แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โรคกลัวแดง (Redphobia)


คำอธิบาย
ไม่ใช่โรคกลัวน้ำ แต่เป็นโรคกลัวสีแดง โดยผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการแตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของ โรค หลายคนคงเคยเห็นคนเป็นโรคกลัวความสูง หรือโรคกลัวที่แคบมาบ้างแล้ว อาการของโรคนี้จะคล้ายๆ แบบนั้น แต่โรคกลัวแดงนี้ซับซ้อนกว่า เพราะเกือบทุกระดับจะเป็นอาการทางจิต หรืออาการทางประสาท บางระดับจะมีการระเบิดความกลัวออกมาทางกายภาพด้วยการทำลายสิ่งของ หรือผู้คนรอบตัว หรือแม้กระทั่งตัวเองก็มี

หมาย เหตุ: บางท่านในทีมวิจัยเรียกว่า โรคเกลียดไพร่ (Proletarian-phobia Disease)

ประวัติ
ค้นพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยไซออ นแห่งมนุษยชาติ (Zion Research Institute for Human : ZRIH) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) มานี้เอง

ก่อนที่จะวิจัยพบไวรัสตัวนี้ ทีมวิจัยฯ มิได้รู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นของคนที่ได้รับเชื้อไวรัส ตัวนี้แต่อย่างใด เนื่องจากเชื้อนี้มีระยะฟักตัวที่นานพอสมควร และในระหว่างนั้นอาการจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ดังนั้นกว่าที่ทีมนักวิจัยและแพทย์ ของสถาบัน ZRIH จะสังเกตความผิดปกติได้ ก็กินเวลาไปหลายปี และมีประชากรติดชื้อไปมากจนเห็นความผิดปกติอยู่เกลื่อนเมืองไป แล้ว

ในเวลาที่ทีมวิจัยฯ เริ่มทำการค้นคว้าหาสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าวอยู่นั้น (ต้นปี พ.ศ. 2544 หรือ ค.ศ. 2001) โรคนี้ได้ระบาดในประชากรไทยไปมากมายแล้ว และต้องใช้เวลาเกือบ 5 ปีเต็ม จึงจะทราบสาเหตุและค้นพบไวรัสพันธุ์นี้ได้

สาเหตุ
โรคนี้เกิดจากไวรัสชนิดใหม่ โดยทีมนักวิจัย ZRIH ที่ค้นพบเชื้อนี้ ได้ตั้งชื่อว่า GRH Virus (Goa'uld Red Haunting Virus : สนธี-ด็อก-ทงคุล เรด ฮอนติง ไวรัส) สาเหตุที่ตั้งชื่อนี้ก็เนื่องจากเชื้อไวรัสนี้ เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนแล้ว จะไปควบคุมสมองและระบบประสาทของเหยื่อ ให้ทำในสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปไม่ทำ กัน (คือค่อยๆ หมดความเป็นมนุษย์ไปนั่นเอง) โดยเฉพาะอาการเด่นของเหยื่อที่ติดเชื้อไวรัสนี้ก็คือ อาการเกลียดสีแดง

การแพร่ระบาด
จากการวิจัยพบว่า การระบาดของไวรัสนี้ไม่ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศ โดยไวรัสนี้จะเข้าสู่ร่างกายคนทางหูและทางตาเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ทีมนักวิจัยฯ ประหลาดใจมากก็คือ ไวรัสจะมีอันตรายและรุนแรงมากขึ้น หากมีตัวกระตุ้นจากภายนอก เช่น รายการโทรทัศน์หรือวิทยุบางรายการ (อยู่ในระหว่างการวิจัยว่าราย การ ภาพ แสง หรือเสียงแบบใดเป็นสาเหตุ) หรือการพูดคุยจากเหยื่อที่มีเชื้อนี้อยู่แล้วนานๆ

ขณะนี้นักจัยฯ ได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า การที่รายการโทรทัศน์หรือวิทยุบางรายการ หรือการพูดคุย ทำให้ไวรัสนี้แพร่ระบาดได้ดีนั้น เป็นเพราะว่าสิ่งเหล่านั้นทำให้ต่อมฮอร์โมนบางอย่างทำงานผิดปกติ มีผลทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดลง หรืออาจจะผลิตเอ็นไซม์บางอย่างลดลงหรือ เพิ่มขึ้น อันมีผลทำให้ไวรัสนี้แพร่กระจายในร่างกายคนได้อย่างรวดเร็ว และควบคุมสมองของเหยื่อได้มากขึ้น

อาการ (Symptoms)
อาการของโรคนี้มีทั้งอาการทางจิต และอาการทางกาย ผสมกันแล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค ดังนี้

ระยะที่ 1: ระยะแรก
เป็นระยะที่เพิ่งจะได้รับเชื้อ หรือได้รับเชื้อแล้ว แต่ยังไม่ถูกกระตุ้นมากนัก มีอาการคือ
• เริ่มมีอาการหงุดหงิดโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนไม่ค่อยหลับ


ระยะที่ 2: ระยะฟักตัว
• เริ่มมีความรู้สึกไม่ชอบสีแดงอยู่ในใจ (จากการสอบถามผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว) แต่ไม่มีการแสดงออกอย่างชัดเจน
• ยังไม่มีการแสดงออกใดๆ เมื่อได้เห็นหรือได้ยิน สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับสีแดง เนื่องจากเชื้อไวรัสเพิ่งจะเริ่มเพร่กระจายไปตามเส้นประสาทต่างๆ ของร่างกาย


หมายเหตุ: ทีมวิจัยสันณิฐานว่าไวรัสนี้ อาจจะถูกยับยั้งการทำงาน เมื่อถูกคลื่นแสงในช่วงแสงสีแดงก็เป็นได้ ซึ่งทีมวิจัยจะทำการศึกษาต่อไป

ระยะ ที่ 3: ระยะแสดงออก
• เริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเกลียดสีแดง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายสีแดง เครื่องใช้ อุปกรณ์ แม้แต่คำพูดว่า "แดง" ก็ได้ยินไม่ได้
• หากมี อาการหนัก บางคนจะลงไปชักดิ้นชักงอแบบเด็กๆ ร้องกรี๊ดๆ ตีอก ชกตัวเอง บางรายอาจจะดึงผมตัวเองอีกด้วย
• บางคนถึงขั้นไปดึง กระชาก สิ่งของที่เป็นสีแดงของผู้อื่นเลยก็มี

ระยะที่ 4: ระยะตอแหล และแบ่งแยก
• เริ่มมีการรวมกลุ่มในหมู่คนที่เป็นเหยื่อของไวรัสตัวนี้ เพื่อทำการกีดกันทางสังคนผู้อื่นที่คิดว่าไม่ใช่พวกตน
• เริ่มมี ลักษณะจิตใจคับแคบ เพียงคนที่ไม่เห็นด้วยกับตนเอง ไม่ว่าจะเรื่องอะไร จะมองเห็นคนนั้นเป็นฝ่ายตรงข้าม
• เริ่มมีความคิดและการกระทำแบบ มาตรฐานเดียว คือการไร้มาตรฐาน เช่น คนที่ตัวเองชอบ หรือเป็นโรคเดียวกับตัวเอง (ยังไม่ทราบว่ารู้ได้อย่างไรว่าผู้อื่นป่วยเป็นโรคเดียวกับตัวเอง) ทำอะไรก็เห็นเป็นถูกไปหมด แต่คนที่ตัวเองเกลียด ทำอะไรก็เห็นเป็นผิดไปหมด, ชอบบอกให้คนที่ตัวเองเกลียด (โดยเฉพาะคนจน) อยู่อย่างธรรมดา ไม่ควรดิ้นรน แต่ตัวเองกลับฟุ้งเฟ้อเป็นการใหญ่, ชอบบอกคนจนว่าไม่ควรก่อหนี้ แต่ตัวเองก่อหนี้ผ่านบัตรเครดิต หรือกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถยนตร์หน้าตาเฉย (ผู้ป่วยในเมือง ชอบแก้ตัวว่าตนก่อหนี้ได้ เพราะรู้ว่าจะปลดหนี้ได้ แต่ไม่ไว้ใจคนจนว่าจะปลดหนี้ของตัวเองได้ เป็นต้น
• บางรายจะถึง กับเลิกคบเพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน รวมทั้งย้ายออกจากบ้านก็มี

ระยะ ที่ 5: ระยะเพ้อเจ้อ
• ตาขวาง
• มีความเครียดอยู่เนืองๆ
• เริ่มเพ้อเจ้อ อยากจะอยู่ในโลกนี้กับพวกที่เกลียดสีแดงเท่านั้น เช่น ถึงขนาดคิดว่าบ้านของคนอื่นเป็นบ้านของพ่อต้วเอง บางคนมีปฎิกริยาถึงไล่เจ้าของบ้านออกจากบ้าน (ซึ่งคิดว่าบ้านนั้นเป็นบ้านของพ่อตัวเอง) ก็มีมาแล้ว โดยเหยื่อหรือผู้ป่วยคนอื่นจะพากันปรบมือสรรเสริญว่าทำถูกต้อง

ระยะที่ 6: ระยะเป็นฆาตกร
• เริ่มแสดงออกหนักขึ้นว่าอยู่ร่วมโลกกับคนปกติทั่วไปที่ชอบหรือรู้สึก เฉยๆ กับสีแดงไม่ได้
• พยายามกระทำการกำจัดคนที่ตนคิดว่าไม่เกลียดสี แดง มีแนวโน้มสู่การเป็นอาชญากรได้ง่าย
• บางรายกลายเป็นอาชญากรเต็ม ขั้น ถึงกับสั่งฆ่าคนเป็นร้อยๆ คนก็มี

ระยะที่ 7: ระยะสุดท้าย
• มีอาการเกลียดสีแดงอย่างฝังลึกจิตใจ
• เหยื่อในระยะนี้ จะพยายามถ่ายเลือดออกจากร่างกาย แล้วถ่ายของเหลวสีเหลืองเข้าเส้นเลือดแทน โดยใช้วิธีต่างๆ กัน เช่น กรีดข้อมือ เอาเข็มดูดเลือดออกจากร่างกาย เป็นต้น
• ตัวซีดเหลือง เสียชีวิตอย่างอนาถ

การรักษา
ยัง ไม่มียารักษา แต่สามารถรักษาได้ด้วยการลดการสัมผัสตัวกระตุ้น ซึ่งจะทำให้เชื้อไวรัสอ่อนแรงลงไป และภูมิคุ้มกันร่างกายจะทำหน้าที่ของมันเองในที่สุด

การรักษาแบ่งได้สองแบบคือ

การหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น
• เลิกดูรายการโทรทัศน์ หรือวิทยุบางรายการ ที่พบว่ากระตุ้นให้เชื้อไวรัสนี้แข็งแรงขึ้น เช่น โทรทัศน์ช่อง 3, 5, 7, 9, 11, TPBS, ASTV, รายการวิทยุบางรายการ (อยู่ระหว่างศึกษารวบรวม)
• เลิกดู สื่อทั้งหลายในประเทศ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เว็บ (โดยเฉพาะเว็บของสื่อหลักในประเทศไทย) และอื่นๆ
• เลิกดูละครไทย
• เลิก เข้าโรงภาพยตร์ (ทีมวิจัยอยู่ระว่างหาสาเหตุ ว่าโรงภาพยนตร์ในไทย ไปกระตุ้นไว้รัสได้อย่างไร โดยโรงภาพยนตร์ในต่างประเทศไม่มีผลอะไรกับคนที่ได้รับเชื้อนีแต่ อย่างใด)
• พยายามดึงให้เหยื่ออยู่ห่างเหยื่อรายอื่นๆ เข้าไว้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า เมื่อเหยื่อหรือผู้ป่วยอยู่รวมๆ ด้วยกัน จะกระตุ้นให้ไวรัสแพร่กระจาย มากขึ้น และยกระดับความรุนแรงสู่ระยะต่อไปของโรคได้เร็วขึ้น

การกำจัดตัวกระตุ้น
• เหมือนกับการให้ยา แต่เป็นยาทางการมอง และการฟัง (เชื้อนี้ถูกกระตุ้นได้จากการมอง และการฟัง)
• ทีมวิจัยพบว่า รายการโทรทัศน์ และรายการวิทยุบางรายการทำให้ไวรัสอ่อนแรงได้เช่นกัน (ยังไม่ทราบลักษณะของรายการที่ให้ผลเช่นนั้น) เช่น People Channel, ข่าวต่างประเทศ เช่น CNN, AljaZeera, ABC Australia เป็นต้น
• รับรู้ข่าวสารบันเทิง หากต้องการดูภาพยนตร์ ควรเลือกดูภาพยนตร์ต่างประเทศจากแผ่น VCD, DVD อยู่ที่บ้าน โดยไม่ควรเข้าโรงภาพยนตร์
• ให้เหยื่อเข้าไปอ่านเว็บต่อไปนี้ วันละครั้ง (อยู่ระหว่างวิจัยว่าเว็บอย่างไร จึงให้ผลเช่นนั้น เช่น ข้อความ, สี, การจัดเรียง) ซึ่งจะทำให้ไวรัสค่อยๆ อ่อนแรงลง และถูกกำจัดได้ในที่สุด เช่น WeAreAllHuman.net, ThaiEnews.blogspot.com เป็นต้น (อยุ่ระหว่างการศึกษาเว็บอื่นๆ เพิ่มเติม)


หมายเหตุ:
ทีมวิจัย จากสถาบันวิจัยไซออนแห่งมนุษยชาติ (ZRIH) ยังพบอีกว่า
• ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ เมื่อรักษาหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เพราะจะมีภูมิคุ้นกันตลอดชีวิต (เหมือนกับไข้หวัด ที่จะไม่เป็นอีก นอกจากได้รับเชื้อสายพันธุ์อื่น)
• ประชากรไทยมีภูมิคุ้มกันโรค นี้เป็นส่วนใหญ่ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทีมวิจัยคาดว่าจะสามารถกำจัดเชื้อนี้ให้สิ้นไปจากโลกนี้ได้ในไม่ ช้า


สถาบันวิจัยไซออนแห่งมนุษยชาติ (Zion Research Institute for Human : ZRIH)
Thuesday May 20, 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน