แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ตะลึงจับ"คนบ้า"ยัดคุกสังเวยคดีการเมือง เรียกค่าประกันตัวโหดผู้ต้องหาคดีเผายางรถยนต์ 1-1.3 ล้าน


จากกรณีที่คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ(คอป.) มีนายคณิต ณ นคร ในฐานะประธานคณะกรรมการ เป็นประธานได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อภาครัฐ ดังนี้ 1.รัฐบาลควรใช้แนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับผู้ถูกคุมขังในเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงเดือนเม ษา-พ.ค.53 และ 2.กรณีผู้ที่ถูกคุมขัง ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาถึงความเดือดร้อนทางด้านจิตใจ นอกจากสภาพทางกายที่ถูกคุมขัง


นายคณิต กล่าวว่า ทางคอป. จะเสนอแนวคิดยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ที่เป็นไปในลักษณะวิชาการเพื่อเสนอต่อ รัฐบาล ที่เกี่ยวกับการทำความเข้าใจในข้อกฎหมายใหม่ โดยเฉพาะการให้ประกันตัว โดยที่รัฐบาลต้องดำเนินการกับผู้ถูกคุมขังเป็นกรณี และเป็นรายๆ ไป เพราะที่ผ่านมา ผู้ที่ถูกกล่าวหามักจะถูกเก็บเอาไว้หมด และหวังว่าการเสนอของคอป.ครั้งนี้ จะได้รับการตอบสนองในทางบวกจากรัฐบาล


สิ่งที่ประธาน คอป.เสนอกับรัฐบาลหากสามารถดำเนินการได้ทันทีคงจะเป็นผลดีไม่น้อยเพราะยังมี ผู้ที่ถูกคุมขังอีกจำนวนมากทื่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือการประกันตัวออก จากคุกซึ่งคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรม ซึ่งภาคประชาชนโดยศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม กรณีเมษายน-พฤษภาคม 2553 (ศปช.) เปิดเผยข้อมูลผู้ที่ถูกคุมขังในเรือนจำโดยที่ยังไม่ได้รับการประกันตัวและ ได้รับการประกันตัว นายศรายุธ ตั้งประเสริฐ คณะทำงาน ศปช. เปิดเผยข้อมูลหลังจากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามดูผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังในเรือน จำ 5 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ มหาสารคาม มุกดาหาร อุดรธานี ขอนแก่น และอุบลราชธานี รวมทั้งทางภาคเหนืออีก 2 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ ว่า เท่าที่ได้ติดตามข้อมูลภาพรวมระดับจังหวัด พบว่า คนที่ถูกจับกุมมีการถูกดำเนินหลายคดีบางคดีสิ้นสุดแล้วแต่บางคดีรุนแรงยัง ไม่สิ้นสุด เช่น คดีการเผา ซึ่งได้ติดตามเป็นทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล


นายศรายุธ กล่าวว่า จากการติดตามครั้งนี้มี ความชัดเจนกรณีที่มีผู้ถูกจับกุมในต่างจังหวัด มีข้อสังเกตที่เห็นได้ชัดเจนว่า ส่วนใหญ่ขาดการช่วยเหลือทางกฎหมาย ผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่เป็นระดับมวลชนไม่ใช่แกนนำ และน่าแปลกมากที่พบว่า ทุกเรือนจำจะมีคนที่สติไม่ปกติ คนเร่ร่อน คนเก็บของเก่า ซึ่งทุกเรือนจำจะมีคนประเภทนี้ถูกจับกุมอยู่ทุกเรือนจำทั้ง 5 แห่งในภาคอีสาน

"ไม่แน่ใจว่าการจับกุมครั้งนี้มีปัญหา หรือไม่ เพราะปัญหาที่ตามมา คือ คนพวกนี้เข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม บางคนแทบไม่ได้เจอทนายเลย บางคนเจอทนายแต่ทนายบอกให้ยอมรับสารภาพ ยกตัวอย่างกรณีเผาสถานที่ราชการต้องรับความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง และมีอีกหลายกรณีที่พบว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น คดีการจุดเผายางรถยนต์บริเวณรอบศาลากลางจังหวัด พบว่า สิทธิ์ในการให้ประกันตัวมีปัญหาเพราะวงเงินที่ให้ประกันตัวสูงมาก ล่าสุดศาลจังหวัดอุบลราชธานีมีความเมตตาปราณีให้ประกันตัว 9 ผู้ต้องหาจังหวัดอุบลฯ ซึ่งโดนข้อหาเผายางรถยนต์บริเวณรอบศาลากลางจังหวัด ศาลเรียกหลักทรัพย์รายละ 1-1.3 ล้านบาท โดยคนที่สามารถระดมหาหลักทรัพย์มาประกันตัวได้ก็ต้องจ่ายเงินค่าดอกเบี้ยจาก หนี้นอกระบบที่ไปกู้มาเพื่อยื่นประกันตัวอีกเดือนละประมาณ7 พันบาท เขามีอาชีพขายผลไม้บรรทุกใส่รถจักรยานยนต์พ่วงข้างตระเวนขายตามต่างจังหวัด คิดว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี) ที่ออกมาแสดงความปราถนาดีมีเมตตาอีกหนึ่งครั้งที่ให้ประกันตัวผู้ต้องขัง 3 คน พร้อมทั้งเรียกเข้าไปพบเป็นภาพข่าวใหญ่โต แต่ภาพปัญหาของคนพวกนี้ที่ได้รับการประกันตัวในต่างจังหวัดแล้วเกิดผลกระทบ ตามมารัฐบาลอภิสิทธิ์ ไม่ได้พูดถึงเลย" นายศรายุธ กล่าว

โดย ศปช. สรุปข้อมูลรายงานสถานการณ์กรณี ตัวอย่างผู้ถูกจับกุมคุมขังที่ จ. มุกดาหาร จ. อุบลราชธานี และ จ. มหาสารคาม (ข้อมูล ณ วันที่ 17 พ.ย. 53) ดังนี้


จังหวัดมุกดาหาร


กระบวนการจับกุมที่ละเมิดสิทธิ มีการทำร้ายร่างกายระหว่างจับกุมและทรมานหลังจับกุม และมีการตั้งข้อหารุนแรงเกินความเป็นจริงผู้ต้องหาจำนวน19 ราย ยังไม่ได้สิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราว แม้ว่าหลายคนมีภาระต้องรับผิดชอบและมีปัญหาสุขภาพ ไม่มีแนวโน้มที่จะหลบหนีหรือจะไปยุ่งกับพยานหลักฐาน


ย้อนเหตุการณ์ในวันที่ถูกจับกุมเมื่อช่วงสายของวันที่19 พ.ค. มีการชุมนุมบริเวณรอบศาลากลาง พอถึงเวลาประมาณ 15.00 น. เกิดเพลิงไหม้ศาลากลาง หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ราว 3 ชั่วโมง คือ ช่วงเวลา 17.00-18.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ-ตชด.-อส. จึงเริ่มเข้าสลายการชุมนุม ผลักดันมวลชนออกนอกพื้นที่ของศาลากลาง โดยมีการใช้กระบองและไม้ตีผู้ชุมนุม แล้วไล่จับคนอย่างชุลมุน ซึ่งมีผู้ถูกจับกุมบริเวณรอบนอกศาลากลางจำนวน 16 ราย (เป็นเยาวชนอายุ 15 ปี 1 ราย) ทั้งนี้ผู้ที่ถูกจับกุมบางรายให้ข้อมูลว่าตนเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ การชุมนุมด้วยซ้ำ เพียงแต่เข้ามายืนดูเหตุการณ์


ค่ำวันเดียวกัน ผู้ที่ถูกควบคุมตัวทั้ง 16 ราย ถูกนำตัวไปขังไว้บนรถคุมขัง ซึ่งจอดไว้บริเวณสนามหน้าศาลากลางเป็นเวลาถึง 3 วัน ตั้งแต่คืนวันที่ 19 พ.ค. ถึงวันที่ 21 พ.ค. โดยมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาควบคุม ก่อนจะนำไปส่งศาลเพื่อขออำนาจศาลในการฝากขังต่อที่เรือนจำประจำจังหวัด ระหว่างการเข้าจับกุม พวกเขาถูกตีด้วยกระบองและไม้ ทั้งยังถูกบังคับให้นอนคว่ำหน้าหรือถูกเหยียบใบหน้าหรือหลังกดลงแนบกับพื้น


ระหว่างถูกควบคุมตัวบนรถเวลาปัสสาวะต้องถ่ายใส่ถุงพลาสติก เวลาถ่ายหนักต้องขออนุญาตทหารออกนอกรถ ทั้งหมดไม่ได้รับการรักษาพยาบาลใดๆ ญาติต้องซื้อยาปฐมพยาบาลส่งผ่านให้ทางลูกกรงรถคุมขัง รวมทั้งต้องยื่นหลอดดูดน้ำให้ดื่มผ่านช่องลูกกรงเช่นกัน


จากนั้นตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. 53 มีผู้ถูกจับกุมเพิ่มเติมอีก 12 ราย รวมทั้งสิ้น 28 ราย ปัจจุบันมีผู้ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำมุกดาหารอีก 19 ราย บางรายเคยขอยื่นประกันตัวแล้ว แต่ศาลไม่อนุญาต โดยให้เหตุผลว่า กระทำผิดข้อหาร้ายแรง (วางเพลิงเผาทรัพย์ ทำลายทรัพย์สินสาธารณะประโยชน์) มีอัตราโทษสูง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่หลักฐานที่เจ้าหน้าที่ใช้กล่าวหาก็เป็นเพียงภาพถ่ายที่ไม่ชัดเจนว่า พวกเขามีส่วนในการเผาศาลากลาง


นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่ยังถูกคุมขังอยู่ส่วนใหญ่มีภาระครอบครัวต้อง รับผิดชอบมีฐานะยากจน จำนวนมากมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งสมควรได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

จังหวัดอุบลราชธานี


พบปัญหาการตั้งหลักทรัพย์ในการประกันตัวสูง


ปัจจุบันเหลือผู้ที่ยังถูกคุมขังอีก21 ราย ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวเนื่องจากข้อหาหนัก (วางเพลิงเผาทรัพย์ และมี 1 ราย ถูกแจ้งข้อหาก่อการร้าย) เกรงว่าจะหลบหนี


แม้ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวบางรายออกมาแล้ว แต่ก็มีปัญหาเรื่องการเรียกหลักทรัพย์จำนวนสูงมาก เช่น กรณีผู้ต้องหา 9 ราย ที่ถูกแจ้งข้อหาบุกรุกสถานที่ราชการและทำลายสถานที่ราชการ (เผายางบริเวณถนนรอบศาลากลาง) ต้องใช้หลักทรัพย์ในการประกันตัวสูงถึง 1-1.3 ล้านบาท


พบว่าผู้ต้องขังที่ใช้หลักทรัพย์ประกันตัว 1.3 ล้านบาทนั้นมีฐานะยากจน ประกอบอาชีพขายผลไม้ โดยขับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างเร่ขาย แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือจากพรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง แต่ก็ไม่พอที่จะประกันตัว จึงต้องจำนองรถยนต์และกู้เงินนอกระบบเพื่อนำไปเช่าหลักทรัพย์ 700,000 บาท ทำให้มีหนี้สินเบื้องต้นขณะนี้อย่างน้อยเดือนละกว่า 7,000 บาท


มหาสารคาม


กรณีตัวอย่างผู้ถูกคุมขังที่เป็นนักศึกษา


พบว่ามีนักศึกษา ปวส. ปี 1 ช่วงที่มีการชุมนุมของ นปช. เขาใช้เวลาช่วงค่ำไปร่วมชุมนุม ฟังการปราศรัยทางการเมืองบริเวณที่ว่าการอำเภอเมือง ในวันที่ 19 พ.ค. 53 ที่มีการชุมนุม เจ้าหน้าที่ไม่ยอมให้เข้าไปชุมนุมในที่ว่าการอำเภอ พอถึงเวลาประมาณ 2-3 ทุ่ม เขาให้ข้อมูลว่า เขาเห็นควันไฟ มีการเผายางรถยนต์บริเวณถนนหน้าที่ว่าการอำเภอ จึงออกไปยืนดูและคอยพยายามห้ามปราม แต่ก็ต้านทานไม่ไหว ถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงกลับไปนอนที่ร้านที่ตนเองทำงานอยู่เพื่อเตรียมตัว ไปเรียน แต่ในวันรุ่งขึ้นโรงเรียนปิด เลยเก็บเสื้อผ้ากลับบ้าน


เมื่อกลับไปถึงบ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบตามไปจับกุมที่บ้าน โดยไม่มีเอกสาร หลักฐาน ในการเข้าจับกุม ที่สำคัญ ตอนแรกตำรวจบอกแค่ว่าจะเรียกไปสอบปากคำเท่านั้น แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจแล้วกลับควบคุมตัวไว้เลย ตนเองไม่คิดว่าจะถูกตั้งข้อหาร้ายแรง พ่อก็กำลังป่วยหนัก ตนเองเป็นลูกชายคนเดียวซึ่งเป็นความหวังของครอบครัว แม่จึงต้องปิดเป็นความลับไม่ให้พ่อรู้


นักศึกษารายนี้ต้องออกจากโรงเรียน เพราะไม่รู้จะได้รับการปล่อยตัววันไหน อาจารย์ที่โรงเรียนสั่งห้ามนักศึกษาในโรงเรียนไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับเขา ถึงแม้ว่าแม่เข้าไปขอร้องอาจารย์ให้ช่วยรับรองความประพฤติให้ แต่ไม่มีใครช่วยเหลือ หากออกจากเรือนจำมาแล้วก็ไม่รู้ว่าจะได้กลับเข้าไปเรียนที่เดิมอีกไหมนี่คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กนักเรียน


นอกจากนี้แม่ได้พยายามยื่นขอประกันตัวเพื่อให้ลูกได้กลับไปเรียน หนังสือโดยยื่นขอประกันตัวไป 2 ครั้งแล้ว แต่ศาลก็ไม่อนุญาตให้ประกันตัว ซึ่งเขาเป็นห่วงพ่อที่ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ซึ่งเดิมเขาเป็นกำลังหลักในการหาเงินเลี้ยงครอบครัว แม่ทำงานเลี้ยงวัว อยู่กับบ้านไม่ได้ประกอบอาชีพที่มีรายได้ประจำเพราะต้องคอยดูแลพ่อที่ช่วย เหลือตัวเองไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน