แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แถลงการณ์ ม.เที่ยงคืน : ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว



Thu, 2010-11-04 14:26


4 พ.ย. 2553 - กลุ่มมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์เรื่อง "ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว" จากกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถูกตั้งคำถามเรื่องความน่าเชื่อถือ สั่นคลอนความไว้วางใจของสาธารณชน โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้แสดงความเห็นว่า "บัดนี้ความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรง และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่ในสถานะที่จะทำหน้าที่ของผู้วินิจฉัยได้ อย่างชอบธรรมอีกต่อไป"

เนื้อความในแถลงการณ์ของ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จึงเสนอขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการแสดงความรับผิดต่อ ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยประการแรก ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดต่อปัญหา ที่เกิดขึ้น และประการที่สอง คือ ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกล่าวในแถลงการณ์อีกว่าแม้สถาบันตุลาการจะเป็นหนึ่ง ในอำนาจอธิปไตย แต่ก็ควรได้รับการตรวจสอบ และแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มิเช่นนั้นแล้วจะกลายเป็นสถาบันที่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น ในทางตรงข้ามการมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมการเมืองไทย


แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เรื่อง ความรับผิดชอบของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว

แม้ว่าข้อกล่าวหาต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ปรากฏในปัจจุบัน อาจยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ถึงข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่ก็มีผลสั่นคลอนความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อย่างรุนแรง ซึ่งตลอดเวลานับตั้งแต่เกิดคำถามขึ้นกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลับไม่เคยมีการชี้แจงหรือการอธิบายที่จะช่วยสร้างความมั่นใจแก่สาธารณชนใน เรื่องความเป็นอิสระ (Independence) และความเที่ยงธรรม (Impartiality) ของตุลาการแต่อย่างใด

สถาบันตุลาการมีความสำคัญยิ่งต่อการวินิจฉัยข้อพิพาทต่างๆ ในสังคม ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของตุลาการเป็นปัจจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญ ต่อการสร้างความเชื่อมั่นกับผู้คนในสังคม ว่าข้อขัดแย้งต่างๆ จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรม

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามาตรฐานทางจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ของ ตุลาการอยู่ในระดับที่สูงกว่าบุคคลหรือข้าราชการโดยทั่วไป การที่ตุลาการถูกตั้งคำถามในเรื่องของความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมจึงมี ผลกระทบรุนแรงโดยไม่จำเป็นต้องมีการพิสูจน์ถูก-ผิด การกระทำที่มัวหมองหรือชวนให้เกิดข้อสงสัยก็ถือได้ว่าเป็นเหตุที่ทำให้บุคคล ที่ดำรงตำแหน่งตุลาการไม่สมควรจะทำหน้าที่ในฐานะของผู้วินิจฉัยชี้ขาดอีกต่อ ไป

ยิ่งในห้วงเวลาที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองสูงมาก ความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของสถาบันตุลาการยิ่งมีความสำคัญต่อการทำให้ เกิดความไว้วางใจและการยอมรับของสาธารณะต่อคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้น หากสถาบันตุลาการถูกตั้งคำถามและปรากฏข้อสงสัยอย่างกว้างขวางดังเช่นที่ ปรากฏขึ้นในปัจจุบัน ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่าคำวินิจฉัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ไม่เพียงแต่จะยุติข้อขัดแย้งไม่ได้เท่านั้น หากยังอาจกลายเป็นเงื่อนไขซ้ำเติมความขัดแย้งในสังคมไทยให้ยกระดับสูงขึ้น อีกโสดหนึ่งด้วย

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนมีความเห็นว่า บัดนี้ความน่าเชื่อถือของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงและ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อยู่ในสถานะที่จะทำหน้าที่ของผู้วินิจฉัยได้อย่าง ชอบธรรมอีกต่อไป มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจึงขอเรียกร้องให้สังคมร่วมกันกดดันเพื่อให้เกิดการแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ดังนี้

ประการแรก ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งสร้างความสงสัยต่อความเป็นอิสระและความเที่ยงธรรมของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจให้ความกระจ่างแก่ปัญหาดังกล่าวได้

ประการที่สอง ให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในระยะยาว เพราะถึงแม้จะมีการสับเปลี่ยนตัวบุคคลที่เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ปัญหาพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งก็คือ สถาบันตุลาการในสังคมไทยเป็นองค์กรที่ปราศจากระบบการตรวจสอบทั้งจากสังคมและ ระบบการเมือง ซึ่งเมื่อปราศจากการตรวจสอบ การปฏิบัติหน้าที่ก็อาจไม่ได้ดำเนินไปบนหลักการหรือมาตรฐานที่ถูกต้องชอบ ธรรม

สถาบันตุลาการเป็นสถาบันหนึ่งของอำนาจอธิปไตย แต่ไม่ได้มีความหมายว่าเป็นองค์กรที่พ้นไปจากการตรวจสอบและความรับผิดแต่ อย่างใด ในระยะยาวจึงจำเป็นต้องสร้างระบบการตรวจสอบที่สัมพันธ์กับสังคมให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้สถาบันตุลาการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมและเป็นที่ ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคม

หากปล่อยให้สถาบันตุลาการทำงานโดยไม่มีการตรวจสอบ ปราศจากความรับผิดชอบ และไม่มีความชอบธรรม สถาบันตุลาการจะกลายเป็นองค์กรที่สร้างปัญหาให้กับสังคมไทยเพิ่มมากขึ้น แต่การมีสถาบันตุลาการที่เป็นอิสระและเที่ยงธรรมอย่างแท้จริง จะมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับสังคมการเมืองไทย สังคมจึงต้องตระหนักและร่วมกันผลักดันทั้งในกรณีความรับผิดของตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในอนาคต

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
4 พฤศจิกายน 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน