แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การใช้กำลังในการสลายการชุมนุมเสื้อแดงและหลักการ สากล

ภาพกระสุน ที่ยังฝังอยู่ในร่างกายของนายลี (ภาพถ่ายโดยผู้เขียน)

Mon, 2010-06-28 03:29

ขวัญระวี วังอุดม

เรามียานเกราะ มีการเคลื่อนที่เข้าไปในลักษณะเหมือนในสนามรบ ซึ่งต้องยอมรับว่าการจัดกำลัง เข้าดำเนินการในครั้งนี้เราไม่ได้ทำเหมือนกับการควบคุมฝูงชน ถ้าหากย้อนไปก่อนหน้านี้จะเห็นภาพของทหารถือโล่ กระบอง เดินเข้าไปเป็นรูปขบวนปึกหนา ๆ เข้าไปประจันหน้ากับผู้ชุมนุม อันนี้เป็นการควบคุมฝูงชนปกติ

พล.ท.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองเสนาธิการทหารบก

การใช้กำลังทหารสลายผู้ชุมนุม เสื้อแดงของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคม 2553 ถือเป็นการใช้กำลังทหารปราบปรามพลเรือนที่รุนแรงมากสุดครั้งหนึ่งในประวัติ ศาสตร์ไทย โดยในช่วงเวลารวมทั้งสิ้นไม่ถึง 10 วัน มีผู้เสียชีวิตจำนวน 90 รายและผู้บาดเจ็บทั้งพลเรือนและเจ้าหน้าที่รัฐกว่า 2,000 ราย [2] นอกจากนี้ยังมีผู้สูญหาย ถูกจับกุมตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [3] และผู้ถูกคุกคามที่ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นตามมาคือปฏิบัติการในครั้งนี้เป็นไปโดยชอบธรรมเพียงใด กล่าวคือการใช้กำลังทหารเป็นไปตามหลักสากลว่าด้วยการใช้กองกำลังตามที่ศูนย์ อำนวยการณ์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) กล่าวอ้างหรือไม่ และใครมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อความสูญเสียที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ บทความชิ้นนี้จะวิเคราะห์ปฏิบัติการใช้กำลังทหารในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก มุมมองตามหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยหวังว่าจะสามารถช่วยสร้างความกระจ่างให้เกิดขึ้นในสังคมไทยได้บ้างไม่มาก ก็น้อย

1. สิทธิในการมีชีวิต สิทธิสากลขั้นพื้นฐานที่ถูกละเมิดระหว่างการสลายการชุมนุม

กรณีการใช้กำลังและอาวุธในการ จัดการความขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลต่อผู้ชุมนุมเสื้อแดง เป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ หลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่นำมาใช้ประกอบการพิจารณาปฏิบัติการ ดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยพื้นฐานแล้วประกอบด้วย ปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration for Human Rights – UDHR) และ กติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองInternational Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) แม้ UDHR จะไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ถือเป็นบรรทัดฐานที่ได้รับการยอมรับจากนานาอารยประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ในขณะที่กติกา ICCPR กำหนดให้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นรัฐภาคีมีพันธกรณีที่จะต้องเคารพและปกป้อง สิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการมีชีวิต (Right to Life)และสิทธิทางการเมือง (

สิทธิใน การมีชีวิตเป็นสิทธิพื้นฐานที่ไม่สามารถผ่อนปรนได้ (non-derogable rights) UDHR ข้อ 3 กำหนดว่า ทุก คนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งบุคคล ในขณะที่กติกา ICCPR ข้อ 6.1 ระบุว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ ที่จะมีชีวิตมาแต่กำเนิด สิทธินี้ต้องได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมาย บุคคลจะต้องไม่ถูกทำให้เสียชีวิตโดยอำเภอใจ ที่สำคัญ รัฐภาคี ต่อกติกา ICCPR ไม่สามารถเลี่ยงพันธกรณีนี้ได้ แม้ในภาวะฉุกเฉินซึ่งคุกคามความอยู่รอดของชาติ (ICCPR ข้อ 4 และ ICCPR ความเห็นทั่วไป ฉบับที่ 29 เรื่องภาวะฉุกเฉิน (ข้อ 4 (7))

นอกจากจะได้รับการคุ้มครองในหลัก กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศแล้ว สิทธิในการมีชีวิตก็ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของไทยเช่นกัน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มาตรา 32 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

นอกจาก นั้น แม้แต่หลักการสากลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในภาวะความขัดแย้งที่ จำเป็นต้องมีการใช้อาวุธ ไม่ว่าจะเป็น หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติ ว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย [4] (Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials - BPUFFLEO) และ หลักการเพื่อ การป้องกันและสอบสวน การสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและโดยพลการอย่างเป็นผล[5] (Principles on the Effective Prevention and Investigation of Extra-legal, Arbitrary and Summary Executions - PEPIEASE) ยังได้ย้ำความสำคัญของสิทธิดังกล่าว โดยตระหนักว่า การคุกคามชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายในฐานะผู้ทำงานรับใช้สังคม ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีหน้าที่สำคัญในการปกป้องและคุ้ม ครองชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของประชาชนเช่นกัน ดังนั้นในภาวะความขัดแย้งที่จำเป็นต้องมีการใช้กำลังและอาวุธเข้าควบคุม จะต้องเป็นไปเพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธินั้นเป็นหลัก

แต่อย่าง ไรก็ดี การจัดการวิกฤตความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมา รัฐบาลไทยประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ก่อนที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงจำนวนมากจะเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาชุมนุมในกรุงเทพฯ ในวันที่ 12 มีนาคม จากนั้นรัฐบาลไทยจึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงในวันที่ 7 เมษายน หลังมีการบุกรุกรัฐสภาโดยหนึ่งในแกนนำเสื้อแดงฮาร์ทคอร์ ในขณะที่การชุมนุมในส่วนอื่นยังเป็นไปโดยสันติ การประกาศพรก. ฉุกเฉินและจัดตั้งศอฉ.เป็นการให้อำนาจทหารเข้ามาจัดการปัญหาการเมือง ลิดรอนสิทธิเสรีภาพสื่อ การเดินทาง และการรวมกลุ่ม จนนำมาสู่การใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธเข้าปฏิบัติการ ขอคืนพื้นที่ในวันที่ 10 เมษายน หากพิจารณาตามหลักการสากล อาทิ หลัก BPUFFLEO ที่ยอมให้รัฐบาลสามารถใช้กำลังสลายได้ก็ต่อเมื่อการชุมนุมนั้นมิชอบด้วย กฎหมาย (unlawful) และไม่สันติ (non peaceful) แต่ปฏิบัติการทางทหารของไทยหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ การ ขอคืนพื้นที่ในเดือนเมษายน และการกระชับวงล้อมระหว่างวันที่ 14-19 พฤษภาคม จึงส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิตของผู้คนจำนวนมาก

2. หลักการดีแต่ปฏิบัติล้มเหลว

รัฐบาลไทยอ้างว่าวัตถุประสงค์ และวิธีการสลายการชุมนุมเสื้อแดง ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงและการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตามกฎการใช้กำลัง (Rule of Engagement) ของศอฉ. และสอดคล้องกับหลักสากลด้านสิทธิมนุษยชน แต่ในเชิงปฏิบัติกลับส่งผลในทางตรงข้าม กล่าวคือ

2.1 สัดส่วนการใช้กำลังและอาวุธต้องเหมาะสมกับความ รุนแรงของสถานการณ์

ในการสลายการชุมนุมที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและมีการใช้ความรุนแรง หลัก BPUFFLEO มาตรา 59 กำหนดให้สัดส่วนการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่รัฐต้องเหมาะสมกับความ รุนแรงของสถานการณ์ นอกจากนั้นขั้นตอนการใช้กำลังและอาวุธจะต้องเริ่มจากเบาไปหาหนัก โดยใช้อาวุธที่ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต (non-lethal weapons)ในการควบคุมฝูงชนก่อน ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยว ข้อง (หลัก BPUFFLEO ข้อ 3) และลดความสูญเสียและบาดเจ็บ โดยมุ่งที่จะเคารพและรักษาชีวิตมนุษย์เป็นสำคัญ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 56, 11b-c) การใช้อาวุธสังหารต้องเป็นทางเลือกสุดท้ายและใช้ได้เพื่อป้องกันตนเองและปก ป้องชีวิตผู้อื่นเท่านั้น (จะขยายความต่อในข้อถัดไป) นอกจากนั้นหากมีผู้ใดได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หน่วยแพทย์ต้องสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที (หลัก BPUFFLEO ข้อ 5c) และต้องแจ้งให้ญาติหรือเพื่อนสนิททราบโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 5d)

หากเปรียบเทียบกับแนวทางการ ปฏิบัติการใช้กำลังเพื่อขอคืนพื้นที่และ กระชับวงล้อมตามแถลงการณ์ของศอฉ. โดยหลักการ การปฏิบัติการเป็นอย่างสอดคล้องกับหลักสากล ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ ขอคืนพื้นที่วันที่ 10 เมษายน บริเวณผ่านฟ้าลีลาศและราชดำเนิน ศอฉ.ประกาศ 7 ขั้นตอนสลายการชุมนุม โดยเริ่มจากเบาไปหาหนักตั้งแต่แสดงกำลัง, ใช้โล่ดัน, ฉีดน้ำ, ใช้เครื่องขยายเสียงกำลังส่งสูง, ใช้แก๊สน้ำตา, ใช้กระบอง และใช้กระสุนยาง

ในการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้น เหตุการณ์เกิดขึ้นค่อนข้างจะเร็ว เพราะฉะนั้นมาตรการการปฏิบัติในแต่ละขั้นไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน ได้ว่ากี่นาที ฉะนั้นเจ้าหน้าที่จะดูตามความเหมาะสมของเหตุการณ์ แต่เรียนยืนยันมาตรการ การปฏิบัติทุกกรณีจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ให้เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มผู้ชุมนุมที่พยายามจะเข้าต่อต้านและเข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่

พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.กล่าว [6] นอกจากนั้นพล.อ.สรรเสริญยังปฏิเสธการใช้กระสุนปืนจริงโดยเจ้าหน้าที่ทหาร

ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอนของกฎการใช้กำลัง เจ้าหน้าที่ ที่ถืออาวุธปืนและมีกระสุนจริงคงมีเฉพาะนายทหารสัญญาบัตรและนายสิบอาวุโส เท่านั้น ซึ่งจะอยู่ในแถวหลังสุดของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจะมีภารกิจใน การยิงปืนขึ้นฟ้า เพื่อใช้เสียงนั้นข่มขวัญผู้ชุมนุมให้ล่าถอยไปตามแผนงานที่เรากำหนดไว้เท่า นั้น[7]

ในทางปฏิบัติ การสลายการชุมนุมเสื้อแดงในวันที่ 10 เมษายน ตั้งแต่ช่วงบ่ายก่อนที่จะมีการล้อมปราบผู้ชุมนุมอีกครั้งในช่วงหัวค่ำ (บริเวณถนนดินสอและสี่แยกคอกวัว จนเป็นเหตุให้ศอฉ.ออกมาแถลงถึง ไอ้โม่งติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม และการเริ่มใช้คำว่าผู้ก่อการร้ายเป็นครั้งแรกในวันที่ 12 เมษายน[8]) มีผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงด้วยกระสุนยางและกระสุนจริง บริเวณจุดสำคัญหลายราย

จากการสัมภาษณ์ นาย J. Lee อายุ 39 ปี สัญชาติเกาหลี หนึ่งในผู้บาดเจ็บจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหาร ขณะเกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงเศษ ของวันที่ 10 เมษายน เขาและภรรยากำลังชุมนุมอยู่บริเวณมัฆวานรังสรรค์ พี่เห็นกระสุนห่าใหญ่มาก มีทั้งกระสุนจริง กระสุนยาง ยิงมาไม่ยั้ง พี่ใช้มือถือถ่ายกระสุนที่ตกพื้นไว้ด้วยภรรยาของนายลีกล่าว ก่อนเล่าว่าอาวุธที่เธอและผู้ชุมนุมใช้ขว้างตอบโต้ทหารได้แก่ ไข่ ถุงใส่ปลาร้า และขวดน้ำ ผลจากการปะทะเป็นเหตุให้นายลีได้รับบาดเจ็บจากกระสุนลูกปลายที่ ระเบิดบริเวณหัวไหล่ โดยหมอทำการเย็บแผลให้เรียบร้อย นอกจากนั้นยังมีรอยสะเก็ดเป็นจุดๆตามตัว และกระสุนนัดหนึ่งยังฝังอยู่บริเวณราวนมซ้าย ใกล้รักแร้ [9]


นอกจากนั้น ในวันเดียวกัน ปฏิบัติการขอ คืนพื้นที่ในยามวิกาล ณ สี่แยกคอกวัว และถนนดินสอ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก มีรายงานการใช้กระสุนยางและกระสุนจริงของเจ้าหน้าที่ทหาร แม้การใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมยังเป็นข้อถกเถียงและต้องมีการพิสูจน์ ต่อไป แต่กระนั้นจากรูปถ่ายด้านล่าง (ถ่ายโดยผู้เขียน) การใช้กระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุมบริเวณสำคัญของร่างกาย เช่น หน้าผาก หรือลำคอ สามารถเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บสาหัสได้



ผู้ ชุมนุมเสื้อแดงโชว์แผลบริเวณหน้าผากที่ถูกยิงด้วยกระสุนยาง สี่แยกคอกวัว

ตัวอย่างของนายลีและภาพถ่าย ผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ปฏิบัติการใช้กำลังทหารตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ 10 เมษายน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมที่ไม่มีอาวุธ และการใช้กระสุนยางยิงใส่ผู้ชุมนุมสูงกว่าระดับเข่า ไม่ได้เป็นไปเพื่อสกัดกั้นผู้ชุมนุม ถือเป็นปฏิบัติการที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุ ขัดต่อเกณฑ์สัดส่วนการใช้กำลังที่เหมาะสม นอกจากนั้นปฏิบัติการเวลากลางคืนยังส่งผลต่อทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ทหารอีกด้วย เหตุใดกองทัพจึงเลือกที่จะปฏิบัติการในเวลาดังกล่าว?

2.2 การใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่รัฐมีวัตถุ ประสงค์เพื่อป้องกันตัวและปกป้องชีวิตของผู้อื่นเท่านั้น

หลัก BPUFFLEOในหมวดข้อบังคับพิเศษระบุว่าเจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถใช้อาวุธหนัก (lethal weapons)ได้ ยกเว้น กรณีดังต่อไปนี้

- เพื่อป้องกันตัว (self-defence) หรือการถูกคุกคามชีวิตของบุคคลอื่น

- เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมร้ายแรง รวมถึงการคุกคามชีวิต

- เพื่อจับกุมบุคคลซึ่งกำลังกระทำการอันตรายและต่อต้านรัฐ

- เพื่อหรือไม่ให้บุคคลดังกล่าวหลบหนีการจับกุม

- และเมื่อไม่มีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพที่จะให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ดัง กล่าว

อย่างไรก็ตามการใช้ อาวุธสังหารโดยตั้งใจสามารถกระทำได้เมื่อเผชิญสถานการณ์คับขันและหลีกเลี่ยง ไม่ได้เพื่อปกป้องชีวิตเท่านั้น

จากเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่วันที่ 10 เมษายน จนกระทั่งเหตุการณ์ กระชับพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 14-19 พฤษภาคม มีการยกระดับการใช้กำลังและอาวุธของฝ่ายทหารอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการประกาศใช้กระสุนปืนจริงเพื่อป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายโดยกลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง

ตลอดระยะเวลาสองวันที่ผ่านมากลุ่มก่อการร้าย ผู้ชุมนุมบางส่วน และมอเตอร์ไซค์ป่วนเมืองได้พยายามบุกเข้ากดดันด่านเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจตลอดเวลา โดยการใช้อาวุธปืนหลายชนิด ระเบิดเอ็ม 79 ระเบิดขว้าง และสิ่งเทียมอาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ โดยใช้พี่น้องผู้ชุมนุมเป็นโล่กำบัง เจ้าหน้าที่จึงต้องป้องกันตนเองและประชาชนผู้บริสุทธิ์ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติตามหลักการใช้กำลังจากเบาไปหาหนักในช่วงเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่ บริเวณสี่แยกคอกวัวในการขอคืนพื้นที่ ที่สถานีไทยคมลาดหลุมแก้ว หรืออนุสรณ์สถานสิบสี่ตุลาก็ดี ซึ่งเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้อาวุธกับ กลุ่มผู้ชุมนุมเลย แต่ปรากฏว่าเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าถึงตัวเจ้าหน้าที่แล้ว ได้ทำร้ายเจ้าหน้าที่และยึดยานพาหนะดังนั้นตั้งแต่บัดนี้ เจ้าหน้าที่จึงต้องรักษาระยะห่างระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งหากผู้ชุมนุมเคลื่อนเข้าหาเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็มีความจำเป็น ที่จะต้องใช้ปืนลูกซองกระสุนจริงยิงสกัดกั้น โดยยิงลงพื้นหรือยิงบังคับกรวย กระสุนให้ต่ำในระดับที่สูงไม่เกินหัวเข่า ทั้งนี้เพื่อป้องกันและยับยั้งกลุ่มผู้ชุมนุมไม่ให้เข้าถึงตัวเจ้าหน้าที่ แต่เป็นการแสดงออกอย่างชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ประสงค์ที่จะทำร้ายถึงแก่ ชีวิต[10] พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. กล่าว

ที่สำคัญเกณฑ์การใช้กระสุน จริงตามประกาศของศอฉ.จะกระทำใน 3 กรณี คือ

1. เพื่อยิงข่มขวัญขึ้นฟ้า

2. เพื่อยิงต่อเป้าหมายเมื่อสามารถตรวจสอบได้ว่ามีกลุ่มก่อ การร้าย หรือกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดที่ถืออาวุธร้ายแรง อาวุธสงคราม ลูกระเบิดที่จะสามารถทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ และประชาชนผู้บริสุทธิ์

3. ยิงเพื่อป้องกันชีวิตของเจ้าหน้าที่เมื่อจะถูกทำร้ายถึง แก่ชีวิตและไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงเป็นอย่างอื่นได้

การใช้ปืนเอ็ม 16 และปืนทาโวร์ของเจ้าหน้าที่ได้กำหนดชัดเจนว่าจะต้องยิงทีละนัด จะไม่มีการยิงเป็นชุดหรือยิงแบบอัตโนมัติโดยเด็ดขาด และจะไม่มีการใช้อาวุธอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้” [11]

แต่อย่างไรก็ดี ในปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหาร ข้อมูลเกี่ยวกับบาดแผลของผู้เสียชีวิต 54 ราย จากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ทหารในเหตุการณ์ กระชับวงล้อมตั้งแต่วันที่ 14 – 19 พฤษภาคม แสดงการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ทหารในทางตรงกันข้าม


ที่ มา ปรับปรุงจากข้อมูลสถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2553

กราฟด้านบนแสดงสาเหตุของการ เสียชีวิตและบริเวณของบาดแผลของผู้เสียชีวิตทั้งสิ้นจำนวน 54 ราย โดย 40 รายเสียชีวิตจากกระสุนปืน ในขณะที่มากกว่าครึ่งพบบาดแผลบริเวณช่วงบนของลำตัว อาทิ ใบหน้า/ศีรษะ หน้าอก ท้อง ปอด และลำคอ หากวิเคราะห์ประกอบกับสถิติยอดผู้เสียชีวิต ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2553 จากศูนย์เอราวัณ [12] ผู้เสียชีวิตเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ รวม 2 นาย ขณะที่พลเรือนเสียชีวิต 53 ราย

ข้อมูลบาดแผลและสาเหตุการเสีย ชีวิตดังกล่าวนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงภาพรวมการปฏิบัติการทางทหารของรัฐบาล ไทยอันขัดต่อกฎการใช้กำลัง 3 ข้อที่ศอฉ.ประกาศไว้แล้ว ยังชวนให้ตั้งข้อสงสัยว่า หากผู้ชุมนุมส่วนใหญ่มีอาวุธสงครามจริง หรือหากมี ผู้ก่อการร้ายแฝงตัวอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมจริง เหตุใดตัวเลขผู้เสียชีวิตจึงเป็นผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ไม่มีอาวุธมากกว่าตัว เลขผู้เสียชีวิตที่เป็นทหารหลายเท่าตัว?

2.2.1 เหยื่อการใช้กำลังทหารเกินขอบเขต (Excessive use of force)

ยกตัวอย่าง กรณีนายสมา พันธ์ ศรีเทพ อายุ 17 ปี หนึ่งในผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ กระชับวงล้อมจากการให้การของบิดายืนยันว่าบุตรชายถูกยิงเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่ทหาร ระหว่างการปะทะบริเวณซอยรางน้ำ วัน 15 พฤษภาคม เวลาประมาณ 8.30 น. โดยไม่พบอาวุธใดๆในตัวนายสมาพันธ์และผู้ชุมนุมที่ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณใกล้ เคียงทั้งหมด จากการชันสูตรพลิกศพโดยแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่านายสมาพันธ์เสียชีวิตที่โรงพยาบาล [13] เวลา 11.55 น. จากสาเหตุ “Gun Shot Wound at Head หรือ ถูกกระสุนปืนลูกโดดที่ศีรษะด้านหลังทำให้เนื้อสมองฉีกขาด

การเสียชีวิตของนายสมาพันธ์ สะท้อนปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหารอันขัดกฎการใช้กำลังหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการยิงผู้ชุมนุมมือเปล่าซึ่งไม่สามารถคุกคามชีวิตของเจ้า หน้าที่ทหาร การยิงระดับเหนือหัวเข่าให้ถึงแก่ชีวิต (fatal shot) ซึ่งไม่ใช่การยิงเพื่อเตือนหรือสกัดกั้น (warning shot) เท่ากับเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ การกระทำดังกล่าวยังชวนให้ตั้งคำถามต่อปฏิบัติการของรัฐว่า สามารถแน่ใจได้อย่างไรว่ายิงถูกกลุ่มเป้าหมายที่เป็น ผู้ก่อการร้ายทั้งๆที่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถระบุตัว ผู้ก่อการร้ายได้?

บิดาของนายสมาพันธ์ยังเล่า เพิ่มเติมอีกว่า พยานซึ่งเป็นเจ้าของบ้านบริเวณที่บุตรชายของเขาถูกยิงบอกเขาว่า ขณะเกิดเหตุนายสมาพันธ์ไม่ได้เสียชีวิตในทันที แต่ทหารไม่ยอมให้อาสาสมัครพยาบาลเข้าไปให้ความช่วยเหลือในบริเวณพื้นที่ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวยังเป็นการละเมิดสิทธิในการมีชีวิตของผู้ได้รับบาด เจ็บอย่างร้ายแรง และขัดหลัก BPUFFLEO มาตรา 5c ที่ระบุให้หน่วยแพทย์ต้องสามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้บาดเจ็บได้อย่างทันท่วงที


ภาพนาย สมาพันธ์ถูกยิงเสียชีวิตจากเหตุการณ์กระชับวงล้อม

2.2.2 ผู้รอดชีวิตจากการยิงโดยไม่เลือกเป้า (Indiscriminate shooting)

จากการสัมภาษณ์ [14] นายเนลสัน แรนด์ นักข่าว France 24 ชาวแคนาดา วัย 34 ปีให้ข้อมูลว่า วันที่ 14 พฤษภาคม เวลาประมาณ 14.00 น. เขาเข้าไปถ่ายภาพการปะทะกันระหว่างทหารและผู้ชุมนุมเสื้อแดง บริเวณสวนลุมพินี โดยสวมเสื้อยืดสีดำ กางเกงสีฟ้า สะพายกล้องขนาดใหญ่ยืนอยู่ฝั่งผู้ชุมนุม เขาถูกกระสุนที่ยิงมาจากฝั่งทหารยิงติดๆกัน ถูกมือซ้าย ขาซ้าย และท้อง ก่อนการ์ดเสื้อแดงจะช่วยชีวิตไว้โดยพาซ้อนมอเตอร์ไซด์ไปส่งโรงพยาบาลจุฬาฯ โดยยังมีการยิงตามหลัง ถูกมอเตอร์ไซด์เป็นรอยกระสุนสองรู เขาบอกด้วยว่าแพทย์ที่ทำการผ่าตัดช่วยชีวิตบอกเพื่อนเขาว่ากระสุนที่ใช้ยิง เป็นกระสุนปืนเอ็ม 16

การยิงนายเนลสันถือเป็นการ ละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากลและกฎการใช้กำลังยิงใส่นักข่าว ซึ่งไม่มีอาวุธและไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย ซ้ำยังน่าจะเป็นการยิงแบบอัตโนมัติที่สามารถทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต ไม่ได้มีลักษณะเป็นการสกัดกั้นโดยยิงทีละกระสุนตามที่โฆษก ศอฉ. กล่าวแต่อย่างใด

2.3 มีการควบคุมการใช้อาวุธอย่างระมัดระวัง

หลัก BPUFFLEOกำหนดให้เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ควบคุมฝูงชนต้องผ่านการอบรมการใช้ กำลังและอาวุธอย่างมืออาชีพ และมีการตรวจสอบสมรรถภาพการทำงานอย่างสม่ำเสมอ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 18, 19) ทั้งนี้เพราะการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐมักอยู่ภายใต้ภาวะกดดัน เจ้าหน้าที่เหล่านั้นต้องสามารถเข้าถึงการให้คำปรึกษา (counseling) (หลัก BPUFFLEO ข้อ 21) และได้รับการอบรมเกี่ยวกับจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ สิทธิมนุษยชน ทางเลือกอื่นนอกเหนือจากการใช้กำลัง อาทิ การเจรจาความขัดแย้งอย่างสันติ ความเข้าใจพฤติกรรมของฝูงชน และวิธีการโน้มน้าวและเจรจาไกล่เกลี่ยต่อรองเพื่อลดการใช้กำลังและอาวุธ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 20) หลัก PEPIEASE ข้อ 2 ระบุให้รัฐบาลต้องควบคุมการปฏิบัติการใช้กำลังและอาวุธ อย่างเข้มงวด รวมถึงการออกคำสั่งอย่างชัดเจนต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและ โดยพลการ นอกจากนั้นต้องมีควบคุม จัดเก็บ และลงทะเบียนการออกอาวุธอย่างเป็นระบบ รวมทั้งจัดให้มีกระบวนการแสดงความรับผิดชอบต่อการใช้อาวุธในครอบครองของเจ้า หน้าที่รัฐ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 11 a, d)

แต่น่าสังเกตว่า กรณีการสลายการชุมนุมเสื้อแดงโดยใช้กำลังทหารดูจะไม่ได้เป็นไปตามเกณฑ์ดัง กล่าว ยกตัวอย่างกรณีการยิงนายสรายุทธ อำพันธ์ เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพร่วมกตัญญู อายุ 22 ปี นายสรายุทธให้สัมภาษณ์ [15] โดยสรุปได้ใจความว่า วันที่ 14 พฤษภาคม ประมาณ 16.00 น. ก่อนเกิดเหตุเขา พร้อมด้วยนายธีรภัทร กลมเกลี้ยง หัวหน้าทีมหน่วยกู้ชีพ และเจ้าหน้าที่หญิงอีกหนึ่งรายได้จอดรถไว้ที่ลานจอดรถโรงแรมพินนาเคิล ซอยงามดูพลี เพื่อเตรียมให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะระหว่างเจ้า หน้าที่รัฐและผู้ชุมนุมเสื้อแดง หลังจากนั้นมีผู้ชุมนุมจำนวนหนึ่งวิ่งหนีทหารที่วิ่งไล่กวดมาก่อนหนีออกไป ยังท้ายซอย เมื่อทหารตามมาถึงบริเวณที่รถของหน่วยกู้ชีพจอดอยู่ นายสรายุทธและเจ้าหน้าที่หญิงได้เข้าไปหลบอันตรายอยู่ในรถ ส่วนนายธีรภัทรซึ่งยืนอยู่ข้างๆรถให้ข้อมูลว่า ทหารนายหนึ่งซึ่งแต่งกายคล้ายหัวหน้าหน่วยบังคับบัญชาตะโกนใส่เขาว่ามึงเกี่ยวข้อง(กับผู้ชุมนุม)ด้วยรึเปล่า?” หัวหน้าทีมจึงตอบไปว่าไม่เกี่ยว เราเป็นหน่วยกู้ชีพพร้อมกับชี้ไปยังเครื่องแบบสีขาวของตน ก่อนจะเปิดประตูรถเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้ชุมนุมหลบซ่อนอยู่และยกมือ ทั้งสองข้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนไม่มีอาวุธ แต่ทันทีหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ทหารอีกนายซึ่งอยู่ห่างกันไม่เกิน 10 เมตร ได้ยิงปืนเข้าไปในรถของหน่วยกู้ชีพ เป็นเหตุให้กระสุนปืนยิงทะลุเส้นเลือดบริเวณข้อมือซ้ายของนายสรายุทธขณะเอื้อมมือไป เปิดสวิตช์ไฟ เพื่อให้ภายในรถสว่าง นายสรายุทธเสียเลือดเป็นจำนวนมาก หัวหน้าทีมจึงรีบขับรถออกจากที่เกิดเหตุเพื่อนำตัวนายสรายุทธไปส่งโรงพยาบาล ขณะขับฝ่ากลุ่มทหารดังกล่าว หัวหน้าทีมได้ตะโกนถามไปว่าเหตุใดต้องยิงกันด้วย หัวหน้าหน่วยบังคับบัญชาตะโกนกลับมาว่าเพราะพวกมึงขว้างของใส่พวกกูก่อน


ภาพกระสุน ปืนความเร็วสูงยิงทะลุกลางกระจกรถหน่วยกู้ชีพ (ภาพ ถ่ายโดยผู้เขียน)


คราบ เลือดของนายสรายุทธภายในรถของหน่วยกู้ชีพ (ภาพ ถ่ายโดยผู้เขียน)

เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนสากล และกฎการใช้กำลังของศอฉ.อย่างชัดเจนหลายประการ

  1. เป็นการตั้งใจยิงโดยถือเป็นการใช้กำลังเกินกว่าเหตุ (reckless shooting / excessive use of force) ทั้งๆที่เจ้าหน้าที่หน่วยกู้ชีพแสดงตนชัดเจนว่าไม่มีอาวุธและไม่ได้เป็นผู้ก่อการร้าย
  2. เป็นการยับยั้งการทำงานของหน่วยกู้ชีพในการปฏิบัติ หน้าที่ของตนอย่างทันท่วงที ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิตของผู้ที่รอได้รับการช่วยเหลือ
  3. ปฏิบัติการใช้กำลังขณะที่หัวหน้าหน่วยบังคับบัญชาของทหาร และลูกน้องอยู่ในสภาพกดดันและมีสภาวะทางอารมณ์ซึ่งไม่ปกติ ส่งผลให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องได้รับบาดเจ็บสาหัส

2.4 มีการตรวจสอบ (Investigation) และการรับผิด (Accountability)

ในกรณีที่มีการใช้อำนาจโดยมิ ชอบและละเมิดหลักการสากลพื้นฐานดังที่กล่าวมาข้างต้น หลัก BPUFFLEO ข้อ 7และ 8 ระบุให้มีการนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายอาญาภายในประเทศ โดยไม่มีการยกเว้นไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินหรือความ ขัดแย้งทางการเมืองใดๆ นอกจากนั้นผู้บังคับบัญชายังต้องรับโทษหากรับทราบหรือสมควรจะต้องรับทราบ กรณีเจ้าหน้าที่ใต้บังคับบัญชาละเมิดหลักการใช้อาวุธ (หลัก BPUFFLEO ข้อ 24 และหลัก PEPIEASE ข้อ 15, 19)

ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่าง หลักสากลและกฎหมายของไทยต่อการรับโทษอันเกี่ยวข้องกับใช้อาวุธขณะปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐคือ หลักสากลอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิปฏิเสธการใช้กำลังและอาวุธได้โดยไม่ ต้องรับโทษทางวินัยหรืออาญา (หลัก BPUFFLEO ข้อ 25) โดยเฉพาะหากคำสั่งนั้นนำมาสู่การเสียชีวิตและบาดเจ็บอันมิชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีดังกล่าวผู้บังคับบัญชาต้องแสดงรับผิดชอบต่อการออกคำสั่งของตน (หลัก BPUFFLEO ข้อ 26) ในขณะที่พระราชกำหนดแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินของไทย ข้อ 17 ระบุว่า

พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดนี้ ไม่จำเป็นต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินแก่กรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

เนื้อหาในมาตราดังกล่าวของพรก.ฉุกเฉินอาจก่อให้เกิดปัญหา ในการตีความที่ขัดแย้งต่อหลักการสากล เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจเกินขอบเขต และส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้อื่นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิต เช่น หลัก PEPIEASE ข้อ 3 รัฐบาลต้องหยุดคำสั่งที่มาจาก ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานใดๆที่จะนำมาสู่การสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและโดยพลการ ทุกคนมีสิทธิและหน้าที่ที่จะปฏิเสธการปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

ในแง่การตรวจสอบข้อเท็จจริง ความรุนแรงจากการใช้กำลังทหาร หลัก PEPIEASEไม่เพียงแต่ระบุเกณฑ์การตรวจสอบ รวมถึงกระบวนการชันสูตรพลิกศพไว้อย่างชัดเจน แต่ยังกำหนดให้รัฐบาลให้ความร่วมมือในการใช้กลไกระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบ ได้ (หลัก PEPIEASE ข้อ 8) การกระทำดังกล่าวจะช่วยให้การตรวจสอบข้อเท็จจริงมีความน่าเชื่อถือและแสดง ถึงความตั้งใจอันดีของรัฐบาลในการสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย อีกด้วย

3. สรุป

กฎการใช้กำลังตามหลักสากล คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะสิทธิในการมีชีวิต ที่ได้รับการปกป้องและคุ้มครองใน UDHR กติกา ICCPR รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และหลักการสากลอื่นๆ โดยไม่เว้นแม้แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน การพิจารณาว่าการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐในการสลายการชุมนุมมีความชอบธรรม หรือไม่ จำเป็นต้องพิจารณาบริบทแวดล้อมควบคู่กัน กล่าวคือการสลายการชุมนุมโดยใช้กำลังตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นผลจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินขั้นร้ายแรงเพื่อควบคุมการชุมนุม เสื้อแดงที่ดำเนินมาอย่างสันติ ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพสื่อ เสรีภาพในการเดินทาง และเสรีภาพในการรวมกลุ่มของผู้ชุมนุม ที่เลวร้ายยังนำมาสู่การใช้กำลังอันเกินขอบเขตของรัฐบาลต่อชีวิตของผู้ ชุมนุมส่วนมากที่ไม่มีอาวุธ ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในหลากหลายรูปแบบตามมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ลักษณะของปฏิบัติการใช้กำลัง ของรัฐบาลไทยที่ผ่านมาเป็นการ 1) ยิงโดยไม่เลือกเป้าหมาย (indiscriminate shooting) หรือไม่ได้เป็นไปเพื่อป้องกันตัว 2) ใช้สัดส่วนการใช้กำลังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงการใช้กำลังเกินขอบเขตจากการยิงด้วยกระสุนปืนความเร็วสูง (excessive use of force) 3) สั่งปฏิบัติการในเวลาค่ำโดยไม่คำนึงถึงวิสัยทัศน์ในการมองเห็นของเจ้า หน้าที่ผู้รักษากฎหมายกับผู้ชุมนุม 4) ขาดการควบคุมการใช้อาวุธอย่างระมัดระวังและเข้มงวด และ 5) ขาดความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติการที่ละเมิดหลักสากลและกฎการใช้กำลังของศอฉ.

ทั้งหมดนี้ถือเป็นการละเมิด สิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จำเป็นที่รัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนปัจจุบันยังไม่มีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษแต่อย่างใด หากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี องค์กรนิรโทษกรรมสากลเรียกร้องว่าจะต้องเป็นไปตามข้อกล่าวหา ตามกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไม่ใช่ข้อกล่าวหาที่ตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุก เฉิน พ.ศ. 2548 รวมทั้งไม่ควรกำหนดให้มีโทษประหารสำหรับการลงโทษใดๆ[16]

การตั้งคณะกรรมการโดยรัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งสองเหตุการณ์ ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสังคมไทยและนานาชาติ โดยเฉพาะความเป็นกลางของคณะผู้ตรวจสอบ รัฐบาลต้องตระหนักถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายในทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน หรือประชาสังคม ไม่เช่นนั้นแล้วก็จะส่งผลให้การประสานความร่วมมือ และความไว้วางใจจากทุกฝ่ายเป็นไปได้โดยยาก ดังนั้นในโอกาสที่รัฐบาลไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสห ประชาชาติ (UN Human Rights Council) รัฐบาลไทยควรแสดงเจตจำนงในการเคารพและปกป้องสิทธิมนุษยชนของทุกคน โดยใช้กลไกตรวจสอบสิทธิมนุษยชนภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อนำมาซึ่ง ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และสร้างความสงบสุขและความมั่นคงของบ้านเมืองอย่างแท้จริง

เชิงอรรถ:

[1] ศอฉ.เตรียมส่งกำลังทหารเสริมตำรวจแต่ละพื้นที่เพื่อดูแล ความปลอดภัยให้ประชาชน, 20 พฤษภาคม 2553 http://media.thaigov.go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent1.asp?pageid=471&directory=1779&contents=44812

[2] ตัวเลขดังกล่าวไม่รวมเหตุการณ์ปะทะในพื้นที่ต่างจังหวัด

[3] พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00166932.PDF

[4] หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืนโดยเจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมายhttp://www.legislationline.org/documents/action/popup /id/7786

[5] หลักการเพื่อการป้องกันและสอบสวน การสังหารนอกกระบวนการกฎหมายและโดยพลการอย่างเป็น ผลhttp://www.legislationline.org/documents/action/popup/id/7793

[6] คลิปแถลงการณ์ศอฉ.ขอคืนพื้นที่” http://www.youtube.com/watch?v=Fdf174wCnxk& amp;feature=related

[7] คลิปแถลงการณ์ศอฉ.ขอคืนพื้นที่” (นาทีที่ 8.27) http://www.youtube.com/watch?v=Fdf174wCnxk&feature=related

[8] ศอฉ.ยันมีกลุ่มก่อการร้ายแฝงตัวก่อเหตุ-ต้องจัดการขั้นเด็ดขาด, 12 เมษายน 2553 http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/43931.html

[9] ประชาไท รายงาน: ปากคำผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ 10 เมษา 53” http://www.prachatai3.info/journal/2010/04/28999

[10] คลิปศอฉ.การใช้กระสุนจริง http://www.youtube.com/watch?v=ul8zyIqpP-U

[11] คลิปศอฉ.การใช้กระสุนจริง http://www.youtube.com/watch?v=ul8zyIqpP-U

[12] ดู Appendix 1

[13] หมายเหตุ: พยานผู้เห็นเหตุการณ์แจ้งว่าเสียชีวิตก่อนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล บิดาได้รับแจ้งข่าวการเสียชีวิตของบุตรชายเวลาประมาณ 10.00 น.

[14] สัมภาษณ์โดยผู้เขียนวันที่ 9 พฤษภาคม 2553 ณ โรงพยาบาล BNH ซอยคอนแวนด์ กรุงเทพฯ หลังนายเนลสันกลับเข้ารับการผ่าตัดแปะเนื้อบริเวณเท้าซ้าย

[15] สัมภาษณ์โดยผู้เขียน ณ ห้องพักพิเศษ โรงพยาบาลพระมงกุฎ

[16] องค์กรนิรโทษกรรมสากล, จดหมายเปิดผนึกถึงฯพณฯ นายกรัฐมนตรีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขอให้มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง Ref: ASA 39/004/2010, 11 มิถุนายน 2553



1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ18 กันยายน 2553 เวลา 01:28

    น่าตายให้หมดนะพวกมรึงทั้งหลาย รักเหลือเกิน ไอ้แม้วเนี่ย ในหลวงไม่รักดันไปรักเหี้ย...

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน