จาก การศึกษาการปฏิวัติทั่วโลก พบว่าการต่อสู้ยกแรกมักเพลี่ยงพล้ำ จากนั้นจึงมีการปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี จึงสามารถเอาชนะได้ในการต่อสู้ยกต่อไป ขอยกกรณีตัวอย่างดังนี้
1. การปฏิวัติในอเมริกา ค.ศ.1776
การ ต่อสู้ในระยะแรกฝ่ายประชาชนก็เพลี่ยงพล้ำ และสูญเสียอย่างมาก เพราะอาวุธไม่ทันสมัย ต่อมาฝรั่งเศสได้แอบส่งกำลัง อาวุธเข้าช่วยเหลือจึงสามารถตีโต้อังกฤษได้อย่างดุเดือด
2. การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
ตอน แรกก็ชุมนุมเรียกร้องโดยสันติ ปราศจากอาวุธ แต่ก็ถูกปราบปราม ถูกจับกุม ขังในคุกบาสติลเป็นจำนวนมาก ฝ่ายประชาชนในปารีสจึงตั้งกองกำลังแห่งชาติ (National Guards) ซึ่งเป็นกองกำลังติดอาวุธของประชาชนในปารีสก่อน หลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธตามอย่างปารีส ไปทั่วประเทศฝรั่งเศส จนสามารถยกกำลังทำการปฏิวัติได้
3. การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1917
การ ต่อสู้ในตอนแรกถูกปราบปราม เลนินและผู้นำคนสำคัญของพรรคบอลเชวิคจึงหนีไปลี้ภัยในต่างประเทศ ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเยอรมนีให้เดินทางกลับเข้ารัสเซียโดยใช้ เส้นทางรถไฟ…..เลนินได้เข้ามาปลุกระดมมวลชนโดยเฉพาะกรรมกรในรัสเซียให้ร่วม กันต่อสู้ปฏิวัติจนสำเร็จ
4. การปฏิวัติจีน ค.ศ.1949
ในช่วงแรก ๆ ของการทำสงครามปฏิวัติ พรรคคอมมิวนิสต์จีนถูกปราบปราม และประสบ ความพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนต้องหันมาปรับวิธีการต่อสู้โดยใช้ยุทธศาสตร์จัดตั้งฐานที่มั่นในชนบทของ เหมา เจ๋อ ตุง รวบรวมกำลังสู้กับอำนาจรัฐ…มีการปรับยุทธการรวบรวมกำลังทหารล่าถอยจากมณฑล เกียงสี ไปยังเมือง เยนอาน มณฑลเสียนซี ซึ่งมีระยะทางไกลกว่าหนึ่งหมื่นกิโลเมตร การสร้างวีรกรรม ”การถอยทัพครั้งใหญ่” หรือ “การเดินวิบาก (Long March)” เป็นยุทธศาสตร์การถอยเพื่อรุกที่มีความสำคัญมาก….ในที่สุดยุทธศาสตร์ฐานที่ มั่นของเหมาฯเริ่มสัมฤทธิ์ผล และได้ชัยชนะ
5. การปฏิวัติคิวบา ค.ศ.1959
ระยะ แรกฝ่ายปฏิวัติถูกรัฐบาลเผด็จการบาติสตาปราบปรามหนัก ฟิเดล คาสโตร และน้องชายชื่อ ราอูล คาสโตร ถูกจับและถูกพิพากษาให้จำคุก 15 ปี แต่ในเดือนพฤษภาคม 1955 กลุ่มของคาสโตรได้รับการอภัยโทษ จึงได้หนีไปยังอเมริกาและเม็กซิโกเพื่อเตรียมการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่ง….ในปี ต่อมา ฟิเดล คาสโตร พร้อมด้วย Ernesto Che Guevara นักปฏิวัติชาวอาร์เจนตินา จึงได้นำกองกำลังติดอาวุธ 82 คนจากเม็กซิโกมาขึ้นฝั่งคิวบา ก็ถูกทหารรัฐบาลโจมตี ตายเกือบหมด รอดชีวิตเพียง 12 คน จึงต้องหลบหนีไปตั้งฐานที่มั่นอยู่ในป่าเขา ทำการขยายฐานมวลชน และปฏิวัติสำเร็จในอีก 3 ปี ต่อมา
6. การปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ.1979
กษัตริย์ ซาร์ ถูกยุยงให้ขัดแย้งกับผู้นำศาสนาอย่างอิหม่ามโคไมนี จึง ใช้ กลไกของรัฐทุกอย่าง ทั้งศาล รัฐบาล ทหาร ในการเล่นงานโคไมนี กระทั่ง ปี 1964 โคไมนีจึงหนีไปอยู่ทางตอนใต้ของอิรัก และพยายามสื่อสารกับมวลชนที่ศรัทธาเขา โดยการพูดบันทึกเทปให้ผู้ศรัทธาเอาไปจ่ายแจกตามบ้านเรือนผู้คนในอิหร่าน เพื่อไม่ให้กระแสของตนหายไป….ปี 1978 พระเจ้าชาห์ขอให้ซัดดัม ฮุสเซน ผู้นำคนใหม่ของอิรัก ช่วยไล่อิหม่ามโคไมนีออกจากอิรัก โคไมนีจึงต้องหนีไปอยู่ฝรั่งเศส กระทั่งปีต่อมาประชาชนที่ศรัทธาโคไมนี ลุกฮือกันทั้งประเทศ พระเจ้าชาห์ และราชวงศ์ทุกพระองค์จึงต้องทรงเดินทางหนีออกจากอิหร่าน ระบอบกษัตริย์ที่มีนานานถึง 2,538 ปี ก็สิ้นสุดลง
7. การเปลี่ยนแปลงในเนปาล ค.ศ.2008
กษัตริย์ คเยนทรา ของเนปาล เข้าสู่อำนาจการเมืองโดยได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนเมื่อปี 2005 ซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ความขัดแย้งแตกแยกครั้งใหญ่ จนนำไปสู่การเสียชีวิตของพลเรือนชาวเนปาลจำนวนมาก ประชาชนกว่า 2,000 คนถูกฆ่าตาย
ความนิยมในตัวกษัตริย์คเยนทรา และต่อสถาบันกษัตริย์ของประชาชนชาวเนปาล ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ประชาชนพากันลุกฮือประท้วงจนนำไปสู่การยึดพระราชอำนาจในหลายๆ ด้านของพระองค์ ทางด้านกลุ่มกบฏเหมาอิสต์ที่นำโดย นายประจันดา อดีตครูสอนหนังสือได้นำการต่อสู้เพื่อเปลี่ยนเนปาลให้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ มานาน 10 ปี ได้ตัดสินใจยกเลิกการสู้รบแบบกองโจร แล้วเข้าร่วมการต่อสู้ด้วยหนทางทางการเมืองแทน ปรากฏว่าได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อเดือนเมษายน จนได้ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาและในที่สุดก็นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองในปี 2008
8. การต่อสู้ของ เนลสัน แมนเดลา
ลัทธิล่าอาณานิคม การกดขี่ขูดรีด การเหยียดผิว ทำให้คนผิวดำถูกปฏิบัติเหมือนไม่ใช่คน มีการบังคับให้ใช้แรงงานเยี่ยงทาส และถูกจับไปขายเป็นทาสในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในอเมริกา
เนลสัน มันเดลลา บุตรของหัวหน้าเผ่าซึ่งสืบเชื้อสายมากว่า 10 ชั่วอายุคน ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสาขาวิชาด้านกฎหมาย หลังจากเรียนจบในปี 1944 ได้เข้าร่วมกับองค์กรการเมือง (ANC) ของคนผิวสีเพื่อต่อต้านการเหยียดสีผิว จนได้เป็นประธานองค์กร
การ ต่อสู้ในระยะแรก เขาก็นำการต่อสู้ด้วยการชุมนุมประท้วง และเดินขบวนอย่างสันติ รวมไปถึงการบอยคอต (เหมือนของเสื้อแดงในขณะนี้) แต่ต่อมากลับถูกปราบและถูกสังหารหมู่ผู้เดินขบวนที่เมือง Sharpeville ในปี 1960
- แมนเดลาได้เข้าร่วมจัดตั้งหน่วยพลร่มแห่ง ANC เพื่อก่อวินาศกรรม ตอบโต้การกระทำของรัฐบาลผิวขาว อันเป็นการยกระดับการต่อสู้จากการต่อสู้แบบสันติ เป็นการต่อสู้ด้วยกองกำลังติดอาวุธ
- สามปีต่อมาคือในปี 1963 เขาและเพื่อนร่วมพรรคก็ถูกจับดำเนินคดีในข้อหาสั่งสมอาวุธไว้ในครอบครอง โดยผิดกฎหมาย และถูกพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต เขาอยู่ในคุก 27 ปี กระทั่งปี 1990 รัฐบาลของ F.W. de Klerk ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวเนลสัน แมนเดลา เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และเลิกการเหยียดผิว กระทั่งปี 1994 มีการเลือกตั้งทั่วไป แมนเดลาจึงได้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกแห่งแอฟริกาใต้
จากตัวอย่างที่ยกมานี้ หวังว่าจะทำให้ฝ่ายเสื้อแดงมีกำลังใจในการต่อสู้มากขึ้นด้วย การถือว่าเป็นธรรมดาของการต่อสู้ ในยกแรกมักจะเพลี่ยงพล้ำเสมอ แต่เมื่อได้ปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการต่อสู้ที่เหมาะสม ใช้ความมานะพยายามอย่างหนัก และใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีกนิด ก็จะประสบชัยชนะในที่สุด
ดังนั้นภารกิจสำคัญของเรา ณ เวลานี้ก็คือ การปรับยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการต่อสู้ตลอดจนการที่ต้องมี “ผู้นำทางความคิด” ในการนำมวลชนต่อสู้
“ผู้นำทาง ความคิด” สำคัญไฉน
การต่อสู้ของประชาชนหมู่มาก หรือ มวลมหาประชาชน นั้นไม่ว่าจะต่อสู้เพื่อเอกราช ต่อสู้เพื่อระบอบการปกครองที่ดีกว่าหรือ ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในระบอบเดิม
ตั้งแต่ อดีต กระทั่งปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศใดต่างก็เป็นปรากฏการณ์ทางการเมือง ที่ล้วนแต่มี “ผู้นำทางความคิด” ที่โดดเด่น ทั้งนั้น
- การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1776 มี อิทธิพลทางความคิดของ จอห์น ล็อค
- การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789 มี วอลแตร์
- การปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ.1918 มี เลนิน ที่ประยุกต์แนวคิดของมาร์กมาปฏิวัติ
- การประกาศอิสรภาพของอินเดีย ค.ศ.1942 มี มหาตมะ คานธี
- การปฏิวัติจีน ค.ศ.1949 มี เหมา เจ๋อ ตุง
- การปฏิวัติคิวบา ค.ศ.1959 มี ฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา
- การปฏิวัติอิหร่าน ค.ศ.1979 มี อิหม่าม โคไมนี
- การเปลี่ยนแปลงในอัฟริกาใต้ ค.ศ.1994 มี เนลสัน เมนเดลา
- การเปลี่ยนแปลงในเนปาล ค.ศ.2008 มี พุชปา ฮามาล ดาฮาล หรือ ประจันดา
- เป็น ต้น......
ถาม ว่าการจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยตามสโลแกน “
การต่อสู้ทางการเมืองของมวลมหาประชาชน จำเป็นต้องมีแนวความคิดที่เป็นไปในทางเดียวกัน
หมายความว่า ต้องมี “ชุดของคำอธิบายอย่างเป็นเหตุเป็นผล” ชุดเดียวกัน
ชุด ความคิด หรือชุดของคำอธิบายดังกล่าว ต้องบอกถึง..........
- ปัญหาโครงสร้างทางการเมือง
- ปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจทางการเมือง
- สาเหตุของปัญหา
- ผลกระทบของปัญหา ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
- แนว ทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเสนอไปในทางเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ หรือระบบสังคม (ซึ่งมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับการ ปฏิรูป จนถึง การปฏิวัติ) บางกรณีนำเสนอให้เปลี่ยนกฎหมายหลัก เช่น รัฐธรรมนูญ (ซึ่งถือเป็นเพียงการปฏิรูปทางการเมืองการปกครอง) หรือบางกรณีนำเสนอให้รัฐบาลลาออก หรือยุบสภา (ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปกติธรรมดาที่สุด)
- เป้าหมาย ต้องชัดเจนว่าการต่อสู้นี้มีเป้าหมายขนาดไหน ต้องนำเสนอให้ชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่ให้แกนนำคนหนึ่งว่าอย่างหนึ่ง อีกคนว่าอีกอย่างหนึ่ง และต้องไม่มีการโต้เถียงขัดแย้งกันในเป้าหมายที่ได้ประกาศต่อมวลมหาประชาชน ไปแล้ว ดังนั้น เรื่องนี้ต้องชัดเจนอย่างมาก ต้องออกมาจากการศึกษาวิเคราะห์ด้วยข้อมูล และทฤษฎีที่แม่นยำ ผ่านการกลั่นกรองอย่างหนัก และได้รับความเห็นพ้องต้องกันอย่างกว้างขวาง
- ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และยุทธการ ในการต่อสู้ (ที่ใช้คำว่า “ยุทธ” เพราะมันคงไม่ได้มาโดยง่ายโดยการร้องขอ แต่ต้องเข้มข้มในระดับการยุทธเลยทีเดียว)
ผู้นำทางความ คิด ต้องสามารถทำให้มวลมหาประชาชนเข้าใจ และชัดเจนใน ชุดของความคิด หรือชุดของคำอธิบาย ดังกล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะการนำเสนอเป้าหมาย และการตระเตรียมคำถาม คำตอบ ข้อโต้แย้ง ข้อชี้แจง อย่างละเอียดรอบคอบ
โดยสรุปก็คือ เราเห็นว่าฝ่ายเราต้องมี “ชุดของความคิด” และ “ผู้นำทางความคิด” ที่โดดเด่น จึงค่อยเคลื่อนไหวให้เป็นกระบวนทัพที่เกรียงไกร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น