สาละวินโพสท์: ทั่วโลกจัดงานวันเกิดให้ซูจี
Mon, 2010-06-21 21:07
สาละวินโพสท์, 21 มิ.ย. 2553
ชาวพม่าและผู้สนับสนุนอองซาน ซูจีในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยร่วมจัดงานฉลองวัดเกิดให้กับออง ซาน ซูจี ด้าน ปธน. โอบาม่าเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าปล่อยตัวออง ซาน ซูจีกับนักโทษการเมืองคนอื่น ๆ และยกย่องนางซูจีที่อุทิศตนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและเคลื่อนไหวเพื่อ ประชาธิปไตยในพม่าอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา ชาวพม่าและทั่วโลกได้ร่วมฉลองวันเกิดครบรอบ 65 ปี ให้กับนาง
ขณะที่ในภาคมัณฑะเลย์ รัฐอาระกัน และในพื้นที่อื่นๆ ของพม่าก็ได้มีการจัดงานวันเกิดให้กับนางซูจีด้วยเช่นกัน ด้านนายหน่ายวิน โฆษกพรรคเอ็นแอลดีได้ออกมาเปิดเผยว่า ในปีนี้มีประชาชนเข้าร่วมงานมากกว่าปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าการเลือกตั้งจัดฉากของรัฐบาลจะยังดำเนินต่อไป แต่ประชาชนก็ยังคงนิยมในตัวนางซูจีอย่างท่วมท้น
อย่างไรก็ตาม นายหน่ายวินกล่าวว่า “สำหรับนางซูจี โดยเฉพาะในวันคล้ายวันเกิดในปีนี้ดูเหมือนจะยิ่งเงียบเหงามากกว่าเมื่อปีที่ แล้ว เนื่องจากในวันเกิดเมื่อปีที่แล้ว นางซูจี ซึ่งอยู่ในระหว่างถูกกุมขังที่เรือนจำอินเส่ง ในข้อหาละเมิดกฎกักบริเวณ หลังปล่อยให้ชายอเมริกันว่ายน้ำเข้าในบ้านพัก ยังสามารถทำอาหารเลี้ยงนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ในเรือนจำอินเส่งได้ แต่ในปีนี้ซูจีอาจต้องฉลองวันเกิดเพียงลำพังภายในบ้านพักกรุงย่างกุ้ง” อย่างไรก็ตาม สมาชิกพรรคเอ็นแอลดีได้ส่งเค้กวันเกิดไปให้นางซูจีแล้วในวันเกิดของเธอที่ ผ่านมา
ขณะที่ชาวพม่าและผู้สนับสนุนนางอองซาน ซูจีในหลายประเทศอย่างในไทย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ รวมถึงในประเทศอื่นๆได้ร่วมจัดงานฉลองวันเกิดให้กับนางซูจีด้วยเช่นกัน ด้านนายบารัค โอบามาประธานาธิบดีสหรัฐฯได้กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลพม่าเร่งปล่อยตัวนาง
ขณะที่หลายองค์กรเอ็นจีโอในจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมกันจัดงาน วันเกิดให้กับนาง
ภายในงานนอกจากมีการแสดงภาพถ่ายเกี่ยวกับนางซูจีแล้ว ยังมีการเสวนาเรื่องทิศทางของการเมืองพม่าและการเลือกตั้ง รวมไปถึงการเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกประเทศและบทบาทของผู้หญิงต่อร่างรัฐ ธรรมนูญของรัฐบาลทหารเป็นต้น นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงวัฒนธรรมจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์จาก ชาวกะเหรี่ยง ไทยใหญ่และคะฉิ่น รวมถึงการแสดงดนตรีจากกลุ่มนักศึกษาชาวพม่าเป็นต้น โดยมีประชาชนที่ให้การสนับสนุนนางซูจีเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
เช่นเดียวกับในวันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ห้องสมุดเพื่อนพม่า (The Best Friend Library) ได้จัดงานชื่อ “Arrest Yourself” ภายในงานมีการฉายสารคดีเกี่ยวกับประวัติและการต่อสู้ของนาง
นอกจากนี้ Debbie Stothard จากองค์กร Altsean-Burma ได้เข้าร่วมบรรยายหัวข้อเรื่องการเลือกตั้งพม่า รวมถึงรัฐธรรมนูญปี 2008 (2551) โดย Debbie กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2551และการเลือกตั้งที่รัฐบาลเตรียมจัดขึ้นไม่ได้แก้ปัญหาในพม่า แต่จะยิ่งทำให้วิกฤติปัญหาในพม่าลุกลามมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่มีความชอบธรรม และรัฐธรรมนูญที่ทหารเป็นผู้ร่างขึ้นนี้ ยิ่งจะรับรองให้รัฐบาลทหารอยู่ในอำนาจชอบธรรมตามกฎหมายมากขึ้นเท่านั้น
ในงานยังมีการถกกันถึงหัวข้อ “เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อการเดินทางไปเที่ยวในพม่า” นอกจากนี้ยังมีการเชิญเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิแมพ มาพูดเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติจากพม่า ซึ่งงานนี้ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติที่สนใจเกี่ยวกับประเด็นพม่าเป็น อย่างดี
ถ้อยแถลง กรพ. ในโอกาสครบรอบวันเกิด 65 ปี "ออง ซาน ซูจี"
Mon, 2010-06-21 23:00
"คณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตย ในพม่า" เผยแพร่ถ้อยแถลงเนื่องในวันเกิดปีที่ 65 ของนางออง ซาน ซูจี ชี้การแสดงความเห็นทางการเมืองของผู้หญิงพม่ายังถูกปิดกั้น มีการลิดรอนสิทธิของคนในประเทศ และขอรำลึกถึงผู้หญิงที่ต้องสูญเสียชีวิตจากการต่อสู้ทางการเมืองกับรัฐบาล เผด็จการตลอดสี่ทศวรรษที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางการ เมืองของพม่า ออกถ้อยแถลงในโอกาสครบรอบวันเกิด 65 ปีของนาง
000
คณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.)
Thai Action Committe for Democracy in
ถ้อยแถลงเนื่องในโอกาส
ครบรอบวันเกิดครบรอบ 65 ปี ของนาง
17 มิถุนายน 2553
วันที่ 19 มิถุนายน 2553 นี้จะเป็นวันที่นาง
กิจกรรมทางการเมืองต่างๆ ที่เธอเข้ามามีส่วนร่วมตลอดชีวิตที่ผ่านมามี่ส่วนสำคัญที่ทำให้เธอต้องตก อยู่ภายใต้ภาวะการถูกจองจำ เธอถูกตัดสินจำคุกครั้งแรกเป็นเวลา 6 ปี ระหว่างปี 2532 ถึงปี 2538 ในช่วงเวลาที่เธอก่อตั้งพรรค NLD และเดินทางไปปราศรัยในประเทศพม่าเพื่อกระตุ้นให้มหาชนลุกขึ้นเพื่อปกป้อง สิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองหลังจากเกิดการเดินขบวนประท้วงโดยประชาชนครั้งใหญ่ ในเหตุการณ์วันที่ 8 สิงหาคม 1988 (หรือที่ประชาคมโลกเรียกว่า เหตุการณ์ 8-8-88) ภายหลังเผด็จการทหารได้แก้ไขกฎหมายให้ขยายเวลาการควบคุมตัวเธอโดยไม่ต้องมี การไต่สวนในระหว่างเวลานั้น
ครั้งที่สองเมื่อเธอเดินทางไปพบตัวแทนพรรคและสมาชิกพรรค NLD และเคลื่อนไหวทางการเมืองนอกเมืองร่างกุ้งท้าทายอำนาจรัฐ เธอถูกจำกัดบริเวณเป็นเวลา 19 เดือนระหว่างปี 2543-2545
เหตุการณ์สุดท้ายที่ทำให้เธอถูกจองจำจนถึงบัดนี้ คือตอนปี 2546 ที่ขบวนรถและผู้สนับสนุนของเธอถูกรุมทำร้ายโดยกลุ่มมวลชนจัดตั้งของรัฐบาล ทหาร การจับกุมคุมขังครั้งนี้ รัฐบาลเผด็จการอ้างว่าเพื่อความปลอดภัยของตัวเธอเองที่มีผลต่อความมั่นคงของ รัฐจึงต้องถูกกักกันตัวในคุกอินเส่งก่อนถูกส่งไปกักบริเวณภายในบ้านพักของ เธอเอง ที่แย่ไปกว่านั้นคือสองสัปดาห์ก่อนครบกำหนดการปล่อยตัวในเดือน พฤษภาคม 2552 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลทหารพม่าอ้างเหตุการณ์ที่มีชาวอเมริกันลักลอบว่ายน้ำข้ามทะเลสาปมายัง ที่พักของเธอ โดยศาลพิจารณาลงโทษให้มีการกักกันนาง
ตลอดเวลาที่เธอถูกคุมขังแม้ซูจีจะไม่สามารถออกมาร่วมเคลื่อนไหวกับผู้นำ ทางการเมืองคนอื่นๆ ได้ แต่พวกเรามักได้ยินถ้อยแถลงของเธอผ่านทางสื่อต่างๆ ที่มักกระตุ้นให้คนภายนอกประเทศสนใจและพยายามเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นใน พม่า
“ดิฉันมิได้เป็นนักโทษการเมืองสตรีเพียงคน เดียวในประเทศพม่า ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังคงมีสตรี จำนวนมาก ที่ถูกจำขัง เนื่องจากความเชื่อทางการเมืองของพวกเธอ สตรีบางท่านมีลูกเล็ก ซึ่งต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อ ผู้ซึ่งมัวแต่ห่วงกังวล กับภรรยาของตัวเอง และไม่คุ้นเคย กับการทำงานบ้านเอาเสียเลย เด็กส่วนมากยกเว้นผู้ที่ยังไม่โตพอจะรู้ความ มักจะเป็นทุกข์ กับความกดดันในระดับต่างๆ กัน”
คำพูดนี้น่าจะสะท้อนเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ ทางการเมืองพม่าในปัจจุบันได้ดีที่สุด โดยถอดมาจากตอนที่ซูจีให้สัมภาษณ์ Michele Manceaux นิตยสาร Marie Claire-Singapore Edition เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2539
ซึ่งนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึงภาพของการต่อสู้ทางการเมืองของนาง
ในขณะที่รัฐบาลทหารมีความตั้งใจที่จะนำพาประเทศไปสู่ระบอบประชาธิปไตยภาย ใต้แผนแม่แบบที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตย หรือ Roadmap to Democracy โดยร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ทำประชามติรัฐธรรมนูญ และกำหนดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 10 เดือน 10 ปี 2010 (10 ตุลาคม 2553) แต่ในอีกด้านหนึ่ง เสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนและการมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของ ประชาธิปไตยกลับถูกลิดรอนไป ปัจจุบันองค์กรช่วยเหลือนักโทษทางการเมืองในพม่า หรือ AAPPB ระบุว่าในประเทศพม่ามีนักโทษทางการเมือง จำนวน 2157 คน โดยในจำนวนนั้นเป็นผู้หญิงกว่า 177 คน [1] หนึ่งในนั้น คือ อองซาน ซู จี ซึ่งพวกเธอต่างถูกจับกุมเพราะความเห็นต่างทางการเมือง
นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญพม่ายังเต็มไปด้วยช่องโหว่ โดยไม่ได้คำนึงถึงความเท่าเทียมกันของหญิง-ชาย ตัดสิทธิผู้หญิงจากการเข้ารับตำแหน่งสำคัญๆ โดยจัดสรรเพียงบางตำแหน่งไว้สำหรับผู้หญิงที่มีประสบการณ์ด้านทหารเท่านั้น และสำหรับบางตำแหน่งก็มีการระบุคุณสมบัติว่า “เหมาะกับผู้ชายเท่านั้น” [2] รัฐธรรมนูญยังมีประสิทธิภาพในการขัดขวางไม่ให้นาง
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.) ในฐานะองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพม่า มีความเป็นห่วงในสถานการณ์ทางการเมืองพม่าที่นอกจากจะไม่ก้าวไปสู่ระบอบ ประชาธิปไตยที่มาจากประชาชนโดยแท้จริงแล้ว ยังมีการลิดรอนสิทธิของคนในประเทศพม่าอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสิทธิของผู้หญิงซึ่งขัดแย้งชัดเจนกับ หลักกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปในอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อ สตรีในทุกรูปแบบที่รัฐบาลทหารพม่าลงนามให้สัตยาบันและมีพันธกรณีที่ต้อง ปฏิบัติตาม วันครบรอบวันเกิดของนาง
คณะกรรมการณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (กรพ.)
หมายเหตุโดย กรพ.
[1] http://www.aappb.org/female.html
[2] อ้างอิงจากรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ฉบับปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่องการป้องกันประเทศ ในมาตรา 352 ที่กล่าวว่า สหภาพมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งหรือมอบหมายหน้าที่ให้กับเจ้าหน้าที่รัฐตาม คุณลักษณะที่กำหนดไว้โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนคนใดในพม่าที่มีความ แตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ หรือ ศาสนา อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดในมาตรานี้ที่จะป้องกันการแต่งตั้งผู้ชายในตำแหน่งที่ “เหมาะสมกับผู้ชายเท่านั้น”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น