ข่าวสดรายวัน
วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7150
คอลัมน์ แฟ้มคดี
น่าสนใจอย่างยิ่งกับเอกสารของสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต อันเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์พันธมิตรฯ ที่บุกปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
เอกสารเล่มนี้เผยแพร่ในแวดวงการศึกษาและการทำโพลมาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา
ความสนใจประการหนึ่งเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินคดีกับกลุ่ม พันธมิตรฯ ในคดี ก่อการร้ายยึดสนามบินนั้นเนิ่นช้าอย่างผิดปกติ
เพราะตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นห้วงเวลาที่กลุ่มพันธมิตรฯเข้ายึดสนามบินสุวรรณภูมิ และดอนเมือง หลังจากเข้าครอบครองทำเนียบรัฐบาลมานานหลายเดือน
หากแต่รัฐบาล นาย
ทำให้แกนนำตัดสินใจเคลื่อนไหวใหญ่อีกครั้ง ด้วยการยึดสนามบินพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ
ก่อนที่จะเลิกการชุมนุมเมื่อศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคพลังประชาชน และเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้พรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล
และยิ่งทำให้สังคมอึดอัดหาวเรอมากขึ้นเมื่อรัฐบาลนาย
ทุกอย่างจึงเป็นไปตามที่คาด คดีพันธมิตรฯยึดสนามบินอันเข้าข่ายก่อการร้าย จนทุกวันนี้สำนวนยังอยู่ในมือของตำรวจ
อาจจะใช้คำว่าตำรวจหรือพนักงานสอบสวนได้ไม่เต็มปากเต็มคำนัก เพราะจริงๆ แล้วทีมสอบสวนคดีนี้นำโดยพล.ต.ท.
แต่ในวันเดียวกันต้องหอบสำนวนกลับเมื่อมีคำสั่งให้ยกเลิกการขอหมายจับ!??
โดยอ้างว่าต้องการให้สอบสวนเพิ่มเติม
พล.ต.ท.สมยศ ก็ดำเนินการสอบเพิ่มตามสั่ง ก่อนนำเอกสารทั้งหมดส่งให้พล.ต.อ.
ผ่านไปอีกพักใหญ่ พล.ต.อ.ปทีป แทงหนังสือตอบกลับมาว่าให้ส่งสำนวนคดีนี้ให้พล.ต.ท.
โดยระบุว่าต้องการให้ดูสำนวนของผู้ต้องหาแต่ละคนอย่างละเอียด
และจนทุกวันนี้คดียังอยู่ที่สำนักงานกองคดี ซึ่งมีแนวโน้มอย่างสูงว่าจะใช้เวลาอีกนาน
และน่าจะไม่เสร็จก่อนวันที่พล.ต.อ.ปทีป เกษียณอายุราชการในเดือนกันยายนนี้
และอาจจะลากยาวไปอีกพักใหญ่ ซึ่งหากนับเวลาไปแล้วคดีก่อการร้ายของกลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะใช้เวลาในส่วนของตำรวจไม่ต่ำกว่า 2 ปี
|
แม้ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในเมืองหลวงจากเหตุชุมนุมของนปช.หรือเสื้อแดงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม จนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม ที่มีการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
ในการนี้จะเกิดเหตุเผาอาคารสถานที่ทั้งรัฐและเอกชน สร้างภาพลักษณ์ด้านลบให้เมืองไทยอย่างมาก
อาจจะเป็นหนึ่งในข้ออ้างที่ใช้ดำเนินคดีกับนปช.อย่างรวดเร็ว
แต่ถ้ามองอีกมุมพฤติกรรมของพันธมิตรฯ ก็ใช่ว่าจะน้อยกว่า ทั้งความรุนแรง ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและชื่อเสียงของเมืองไทย
จะต่างกันก็เพียงพันธมิตรฯมิได้ถูกทหารแบกปืนออกมาสลายการชุมนุม ความสูญเสียชีวิตจึงน้อยกว่า
ความชัดเจนหนึ่งในแง่การเปรียบเทียบความสูญเสียของเมืองไทยต่อกรณีชุมนุมของพันธมิตรฯ โดยเฉพาะการยึดสนามบิน นอกจากที่เห็นและเป็นอยู่ในช่วงเกิดเหตุ
ซึ่งมีการคำนวณความเสียหายในเบื้องต้นระดับหลายหมื่นล้านบาท และส่งผลต่อเนื่องถึงความมั่นใจของนักท่องเที่ยวและนักลงทุนอีกชนิดประเมินค่าไม่ได้
การยึดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯนั้น แม้แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็ทราบดีว่าสร้างความเสียหายให้ประเทศชาติขนาดไหน เห็นได้จากสนามบินเป็นจุดแรกๆ ที่รัฐบาลสั่งให้ทหารเสริมกำลังป้องกันในช่วงนปช.ชุมนุมกันใหม่ๆ
พร้อมคำสั่งเด็ดขาดว่าต้องป้องกันมิให้เกิดการยึดสนามบินขึ้นอีก
จึงเหมือนการยอมรับอยู่ในทีว่า หากมีม็อบมายึดสนามบินความเสียหายย่อมรุนแรงอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้เองทำให้สวนดุสิตโพล มีโครงการทำวิจัยในหัวข้อ"กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ชุมนุมและบุกรุกบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"
ใช้เวลาการวิจัยระหว่างวันที่ 3-12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,052 คน กระจายไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ และสุ่มตามลักษณะประชากร จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
ไม่ได้สำรวจเฉพาะในกทม.ที่มีการปิดสนามบิน หากแต่เน้นไปยังหัวเมืองใหญ่ๆ แหล่งท่องเที่ยวด้วย
จำแนกเป็นประชาชนทั่วไป 2,359 คน ผู้ประกอบการ/ร้านค้า 550 คน และผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิ 143 คน
เพื่อดูผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และจิตใจ โดยสำรวจทรรศนะของคนไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและนำข้อมูลที่รวบรวมได้ ไปใช้ในการพิจารณาให้เกิดความเป็นธรรมบนพื้นฐานของสภาพความจริง
จากรายงานสรุปของสวนดุสิตโพลเรียงลำดับจากร้อยละมากที่สุด 3 อันดับแรก พบว่า
การปิดล้อมสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ เข้าข่ายการก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองมากที่สุด 80.68 เปอร์เซ็นต์
อันดับสองคือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบขนส่งสาธารณะ ระบบโทรคมนาคม 79.16 เปอร์เซ็นต์
อันดับสามคือ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของราชการ สิ่งแวดล้อม 77.85 เปอร์เซ็นต์
ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นจากการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และสภาวะจิตใจของประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติ พบว่า
ด้านเศรษฐกิจได้รับผลกระทบมากที่สุด
อันดับสองคือ การเมือง
อันดับสามคือ สังคม
อันดับสี่คือ สภาวะจิตใจของประชาชนคนไทย
อันดับห้าคือ สภาวะจิตใจของชาวต่างชาติที่มาเมืองไทย และ
อันดับสุดท้ายคือ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมจากการปิดล้อมสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ ต่อการเมือง 5 อันดับแรก คือ
1.ก่อให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคี มีการโจมตีกันระหว่าง 2 ขั้วที่รุนแรงยิ่งขึ้น
2.ทำให้ภาพลักษณ์ทางการเมืองไทยแย่ลง ขาดความมั่นคงทางการเมือง ประชาชนเชื่อมั่นรัฐบาลลดลง
3.สามารถกดดันนักการเมือง/ผู้บริหารบ้านเมืองให้ออกไปได้
4.การบริหารงานของรัฐบาลเป็นไปอย่างยากลำบาก รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศ และ
5.ทำให้ประชาชนสนใจและตื่นตัวทางการเมือง รู้ข้อมูลมากขึ้น นักการเมืองต้องฟังเสียงประชาชน
ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมด้านเศรษฐกิจ 5 อันดับแรกคือ
1.เศรษฐกิจในประเทศหยุดชะงัก หุ้นตก ผู้ประกอบการขาดทุน ต่างชาติถอนหุ้นคืน
2.สูญเสียความน่าเชื่อถือทางการค้าทำให้การค้าระหว่างประเทศมีปัญหาเนื่องจากต่างชาติขาดความเชื่อมั่น
3.การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ เสียหายมาก
4.การขนส่งทางอากาศต้องหยุดชะงัก เสียหาย การเดินทางเข้า-ออกของผู้โดยสารได้รับผลกระทบ ติดค้างจำนวนมาก และ
5.ทำให้ร้านค้า ร้านอาหารภายในสนามบินต้องปิดกิจการลงชั่วคราว
ผลกระทบที่เป็นรูปธรรมด้านสังคม 5 อันดับแรกคือ
1.ต่างชาติไม่มั่นใจ ขาดความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย
2.ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านการลงทุนลดลง
3.ต่างชาติมองประเทศไทยไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.ภาพลักษณ์ทางการเมืองไทยตกต่ำ ประเทศไทยไม่มีความเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลไทยไม่น่าเชื่อถือ และ
5.ระบบขนส่งทางคมนาคมขาดความน่าเชื่อถือ ชาวต่างชาติตกค้างที่สนามบิน
ผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ที่ส่งผลต่อสภาวะจิตใจของประชาชนคนไทย 5 อันดับแรก คือ
1.รู้สึกวิตกกังวล หวาดกลัวต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2.รู้สึกว่าคนไทยไม่มีความรัก ความสามัคคีต่อกัน เอาแต่ทะเลาะ เกลียดชัง แบ่งฝักแบ่งฝ่าย
3.รู้สึกเบื่อหน่ายการเมืองไทยที่มีแต่การทะเลาะเบาะแว้งกัน
4.รู้สึกไม่เห็นด้วยกับการเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะการเรียกร้องควรอยู่ในขอบเขตของประชาธิปไตย ไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย
5.รู้สึกไม่มั่นใจต่อการบริหารประเทศในภาวะวิกฤตว่าจะอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่
ผลกระทบที่ประชาชนได้รับที่เป็นรูปธรรมคือ
1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ
2.คนไทยต้องมาทำร้ายกันเองเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางคนจนก่อให้เกิดความร้าวฉาน และประชาชนเกิดความตึงเครียดอึดอัดในหลายๆ ด้าน เช่น ไม่สามารถใส่เสื้อสีเหลือง สีแดงได้
ในขณะที่ผู้ประกอบการ/ร้านค้า เห็นว่า
1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ
2.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ดี ต่างชาติมองประเทศไทยในแง่ลบมากขึ้น และ
3.คนไทยต้องมาทำร้ายกันเองเพราะความเห็นแก่ตัวของคนบางคนจนก่อให้เกิดความร้าวฉาน
ส่วนผู้โดยสารสนามบิน เห็นว่า
1.ธุรกิจเสียหาย การท่องเที่ยวซบเซา นักท่องเที่ยวลดลง การค้าขายไม่ดี ขาดทุน ต้องปิดกิจการ
2.ระบบขนส่ง คมนาคมต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ประชาชนไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง และ
ในงานวิจัยชิ้นนี้ยังรวบรวมข้อคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม แนบท้ายให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า ผลจากการปิดสนามบินของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นสร้างแรงสั่นสะเทือน และความเสียหายใหญ่โตขนาดไหน
แม้นาทีนี้ผู้ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินบางส่วนได้รับการเยียวยา และพลิกฟื้นขึ้นมาได้ในระดับหนึ่ง
ไม่ต่างจากผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมของนปช. ที่ได้รับการเยียวยาอย่างดีจากภาครัฐเช่นกัน
แต่สิ่งที่ยังแตกต่างกันมากก็คือ แกนนำนปช.ส่วนใหญ่ย้ายบ้านเข้าไปนอนในเรือนจำ พร้อมข้อหาผู้ก่อการร้าย
แต่แกนนำพันธมิตรฯ ที่มีข้อหาผู้ก่อการร้ายเหมือนกัน ยังอยู่ปกติสุข กินอาหารดี ฟังดนตรีไพเราะเหมือนเดิม!??
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น