แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หากจะยุบศาลรัฐธรรมนูญ ต้องยุบศาลปกครองด้วย โดย ชำนาญ จันทร์เรือง

ฉะนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะยุบรวมศาลฎีกาก็ยังพอฟังได้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไปยุบรวมเป็นแผนกหนึ่งของศาลปกครองจึงเป็นข้อเสนอ ที่ตลกเอามากๆ



โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
3 พฤศจิกายน 2553

หลัง จากที่มีการเผยแพร่คลิปเกี่ยวกับคดีการยุบพรรคประชาธิปัตย์และการสอบคัด เลือกเจ้าหน้าที่ ศาลรัฐธรรมนูญออกมา ได้สร้างความสั่นสะเทือนต่อความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญและศาลอื่นๆ

ด้วย มีการเสนอให้มีการปฏิรูปศาลทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นที่มาที่ไปของบุคคลากรและองค์ประกอบขององค์กร การสรรหาและการตรวจสอบจากรัฐสภาและประชาชน

อย่างไรก็ตามการปฏิรูปศาล ทั้งระบบนั้น เป็นเรื่องใหญ่และต้องถกเถียงกันอีกมาก เพราะแรงต้านจากองค์กรที่จะถูกปฏิรูปคงมีอย่างแน่นอน และเป็นหนังเรื่องยาวชนิดหลายตอนจบ

แต่ก็ต้องทำเพราะโลกได้หมุนไป ข้างหน้ามากแล้ว แต่เรายังไปไม่ถึงไหน ทั้งๆที่ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีเลือกตั้งผู้พิพากษากันแล้ว

แต่ของเราอย่าว่าแต่เลือกตั้งผู้พิพากษาเลย แค่เพียงการตรวจสอบหรือวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนยังทำได้ยากเลย

ประเด็น ที่น่าสนใจเป็นปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ก็คือ การเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญให้ไปรวมกับศาลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตัวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางนายเอง ที่อยากให้ยุบไปรวมกับศาลฎีกา หรือศาลปกครองเสียให้สิ้นเรื่องหากยังยุ่งนัก

ประเด็นการ ยุบรวมนี้ดูเผินๆอาจจะดูง่ายๆ เพราะแก้กฎหมายเสียก็เป็นอันใช้ได้ แต่อันที่จริงแล้ว การมีหรือไม่มีศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นเรื่องใหญ่เพราะเป็นเรื่องของระบบศาล ของประเทศนั้นๆเลยทีเดียว

แต่ก่อนที่จะไปถึงประเด็นที่ ว่าไทยเราควรยุบหรือไม่ยุบศาลรัฐธรรมนูญ นั้น เรามาเข้าใจกันเสียก่อนว่าระบบศาลในโลกนี้มีอยู่ ๒ ระบบ คือ ระบบศาลเดี่ยวกับระบบศาลคู่

ระบบศาลเดี่ยว(Single Court System)หมายถึงประเทศนั้น ไม่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ

ซึ่งศาลที่ใช้กฎหมายมหาชนที่ประกอบไปด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายปกครองก็คือศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองนั่นเอง

เมื่อ ไม่มีการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครองขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ในประเทศที่ใช้ระบบศาลเดี่ยวซึ่งได้แก่ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ได้แก่ประเทศอังกฤษ และประเทศที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษก็จะใช้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่เป็น ศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองแทน

โดยศาลสูงสุดของแต่ละประเทศก็จะทำ หน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ เช่น สหรัฐอเมริกาใช้ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (the U.S. Supreme Court) หรือศาลสูงสุดของรัฐบาลกลาง (the Federal Supreme Court) เป็นศาลรัฐธรรมนูญ

อังกฤษใช้ศาลยุติธรรมสูงสุดของอังกฤษ ซึ่งหมายถึง ศาลสภาขุนนาง (House of Lords)

และ ญี่ปุ่นก็ใช้ศาลสูงสุดของญี่ปุ่น (The Supreme Court of Japan) เป็นศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนคดีปกครองที่อยู่ในอำนาจของ ศาลปกครองนั้นจะอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมซึ่งอาจจะตั้งเป็นแผนกคดีปกครอง เป็นการเฉพาะหรือในลักษณะศาลพิเศษ(Tribunal)ขึ้นมา แต่ยังสังกัดศาลยุติธรรม

ส่วนประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่(Dual Court System)นั้น หมายถึงประเทศที่มีการจัดตั้งศาลขึ้นมาพิจารณาคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนเป็นการเฉพาะ แยกอิสระจากศาลยุติธรรมในลักษณะคู่ขนาน

ฉะนั้น คำว่าศาลคู่ในที่นี้จึงหมายความถึงคู่ขนาน มิใช่ในความหมายของคำว่าสองประเทศที่ใช้ระบบศาลคู่จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพียงสองศาล อาจจะมีมากกว่าสองก็ได้

เช่น ในไทยเรามีทั้งศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร และเช่นเดียวกันคำว่าศาลเดี่ยวก็ไม่จำเป็นต้องมีเพียงศาลเดียว เช่น ไทยเราก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญปี ๔๐ เราใช้ระบบศาลเดี่ยว แต่เราก็มีทั้งศาลยุติธรรมและศาลทหาร

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหากประเทศใดใช้ระบบศาลคู่ก็จะต้องมีศาลปกครองกับศาลรัฐธรรมนูญ หากประเทศใดใช้ระบบศาลเดี่ยวก็จะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองนั่นเอง

ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าขำที่มีการเสนอให้ยุบรวมศาลรัฐธรรมนูญเข้ากับศาลยุติธรรมโดยยังคงเหลือศาลปกครองไว้

แต่ ที่น่าตลกที่สุดก็คือการเสนอให้ยุบศาลรัฐธรรมนูญไปอยู่กับศาลปกครอง เพราะโดยศักดิ์แล้วศาลรัฐธรรมนูญมีสถานะเหนือกว่าศาลปกครองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอำนาจหน้าที่ ที่ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยว่ากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติใด ขึ้นไปขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

แต่ศาลปกครองมีอำนาจวินิจฉัย กฎหมายเพียงระดับกฎหมายรองคือกฎหมายในระดับที่ต่ำกว่าพระราชบัญญัติลงมาเท่า นั้น อาทิ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

ใน ระดับตัวผู้นำขององค์กรก็เช่นกัน ในงานพิธีต่างๆ ลำดับอาวุโสของตำแหน่งจะเรียงจากประธานศาลฎีกาก่อน ต่อด้วยประธานศาลรัฐธรรมนูญ แล้วจึงมาถึงประธานศาลปกครองสูงสุด

ฉะนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะยุบรวมศาลฎีกาก็ยังพอฟังได้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญจะไปยุบรวมเป็นแผนกหนึ่งของศาลปกครองจึงเป็นข้อเสนอ ที่ตลกเอามากๆ

ในความเห็นของผมนั้น ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการการยุบศาลรัฐธรรมนูญ เพราะนอกเหนือจากเหตุผลที่ว่าประเทศเราใช้ระบบศาลคู่แล้ว ผลงานที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ๔๑ ศาลรัฐธรรมนูญทำได้ดีพอสมควรในเรื่องของการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ

ถึง แม้ว่าผมจะไม่เห็นด้วยในหลายๆ ประเด็น อาทิ การยุบพรรคการเมืองต่างๆ หรือการตีความในกรณีรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ ฯลฯ เพราะการที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีที่มาอย่างหลากหลายย่อมทำให้การวินิจฉัย ตีความรัฐธรรมนูญย่อมทำได้ดีกว่าการที่มีที่มาจากแหล่งเดียว

เป็น ธรรมดาอยู่เองที่การใช้อำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญของทุกประเทศ ไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง หรือเกี่ยวข้องโดยตรงกับการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ

เหตุผลที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีบท บัญญัติเกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรของรัฐ เช่น รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมตลอดทั้งสิทธิเสรีภาพของประชาชน และการควบคุมตรวจสอบ เป็นต้น

กอปรกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นที่สุดและเด็ดขาด มีผลผูกพันบุคคล องค์กร และหน่วยงานของรัฐทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ

ฉะนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับแรงเสียดทานและวิชามารจากฝ่ายการเมือง

ประเด็น สำคัญอยู่ที่ว่าตัวตุลาการเองจะต้องมีจรรยาบรรณ ความสุจริต ไม่เอาความชอบความชังส่วนตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย และต้องกล้ายืนหยัดในความถูกต้อง

ที่สำคัญที่สุดต้องพร้อมที่จะถูกตรวจสอบได้ด้วย ซึ่งก็รวมถึงการถูกยื่นถอดถอนจากวุฒิสภาด้วยหากจะมีขึ้น

กล่าว โดยสรุปก็คือ หากจะยุบศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาจริงๆแล้ว ก็ต้องยุบศาลปกครองไปด้วย เพราะในเรื่องของระบบศาลนั้นศาลรัฐธรรมนูญกับศาลปกครองเป็นของคู่กัน

แต่ จะให้ดีที่สุดก็คือยังคงไว้ทั้งศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครอง เพราะเป็นศาลที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่วนตัวบุคคลก็ว่ากันเป็นรายๆ ไป เพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

ใครทำกรรมใดไว้ก็ต้องได้รับผลแห่งกรรมนั้น นั่นเอง

--------------------------

หมายเหตุ เผยแพร่ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจฉบับประจำวันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

Posted by นักข่าวชาวรากหญ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน