แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

UNลั่นฆาตกรต้องไม่ลอยนวล จี้ตั้งกก.สอบสวนอิสระ



UNไม่ปล่อยมือให้ลอยนวล
-Navi Pillay หัวหน้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ทางด้านสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติออกมากล่าวเรียกร้องเมื่อวันจันทร์ให้มีคณะกรรมการสอบสวนที่เป็นอิสระเพื่อสืบสวนเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองในประเทศไทย พร้อมย้ำว่าจะต้องมีผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน(AFP)



ที่มา สำนักข่าวAFP และ BBC

หมายเหตุ:BBCเสนอรายงานข่าวการให้สัมภาษณ์ของ Navi Pillay หัวหน้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ(UN) โดยเรียกร้องให้มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทย ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 80 ศพ โดยระบุว่า การกระทำผิดครั้งนี้ต้องมีผู้รับผิดชอบ หากผลการสอบสวนที่เป็นอิสระได้ผลว่าใครก็ตามที่เป็นตัวการละเมิดสิทธิมนุษยชนในครั้งนี้


คู่โหด2ทรราช-สุเทพ เทือกสุบรรณ กับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 2ผู้นำทรราชรัฐบาลระบอบหุ่นเชิดอำมาตย์ ตกเป็นเป้าโจมตีของพรรคฝ่ายค้าน ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเป็นวันแรกเมื่อวานนี้ แต่ก็ใช้แทคติกเอาตัวรอดสารพัด เช่น การที่สุเทพพูดถ่วงเวลายาวเหยียดจนนายจตุพร พรหมพันธ์ ผู้อภิปรายคนสำคัญของฝ่ายค้านถูกกินเวลาไปถึงช่วงดึก และใช้ลูกทีมเป็นองครักษ์นักประท้วงทำให้คนเบื่อหน่าย และปิดกั้นช่อง11ที่ใช้ถ่ายทอดหลายพื้นที่ทั่วประเทศ



UN calls for Thai clashes inquiry

The UN has demanded an independent inquiry into recent unrest in Thailand, when more than 80 people were killed in clashes between security forces and protesters.

UN rights chief Navi Pillay said the guilty must be held accountable.

Opposition MPs have accused Prime Minister Abhisit Vejjajiva of committing violations by ordering the army to crack down on the protesters.

Their nine-week protest paralysed parts of the capital, Bangkok.

Many of the dead were protesters killed when soldiers moved in to dismantle their fortified camp in the city.

The government has repeatedly blamed the violence on "terrorists" it says infiltrated the red-shirt protester ranks, attacking police and soldiers.

'Deep regrets'

The "red-shirt" protesters arrived in Bangkok on 14 March and occupied key parts of the capital, demanding that the government step down.

Attempts to negotiate a political solution failed and on 19 May Thai troops entered the protesters' sprawling camp to end their rally.

Ms Pillay said an inquiry was needed "to foster longer-term political reconciliation".

"I urge the government to ensure that an independent investigation of recent events be conducted, and all those found responsible for human-rights violations are held to account," she said in a speech in Switzerland.

In response, Thailand's UN envoy Sihasak Phuangketkeow said an independent commission was "being set up".

"The Thai government deeply regrets the loss of lives and injuries that occurred, and is committed to bringing those responsible to account," he said.

Meanwhile, Mr Abhisit came under renewed pressure on Monday as the parliament debated a censure motion against him and several ministers.

The opposition Puea Thai Party, broadly seen as supporting the red-shirts, accused the prime minister of using excessive force.

Although the government has a big enough majority to see off any no-confidence motion, analysts say the televised debate has become a focal point in the battle for public opinion.

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า at 6/01/2010 08:34:00 ก่อนเที่ยง

2 ความคิดเห็น:

  1. “การไต่สวนอิสระ”: ข้อเรียกร้องจากข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและคำตอบจากตัวแทนประเทศไทย
    ในตอนหนึ่งของถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 14 ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม นางเนวี พิลเลย์ (Navi Pillay) ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้มีการไต่สวนอิสระเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย เพื่อหาผู้รับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น
    “เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสมานฉันท์ทางการเมืองอย่างยั่งยืน ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้รัฐบาล (ไทย) ให้ความเชื่อมั่นว่าจะจัดให้มีการไต่สวนที่เป็นอิสระเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมา และทุกคนที่กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะต้องรับผิดชอบ” นางพิลเลย์ยังกล่าวอีกว่าแม้รัฐบาลไทยจะได้พยายามหาทางออกให้กับปัญหาและมีอำนาจในการนำบ้านเมืองกลับสู่ระเบียบ “อย่างไรก็ตาม ผู้มีอำนาจจะต้องปฏิบัติกับผู้ถูกควบคุมตัวด้วยกระบวนการที่เป็นธรรมและตามมาตรฐานสากล”
    [img]http://img37.imageshack.us/img37/250/hchrc14thopeninghp.jpg[/img]
    สำนักข่าว AFP และ BBC รายงานว่าข้อเรียกร้องของนางพิลเลย์ประจวบเหมาะกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านกล่าวหานายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะว่าละเมิดสิทธิมนุษยชน ในฐานะเป็นผู้สั่งการให้ใช้กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 88 คน รายงานของ BBC ระบุว่าส่วนใหญ่ของการสูญเสียชีวิตเกิดขึ้นขณะที่ทหารเคลื่อนกำลังเข้าสลายพื้นที่ชุมนุมกลางเมืองกรุงเทพฯ โดยรัฐบาลอ้างหลายครั้งว่าความรุนแรงเกิดจาก “ผู้ก่อการร้าย” ซึ่งแฝงตัวอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุม และลอบทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหาร แน่นอนว่ารัฐบาลย่อมสามารถผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ไปได้ แต่การถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ก็ได้ทำให้เวทีการอภิปรายฯ กลายเป็นพื้นที่สื่อสาร “ความจริง” ของทั้งสองฝ่ายที่ต่างพยายามโน้มน้าวให้ประชาชนเชื่อในเหตุผลของฝ่ายตนให้มากที่สุด
    ในขณะเดียวกัน นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว เอกอัครราชทูตและผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ก็ต้องทำหน้าที่ตอบข้อเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่ฯ และตัวแทนจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรซึ่งได้ตั้งคำถามต่อเหตุการณ์ในเมืองไทย ในฐานะที่ประเทศไทยเพิ่งได้รับเลือกเป็นสมาชิกใหม่ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยได้พยายามเน้นย้ำถึงความอดกลั้นที่รัฐบาลมีต่อการชุมนุม
    “รัฐบาลได้ปล่อยให้การชุมนุมดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 เดือน ทั้งที่การประท้วงนั้นได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศต้องตกอยู่ในภาวะชะงักงัน และนำไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมายและเกิดความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าเสียใจว่ามีกลุ่มติดอาวุธปะปนอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมซึ่งใช้อาวุธร้ายแรงเพื่อก่อความวุ่นวายและความรุนแรง และได้นำไปสู่การปะทะ การสูญเสียชีวิต และผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในแง่นี้เราขอย้ำอีกครั้งว่าการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นทางเลือกสุดท้าย และเป็นไปเพื่อการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรฐานสากลเท่านั้น”
    ต่อข้อเรียกร้องของข้าหลวงใหญ่ฯ นั้น นายสีหศักดิ์กล่าวว่า “รัฐบาลไทยมีความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น และมุ่งมั่นที่จะหาผู้รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโศกนาฏกรรมครั้งนี้….ผมขอย้ำว่ารัฐบาลไทยเปิดกว้างต่อการตรวจสอบและพร้อมที่จะเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายตามขั้นตอนทางกฎหมายของประเทศเรา” นอกจากนี้ นายสีหศักดิ์ยังได้พยายามชี้แจงว่ามีการตรวจสอบโดยองค์กร “อิสระ” อย่างเช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ท้ายที่สุด ตัวแทนจากประเทศไทย ยังไม่ลืมที่จะย้ำว่ารัฐบาลจะเดินหน้าตามแผนปรองดองแห่งชาติ (โรดแมพ) และเชื่อมั่นว่าเสรีภาพในการแสดงออกเป็นพื้นฐานสำคัญของประชาธิปไตย ตราบเท่าที่การแสดงออกนั้นจะไม่นำไปสู่ “การกระทำที่ผิดกฎหมาย”

    ตอบลบ
  2. ผมอยู่กรุงเทพฯรู้ว่าความจริงเป็นยังไง รัฐบาลกับศอช.ปิดสื่อเสนอข่าวด้านเดียวสร้างหลักฐานใส่ร้ายป้ายสีให้คนเสื้อแดง ผมดูและฟังแล้วก็รู้สึกหดหู่ สงสารคนต่างจังหวัดต้องมาบาดเจ็บ ล้มตาย แถมโดนข้อหาฉกรรจ์อีก น่าสงสารจริงๆ สมัยรัฐบาลชุดนี้ความยุติธรรมไม่มีแล้ว

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน