เป็นต้น

ส่วน ปัญหาของสิ่งที่สำคัญ โจทย์ท้าทายการแสวงหาอิสรภาพของความคิดในการเปิดพื้นที่ส่วนร่วมอันหลากหลาย เพื่อสร้างกรอบคิดในสันติวิธี สำหรับประเด็นของเนื้อหาเพื่อกำหนดรูปแบบการเคลื่อนไหวแบบสันติแนวใหม่ จากปัญหาข้อจำกัดเดิมก็น่าสนใจมาก และการตัดสินใจในการสลายการชุมนุมของการเคลื่อนไหว จากการจัดการเวที จนกระทั่งหลังปัญหาเรื่องRoad Map ซึ่งแค่คนเดียวคิดก็ไม่ง่าย เมื่อตอนเกิดเหตุการณ์นั้น โดยประสบการณ์ของพวกเราในเชียงใหม่รวมกลุ่มเคลื่อนไหว ก็คิดต่อคำถามในประเด็นการประกาศสลายการชุมนุมต่อหลายแง่มุม ซึ่งมุมมองต่างๆ จากประสบการณ์ และจินตนาการถึงสลายหรือไม่สลาย ก็ไม่ง่ายเป็นตัวอย่างให้พวกเราตั้งคำถามและคำตอบกันเอง จึงเป็นประเด็นการสลายการชุมนุมอย่างสันติวิธี ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายได้ไง ในเมื่อเสื้อแดงถูกป้ายสีให้ถูกฆ่าตาย โดยการโจมตีของศอฉ.และสื่อมวลชน อันเสื่อมจริยธรรม ศีลธรรมอันดี ในการไม่เข่นฆ่ามนุษย์กันอง ทำให้พวกเสื้อแดงโกรธแค้นเผาเมืองกรุงเทพฯ รวมทั้งต่างจังหวัด และคำถามที่พวกเรารู้แก่ใจว่า รัฐกำลังสร้างสิ่งทีทำให้พวกเขากลายเป็นพวกผู้ก่อการร้าย และทำให้ประเทศไทยแบ่งแยกกันไป โดยรัฐจงอย่าทำร้าย แลัวทำให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติ ไม่มีแผ่นดินอยู่ในประเทศไทย โดยการสร้างแผนที่ของสายตา(the creation of a Visual Map) ร่วมมองเห็นความจริงให้คนไทยร่วมคิดอย่างสร้างสรรค์เป็นแผนที่ทางออกของ ชุมชนจินตกรรมใกล้ชิดประชาธิปไตยร่วมกันในแผ่นดินเดียวกันของประเทศไทย

อย่าง ไรก็ดี ผู้เขียนต้องการเน้นย้ำชี้ให้เห็นเรื่องธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงจากการ เห็นบทเรียนทางประวัติศาสตร์ และการสร้างธรรมชาติประชาธิปไตย ในแผ่นดินไทย ซึ่งธรรมชาติในฐานะทางประวัติศาสตร์ ที่มีประชาธิปไตยไทยยังปลูกสร้างไม่เต็มใบ โดยพวกเรา ก็เห็นความเสื่อมสลายหายไปของระยะเวลาในอดีตของความนิยมชมชอบการเมืองแบบพ่อ ขุนอุปถัมภ์เผด็จการแบบสฤษดิ์ จากข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์ และการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสร้างธรรมชาติประชาธิปไตยครึ่งใบในยุคต่อมา หลัง 14 ตุลา 2516-6 ตุลา 2519 บางด้านเป็นสิ่งที่ประชาธิปไตยสร้างไม่เสร็จ หรือการเรียกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบ โดยผู้เขียนยังไม่ได้อธิบายตัวงานศิลปะของรูปปั้นลุงนวมทองอย่างยาวนัก แต่ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ โดยรูปปั้นของสามัญชน คนธรรมดาเป็นลักษณะกายภาพร่างกายดูเข้มแข็ง คล้ายแนวคิดรูปแบบศิลปะสัจนิยม รับใช้มวลชนในสังคมของชุมชนจินตกรรม โดยสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นตัวแทนของจิตสำนึกในการสร้างสรรค์ หรือศิลปะสมัยใหม่ ต่างๆนานา

แต่ว่าผู้เขียน คิดว่า เสื้อแดงทุกคน ก็คงมีความต้องการเน้นชัดในเรื่องการลุกขึ้นสู้โดยไม่ใช่พ่ายแพ้แบบเดิม และการต่อสู้ต้องไม่สิ้นหวัง โดยยึดมั่นแนวทางสันติวิธีเชิงสัญลักษณ์ลุงนวมทอง ก็น่าสนใจมากต่อสื่อมวลชน เช่น สมมติจัดงานวาดรูปลุงนวมทอง หรือจัดงานปั้นรูปปั้นลุงนวมทอง เพื่อความเคลื่อนไหวของมวลชนในทุกจังหวัดเพื่อให้ยกเลิกพรก.ฉุกเฉินฯใน กรุงเทพฯ แม้ว่าปรากฏบทความข้อถกเถียงเรื่องแกนนำพวกเราเห็นกันมาพอสมควร จากบทเรียนเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 ซึ่งผู้เขียนเห็นด้วย กับคนที่ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเขียนเรื่องกรณีหาคนรับผิดชอบต่อคนตาย และนักข่าวต่างชาติ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อผู้เขียนสร้างขอบเขตจำกัดของกรอบภาพเหมือนโครงเรื่องโดยผู้เขียน เพราะว่าคนเรามีมุมมองของแต่ละคน และผู้เขียนเคยเขียนถึงการเคลื่อนไหว 26 มีนา 52 (9)

ต่อมาอย่างที่พวกเรารู้ว่าผลลัพธ์ คือ เมษา 52 แล้วผู้เขียนตั้งข้อสังเกตเล็กน้อยว่า จากการเปรียบเทียบสองเหตุการณ์เมษา 52 และเมษา-พฤษภา 53 ที่มีการเริ่มต้นเคลื่อนไหวแนวสันติโดยจุดเริ่มต้นวันที่ 12 มีนา 53 ในอดีตเป็นวันที่คานธี เริ่มเดินทางไกลเพื่อประท้วงเจ้าอาณานิคมอังกฤษ และพวกแกนนำ ก็พยายามชูสันติวิธีเท่าที่ทำได้ แต่พวกเราก็ยังต้องจากจุดเริ่มต้นเดินทางไกลสู่ประชาธิปไตย และแนวทางในปัจจุบันของสมบัติ บุญงามอนงค์ เป็นแนวแกนนอน และสมยศ พฤษาเกษมสุข จะมีข่าวออกมาเป็นภาพดูไม่ดี เช่น คำนูณ สิทธิสมานระบุในคอลัมน์ นสพ.เอเอสทีวีผู้จัดการ ชี้การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ของ สมบัติ บุญงามอนงค์อันตรายกว่าการต่อสู้แบบใช้ความรุนแรง(10) หรือเสื้อแดงไม่ยอมจบพร้อมพลีชีพ-ป่วนเมืองและนายสมยศกล่าวอีกว่า สำหรับกิจกรรมคนเสื้อแดงส่งท้ายเดือนต.ค. ได้กำหนดให้มีกิจกรรมเคลื่อนไหวในวันที่ 31 ต.ค.ที่หน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ โดยจะนำรูปปั้นนายนวมทอง ไพรวัลย์ ที่ประกาศสละชีพเพื่อประชาธิปไตยเพื่อให้คนไทยไม่ลืมเหตุการณ์ประวัติ ศาสตร์(11)

และแล้วความเคลื่อนไหวจะกลับมาอีกครั้ง ยังไม่จบ ในท้ายที่สุดของบทความนี้ เมื่อผู้เขียนไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ได้ทั้งหมด ซึ่งพวกเรา อาจจะจำเนื้อหาไม่ได้ทั้งหมด สิ่งสำคัญเพียงพวกเราจำได้ว่ารู้สึกเจ็บปวดก็เพียงพอโดยผู้เขียนไม่ได้มอง โลกแง่ร้าย หรือ สร้างคำคมๆ ชวนให้ระลึกถึงว่าประชาธิปไตยไทยกำลังไปสู่ลักษณะน้ำท่วมป่าช้า แต่ว่าผู้เขียนขอเลือกให้เป็นความหวังในทุกข์ยากขวากหนามลำเค็ญ คนยังคง ยืนเด่นโดยท้าทายโดยจบลงที่ความสวยงามของความทรงจำของบทกวี"ประชาทิพย์ พิทักษ์ไทย"(12)

ขึ้นรูปลุงนวมทอง
ผู้กล้าท่องถนนเถื่อน
กี่วัน กี่ปี เดือน
ยังเหมือนอยู่ให้รู้เห็น

สงครามของคนไพร่
ผองเพื่อนไทยผู้ลำเค็ญ
ลุกฮือเพราะจำเป็น
เขาไม่เห็นเราเป็นคน

ขึ้นรูปลุงนวมทอง
ตระกองดินเริ่มตั้งต้น
ปฏิมาสามัญชน
ประชาทิพย์ พิทักษ์ไทย




*หมายเหตุ : จากการอ่านหนังสือดูข้อมูลเอกสาร ต่างๆ ซึ่งงานเขียนจำกัดการอ้างอิง โดยส่วนตัวจริงๆ แล้วผู้เขียนยาวกว่า 6 หน้า A4 แล้วปรากฏว่าผู้เขียนต้องเขียนบทความให้ย่นย่อได้แค่ 4 หน้า ซึ่งผู้เขียนมี4 มุมมอง แต่ผู้เขียนต้องลดลงเหลือ 3มุมมอง ก็ยังเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าจะย่อเหลือ2 หน้า โดยสาเหตุของความจำเป็น คือ ผู้เขียนตั้งใจย่อสำหรับเผยแพร่เพื่อให้ทันวันที่ 31 ตุลา 53 ในเว็บไซต์

เชิงอรรถ

1.อรรคพล สาตุ้ม ระลึกถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์ ในฐานะญาติร่วมชาติไทยในเดือนตุลาคม

2.ผู้ เขียนนำแนวคิดในการเขียนโดยที่มาของธงชัย วินิจจะกูล เขียนเรื่องชาติไทย,เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์ :คำนำ ใน นิธิ เอียวศรีวงศ์ ชาติไทย,เมืองไทย.แบบเรียนและอนุสาวรีย์และดูเพิ่มเติม อรรคพล สาตุ้ม“24 มิถุนา , 28 กรกฏา,14-6ตุลา,4 ธันวา-10 ธันวาจากYoung PAD-คนรุ่นใหม่ มุมมองผ่านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไทย

3.บทกวีแด่รูปปั้น "นวมทอง ไพรวัลย์" โดย "ไม้หนึ่ง ก.กุนที" วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 18:15:00 น. มติชนออนไลน์

4.สัมภาษณ์: จอม เพชรประดับ และถ้อยคำสุดท้ายของ "นวมทอง ไพรวัลย์

5.แดงไม่กลัวเอดส์!! ปั้นหุ่นลุงนวมทองผสมเลือด จ่อตั้งสี่เสาฯ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 เมษายน 2553 16:00 น.

6.อรรคพล สาตุ้ม การสร้างอารมณ์ความรู้สึกของคนในชาติกับฺBig Cleaning Dayในเดอะเฮด(โปรดรอดูฉบับเต็มยังไม่ได้เผยแพร่)

7.อรรคพล สาตุ้ม เล่าเรื่องเอกสารในวันประกาศเป็นวันชาติอย่างทางการ กับหนังสือมันสมองของหลวงวิจิตรวาทการ

8.ธงชัย วินิจจะกูล ฝุ่นตลบหลังมีคนถูกฆ่าตายตรงราชประสงค์ วารสารอ่านปีที่ 2 ฉบับที่ 4 เมษายน-กันยายน 2553

9.อรรคพล สาตุ้ม 26 มีนา 2520 หรือ 26 มีนา 2552: ผลกระทบของผีเสื้อ-กระแสแดงทั่วแผ่นดิน

10. คำนูณระบุการต่อสู้ของ สมบัติ บุญงามอนงค์อันตรายกว่าใช้ความรุนแรง

11.เสื้อแดงไม่ยอมจบพร้อมพลีชีพ-ป่วนเมือง เดลินิวส์ วันพฤหัสบดี ที่ 14 ตุลาคม 2553 เวลา 22:00 น.

12.บทกวีแด่รูปปั้น "นวมทอง ไพรวัลย์" โดย "ไม้หนึ่ง ก.กุนที"เพิ่งอ้าง

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 10/31/2010 06:48:00 หลังเที่ยง Share on Facebook

กวีประชาไท: คิดถึงลุงนวมทอง ไพรวัลย์

Homo erectus

4 ปีแล้ว...ลุง
ดังเข็มมุ่งไม่เปลี่ยนผัน
ปณิธานลุงแสนสามัญ
แต่ยืนยันความยิ่งใหญ่

มนุษย์หนึ่งเกิดมา
จะมีค่าเพียงใด
หากเราเป็นเพียงไพร่
หาได้มีสิทธิ์เสรี

นวมทอง ลุงนวมทอง
ประกาศก้องปฐพี
สละได้แม้นชีวี
ศักดิ์ศรีแลกลมหายใจ

ความตาย คายความงาม
เป็นไฟลามระอุไหม้
จุดวิญญาณประชาธิปไตย
ธำรงไว้ให้เชิดชู

นวมทอง ลุงนวมทอง
ยังเรียกร้องให้เราสู้
เผด็จการจักได้รู้
อย่าหาญสู้คนสามัญ

แม้นเทวาจักได้รู้
อย่าหาญสู้คนสามัญ!

คิดถึงลุงเสมอ
Homo erectus


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน