แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รำลึกว่าไทยก็(เคย)มีวันชาติ..ประวัติศาสตร์ที่อำมาตย์อยากให้คนรุ่นเราลืม

24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบ อารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี (คลิ้ก ฟังเพลงฉบับเต็ม)



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
23
มิถุนายน 2553


ฝ่าย ประชาธิปไตยจัดกิจกรรมรำลึก 24 มิถุนายน 2475 วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง และวันชาติของไทยในอดีตขึ้นหลายจุด โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ที่เชียงใหม่ มีกิจกรรมอภิปราย(ดูตามรูปประชาสัมพันธ์)

ขณะที่มหาวิทยาลัย อุบลราชธานีมีการจัดกิจกรรมเสวนาในโอกาสครบรอบ 78 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากนั้นมีการออกแถลงการณ์ชาวอุบลราชธานีขอให้ยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน(อ่าน รายละเอียดที่นี่)

ส่วนเวลาราวเที่ยงคืนไปถึงค่อนรุ่งวันนี้ กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตยนัดหมายประชาชนไทยจุดเทียนรำลึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลง การปกครอง โดยนัดพบกันตั้งแต่23.00เสร็จพิธี01.00วันที่24มิถุนายน

ส่วน วันที่ 24 มิถุนายน 2553 มีกิจกรรมอย่างน้อย 3 แห่ง

แห่งแรก เครือข่ายนักพัฒนาเอกชน และนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย และองค์กรแนวร่วม จัดกิจกรรมรำลึก 78 ปี 24 มิถุนายน 2475 วันก่อกำเนิดประชาธิปไตย ณ หมุดคณะราษฎร ลานพระบรมรูปทรงม้า เวลา 05.00-07.00 น. ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ บทกวี วางดอกไม้ พวงมาลัย

แห่ง ที่สองที่รามคำแหง เวลา 13.00-16.00ห้อง 2411 ชั้น 4 ตึกคณะมนุษยศาสตร์ (อาคาร 2) มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดโดย คณมนุษยศาสตร์ มหาวิทยลัยรามคำแหง ร่วมกับ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

ขอเชิญร่วมฟัง งานเสวนา เรื่อง "ปัญหาการเมืองไทยในรอบศตวรรษ"

วิทยากร โดย

ดร.พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.บัน ฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อ.ณฐิญาณ์ งามขำ คณะมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
คุณสังวาลย์ บุญส่ง ตัวแทนชุมชนชาวบ่อนไก่
และนายอนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ไทย

ดำเนินรายการโดย อ.จีรพล เกตุจุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกิจกรรม

อีกที่จัดที่ เชียงใหม่ โครงการเสวนาทางวิชาการ “70 ปีประเทศไทย: ประชาชน ประชาชาติ กับประชาธิปไตยจัดโดยภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัน พฤหัสบดี 24 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์

8.30 – 8.45 น. ลงทะเบียน
8.45 – 9.00 น. คณบดีคณะสังคมศาสตร์กล่าวเปิดงานเสวนา
9.00 – 9.30 น. ปาฐกถานำเรื่อง: สังคมศาสตร์กับความขัดแย้งในสังคมไทย
โดย ศ.ดร. อานันท์ กาญจนพันธุ์
9.30 – 9.45 น. พักรับชา กาแฟ อาหารว่าง
9.45 - 12.00 น. อภิปราย หัวข้อ จากสยามเป็นไทย: ประชาธิปไตยไปถึงไหนแล้ว?”
โดย ศ.ดร. ยศ สันตสมบัติ, ผศ.ดร. ไชยันต์ รัชกูล, รศ.ดร. ธเนศ
เจริญเมือง, และ รศ.ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ
ดำเนินรายการโดย รศ.ดร. วัฒนา สุกัณศีล

พักรับประทานอาหารกลาง วัน ตามสะดวก

13.00 – 14.45 น. อภิปรายหัวข้อปรองดองแห่งชาติ เยียวยาความเป็นไทย?”
โดย รศ.ดร. อรรถจักร สัตยานุรักษ์, อ.สุชาติ เศรษฐมาลินี,
อ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
ดำเนินรายการโดย อ.ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

14.45 – 15.00 น. พักรับชา กาแฟ อาหารว่าง

15.00 – 16.00 น. สรุปและเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
นำอภิปรายโดย อ.ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ

พิธีกร เวทีตลอดวัน อ.ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว

รำลึก อดีตวันชาติไทย24มิถุนาฯ

วันชาติ คือวันที่กำหนดเป็นวาระเฉลิมฉลองความเป็นชาติของประเทศนั้นๆ โดยมากมักจะถือเป็นวันหยุดประจำชาติด้วย วันชาตินั้นมักจะเป็นวันก่อตั้งรัฐ หรือดินแดน หรือเป็นวันสถาปนาประเทศ หรือวันที่มีเอกราชในรัฐ (หรือได้รับเอกราชคืนจากผู้ยึดครอง) นอกจากนี้ยังอาจใช้วันที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ หรือศาสนา เป็นวันชาติก็ได้

ความสำคัญของวันชาติในแต่ละประเทศนั้นย่อมแตกต่าง กันไป บ้างก็เห็นว่ามีความสำคัญมาก บ้างก็ไม่เน้นความสำคัญมากนัก เช่น ในประเทศฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา จะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ขณะที่ประเทศอังกฤษไม่สู้จะฉลองอย่างเอิกเกริกมากนัก นอกจากนี้วันชาติในบางประเทศอาจเปลี่ยนได้ตามเหตุการณ์สำคัญ

วัน ชาติของไทย

วันชาติของประเทศไทย เดิมคือวันที่ 24 มิถุนายน อันเป็นวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของไทยจากระบอบราชาธิปไตยมา เป็นประชาธิปไตย เมื่อ พ.ศ. 2475 ทั้งนี้ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ในรัฐบาล พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา วันที่ 24 มิถุนายน จึงเป็นวันชาติของไทยนับแต่นั้นมา

อย่างไรก็ตาม วันที่ 24 มิถุนายน เป็น วันชาติของไทยอยู่ได้นานเพียง 21 ปี ครั้น วันที่ 21 พฤษภาคม 2503 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ก็ได้มี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นใหม่อีกฉบับหนึ่ง เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย โดยให้เหตุผลว่า

ด้วย คณะรัฐมนตรีได้ พิจารณาเห็นว่า ตามที่ได้กำหนดให้มีการเฉลิมฉลองวันชาติไทยในวันที่ 24 มิถุนายน นั้น ได้ปรากฏในภายหลังว่า มีข้อที่ไม่เหมาะสมหลายประการ ในด้านประชาชนและหนังสือพิมพ์ก็ได้เสนอแนะให้พิจารณาในเรื่องนี้หลายครั้ง หลายคราว คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยมีพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

คณะกรรมการนี้ได้พิจารณาแล้ว เสนอความเห็นว่า ประเทศต่างๆได้เลือกถือวันใดวันหนึ่งที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับชนในชาติ ต่างๆกัน โดยถือเอาวันประกาศเอกราช วันอิสรภาพ วันตั้งถิ่นฐาน วันสาธารณรัฐ วันสถาปนาพระราชวงศ์บ้าง ซึ่งไม่เหมือนกัน แต่ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ โดยทั่วไปนั้น ได้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติ เช่น ประเทศอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สวีเดน ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นต้น

แม้ ประเทศไทยเราเองก็ได้ถือเอาวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิม ฉลองของชาติไทยมาแล้ว เพิ่งจะมากำหนดเอาวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันชาติ เพิ่มขึ้นอีกวันหนึ่งในระยะหลังนี้เองคณะกรรมการจึงมีความเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามขนบประเพณีของประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และเป็นหลักการสมัครสมานสามัคคีรวมจิตใจของบุคคลในชาติโดยทั่วกัน จึงสมควรจะถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ต่อไป โดยยกเลิกวันชาติ ในวันที่ 24 มิถุนายนเสีย


โดยปัจจุบัน วันชาติของไทยมีนัยแห่งการเฉลิมฉลองไปในทางเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ มากกว่าการแสดงออกในทางการเมืองถึงสถาบันชาติ

เพลง วันชาติ 24 มิถุนา

24 มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบอารยะประชาธิปไตย
ทั่วราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
สำราญ สำเริง รื่นเริง เต็มที่
เพราะชาติเรามีเอกราช สมบูรณ์
ไทยจะคงเป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย

ชาติประเทศเหมือน ชีวา ราษฎร์ประชาเหมือนร่างกาย
ถ้าแม้ว่าชีวิตมลายร่างกายก็เป็นปฏิกูล
พวก เราต้องร่วมรักพิทักษ์ไทยไพบูลย์
อีกรัฐธรรมนูญคู่ประเทศไทย
เสียกาย เสียชนม์ยอมทนเสียได้
เสียชาติประเทศไทยอย่ายอมให้เสียเลย
ไทยจะคง เป็นไทย ด้วยร่วมใจเทิดไทย ชโย


ผู้แต่ง : ครูมนตรี (บุญธรรม) ตราโมท



ท่านสามารถดาวน์โหลดฟังเพลงวันชาติ 24มิถุนาได้ที่ นี่


แถลงการณ์ ชาวอุบลราชธานีขอให้ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
23 มิถุนายน 2553

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2553 เวลา 13.00-16.00 น. ที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้มีการเสวนาทางวิชาการเนื่องในโอกาส 78 ปี ของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ภายหลังการเสวนาได้มีการออกแถลงการณ์ให้มีการยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่ จ.อุบลราชธานี ดังข้อความในแถลงการณ์ต่อไปนี้

แถลงการณ์ชาวอุบลราชธานีขอให้ยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน

ตามที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการแผ่นดินในภาวะฉุกเฉินมาระยะหนึ่งแล้วนั้น โดยที่จังหวัดอุบลราชธานี ได้ตกอยู่ใต้ภายใต้การบริหารของ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าวจวบจนบัดนี้ พวกเราชาวจังหวัดอุบลราชธานีหลากหลายสาขาอาชีพดังมีรายชื่อแนบท้ายนี้ ขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินที่จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยเหตุผลสำคัญดังนี้

ประการแรก ขณะนี้สถานการณ์ที่จังหวัดอุบลราชธานีอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนทำมาหากินและประกอบกิจกรรมอื่นๆตามที่เคยเป็นมา และในเดือนกรกฎาคมนี้จะมีงานเทศกาลฉลองเทียนพรรษา ซึ่งเป็นงานพิธีของชาวพุทธ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญประจำปีของจังหวัด ส่วนในด้านของการก่อเหตุร้ายก็ไม่มีปรากฏ และถ้าหากจะมี ทางราชการก็สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายในภาวะปกติจัดการได้อยู่แล้ว

ประการ ที่สอง การใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้รัฐบาลจะอ้างว่าไม่กระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติ แต่โดยแท้จริงแล้ว พ.ร.ก. กลับมีผลต่อการรับรู้และแสดงออกทางความคิดและกิจกรรมต่างๆอย่างยิ่ง อาทิมีการปิดกั้นเวปไซต์อย่างเหมารวม การปิดสถานีวิทยุ การติดตามตรวจสอบการส่งข่าวสารของประชาชน การห้ามพบปะกันเกินกว่า 10 คน ทั้งที่กิจกรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเมืองแต่อย่างใดทั้ง สิ้น จึงสร้างความอึดอัดคับข้องใจกับประชาชนอย่างมาก หรือแม้กระทั่งหากมีการรวมตัวกันแสดงความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับรัฐบาล ก็สมควรเป็นสิ่งที่ทำได้ตามปกติในระบอบประชาธิปไตย หากมีสิ่งใดเกินเลยกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐบาลก็ยังสามารถใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเข้ามายับยั้งได้

ประการที่ สาม ภายใต้ พ.ร.บ. ฉุกเฉิน ทำให้เจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจอย่างไม่มีขอบเขต จึงปรากฏว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งที่รัฐบาลต้องสงสัยว่ามีความคิดเห็นที่ไม่ สอดคล้องกับรัฐบาล ถูกสอดส่องติดตาม มีความหวั่นเกรงว่าจะถูกกลั่นแกล้งด้วยการออกหมายจับ และเมื่อถูกหมายจับก็ไม่สามารถจะฟ้องร้องหรือชี้แจงได้ตามกระบวนการยุติธรรม ซึ่งข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งถูกคุมตัวในเรือนจำในเวลานี้ ทั้งที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดทางการเมืองที่ผ่านมา หรืออาจมีส่วนร่วมในบางกิจกรรม แต่กลับถูกตั้งข้อหาที่เกินไปกว่าความจริง พวกเราไม่ปฏิเสธที่จะให้มีการเอาผิดตามกฎหมายกับบุคคลไม่ว่าฝ่ายใด แต่ขอเรียกร้องให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมตามกระบวนการกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน

ประการสุดท้าย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นการละเมิดหลักการประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง การใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินมีค่าไม่ต่างกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญ เท่ากับบ้านเมืองไม่ได้ปกครองด้วยกฎหมาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ยังเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ทั้งหมดนี้ไม่เพียงทำให้รัฐบาลเสื่อมเสียชื่อเสียง แต่ยังทำให้ชาติไทยโดยรวมเสื่อมเสียเกียรติ์คุณอย่างร้ายแรงในสายตาชาวโลก อีกทั้งในขณะที่รัฐบาลต้องการดำเนินการปรองดองและปฏิรูปประเทศไทย การคง พ.ร.บ. ฉุกเฉิน เป็นอุปสรรค์ต่อเจตนารมณ์ดังกล่าว เพราะ มันได้แต่ทำให้เกิดการอึดอัดคับข้องไปจนถึงแค้นเคืองใจ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่เอื้อให้สังคมไทยสร้างสรรค์สิ่งที่ดีร่วมกันในขั้น ต่อไปได้เลย

ด้วยเหตุดังกล่าวพวกเราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก การใช้ พระราชกำหนดการบริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน ที่จังหวัดอุบลราชธานีโดยเร็วที่สุด.

ชื่อ สกุล สังกัดหรืออาชีพ

  1. ผศ.พฤกษ์ เถาถวิล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  2. ผศ.กิติพร โชประการ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  3. นาย วิเชียร อันประเสริฐ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  4. นาง เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  5. นายธีรพล อันมัย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  6. ดร.ชมพูนุช ธารีเธียร อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  7. นางสาวดวงดาว พันธ์นิกุล อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  8. นายแพทย์ กิติภูมิ จุฑาสมิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
  9. นายวีร พจน์ ธีรชาญวิทย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  10. น.ส.อุไรวรรณ ดาวัลย์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  11. นายยุทธนา ดาศรี นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  12. น.ส. วินนา หอมโทน นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  13. น.ส.ปิรัญญา ยังกองแก้ว ประชาชน
  14. นาย พล บู่แก้ว ประชาชน
  15. นายเชษฐา ทองคำ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  16. นายธนานวัฒน์ คำเกิ่ง นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  17. น.ส.ฉัตรสุดา หาญบาง นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  18. น.ส. ลลิตา มานะสาร นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  19. นายธนวัต ศรีลาชัย นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  20. นายสุธาวุฒิ เรืองเดช นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  21. น.ส. ชลธิชา ศรีโยหะ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  22. น.ส.อุไรวรรณ ผาธรรม นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  23. น.ส.ผกาวรรณ นามโครต นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  24. น.ส.รัชฎาภรณ์ พลเขต นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  25. น.ส.ยุพารัตน์ กึงก้อง นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  26. น.ส.บุญลักษณ์ ดัชนี นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  27. น.ส.วิกานดา อินทรสมหวัง นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  28. น.ส.ประภาพันธ์ โพรัง นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  29. ดร.ปภัสสร เธียรปัญญา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  30. น.ส. ปุญญิกา บัวงาม ประชาชน
  31. นาย มนต์ชัย สุพล นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  32. นายมนัส ทองชื่น นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  33. นายศุภกร บุญขาว นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  34. น.ส.ประภาพร ชัยพรม นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  35. น.ส.สุพัตรา แสนคำยอ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  36. น.ส. ชฎาภรณ์ สานันต์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  37. น.ส. เมธิวรรณ ชินวัง ประชาชน
  38. นาย ธนศักดิ์ โพธิ์คุณศรี ประชาชน
  39. นายเกรียงไกร ศรีธรรม นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  40. นายเอกรัฐ ทาตาสุข นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  41. นายอนุวัฒน์ เจริญศรี นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  42. นายกฤตย์กอตติพงศ์ กิติพิเชฐสรรค์ สื่อมวลชน
  43. นายวีระ ทนงค์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  44. นาย คมสันต์ บุญญานุเคราะห์ นักศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  45. นางสาว วรรณวิมล บัวงาม ครูโรงเรียนลือคำหาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน