เมื่อ เวลา 15.00 น. วันที่ 3 พฤศจิกายน คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนำโดยนาย
*****************************
คำ ร้องดังกล่าวศาลได้กำหนดประเด็นที่จะวินิจฉัยดังนี้ ประเด็นทีหนึ่งการมีคำวินิจฉัยกกต.ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ประเด็นที่สอง บริษัทผู้ถูกร้อง คู่สมรสและบุตรของผู้ถูกร้องถือหุ้นเป็นบริษัทต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2)(4)ประกอบมาตรา 48 หรือไม่ และประเด็นที่สามการถือหุ้นของผู้ถูกร้องคู่สมรสและบุตรของผู้ถูกร้องแต่ละ รายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
โดย ศาลมีคำนิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งดังนี้ในประเด็นนี้ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่ากกต .ไม่มีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และไม่อาจนำระเบียบว่าด้วยกกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดพ .ศ.2550 มาใช้ในการสืบสวนและไม่ให้โอกาสผู้ถูกร้องโต้แย้งหรือแสดงพยานหลักฐานข้อ กล่าวหาของกกต. การปฏิบัติของกรรมการไต่สวนและกกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 236 (10) บัญญัติให้กกต.สืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อโต้แย้ง ทีเกิดขึ้นตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว.พ.ศ.2550 พ.ร.บ.พรรคการเมือง พ.ร.บ.ว่าด้วยกกต. พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ดังนั้นในการดำเนินการหน้าที่ของกกต.เพื่อสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและ วินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นและกกต.ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งพ .ร.บ.ว่าด้วยกกต.2550 มาตรา 24 วรรคสอง กล่าวคือกกต.ต้องให้โอกาสผู้ร้องผู้ถูกคัดค้านผู้ถูกกล่าวหาทราบเหตุแห่งการ ร้องหรือการกล่าวหามีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงหลักฐานและให้โอกาสมาให้ ถ้อยคำต่อกกต.กรณีผู้ร้องผู้ถูกกล่าวหาไม่มีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงแสดง หลักฐานหรือไม่มาให้ถ้อยคำตามกกต.กำหนดอันเป็นสมควรให้ผู้นั้นสละสิทธิ์ชี้ แจง และให้กกต.ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งหลักการดังกล่าวกำหนดไว้ในระเบียบกกต.ว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนฯ ข้อ 43เช่นกัน
การใช้อำนาจของกกต.เพื่อให้มีการ สืบสวนสอบสวนฯกรณีนี้เป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ประกอบกับข้อ เท็จจริงรับฟังได้ว่ากกต.ได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องชี้แจงข้อเท็จจริงแล้วและทาง การไต่สวนได้ความว่าผู้ถูกร้องส่วนใหญ่ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อกกต.แล้วคงมี ผู้ถูกร้องบางรายที่ไม่ได้ชี้แจงด้วยเหตุผลต่างๆกันเป็นกรณีถือได้ว่ากกต .ได้ให้โอกาสผู้ถูกร้องทุกคนแล้วคำโต้แย้งผู้ถูกร้องทุกคนจึงรับฟังไม่ได้
ประเด็น ที่สอง บริษัทที่ผู้ถูกร้อง คู่สมรส และบุตรถือหุ้นเป็นบริษัทอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 (2)(4) ประกอบมาตรา 48หรือไม่ และประเด็นที่สาม การถือหุ้นผู้ถูกร้องคู่สมรสและบุตรแต่ละรายเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญหรือไม่ เห็นว่า สามารถรวมพิจารณากันได้ และควรพิจารณาลำดับต่อไปดังนี้
รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 265 เป็นบทบัญญัติต้องห้ามส.ส.และส.ว.ในส่วนการกระทำขัดกันแห่งผลประโยชน์ บัญญัติว่าส.ส.และส.ว.ต้องไม่รับ แทรกแซงหรือก้าวก่ายการเข้ารับสัมปทานจากรัฐหน่วยงานของรัฐหรือเข้าคู่สัญญา รัฐหน่วยราชการของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนหรือเป็นหุ้น ส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาดัง กล่าวทั้งนี้โดยทางตรงและทางอ้อม และ(4)ให้ส.ส.และส.ว.ไม่กระทำการต้องห้ามมาตรา 48 โดยมาตรา 48 บัญญัติว่า จะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือโทรคมนาคมมิได้ไม่ว่านามตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการถือหุ้น แทนหรือจะดำเนินการโดยวิธีการอื่นโดยทางตรงทางอ้อมในทำนองเดียวกับการเป็น เจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการดังกล่าวซึ่งสรุปการกระทำต้องห้ามมาตรา 265 และมาตรา 48 ได้ดังนี้
1.ต้องไม่รับแทรกแซง ก้าวก่ายเข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเข้าเป็นคู่สัญญาหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอันผูกขาดตัดตอน 2.ต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาลัษณะตัดตอน และ3.ต้องไม่กระทำการตาม 1.และ2.ไม่ว่าทางตรงและอ้อม 4.ต้องไม่เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นกิจการหนังสือพิมพ์วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคมไม่ว่าตนเองหรือให้ผู้อื่นถือหุ้นแทนหรือจะดำเนิน การโดยวิธีการอื่นทางตรงหรือทางอ้อมที่จะบริหารกิจการดังกล่าวได้ในทำนอง เดียวกับการเป็นเจ้าของกิจการในบริษัทถือหุ้นดังกล่าว
ประเด็น แรกที่ควรพิจารณาก่อนคือการดำเนินการโดยวิธีการอื่นทางตรงหรือทางอ้อมที่ สามารถบริหารกิจการอื่นได้เป็นในลักษณะเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นกิจการ ดังกล่าวตามมาตรา 48 กับการรับสัมปทานเข้าเป็นคู่สัญญาตามมาตรา 265 เห็นว่าข้อห้ามมิให้กระทำการทางตรงหรือทางอ้อมตามบทบัญญัติดังกล่าวมีเจตนา ห้ามมิให้ส.ส.และส.ว.กระทำการใดๆที่สามารถใช้อำนาจเข้าไปบริหารงานบริษัทประ กบอกิจการอันเป็นลักษณะต้องห้ามบทบัญญัติ2 มาตราดังกล่าวจึงมีความหมายรวมถึงการถือหุ้นในลักษณะแม้มิได้ประกอบกิจการ ต้องห้ามโดยตรงแต่หากบริษัทนั้นถือหุ้นในบริษัทอื่น(โฮลดิ้งคอมปานี) ที่ประกอบกิจการอันเป็นการต้องห้ามมากพอให้มีอำนาจมากพอครอบงำกิจการของ บริษัทที่เป็นการต้องห้ามได้ย่อมเป็นการกระทำโดยทางอ้อมตามความหมายมาตรา 48 และ 265 (2)(4)
ประเด็นวินิจฉัยต่อไป รัฐธรรมนูญ2550มีเจตนารมณ์ห้ามส.ส.และส.ว.อย่างไร เมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติดังกล่าวมีขึ้นเพื่อป้องกันมิให้แสวง หาประโยชน์โดยมิชอบระหว่างปฏิบัติหน้าที่สมาชิกรัฐสภาอันเป็นการขัดกันแห่ง ประโยชน์จากการดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจ ของฝ่ายบริหารและองค์กร โดยใช้หน้าที่แทรกแซงฝ่ายบริหารในการได้มาซึ่งสัมปทาานเป็นคู่สัญญาลักษณะ ผูกขาดตัดตอนที่มีผลให้กิจการบริษัทขอบข่ายตามมาตรา 265 วรรคหนึ่งหรือมาตรา 48 ได้รับประโยชน์ทำให้ส.ส.ได้รับประโยชน์จากการถือหุ้นดังกล่าวหรือเข้าไปมี ส่วนขอใช้ข้อมูลที่ตนได้รับรู้จากการปฏิบัติหน้าที่และแสวงหาประโยชน์ส่วน ตัวหรือใช้ตำแหน่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจคนอื่นได้ หลักการดังกล่าวนี้ต้องไม่กระทบสิทธิและเสรีภาพบุคคลเกิดความจำเป็นตามที่ รัฐธรรมนูญมาตรา 29รับรองไว้ การถือหุ้นต้องห้ามตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าวจึงต้องไม่จำกัดสิทธิและ เสรีภาพบุคคลเกินวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
ประเด็น ที่ต้องพิจารณาต่อไปคือการถือหุ้นตามบัญญัติมาตรา 48 และ 265 (2)นั้นมีความหมายรวมถึงการถือหุ้นก่อนดำรงตำแหน่งส.ส.และส.ว.ด้วยหรือไม่ เห็นว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญนอกจากบัญญัติผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 48 มาตรา 265 แล้วยังบัญญัติถึงกรณีถือหุ้นของนายกฯ และรัฐมนตรีในมาตรา 269 ด้วย โดยมาตรา269นอกจากห้ามนายกฯและรมต.ถือหุ้นในบริษัทแล้วยังบัญญัติห้ามไว้ ชัดเจนว่ามิให้คงไว้ซึ่งผู้ถือหุ้นในบริษัทต่อไปด้วย ฉะนั้นหากรัฐธรรมนูญประสงค์จะห้ามส.ส.และส.ว.คงไว้ซึ่งการถือหุ้นก็ต้อง บัญญัติชัดเจนดังเช่นมาตรา 269 ยิ่งกว่านั้นการห้ามนายกฯและรมต.ไม่ถือหุ้นและไม่คงไว้ซึ่งผู้ถือหุ้นดัง กล่าวก้ไม่ห้ามเด็ดขาด หากนายกฯและรมต.ประสงค์จะถือหุ้นต่อไปกฎหมายยังให้โอกาสแจ้งประสงค์แจ้งต่อ ประธานป.ป.ช.ภายใน 30 วันนับจากวันทีรับแต่งตั้งทั้งที่นายกฯและรมต.ใช้อำนาจฝ่ายบริหารที่มีอำนาจ แสวงหาประโยชน์ได้มากกว่าส.ส.และส.ว. จึงเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ฉะนั้น มาตรการการห้ามถือหุ้นของส.ส.และส.ว.จึงน่าจะเบากว่าและผ่อนคลายกว่ามาตรการ การห้ามถือหุ้นของนายกฯ และรมต.นอกจากนี้ผลการกระทำต้องห้ามมาตรา 265 และ48 ที่ทำให้ส.ส.และส.ว.สิ้นสมาชิกภาพนั้นบัญญัติให้สมาชิกภาพสิ้นสุดลงเมื่อ กระทำการต้องห้ามแล้วย่อมมีความหมายว่าส.ส.และส.ว.จะต้องมีสมาชิกภาพก่อนจึง จะสิ้นสภาพได้ การกระทำต้องห้ามให้มีผลให้สิ้นสภาพจึงต้องทำภายหลังจากมีสถานะส.ส.และส .ว.แล้ว เว้นแต่กรณีกฎหมายประสงค์จะห้ามรวมถึงการกระทำก่อนกฎหมายจะบัญญัติชัดเจนตาม มาตาา269เป็นต้น ยิ่งเมื่อประกอบคุณสมบัติลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครส.ส.และส.ว. ตามมาตรา101 และ 115 ก็มิได้บัญญัติห้ามถือหุ้นในบริษัทที่กำหนดในมาตรา 265 และ 48แต่อย่างใด การถือหุ้นบริษัทดังกล่าวจึงไม่เป็นการต้องห้ามการรับสมัครส.ส.และส.ว.หากตี ความว่าการถือหุ้นให้รวมถึงการคงไว้ซึ่งการถือหุ้นด้วยย่อมไม่เป็นธรรมแก่ ผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.และส.ว.เนื่องจากสมาชิกภาพส.ส.และส.ว.เริ่มวัน เลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลการสรรหา
หาก ตีความถือหุ้นให้รวมคงไว้ซึ่งการถือหุ้นผู้สมัครรับเลือกตั้งส.ส.และส.ว. หรือผู้สมัครสรรหาส.ว.ย่อมต้องขายหุ้นก่อนวันเลือกตั้งก่อนกกต.ประกาศผลมิ ฉะนั้นผู้สมัครที่ได้รับการเลือกตั้งหรือการสรรหาให้เป็นส.ว.แต่มิได้ขาย หุ้นก่อนวันเลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลผู้ได้รับการเลือกตั้งหรือสรรหา จะสิ้นสมาชิกภาพโดยทันทีในวันเลือกตั้งหรือวันที่กกต.ประกาศผลนั่นจะเป็นการ ตีความโดยเคร่งครัดจนทำให้เกิดผลประหลาดเกินเลยจนได้สัดได้ส่วนแก่กรณี อนึ่งเมื่อพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 วรรคหนึ่ง(2)แล้วปรากฎชัดว่าเป็นบทบัญญัติมีมาก่อนในรัฐธรรมนูญหลายฉบับ บางฉบับได้ห้ามการถือหุ้นก่อนดำรงตำแหน่งบางฉบับมิได้ห้ามการถือหุ้นมาก่อน ดังตัวอย่างรัฐธรรมนูญ 2534 ซึ่งมิได้ข้อความห้ามคงไว้การห้ามการคงไว้รับสัมปทานอันมีลักษณะต้องห้ามไว้ ต่อมาภายหลังเมื่อจะขยายข้อห้ามคงไว้รับสัมปทานจะกระทำโดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมูญให้คงไว้ซึ่งสัมปทานและคู่สัญญากับรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนด้วยตาม รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 5 พ.ศ.2538 มาตรา 114 หรือกรณีรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 110 วรรคหนึ่ง (2) ซึ่งมิได้ห้ามการคงไว้การถือหุ้นต้องห้ามนั้น
ใน ชั้นยกร่างของกรรมาธการยกรัฐธรรมนูญได้มีข้อเสนอเบื้องต้นให้บัญญัติการคง ไว้ซึ่งการถือหุ้นของบริษัทต้องห้ามด้วย หากประสงค์คงไว้ถือหุ้นดังกล่าวต้องแจ้งให้ ป.ป.ช.ทราบและโอนหุ้นให้นิติบุคคลอื่นถือแทน แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไม่เห็นด้วยและมีมติให้ตัดร่างบทบัญญัติการถือหุ้นบริษัทต้องห้ามออกไปดัง ปรากฎรายงานการประชุมส.ส.ร.ครั้งที่19วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 เอกสารท้ายบันทึกความเห็นของนาย
ประเด็น ควรพิจารณาต่อไปบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา265 วรรคหนึ่ง(2) ประกอบมาตรา 48 มีลักษณะอย่างไร เห็นว่าบริษัทอันมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2)และมาตรา 48 นั้นแบ่งออก2ประเภท 1.บริษัทประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์หรือโทรคมนาคม 2.บริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐ หน่วยงานราชการของรัฐ รัฐวิสาหกิจบริษัทคู่สัญญาของรัฐหน่วยงานของรัฐอันมีลักษณะผูกขาดตัดตอนการ รับสัมปทานจากรัฐหมายถึงการที่รัฐให้สิทธิเอกชนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ของชาติหรือประโยชน์สาธารณะ สัมปทานจึงรวมถึงประทานบัตรด้วยไม่ว่าจะเป็นการให้สิทธิอันผูกขาดตัดตอนหรือ ไม่ก็ตาม
สำหรับประเด็นวินิจฉัยผู้ถูกร้อง 45 คนกระทำการต้องห้ามรัฐธรรมนูญโดยถือหุ้นลักษณะต้องห้ามหรือไม่โดยเห็นควร วินิจฉัยประเด็นสมาชิกภาพส.ส.และส.ว.ก่อน รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 105 ให้สมาชิกภาพ ส.ส.เริ่มแต่วันเลือกตั้งคือเลือกตั้งทั่วไป ได้แก่ 23 ธันวาคม 2550 และยังรวมวันเลือกตั้งใหม่ในคดีนี้คือวันที่ 20 มกราคม 2551 ส่วนสมาชิกภาพส.ว.มาตรา117 ให้เริ่มตั้งแต่วันที่มีเลือกตั้ง ส.ว.ได้แก่ วันที่2 มีนาคม 2551 สำหรับส.ว.สรรหาให้สมาชิกภาพเริ่มตั้งแต่กกต.เริ่มประกาศผลสรรหาได้แก่ วันที่19 กุมภาพันธ์2551 กรณีการถือหุ้นของนายกำธร พริ้งศุลกะ คู่สมรสของนางนิภา พริ้งศุลกะ ผู้ถูกร้องที่27 ที่คำร้องอ้างว่าถือหุ้นบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)อันเป็นการต้องห้ามหรือไม่ ข้อเท็จจริงนี้ฟังได้ว่าคู่สมรสของผู้ถูกร้องที่27 มิได้ถือหุ้นในบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)ตามที่กกต.วินิจฉัยมา แต่ถือหุ้นในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยคู่สมรสของผู้ถูกร้อง 27 ถือหุ้นบริษัทดังกล่าวมาก่อนเป็นส.ส.แล้วจึงไม่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) และมาตรา 48 สำหรับผู้ถูกร้องที่ 1 - 16 ,18,20-29 ,31-32,34-39,41,43และ45 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเป็นผู้ถือหุ้นก่อนได้รับเลือกตั้งก่อนได้รับเลือกตั้ง เป็นส.ส.และส.ว.หรือก่อนได้รับการสรรหาเป็นส.ว. แม้จะยังคงถือหุ้นไว้หลังจากเป็นส.ส.และส.ว.ก็ตามไม่ต้องห้ามตามรัฐ ธรรมนูญ265 และ 48
ส่วน นาย
โดย นายสมเกียรติได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 จำนวน 2 หมื่นหุ้น วันที่ 23 มกราคม 2 หมื่นหุ้น และ 18 มกราคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้นตามรายการซื้อขายหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด(มหาชน) ที่ส่งให้ผู้ถูกร้องที่ 19
นายเกื้อกูล คู่สมรสคือนางนลินี ด่านชัยวิจิตรได้ซื้อหุ้นของบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2551 จำนวนน 1 พันหุ้นปรากฎตามบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริง นางมลิวัลย์ได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 จำนวน 500 หุ้น วันที่ 29 กรกฎาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น วันที่ 30 กรกฎาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น วันที่ 1 สิงหาคม 2551 จำนวน 300 หุ้น และวันที่ 1 ธันวาคม 2551 จำนวน 1 พันหุ้น และยังซื้อหุ้น บริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 จำนวน 1พันหุ้น วันที่ 4 กันยายน 2551 จำนวน 500 หุ้น และวันที่ 6 มกราคม 2552 จำนวน 2 พันหุ้น ทั้งในวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ยังซื้อหุ้นในบริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) จำนวน 5 หมื่นหุ้น
นายบุญจง คู่สมรสคือนางกาญจนา วงศ์ไตรรัตน์ได้ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที 9 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้น วันที่ 13พฤษภาคม 2551 จำนวน 2 หมื่นหุ้น วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 จำนวน 1 หมื่นหุ้น วันที่10 มิถุนายน 2551 จำนวน1 หมื่นหุ้น ว่าที่ร.ท.ปรีชาพล ซื้อหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในเดือนมิถุนายน 2551 จำนวน 3 หมื่นหุ้น และม.ร.ว.กิติวัฒนา ซื้อหุ้น บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์เทเลคอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) ปัจจุบันคือบริษัททีทีแอนด์ทีจำกัด (มหาชน)เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2551 จำนวน 5 หมื่นหุ้น ส่วนที่ม.ร.ว.กิติวัฒนาอ้างว่าเป็นหุ้นที่มีอยู่เดิมก่อนเป็นส.ส.นั้นกลับ ปรากฎจากบันทึกของถ้อยคำของม.ร.ว.กิติวัฒนาที่ให้การไว้ต่อกกต.ว่าได้เป็นส .ส.สัดส่วนตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ดังนั้นฟังได้ว่าม.ร.ว.กิติวัฒนาได้หุ้นมาเริ่มตั้งแต่มีสถานะส.ส.แล้ว
ดัง นั้นผู้ถูกร้องที่ 19,33,42 และ44 และการถือครองหุ้นของคู่สมรสของผู้ถูกร้องที่ 30และ40เป็นการถือครองหุ้นที่ผู้ถูกร้องทั้ง6รายได้เป็นส.ส.แล้ว จึงมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าบริษัทที่ผู้ถูกร้องทั้ง6ถือครองหุ้นภายหลังเป็น ส.ส.แล้วเป็นบริษัทลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2)(4)และมาตรา 48หรือไม่ เห็นว่าบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการค้าขายเชื้อเพลิงแม้ไม่ได้เป็นบริษัทที่รับสัมปทานจากรัฐหรือมี คู่สัญญาผูกขาดตัดตอนก็ตาม แต่บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)เป็นบริษัทลงทุนในบริษัทอื่น(โฮลดิ้งคอมปานี) เช่นถือหุ้นในบริษัท ปตท.สผ.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทได้รับสัมปทานขุดเจาะพลังงานจากระทรวงพลังงานร้อยละ 65 หรือถือหุ้นในบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน)ได้รับสัมปทานจำหน่ายน้ำประปา ไฟฟ้าจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร้อยละ 49 อันมากพอที่ครอบงำกิจการได้ เมื่อสองบริษัทดังกล่าวได้รับสัมปทานจากหน่วยงานรัฐจึงเป็นบริษัทต้องห้าม ตามมาตรา 265 การถือหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จึงเป็นการถือหุ้นโดยทางอ้อม
สำหรับ บริษัท ปตท.สผ. ก็ลักษณะต้องห้ามมาตรา 265 ด้วยขณะที่บริษัททีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมจึงต้องห้ามตามมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (4)ประกอบมาตรา 48 ห้ามถือหุ้นต้องห้ามโดยมิได้ระบุว่าต้องถือหุ้นเท่าใดและไม่ได้ระบุว่าต้อง มีอำนาจครอบงำกิจการหรือไม่ฉะนั้นการถือหุ้นเพียงหุ้นเดียวก็ย่อมเป็นการถือ หุ้นตามความหมายในรัฐธรรมนูญแล้วแม้ผู้ถือหุ้นไม่มีอำนาจครอบงำบริหารกิจการ ก็ตามก็เพื่อป้องกันมิให้ส.ส.และส.ว.มีช่องทางใช้หรือถูกใช้ตำแหน่งหน้าที่ แสวงหาประโยชน์มิชอบ
ดัง นั้น ผู้ถูกร้องทั้ง 6 รายจะซื้อในตลาดหลักทรัพย์หรือเก็งกำไรก็ตามเป็นการต้องห้ามรัฐธรรมนูญมาตรา 265 (2) (4) และมาตรา 48 แล้วแต่กรณี ด้วยเหตุผลข้างต้นศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยเสียงข้างมาก7ต่อ1 ว่าผู้ถูกร้องทั้ง 6รายกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญอันเป็นเหตุให้สมาชิกภาพของผู้ถูกร้อง ทั้ง 6 สิ้นสุดลงตามมาตรา 106 (6) นับแต่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น