แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักวิชาการยกยุติธรรมแบบไทย‘ลืม มึน งง’-คอป.ชี้ทำงานยาก ‘ความจริง’ อาจไม่นำสู่ปรองดอง

Fri, 2010-11-05 12:49

นัก วิชาการนำเสนอการศึกษาการจัดการความจริงและการปรองดองจากตัวอย่างหลายประเทศ ชี้หากไม่เปลี่ยนระบอบเป็นประชาธิปไตยแท้แก้ปัญหาไม่ได้ ยกไทยโมเดล ลืม มึน งงคอป.ส่งกิตติพงษ์ร่วมแจงความยุติธรรมมีมากกว่าเรื่องกฎหมายความจริงต้องมาก่อน แต่อาจไม่นำไปสู่การปรองดอง เร่งดูประเด็นผู้ถูกจับกุม ด้าน พ่อน้องเฌอเขียน บาป 7 ประการของรัฐบาลอภิสิทธิ์


4 พ.ย.53 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณีเม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) จัดสัมมนาเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านหลังกรณี เม.ย.พ.ค. 53:การแสวงหาความจริง-การรับผิด-ความยุติธรรม-ความปรองดองที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ไฟล์เสียงสามารถดาวน์โหลดได้จากลิงก์ด้านล่าง) โดยในช่วงเช้ามีการนำเสนอบทความนำการสัมมนาเรื่องความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านกับกรณีของประเทศไทยของ ธงชัย วินิจจะกูล และมีการอภิปรายเรื่อง ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน: กรณีศึกษาจากต่างประเทศได้แก่ กรณีเกาหลีใต้ นำเสนอโดย พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กรณีอาร์เมเนีย นำเสนอโดย แดนทอง บรีน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) กรณีอาร์เจนตินา โดย ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักเขียนอิสระ กรณีกัมพูชา ชิลี แอฟริกาใต้ และกรณีเปรียบเทียบ โดย อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มธ. (กรณีศึกษาของประเทศต่างๆ ฉบับเต็ม ประชาไทจะทยอยนำเสนอเป็นลำดับต่อไป)

ยุติธรรมแบบไทย ยุติธรรมแบบ ลืม มึน งง

ประจักษ์ กล่าวว่า ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านคือการทำให้สังคมประชาธิปไตยมีกลไกที่จะ ป้องกันและแก้ไขไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมที่รัฐได้ใช้ความรุนแรงละเมิดสิทธิ มนุษยชนของประชาชนของตนเองซ้ำอีก ซึ่งบทเรียนจากประเทศต่างๆ ทำให้ได้เรียนรู้ว่าแต่ละประเทศมีรูปแบบเฉพาะตัว แต่ที่เหมือนกันคือไม่มีรัฐบาลที่เป็นผู้ลงมือใช้ความรุนแรงที่ใดในโลกลงโทษ ตัวเอง หรือสถาปนาความจริงได้อย่างเที่ยงตรง และจากประสบการณ์ทั่วโลก ความจริงและความยุติธรรมจะเกิดได้ต้องมีการเปลี่ยนผ่านก่อน คือ เปลี่ยนระบอบการเมือง หรือเปลี่ยนรัฐบาล เปลี่ยนตัวผู้นำที่สั่งการใช้ความรุนแรงเป็นอย่างน้อย ถ้ายังไม่เปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยแท้จริง แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความยุติธรรม รวมถึงความปรองดอง

ส่วน กลไกนั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินคดีผ่านศาล การตั้งคณะกรรมการแสวงหาความจริง การชดเชยและเยียวยาทั้งในรูปเงิน สิ่งของ คำขอโทษ การยอมรับผิด การปฏิรูปหน่วยงานความมั่นคง ขณะที่การปลดคนที่เคยทำงานกับระบอบเก่าออกจากระบบราชการซึ่งใช้ในยุโรปตะวัน ออกนั้นมีปัญหาการเหวี่ยงแห ส่วนการนิรโทษกรรมนั้นแอฟริกาใต้ใช้อย่างมีเงื่อนไขเพื่อแลกกับความจริง แต่ไทยใช้อย่างไม่มีเงื่อนไขทำให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่ต้องรับผิด ทั้งยังมีปัญหาถกเถียงกันว่าการนิรโทษกรรมไม่ได้ทำให้เกิดความยุติธรรม เป็นการพรากสิทธิของเหยื่อในการฟ้องคดี

สำหรับ โมเดลที่เห็นว่าน่าศึกษาและค่อนข้างสมบูรณ์ ประจักษ์เห็นว่า คือกรณีของอาร์เจนตินา ส่วนโมเดลไทยนั้นเขาขนานนามว่า ลืม มึน งงคือ ทำให้คนในสังคมลืมเรื่องนี้เสีย และสร้างวาทกรรมผ่านช่องทางต่างๆ หลายอย่างทำให้คนในสังคมเริ่มมึนงง จนสังคมจะรู้สึกความจริงมีหลายด้าน ซับซ้อน และสุดท้ายจึงสรุปว่า ช่างมันฉันไม่แคร์ ส่วนกลไกหลักที่ไทยใช้คือ การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งในระยะหลังก้าวหน้าขึ้นมากเพราะใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน นิรโทษกรรมล่วงหน้า

กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล กล่าวสรุปกรณีศึกษาประเทศต่างๆ ว่าจุดที่น่าสนใจของเกาหลีคือ การยอมรับอำนาจของประชาชนในการต่อสู้กับรัฐ ประชาชนสามารถใช้อาวุธได้เมื่อรัฐใช้ความรุนแรงก่อน เป็นสิทธิตามความจำเป็นของประชาชน, การยอมรับสิทธิในการรื้อฟื้นการเอาผิดในอดีต ทำให้เกิดการลงโทษประธานาธิบดีอย่างน้อย 2 คน แม้ว่าไม่ได้ถูกลงโทษด้วยข้อหาฆ่าประชาชน แต่ก็ถูกลงโทษด้วยเหตุผลการละเมิดรัฐธรรมนูญ

กรณีอัลเมเนีย กระบวนการยุติธรรมยังมาไม่ถึง แต่มีความพยายาม มีบทบาทของสภายุโรปที่เข้ามาแทรกแซง แนะนำให้ตั้ง fact finding group ได้ กรณีอาร์เจนตินามีประสบการณ์กว่า 20 ปีในการทำให้เกิดความยุติธรรมกับเหยื่อที่สูญหาย 9,000 คน และสามารถปฏิรูปสถาบันหลักๆ ที่เป็นต้นตอของ ภัยสยองหรือการอุ้มหายได้ จนท้ายที่สุด สามารถปลดนายทหารระดับสูงออกไปได้ถึง 3 ใน 4 มีการทำให้การตัดสินใจให้การใช้กฎหมายนิรโทษกรรมเป็นโมฆะ

กฤตยา กล่าวว่า อย่างไรก็ตามการจัดเวทีครั้งนี้ตระหนักดีว่าสังคมไทยยังไม่อยู่ในสภาวะ เปลี่ยนผ่าน แม้การเปลี่ยนระบอบจะเป็นสิ่งพื้นฐานอยู่ในเอกสารการศึกษาของวันนี้ทุกฉบับ ทั้งนี้ การเปลี่ยนระบอบโดยทั่วไปหมายถึงการเปลี่ยนจากเผด็จการไปสู่ประชาธิปไตย แต่แม้ยังไม่เปลี่ยนผ่านเราก็สามารถสร้างเวทีวิชาการเพื่อให้เข้าใจกระบวน การเปลี่ยนผ่านของประเทศอื่นๆ ได้

ในช่วงบ่ายมีการเสวนาเรื่องความ ยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านแบบไทยๆโดยมีวิทยากร ได้แก่ ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา ม.มหิดล, พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์กรณี เม.ย.-พ.ค. 2553 อนุดิษฐ์ นาครทรรพ พรรคเพื่อไทย, กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ขณะที่ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไม่ได้เข้า ร่วมตามคำเชิญ

กิตติพงษ์ชี้ปรองดองเริ่มต้นที่คลี่ความจริง รับ คอป.เจอคำถามความชอบธรรม

กิตติพงษ์ ตัวแทนคอป. กล่าวว่าความยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านหรือ “Transitional Justice” ไม่ใช่แนวคิดที่เน้นการลงโทษอย่างเดียวมาใช้ได้เพราะถึงที่สุดทุกฝ่ายก็ยัง ต้องอยู่ร่วมกันในสังคม จึงไม่ใช่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว แต่รวมถึงมาตรการอื่นๆ เช่น การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ผลักดันประชาธิปไตข เพื่อจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนขนาดใหญ่ที่กระบวนการยุติธรรมปกติไม่ สามารถจัดการได้

ส่วนมาตรการที่ใช้มี 4-5 เรื่อง ซึ่งแต่ละเรื่องไม่ได้แยกจากกันเด็ดขาดได้ นั่นคือ การฟ้องคดีผู้ละเมิด, การแสวงหาความจริงโดยคณะกรรมการอิสระ ซึ่งเข้าไปหาความจริงในช่วงเวลาที่กว้างกว่าการดุว่าเกิดอะไรขึ้น แต่หาความจริงว่าทำไมเหตุการณ์แบบนี้จึงเกิด, การเยียวยาทั้งทรัพย์สินและจิตใจ, การนำเสนอทางออกเพื่อนำสู่การอยู่ร่วมกันได้, การปฏิรูปสถาบันความมั่นคง ซึ่งอาจรวมถึงศาลด้วย, กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย

กิตติพงษ์ยังกล่าวถึงเรื่องคณะกรรมการไต่สวนหรือ Truth Commission ด้วยว่าต้องค้นหาความที่กว้างและมีกระบวนการนำไปสู่ความยุติธรรม อย่างไรก็ตามความจริงอาจไม่นำไปสู่สันติภาพ เพราะมันนำไปสู่การฟ้องคดีการแก้แค้น ถ้าเป็นความขัดแย้งในความคิดทางการเมืองแล้วนำไปสู่การเข่นฆ่า ต้องทำความเข้าใจว่าคนทั้งสองฝ่ายโดยพื้นฐานไม่ได้เป็นอาชญากรแต่ต้น แต่สถานการณ์ต่างๆ มันทำให้เขาเป็น แน่นอนว่าเขาต้องรับผิดชอบ แต่รับผิดชอบแบบไหนจึงจะเหมาะสม ดังนั้นแนวทางแบบยุติธรรมสมานฉันท์อาจนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืนว่า

อย่าง ไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมดไม่มีทางลัด ถ้าเริ่มต้นว่ามาปรองดองกันไหม คนที่ตายไปแล้วอาจถามว่าคุณมีสิทธิอะไร ประเทศนี้เป็นของคุณหรือกิตติพงษ์กล่าวและยอมรับด้วย่วา ไม่แน่ใจว่า รัฐบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา จะตั้งคณะกรรมการไต่สวนได้หรือเปล่า อย่างไรก็ดี คณะกรรมการชุดของนายคณิต ณ นคร นั้นไม่ต้องการไต่สวนชี้นิ้วว่าใครผิดใครถูกเท่านั้น แต่การทำงานนั้นยาก ความไว้วางใจติดลบแต่ต้นเพราะคณะกรรมการตั้งโดยคู่ขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ตนพยายามจะทำให้เดินหน้าไปได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อลดการฆ่ากันให้ได้มากที่สุด เปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้ไม่มีโอกาสพูดได้พูด เพราะเชื่อว่าไม่ต้องรอให้เปลี่ยนระบบก็สามารถทำให้เกิดความยุติธรรมได้

ศรีประภาชี้รัฐสอบตกทุกข้อสร้างยุติธรรม

ศรี ประภา ม.มหิดล กล่าวว่า ไม่แน่ใจว่าจะพูดเรื่องนี้ได้เพราะไทยไม่ได้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน อย่างไรก็ตามม เวลาพูดถึงเรื่องนี้ต้องยอมรับก่อนว่ามี เหยื่อเกิดขึ้นแน่นอน แต่สังคมไทยยังไม่ยอมรับเรื่องนี้ และต้องอยู่บนความเชื่อเรื่องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐมีพันธกรณีอย่างน้อย 4 ประการ 1. หามาตรการในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ให้เกิดขึ้นอีก 2.ตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน 3. ลงโทษผู้กระทำผิด ที่ผ่านมารัฐไทยไม่ว่ารัฐบาลไหนไม่มีความพยายามจะลงโทษผู้กระทำผิด 4.หาทางเยียวยาความเสียหายให้เหยื่อของการละเมิด โดยเหยื่อมีสิทธิอย่างน้อย 3 ประการ คือ สิทธิที่จะเข้าถึงความจริง สิทธิที่จะเข้าถึงความ สิทธิที่จะเข้าถึงการเยียวยา

ศรีประภากล่าวว่า เวลาพูดถึงความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านมีเป้าหมายในหลายเรื่อง 1.พยายาม เยียวยาความแตกแยกในสังคม 2.เพื่อปิดฉากความขัดแย้ง สมานบาดแผลในความรู้สึกคนและสังคม โดยผ่านการบอกกล่าวความจริง 3.ให้ความยุติธรรมแก่เหยื่อและให้ผู้กระทำผิดรับผิดชอบ 4.บันทึกประวัติศาสตร์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงให้สังคมได้รับรู้ 5.ฟื้นฟูความเป็นนิติรัฐ 6.ปฏิรูปสถาบันต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน 7.ให้หลักประกันว่าการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะไม่เกิดขึ้นอีก 8.ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันและสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืน (เรสเทอเรทีฟ จัสติส) ความยุติธรรมสมานฉันท์ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างปัจเจกแต่ละคนและสังคม ซึ่งแม้มีความพยายามแต่รัฐดูเหมือนจะล้มเหลวทุกข้อ

สำหรับ ข้อเสนอทางออกคือ แก้ไขปัญหาที่รากเหง้า, ให้ทุกฝ่ายมีโอกาสกลับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ, การป้องกันการกระทำผิดโดยชุมชนมีโอกาสมีส่วนร่วม, การให้ข้อเท็จจริงที่จะนำมาซึ่งความจริง มีการสนทนากันระหว่างเหยื่อและผู้กระทำผิด

พ่อน้องเฌอเขียนบาป 7 ประการของรัฐบาลอภิสิทธิ์

พันธ์ ศักดิ์ พ่อผู้สูญเสียลูกชายในเหตุการณ์สลายการชุมนุมกล่าวว่าหลังสูญเสียลูกชายก็ ไม่สามารถพึ่งใครได้ในการหาความจริงและความยุติธรรม จึงได้เรียบเรียบเป็นบันทึกบาป 7 ประการของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ดังนี้

1. การ ใช้ความกลัวครอบงำสังคมผ่าน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน แม้จะบอกว่าคงพรก.ไว้สุจริตคนดำเนินชีวิตได้ตามปกติ นอกจากเอาไว้คุกคามคนเสื้อแดงแล้ว ยังเห็นทหารตามที่สาธารณะพร้อมการปล่อยข่าวระเบิด ทำให้คนที่ไม่เห็นด้วยกับเสื้อแดงรู้สึกอบอุ่นเมื่ออยู่ใกล้ทหาร ถือเป็นมาตรการการสร้างความกลัวแห่งชาติ

2. การ เลือกปฏิบัติในการช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายจากการชุมนุม ผู้ชุมนุมนั้นมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าคนชุมนุมที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิตนั้นเกี่ยวพันกับความรุนแรงหรือ ไม่ แต่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพดูง่ายๆ ว่าเป็นเสื้อแดงหรือเปล่า ถ้าใช่ก็รอไว้ก่อน ทำให้หลายคนไม่ได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด เรื่องน่าตกใจคือ ผอ.สำนักงานให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายทางคดีอาญาเล่าอย่างดู ถูก ขำขันถึงกรณีหนึ่งที่ได้รับบาดเจ็บว่าทั้งหูหนวกและโดนยิงอัณฑะจึงให้ไป หมื่นห้าพันบาท

3. การสร้างความเคียดแค้นชิงชิงผ่านแคมเปญต่างๆ ขอความสุขคืนกลับมา , together we can ทั้งที่ต่างประเทศเป็นการรณรงค์เรื่องสิทธิที่เขียนว่า together we care มาตรการหลายอย่างก็เหมือนชำเราซ้ำจุดเดิมที่ญาติตัวเองเคยโดน เช่น กรณีกรุงเทพมหานครมอบเงินช่วยเหลือญาติในงานเปิดมหกรรมช็อบปิ้งที่ราช ประสงค์

4. การผลักไสให้เป็นอื่น ผ่านคณะกรรมการ ช่วงช่วง หลินหุ้ย และหลินปิง ซึ่งแยกแยะความแตกต่างทั้ง 3 ชุดได้ และกรรมการทั้งหมดไม่เคยมีการติดต่อกลุ่มญาติเลยมีแต่เพียงรับปากว่าจะ ติดต่อ นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดอีก เช่น เวลาแสดงความคิดเห็นกันในหมู่กรรมการก็จะบอกว่าญาติผู้เสียหายยังมีความ ทุกข์อยู่ เคียดแค้นชิงชังอยู่ แม้แต่พระก็พูดแต่เรื่อง ทุกข์โดยไม่เคยพูดถึง สมุทัย นิโรธ มรรค เช่นเดียวกันกับนักสันติวิธีก็มีลักษณเดียวกัน

5. มีการกระทำทารุณกรรม ข่มขู่ ไล่ล่า คนเสื้อแดงตามต่างจังหวัดอยู่จนปัจจุบัน ทำให้หลายคนเกิดอาการทางจิต หวาดระแวงคนภายนอกหมดแล้ว

6. การ สมคบคิด สร้างหลักฐานเท็จ และเลือกละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในกรณีเสื้อหลากสี การสมคบคิดให้ประชาชนที่ไม่รู้เรื่องมาร่วมทำลายหลักฐาน ทำความสะอาดพื้นที่หลังเหตุการณ์ ขณะที่ดีเอสไอก็ลอยหน้าลอยตาและขยันปล่อยข่าวที่ไม่มีการพิสูจน์ความจริงใดๆ ต่อมา เช่นกรณีการฝึกอาวุธในกัมพูชา

7. การ ปฏิเสธความรับผิดของรัฐบาล ยังไงคุณก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะคุณเป็นรัฐบาล ไม่ว่าใครจะเป็นคนทำความรุนแรง ข้อนี้ยังไม่เคยได้ยินคำขอโทษจากรัฐบาล

เพื่อไทยเชื่อหลักฐานหลั่งไหลหลังเปลี่ยนรัฐบาล

อนุ ดิษฐ์ จากพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า ความยุติธรรมในประเทศนี้ไม่เคยมี และคงไม่มีอีกต่อไป จนกว่าจะมีการปรับเปลี่ยนปัจจัย องค์ประกอบในระดับโครงสร้าง รัฐบาลใช้กฎหมายที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง และใช้ช่องว่างของกฎหมายกลับคนทำถูกกฎหมายให้เป็นผิด และกลับคนทำผิดกฎหมายให้เป็นถูก หลังเหตุการณ์ 10 เมษามีความสูญเสีย แต่กระบวนการในการชันสูตรพลิกศพ การตรวจสอบที่เกิดเหตุไม่เคยเกิดขึ้น กระบวนการตรวจสอบภายหลังก็ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างถูกต้อง ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ให้ฝ่ายรัฐ

หลัง เหตุการณ์หลายหน่วยงานพยายามรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อนำไปสู่ความพิสูจน์ในอนาคต เป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้ว ในส่วนพรรคเพื่อไทยมีการเก็บข้อมูลหลักฐานในที่เกิดเหตุ รวมถึงสืบพยานไว้แล้ว ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ตรงกับที่รัฐบาลชี้แจง สิ่งเหล่านี้จะไม่ปรากฏในวันสองวันนี้ แต่วันหนึ่งข้างหน้า กระบวนการเก็บข้อมูล รวบรวมตรวจสอบ จะถูกนำมาใช้ได้จริงเหมือนกับหลายประเทศที่ผ่านมาแล้ว

คำถามกระหน่ำ คอป. ลั่นทำดีที่สุดแล้ว

ใน แลกเปลี่ยนและตอบคำถาม ผู้ที่ได้รับคำถามมากที่สุดคือ ตัวแทนจากคอป. ทั้งคำถามเกี่ยวกับนิยามความยุติธรรม ข้อแนะนำสำหรับความยุติธรรมด้านกฎหมาย ทำไมไม่เปิดชื่อผู้ถูกออกหมายจับทั้งหมด การบอกว่าจะเปิดโอกาสให้คนที่ไม่มีพื้นที่ได้พูดรูปธรรมคืออะไร การค้นหาความจริงท้ายที่สุดจะชี้ผิดถูกหรือไม่ว่าใครควรต้องรับผิดชอบอย่าง ไร จะพูดเรื่องปฏิรูปสถาบันความมั่นคง รวมไปถึงการอภิปรายเรื่องที่ทางสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยหรือไม่ เท่าที่เก็บข้อมูลมาทราบหรือไม่ว่าใครเป็นฆาตรกรในวันที่ 10 เมษายน

กิตติพงษ์ตอบว่า ความจริงไม่ใช่คำถามใหม่ และคอป.ก็ถูกคาดหวังจากคนหลายๆ กลุ่ม ประการแรก การนิรโทษกรรมโดยไม่มีข้อเท็จจริงหรือเกี๊ยะ เซียะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และคนกลัวว่าอาชญากรรมนี้อาจถูกลืมอีก แต่เวลาเราประเมินสถานการณ์ความขัดแย้งลักษณะนี้ เรานิยามความยุติธรรมว่าอะไร กฎหมายอย่างเดียวพอไหม การให้ผู้ ผู้กระทำมารับผิดชอบในวิธีไหนต้องคุยกันยาว แต่ทั้งหมดต้องเริ่มจากความจริงถามว่าความจริงใครฆ่าตนก็อยากทราบ ถ้ามีข้อมูลควรนำไปให้คณะกรรมการชุดสมชาย หอมลออ

ที่ ผ่านมาเราไม่เคยคุยกันว่าจะสรุปอย่างไร ถ้าได้ข้อเท็จจริงสรุปอย่างไรก็เสนออย่างนั้น แต่ได้ข้อเท็จจริงแล้วสังคมจะเดินอย่างไรต่อเป็นเรื่องที่ทั้งสังคม

คอ ป. ทำอะไรไม่ได้มากนัก ต้องยอมรับ ชุดที่ผมทำ เราไม่อยากจะได้เพียงรายงาน มันช้าและไม่ทันเหตุการณ์ อยากให้คนไม่ตีกันเป็นไปได้ สิ่งที่ผมทำคือการไปคุยกับทุกฝ่าย ไม่เว้นที่เป็นผู้นำ แม้กระทั่งการคุยร่วมกันพร้อมๆ กันก็เป็นสิ่งที่เราคาดหวัง และหวังว่ากระบวนการพูดคุย มีคนไปรับฟังความต้องการแต่ละฝ่ายอย่างเป็นระบบน่าจะเป็นทางออก

รูปธรรม ที่ทำอยู่ และทำไปบ้างแล้วจะเห็นได้จากจดหมายฉบับแรกที่มีถึงนายกฯ เราเรียกว่า การเสริมสร้างบรรยากาศการปรองดองซึ่งเรียกร้องให้ยกเลิก พ.ร.ก. ไม่กล่าวหาทางอาญาเกินกว่าเหตุ ไม่กล่าวหาคนโดยไม่หลักฐาน ปฏิบัติต่อผู้คนอย่างเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เปิดเผยรายชื่อผู้ถูกควบ คุม และกำหนดมาตรการเยียวยาอย่างชัดเจน ซึ่งทั้งหมดไม่ใช่สิ่งที่ไปสั่งได้ทั้งหมด สิ่งที่คิดต่อคือ คนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ ถ้าคนมีความเห็นต่างถูกมองว่าก่อการร้าย ล้มล้างสถาบันทั้งหมดจะเหลือพื้นที่คุยได้อย่างไร มาตรฐานการประกันตัว การเปิดโอกาสให้พูดจาเป็นเรื่องสำคัญ และคอป.จะนำเสนอข้อเสนอแนะต่อไป

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ (ที่มา: คุณม้าเร็วและทีมงาน)

http://www.mediafire.com/?2fy1zt18c5in1

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/1_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/2_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/3_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/4_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/5_TU_4-11-2010.wmvftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/6_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/7_TU_4-11-2010.wmv

ftp://baygon4.no-ip.org/savefiles/speedhorse/4-11-2010_TU/8_TU_4-11-2010.wmv

http://www.tfn3.info/board/index.php?topic=16680.0

http://www.19-may.com/forum/forum.php?mod=viewthread&tid=374&extra=page%3D1

http://www.thaivoice.org/community/showthread.php?tid=151



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน