แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จาตุรนต์บี้มาร์คอย่าถ่วงคณิตจี้ปล่อยนักโทษแดง



โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
17 พฤศจิกายน 2553

นาย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย แสดงความเห็นกรณีที่ นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)มีหนังสือด่วนที่สุดลงวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมาถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสนอให้ประกันตัวนักโทษการเมืองเสื้อแดง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นการปรองดอง โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ผมอ่าน จดหมายจากคอป.ถึงนายกฯแล้วรู้สึกชื่นชมและยินดีอย่างมาก จดหมายฉบบับนี้เป็นการแสดงความเห็นทั้งทางหลักปรัชญากฎหมาย หลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชนที่ลึกซึ้ง หนักแน่นและแม่นยำอย่างมาก

นอก จากนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจปัญหาวิกฤตการเมืองของประเทศนี้ได้เป็น อย่างดี ทั้งนี้คงสืบเนื่องมาจากการได้รับฟังความเห็นของฝ่ายต่างๆ ด้วยความใจกว้าง และผู้ฟังคือคอป.เอง นอกจากมีภูมิรู้ในเรื่องทางหลักการแล้ว ยังมีใจรักความยุติธรรม และตั้งใจที่จะแก้วิกฤตการเมืองไทยให้ได้ด้วย

ในจดหมายฉบับนี้ จะเห็นว่ากุญแจสำคัญอยู่ที่ทั้งฝ่ายตุลาการ คือศาลและฝ่ายบริหารคือพนักงานสอบสวน อัยการและรัฐบาล แต่ว่าไปแล้วกุญแจที่สำคัญที่สุดในขั้นนี้ก็คือรัฐบาล

โดย เฉพาะนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวเช่นนี้เพราะนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ที่สามารถส่งสัญญาณให้พนักงานสอบ สวน และอัยการเพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ศาลได้ ข้อมูลที่ว่านอกจากจะได้แก่เหตุผลที่ไม่ควรคุมขังผู้ต้องหาส่วนใหญ่ไว้ หรือก็คือเหตุผลที่ควรปล่อยตัวเขาเหล่านั้นไปเพราะไม่มีเหตุสมควรจำเป็นให้ ต้องคุมขังคนเหล่านั้นไว้แล้ว ยังได้แก่เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ของการปล่อยตัวที่จะมีต่อการปรองดอง และการแก้ปัญหาวิกฤตของประเทศอีกด้วย

เราได้เห็นความพยายามจากหลายฝ่ายที่จะส่งเสริมให้เกิดการปรองดอง แต่ในระยะหลังๆที่ไม่ค่อยเห็นกลับเป็นบทบาทของรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี

หากนายกฯจะใช้โอกาสนี้ในการให้ความร่วมมือกับคอป.อย่างจริงจังก็อาจช่วยให้กระบวนการปรองดองก้าวหน้าต่อไปได้

คณะกรรมการชุดคณิตยกแม่น้ำทั้งห้าฟันธงมาร์คต้องปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดง

คณะ กรรมการอิสระค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองชุด"คณิต ณ นคร"สรุปผลค้นหาความจริง หลังลงพื้นที่รับฟังทุกกลุ่มขัดแย้งในสังคม เพื่อเยียวยาและป้องกันมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นมาอีกในอนาคต เสนอให้เยียวยา-ปล่อยนักโทษการเมืองเสื้อแดง

ทั้งนี้นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติได้ทำ หนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 15 พ.ย.2553 ถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ(คอป.)เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรง

ตาม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดอง แห่งชาติ พ.ศ.2553 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ (คอป.)เพื่อดำเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความ ขัดแย้ง และเหตุการณ์ความรุนแรง ให้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์ถึงสาเหตุของปัญหา โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้งมีการเยียวยา และการป้องกันมิให้เกิดเหตุความรุนแรงและความเสียหายซ้ำอีกในอนาคต เพื่อส่งเสริมให้เกิดความปรองดองในประเทศไทย และให้จัดทำรายงาน และข้อเสนอแนะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น

คอป.ขอกราบเรียนว่าในการดำเนิน การตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ ที่ คอป.ได้รับในช่วงเวลาที่ผ่านมา คอป.ได้พูดคุย ปรึกษาหารือ และรับฟังความคิดเห็นจากบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกฝ่าย รวมทั้งหน่วยงานและองค์กรจากต่างประเทศ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นตรงกันว่า ปัญหาสำคัญที่อาจเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งและส่งผลให้เกิดความ รุนแรงในอนาคต คือ แนวคิด ทัศนคติและความเชื่อของคนในสังคมบางกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่ร่วมในเหตุการณ์ชุมนุมที่มีความเคลือบแคลงสงสัยและไม่เชื่อ มั่นในกระบวนการดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ โดยเฉพาะในเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้ถูกกล่าวหา การตั้งข้อหาที่รุนแรงเกินความเป็นจริง การจับกุมคนที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ความรุนแรง การถูกควบคุมตัวในระยะเวลาที่ยาวนาน รวมทั้งกลไกการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม

ความ เชื่อมั่นดังกล่าวแม้จะมิได้มีข้อพิสูจน์ว่าเป็นความจริง แต่ก็อาจส่งผลให้ประชาชนโดยทั่วไปเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน และมีการขยายไปในวงกว้างของสังคมมากยิ่งขึ้น นำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาในระบบการปกครองของรัฐและกระบวนการยุติธรรม

ด้วย เหตุนี้ คอป.จึงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งกับแนวทางของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีได้ริเริ่ม ให้มีการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้ที่ถูกดำเนินคดีอันสืบเนื่อง จากเหตุการณ์ความรุนแรง โดยสั่งการให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการตรวจสอบการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกควบ คุมตัวจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง โดยมีการอนุมัติการใช้จ่ายเงินจากกองทุนยุติธรรมเพื่อเป็นหลักประกันในการ ปล่อยชั่วคราวบางส่วน แม้การปฏิบัติเช่นนี้อาจจะไม่สอดคล้องกับ หลักการทางวิชาการ เพราะตามกฎหมายไม่ได้เรียกร้องหลักประกันแต่อย่างใด แต่คอป.ก็เข้าใจดีในการกระทำดังกล่าวเพราะในทางปฏิบัติยังมีการเรียกร้อง หลักประกันกันอยู่

เพื่อเป็นการส่งเสริมแนวทางการคุ้มครองสิทธิพื้น ฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาอันสืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงตามนโยบาย ของนายกรัฐมนตรี คอป.จึงใคร่เสนอข้อสังเกตและมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้

1.สิทธิ ที่จะได้รับการปล่อยตัวและสิทธิที่จะได้รับการปล่อยชั่วคราวเป็นสิทธิพื้น ฐานของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาที่ได้รับการยอมรับเป็นสากล รัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 40(7) ก็กล่าวถึง "สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว" ทั้งนี้เพราะตามมาตรา 39 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติว่า "ในคดีอาญาต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีความผิด" การปล่อยชั่วคราวจึงเป็นข้อยกเว้นอันสืบเนื่องมาจาก "หลักยกประโยชน์แห่งความสงสัย" (in dubio pro reo) ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 227 การ เอาตัวผู้ถูกกล่าวหาไว้ในความควบคุมหรือในอำนาจรัฐจึงเป็นการจำกัดสิทธิของ ผู้ถูกกล่าวหา ซึ่งนอกจากจะกระทบต่อเสรีภาพของบุคคลอันเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญแล้วยัง กระทบถึงโอกาสในการต่อสู้คดีและส่งผลกระทบต่อครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้ กล่าวหาอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ คอป.จึงเป็นว่าหาก ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะก่ออันตรายประการอื่นแล้ว ก็จะต้องปล่อยตัวหรือปล่อยชั่วคราวในทุกกรณี เหตุนี้รัฐบาลจึงพึง ให้ความสำคัญสูงสุดกับการกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ต่อศาลเพื่อนำไปสู่โอกาสในการได้รับการปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวผู้ ถูกกล่าวหาในคดีที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อความรุนแรงโดยตรง เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานที่ชัดเจนที่สามารถพิสูจน์ถึงเหตุที่จะสามารถควบคุม ตัวได้ดังกล่าว

อนึ่ง การเรียกหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของประเทศไทย ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิชาการนั้น การเรียกหลักประกันดังกล่าวควรมีจำนวนน้อยที่สุด

2. คอป.เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปล่อยตัวชั่วคราวแกนนำบางส่วน ที่ถูกควบคุมตัวไว้ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ก่อหรือสนับสนุนความรุนแรงในระหว่างการชุมนุม โดยตรง เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำแนวทางสันติวิธี มาใช้ในการแสวงหาทางออกให้กับบ้านเมือง การปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวแกนนำดังกล่าวจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่จะส่งสัญญาณว่าทุกฝ่ายให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับกระบวนการสร้างความปรองดองในชาติ นอก จากนี้ยังเป็นการลดกระแสความเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมไม่มีความเป็นธรรมต่อ ผู้ถูกกล่าวหา อันเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่ความเชื่อถือในระบบการปกครองของรัฐ อันอาจสร้างความร้าวฉานและความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นใหม่อีกด้วย

นอก จากนี้ ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขส่วนหนึ่งให้แกนนำดังกล่าวได้มีส่วนร่วมกับ คอป. องค์กร สถาบันและบุคคลต่างๆ ในการสร้างความเชื่อมั่นในแนวทางสันติวิธีกับกลุ่มที่มีความคิดต่างในทางการ เมือง อันเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างความปรองดองที่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใน การแก้ไขปัญหาของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ทุกฝ่ายพึงตระหนักว่าการปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวไม่มีผลให้ผู้ ถูกกล่าวหาพ้นไปจากการถูกดำเนินคดีแต่อย่างใด อีกทั้งศาลยังอาจสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวได้เสมอหากผู้ ได้รับการปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวกระทำผิดเงื่อนไข

3. คอป.ตระหนักดีกว่าดุลพินิจในการปล่อยตัวหรือปล่อยชั่วคราวบุคคลที่อยู่ใน อำนาจศาลเป็นศาลยุติธรรม แต่ในการที่ศาลจะวินิจฉัยไปในทางหนึ่งทางใดย่อมขึ้นอยู่กับข้อมูลที่องค์กร ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในฝ่ายบริหารเป็นผู้นำเสนอ เพราะตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 72(2) บัญญัติว่า "หมายปล่อยผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องขังอยู่ตามหมายศาล ให้ออกเมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนขอให้ปล่อย โดยเห็นว่าไม่จำเป็นต้องขังไว้ในระหว่างการสอบสวน"

ด้วย เหตุนี้รัฐบาลอาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐในฐานะพนักงานสอบสวน เช่น ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือแม้แต่สำนักงานอัยการสูงสุด รายงานข้อเท็จจริงและความเห็นเพิ่มเติมที่ชัดเจนว่าการปล่อยหรือการปล่อย ชั่วคราวดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการในการสร้างความปรองดองในชาติอย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ศาลมีข้อมูลที่ครบถ้วนเพื่อประกอบการพิจารณาว่าสมควรที่จะ สั่งปล่อยหรือปล่อยชั่วคราวหรือไม่

อนึ่ง สำหรับสำนักงานอัยการสูงสุดนั้น "ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 หมวดที่ 2 ว่าด้วย "การค้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน" ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้โดยตรงแล้ว และได้กล่าวถึงวิธีดำเนินการไว้โดยละเอียดแล้วด้วย ดังสำเนาระเบียบฯ ดังกล่าวที่ได้แนบมาพร้อมนี้ สำนักงานอัยการสุงสุดจึงอยู่ในฐานะที่จะทำให้เกิดความปรองดองในชาติได้โดย ตรง ตามนัยแห่งบทความเรื่อง "อัยการกับปัญหาความขัดแย้งในชาติ" ที่ได้แนบมาพร้อมนี้ด้วย

4. คอป.ได้ส่งบทความเรื่อง "การเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐและการปล่อยตัวชั่วคราว" มาพร้อมนี้ โดยผู้เขียนบทความดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการนำกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญามาใช้โดยไม่สอดคล้องกับหลักการทางวิชาการ และแนวปฏิบัติดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาโดย ตรง

สำหรับเหตุการณ์ความไม่สงบเมื่อต้นปี พ.ศ.2553 นั้น คอป.เชื่อว่าหากมีการปฏิบัติโดยสอดคล้องกับหลักกฎหมายตามแนวทางที่เขียนในบท ความดังกล่าวแล้วจะมีผู้ต้องหาจำนวนไม่น้อยที่สมควรได้รับการปล่อยชั่วคราว เพราะกรณีไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะก่ออันตรายประการอื่นอันเป็น "เหตุหลัก" ในการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ ซึ่งเมื่อกรณีมีเหตุหลักดังกล่าวมาแล้วก็จะปล่อยชั่วคราวไม่ได้

แต่ การเอาตัวผู้ต้องหาเหล่านั้นไว้ในอำนาจรัฐที่เกิดจากเหตุแห่งความร้ายแรงของ ความผิดซึ่งเป็นเพียงเหตุเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐที่เป็น "เหตุรอง" นั้น สามารถพิจารณาไปในทางปล่อยชั่วคราวได้ แต่ก็ปรากฏว่าผู้ต้องหาซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความไม่สงบหลายราย ยังถูกควบคุมหรือขังอยู่ในชั้นการดำเนินคดีของเจ้าพนักงานบ้าง ในชั้นการดำเนินคดีของศาลบ้าง

คอป.เห็นว่า ปรากฏการณ์ของการเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่เอื้อต่อการปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติตาม ภารกิจของ คอป. และคอป.เห็นต่อไปว่าทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานและศาลในปัจจุบันนั้น หากพิจารณาตามความเห็นทางกฎหมายในบทความที่ส่งมาแล้ว กรณีมีหนทางที่จะปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหลายคนไปเลย หรือปล่อยชั่วคราวได้ เพราะเหตุเอาตัวไว้ในอำนาจรัฐสำหรับบุคคลหลายคนเป็นเพียงเหตุรองเท่านั้น

แม้ ในส่วนที่เกี่ยวกับศาลนั้น กรณีเป็นเรื่องยากที่จะดำเนินการใดๆ ได้โดยตรง เพราะกรณีเกี่ยวข้องกับความเป็นอิสระของอำนาจตุลาการซึ่งเป็นเรื่องที่พึง ระมัดระวัง แต่ในส่วนของเจ้าพนักงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจก็ดี พนักงานสอบสวนคดีพิเศษก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี คอป.เห็นว่าน่าจะได้ทบทวนทำความเข้าใจกฎหมายว่าด้วยการปล่อยชั่วคราวกันเสีย ใหม่ตามนัยแห่งความเห็นทางกฎหมายดังกล่าว

ซึ่งหากพนักงานสอบสวน ฝ่ายตำรวจ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ และพนักงานอัยการจักได้ศึกษาความเห็นดังกล่าวอย่างเข้าใจและปฏิบัติให้ถูก ต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายแล้ว ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเป็นธรรมในการดำเนินคดีตามนัยแห่ง มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ เพราะมาตรา 40 (7) ที่บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวด เร็วและเป็นธรรม"

นอกจากนี้ คอป.เห็นต่อไปอีกว่า พนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจก็ดี พนักงานสอบสวนคดีพิเศษก็ดี และพนักงานอัยการก็ดี มีช่องทางที่จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในชั้นการดำเนินคดีของตนและของศาลได้ โดยการพิจารณาให้ปล่อยตัวไปเลยหรือให้ปล่อยชั่วคราวเมื่อผู้ต้องหาอยู่ใน อำนาจตน หรือแสวงหาโอกาสที่จะแถลงให้ศาลทราบเหตุผลความเห็นทางวิชาการดังกล่าว สำหรับผู้ต้องหาที่ถูกขังโดยอำนาจศาล ทั้งนี้ เพื่อศาลจักได้พิจารณาให้เป็นไปตามนัยแห่ง "สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40 (7) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

5.นอกจากประเด็นเรื่อง การปล่อยตัวหรือการปล่อยชั่วคราวซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนแล้ว รัฐบาลควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกกล่าวหา เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิพื้นฐานที่ควรได้รับในการต่อสู้คดี อาทิ การจัดหาทนายความ การให้ความช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ถูกกล่าวหาและครอบครัว อันสืบเนื่องมาจากการต้องถูกดำเนินคดี เป็นต้น

โดยรัฐบาล ควรจัดให้มีกองทุนที่เพียงพอและสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการใน เรื่องนี้อย่างจริงจัง อันจะเป็นการป้องกันและลดประเด็นไม่ให้ถูกนำไปขยายผลให้เกิดความเข้าใจผิดใน หมู่ประชาชน และลดความขัดแย้งและความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน