Mon, 2010-10-04 04:04
สุภัตรา ภูมิประภาส แปลจาก “The curse of the blue diamond” by Andrew Marshall on Sep 22, 2010 12:59
http://blogs.reuters.com/andrew-marshall/2010/09/22/the-curse-of-the-blue-diamond/
เรื่องราวซับซ้อนอันยาวนานสองทศวรรษ ของการขโมย การปลอมแปลง การไร้ความสามารถ การทุจริต และการฆาตกรรม ที่กลับเข้ามาสู่ความสนใจของสาธารณชนในเดือนนี้ นำความเสียหายกลับมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทย ความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง และโอกาสของการสมานฉันท์ใน จังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยที่มีมุสลิมเป็นชนส่วนใหญ่
มันเป็นเรื่องที่เผยให้เห็นถึงการ จัดการเกี่ยวกับการทุจริตซึ่งไม่ถูกควบคุมของตำรวจไทย ความอ่อนแอของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในการเผชิญกับกลุ่มผลประโยชน์ที่มีสิทธิอำนาจชอบธรรมอันต้องได้รับ การปกป้อง และวิธีการงุ่มง่ามของข้าราชการไทยจำนวนมากเมื่อพยายามที่จะปลดชนวนวิกฤต
เรื่องนี้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2532 เมื่อเกรียงไกร เตชะโม่ง คนงานไทยที่มีหน้าที่ทำความสะอาดในพระราชวังแห่งหนึ่งของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด แห่งซาอุดิอาระเบีย (Prince Faisal bin Fahd) ลอบเข้าไปขโมยเครื่องเพชรและอัญมณีซึ่งรวมทั้งเพชรสีนำเงินอันลือลั่นจาก ห้องนอนของเจ้าหญิง แล้วซุกซ่อนไว้ในถุงเครื่องดูดฝุ่น และส่งโดย DHL มายังประเทศไทย จากนั้นเขาก็หนีออกจากประเทศซาอุดิอาระเบีย เมื่อกลับมาถึงบ้านที่จังหวัดลำปางในภาคเหนือของประเทศไทย เขาพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะจัดการปล่อยของที่ขโมยมาทั้งชุด และเขาเริ่มแยกขายแต่ละชิ้นด้วยราคาเพียงไม่กี่ดอลลาร์ สันติ ศรีธนะขันธ์ พ่อค้าเพชรรู้ข่าวและเรื่องที่เกิดขึ้นจึงได้รับซื้อเครื่องเพชรทั้งหมดไว้ ด้วยราคาที่ไม่อาจเทียบได้กับมูลค่าของมัน
ในเวลาใกล้เคียงกัน ฝ่ายราชวงศ์ซาอุฯรับรู้ว่าเครื่องเพชรได้ถูกขโมยไปและได้แจ้งให้ทางเจ้า หน้าที่ไทยทราบ ทีมตำรวจไทยนำโดย พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ ทำการจับกุมตัวเกรียงไกรได้อย่างรวดเร็ว แกะรอยไปถึงสันติ และแถลงว่าทางตำรวจได้พบของที่ถูกขโมยมาทั้งหมดแล้ว เกรียงไกรถูกพิพากษาลง โทษจำคุกเจ็ดปี เขารับโทษอยู่สามปีก่อนถูกปล่อยตัวเพราะรับสารภาพ ชลอนำคณะตัวแทนบินไปซาอุฯเพื่อคืนของทั้งหมดให้เจ้าชายไฟซาล
นี่เป็นจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเลวร้ายต่อชื่อเสียงของตำรวจไทยและต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบีย
ทางซาอุฯตรวจพบได้อย่างรวดเร็วว่า เครื่องเพชรที่ถูกนำมาคืนทั้งหมดนั้นเป็นของปลอม - โดยการทำเทียมขึ้นมาให้เหมือนของจริงและเพชรสีน้ำเงินได้หายไป
ด้วยความไม่วางใจตำรวจไทยอย่างเห็นได้ชัด ทางซาอุฯได้ส่ง มูฮัมหมัด อัลรูไวรี่ (Mohammad al-Ruwaili) นักธุรกิจที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราชวงศ์ซาอุฯมากรุงเทพฯเพื่อที่จะสางปมคดีนี้
เดือนกุมภาพันธ์ 2533 คำสาบได้ปลิดชีวิตแรก กงสุลซาอุฯถูกยิงตายในกรุงเทพฯ ไม่กี่นาทีต่อมา เจ้าหน้าที่สถานทูตซาอุฯอีกสองคนถูกลอบสังหารเสียชีวิต ในเดือนเดียวกัน รูไวรี่หายตัวไป ไม่มีใครได้เห็นเขาอีก เชื่อกันว่าเขาถูกสังหารแล้วเช่นกัน คดีฆาตกรรมทั้งสี่คนยังคงไม่ถูกทำให้ กระจ่าง
ทางซาอุฯสงสัยว่าตำรวจไทยมีส่วนเกี่ยว ข้องในการฆาตกรรมทั้งหมด รัฐบาลซาอุฯได้ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย และได้แต่งตั้ง โมฮัมเหม็ด ซาอิด โคจา (Mohammed Said Khoja) อุปทูตที่พูดจาขวานผ่าซากมาสืบค้นข้อเท็จจริงที่กรุงเทพฯ โคจาสรุปว่าชาวซา อุดิอาระเบียทั้ง 4 คนได้ค้นพบข้อมูลสำคัญว่าเกิดอะไรขึ้นกับเพชรและถูกฆ่าปิดปาก เริ่มมีข่าว ลือแพร่กระจายในประเทศไทยว่ามีคนเห็นภรรยาของบุคคลในกลุ่มผู้ที่มีอำนาจมาก ในประเทศใส่เพชรซาอุฯที่หายไป
เรื่องนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2534 ประเทศซาอุดิอาระเบียได้ยกเลิกการออกใบอนุญาตทำงานให้กับแรงงานไทยหลายหมื่น คน และยุติการออกวีซ่าไปทำงานให้กับคนไทย ตัวเลขจำนวนคนงานไทยในซาอุดิอาระเบีย ดิ่งลงจาก 150,000 คนในปี 2532 จนเหลือน้อยกว่า 10,000 คน
เดือนสิงหาคม 2537 สันติ พ่อค้าเพชรที่เชื่อกันว่าเป็นคนสับเปลี่ยนเพชรปลอมแทนของจริง ถูกลักพาตัวและถูกทรมานโดยคำสั่งของ พล.ต.ท.ชลอ ไม่นานหลังจากนั้น ภรรยาและบุตรชายวัย 14 ปีของเขาถูกพบเป็นศพในรถเมอร์ซิเดสเบ๊นซ์ที่พังเสียหายอยู่บนถนนสายหลัก นอกกรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ชันสูตรพลิกศพแถลงว่าทั้งสองเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบน ถนน แต่ปรากฎอย่างรวดเร็วว่ามันกลายเป็นเรื่องที่ตำรวจโกหกอย่างชัดเจน – เหยื่อทั้งสองถูกฆาตกรรมโดยถูกตีที่หัว และมีความพยายามอย่างลวกๆที่จะทำให้เห็นว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุ
ชลอถูกดำเนินคดีข้อหาฆาตกรรมภรรยาและบุตรชายของสันติ ในระหว่างการพิจารณาคดีมีชาย 4 คนสารภาพว่าได้ทำการฆาตกรรมตามคำสั่งของตำรวจ และตำรวจพยายามขู่เอาเงิน 2.5 ล้านบาท จากพ่อค้าเพชรเป็นค่าไถ่ตัว ชลอถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดจริงและถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ยังไม่มีการประหารชีวิตเกิดขึ้น ในปี 2549 ชลอถูกพิพากษาอีกด้วยว่ามีความผิดฐานรับเพชรที่ถูกขโมยไว้ในครอบครอง
[img]http://img408.imageshack.us/img408/4488/chalor.jpg[/img]
รูปจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ตอนชลอถูกนำตัวจากคุกไปฟังคำพิพากษา :
ในขณะนั้น เรื่องราวดำเนินไปอย่างมืดมน สันติและชลอไม่ยอมเปิดเผยสิ่งที่พวกเขารู้ ทำให้เกิดน้ำหนักกับข้อสงสัยที่กระจายไปอย่างกว้างขวางว่าเครื่องเพชรตกอยู่ ในมือของบุคคลบางคนที่มีอำนาจมากที่จะปกปิดความจริง ชลอยังคงอยู่ในคุก โดยมีรายงานว่าเขากำลังจัดตั้งวงดนตรีและบันทึกอัลบั้มเพลงชุด “Jailhouse Rock” ของเอลวิส
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและซาอุ ดิอาระเบียยังคงตึงเครียด แม้ว่าจะมีความพยายามเป็นระยะๆที่จะแก้ไขปัญหานี้ ปีที่แล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษของไทยได้แถลงอย่างเร่งด่วนว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้อง “ชาวอาหรับ” ชื่อ อาบู อาลี (Abu Ali) ในข้อหาฆาตกรรมหนึ่งในนักการทูตซาอุฯและอ้างแบบค่อนข้างทำให้เกิดความงุนงงด้วยว่าเพชรสีน้ำเงินนั้นอาจไม่เคยมีอยู่ ในตะวันออกกลางนั้นมีคนเป็นล้านที่เรียกตัวเองว่า อาบู อาลี – มันไม่ใช่แม้แต่จะเป็นชื่อจริง แต่เป็นวิธีที่พูดถึงผู้ชายที่มีลูกชายชื่ออาลี ความก้าวหน้าแบบทึกทักเอา เองของกรมสอบสวนคดีพิเศษนั้นไม่ได้สร้างความพอใจให้กับทางซาอุฯเลย
ปีนี้ ซึ่งคดีกำลังจะหมดอายุความ 20 ปีนั้น มีความคืบหน้าที่แท้จริงเกิดขึ้น – สำนักงานอัยการสูงสุดสั่งฟ้องนายตำรวจอาวุโส พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม ผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 5 ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เชียงใหม่ด้วย ในข้อหาฆาตกรรมรูไวลี่ ตำรวจอีก 4 นายถูกสั่งฟ้องด้วย ทั้งห้าคนอยู่ระหว่างการรอถูกดำเนินคดี
การสั่งฟ้องเป็นความคืบหน้าเล็กๆที่ทำ ให้ความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯดีขึ้น จนมาถึงปลายเดือนที่แล้วเมื่อประเทศไทยสร้างรอยบากให้การทูตชนิดเตะลูกเข้า ประตูตัวเองด้วยการประกาศแต่งตั้งสมคิดเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ไม่น่าแปลกใจที่สถานทูตซาอุฯมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยความเกรี้ยวกราดต่อการแต่งตั้งสมคิด :
สถาน ทูตฯมีความกังวลอย่างยิ่งยวดที่ทราบว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ถูกกล่าวหาว่า เกี่ยวข้องในคดีนี้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งในลักษณะที่อาจกระทบการดำเนิน การทางกฏหมายต่อจำเลย...
เนื่อง จากความกังวลที่สำคัญยิ่งเหล่านี้ อาจกระทบอย่างรุนแรงต่อความอุตสาหะพยายามทั้งปวงในปัจจุบันของทั้งสองประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาคาราคาซังที่กำลังส่งผลโดยตรงต่อการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ของสองประเทศ
แน่นอน รัฐบาลไทยต้องคาดคะเนได้ถึงพายุนี้แต่เห็นว่ามันโหมกระหน่ำอยู่ในทะเล...... อภิสิทธิ์ และรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ รีบ ให้ความมั่นใจกับสื่อมวลชนไทยว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นอีกประเด็นที่สร้างความ วิบัติกับความสัมพันธ์ทางการทูตและความตึงเครียดนี้จะลดลงเมื่อทางซาอุฯได้ รับฟังคำชี้แจงเรื่องทั้งหมดอย่างถูกต้อง พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้พยายามที่จะทำให้เรื่องทั้งหลายผ่อนคลายลงด้วย การอ้างเหตุผลที่พิลึกพิลั่นว่าที่จริงแล้วการแต่งตั้งสมคิดนั้นเป็นการลด อำนาจ หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชั่น (The Nation) รายงานข่าวว่า:
ผู้ บัญชาการตำรวจฯกล่าวว่าเขาจะบอกกับนักการทูตซาอุฯด้วยว่า หากจะพิจารณาให้ดี การเลื่อนตำแหน่งของสมคิดนั้นทำให้อำนาจบังคับบัญชาของเขาลดลง เพราะตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจภาคฯนั้นตามที่เห็นกันอยู่ว่ามีอำนาจ มากกว่าตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ขณะที่สุเทพกล่าวว่าเขาจะส่งจดหมายไปให้ทางซาอุฯเพื่อแจกแจงประเด็นดังกล่าวและปลดชนวนปัญหา กษิตได้พบกับ นาบิล อัชรี (Nabil Ashri) อุปทูตซาอุฯ และแถลงว่าเขาได้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีจดหมาย ทางฝ่ายซาอุฯยังคงโกรธเกรี้ยว อภิสิทธิ์กล่าวว่าทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศจะเตรียมชี้แจงเป็นลาย ลักษณ์อักษรซึ่งจะยุติข้อกังวลของทางซาอุฯแต่ต้องใช้เวลานานเพราะต้องแปล อย่างระมัดระวัง: “การแปลล่าช้าเพราะต้องทำให้เกิดความแน่ใจในความถูกต้องของข้อความมากที่สุด การตีความใดๆที่ผิดจะมีผลให้เกิดความซับซ้อนยิ่งขึ้น”
ดูเหมือนว่าการแปลดังกล่าวนี้จะต้อง ยากมากเกินไปกว่าที่จะทำให้ลุล่วงได้ สัปดาห์ที่แล้วอภิสิทธิ์ได้พบกับอุปทูตอัชรีด้วยตัวเอง เพราะ (ตามรายงานข่าวของ Bangkok Post) “เป็น การชี้แจงประเด็นที่มีประสิทธิภาพมากกว่าผ่านเอกสาร” รายงานข่าวชิ้นนี้ระบุว่า “ตามคำบอกเล่าของอภิสิทธิ์ ดูเหมือนว่าอุปทูตซาอุฯได้รับข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับเรื่องนี้”
อัชรีไม่ยอมทนกับรายงานข่าวนี้ วันที่ 19 กันยายน เขาได้ออกแถลงการณ์ที่กราดเกรี้ยวโจมตีเจ้าหน้าที่ไทย:
นายนาบิล อัชรี มีความประหลาดใจต่อรายงานข่าวที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับการพบปะดังกล่าวกับนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้ภาพว่าอุปทูตซาอุฯมีข้อมูล “ไม่ ครบถ้วน” และตามคำกล่าวอ้างของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ดูเหมือนว่าเขา [อัชรี] “มีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับประเด็น” การเลื่อนขั้นของ พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม
นาย นาบิล อัชรี ย้ำว่าภารกิจที่สำคัญที่สุดของเขาที่นี่คือเป็นตัวแทนรัฐบาลในการ ติดตามความคืบหน้าของคดีซาอุฯที่ค้างคาอยู่จากรัฐบาลไทย โดยระบุว่าความจริงเขามีข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนตำแหน่งของ หนึ่งในผู้ต้องหาในคดีการหายตัวและการฆาตกรรมนักธุรกิจซาอุฯ ในแถลงการณ์ อ้างถึงคำพูดของอุปทูตซาอุฯว่า “ผม มีข้อมูลครบถ้วน ไม่ใช่ ข้อมูลไม่ครบ” ตามคำแถลงของอุปทูตซาอุฯ บรรดาเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยที่เขาพบ เท่าที่ผ่านมาได้ให้ข้อมูลที่แตกต่างกันในแต่ละครั้งหรืออ้างถึงกฎหมายที่ แตกต่างกันในการพยายามอธิบายประเด็นดังกล่าวนี้กับเขา
ขณะที่ข้อพิพาทขยายตัวมากขึ้น มีความกังวลเกิดขึ้นว่าทางซาอุฯจะโน้มน้าวให้ประเทศมุสลิมอื่นๆลดระดับความ สัมพันธ์กับประเทศไทย หรือจะตัดโควต้าชาวไทยมุสลิมที่จะเดินทางไปร่วมพิธีหัจญ์ ในที่สุด วันนี้สมคิดประกาศว่าเพื่อผลประโยชน์ในความสัมพันธ์กับประเทศซาอุฯ เขาจะไม่ยอมรับการแต่งตั้งดังกล่าว
รองนายกรัฐมนตรีสุเทพยอมรับ “การ เสียสละ”ของสมคิด และกล่าวเสริมว่า “การตัดสินใจของเขา [สมคิด] จะทำให้การแก้ปัญหาระหว่างประเทศไทยกับประเทศซาอุดิอาระเบียง่ายขึ้น”
แต่แน่นอน ปัญหาทั้งหมดยังอยู่ห่างไกลจากการแก้ไข และขณะที่การตัดสินใจของสมคิดในการปฏิเสธการแต่งตั้งดังกล่าวได้ขจัด สถานการณ์ที่ความรุนแรงเริ่มเกิดขึ้นและควบคุมไม่ได้นั้นออกไป เหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นไปแล้วต่อความสัมพันธ์ที่เป็น ปัญหาระหว่างสองประเทศ และมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปทำให้เป็นปัญหาความสัมพันธ์ไทยกับโลกอาหรับ
ตำนานเรื่องนี้บอกอะไรเราเกี่ยวกับประเทศไทย? ประการแรก มันอธิบายขอบเขตที่น่าตระหนกตกใจของการทำผิดกฎหมายในแวดวงตำรวจไทย ตามที่นิตยสารดิอิโคโนมิสต์ (The Economist) ชี้ไว้ในบทความปี 2551 “ในคดีอาชญากรรมที่กระตุ้นความสนใจมากที่สุดของประเทศไทย บ่อยครั้งที่ผู้ต้องสงสัยที่สำคัญที่สุดคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ” เจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยได้ทำให้เห็นอยู่บ่อยครั้งว่าพวกเขายังอยู่ห่างไกล กับการที่จะลดการก่ออาชญากรรมมากกว่าที่จะแก้ปัญหาอาชญกรรม คนไทยจำนวนมากได้พัฒนาการยอมรับเชิงอิดหนาระอาใจต่อพฤติกรรมของตำรวจและไม่ ค่อยจะประหลาดใจแม้ในเรื่องทุจริตต่างๆที่โจ่งแจ้งและน่าขนลุก แต่เมื่อมี ชาวต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นรื่องเพชรซาอุที่อื้อฉาวนั้น บ่อยครั้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อภาพพจน์และผลประโยชน์ของ ชาติ ประเทศไทยมีตำรวจท่องเที่ยวเป็นหน่วยพิเศษที่ตั้งขึ้นโดยเฉพาะเพื่อ ช่วยให้ชาวต่างชาติได้มีช่องทางเล็กๆในการติดต่อกับตำรวจปกติทั่วไปเท่าที่ เป็นไปได้- [ไม่เช่นนั้นแล้ว] ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งหัวใจของประเทศคงจะน่าขนลุกทีเดียว ตามที่นิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ เขียนไว้ในบทความว่า:
ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่ากองตำรวจของประเทศไทยไม่ได้แย่ที่สุดในโลก: มันมีความสุจริตอยู่บ้าง และมีพนักงานสอบสวนที่มีความสามารถ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศที่มีระดับการพัฒนาสูงพอสมควรเช่นนี้ บันทึกประวัติอาชญากรรมของตำรวจเลวร้ายมาก...
การ ปฏิรูปตำรวจที่อื่นๆโดยทั่วไปสำเร็จได้เฉพาะแต่ในประเทศที่มีผู้นำทางการ เมืองที่ปราศจากมลทินและมีจิตใจเพื่อสาธารณะใช้อำนาจผลักดันให้เกิด ขึ้น เมื่อไรประเทศไทยถึงจะมีผู้นำแบบนี้?
ประการที่สอง ความพยายามที่ผิดพลาดของ เจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงและแม้แต่ตัวอภิสิทธิ์เองในการพูดหาทางออกของวิกฤติ ตามแบบที่คุ้นเคย อภิสิทธิ์และรัฐมนตรีอาวุโสย้ำวลีเดียวกันกับที่เจ้า หน้าที่รัฐไทยใช้ในทุกสถานการณ์ – ทุกอย่างเรียบร้อยดี ไม่มีอะไรต้องกังวล มันเป็นเรื่องเข้าใจผิดเพราะคนที่วิจารณ์รัฐบาลไม่ได้รับข้อมูลครบถ้วน เกี่ยวกับสถานการณ์, สาเหตุส่วนหนึ่งจากความซับซ้อนของกฎหมายและลักษณะเฉพาะของประเทศไทย และปัญหาทั้งหมดจะได้รับการแก้ไขเมื่อพวกเขาได้รับฟังคำอธิบายเรื่องต่างๆ แล้ว คำอธิบายที่เป็นคำมั่นสัญญานี้ยากที่จะกลายเป็นจริง
คำอธิบายที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลที่คล้าย คลึงกันมากถูกใช้เมื่อรัฐบาลพยายามที่จะขับไล่กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงที่ยึด พื้นที่ต่างๆในกรุงเทพฯเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคมนำไปสู่การนองเลือดบนถนน ในเมืองหลวงและทำให้เกิดความห่วงใยจากนานาชาติ รัฐบาลกล่าวว่านักวิจารณ์ชาวต่างชาติมีความเข้าใจผิดอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่ซับซ้อน แต่พวกเขาจะเข้าใจเมื่อได้รับคำอธิบายถึงเรื่องต่างๆ มันเป็นกลยุทธที่ไม่ใช่เพียงถูกจำกัดอยู่กับรัฐบาลปัจจุบัน – ศัตรูคู่แค้นของอภิสิทธิ์, อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยจัดการกับเรื่องที่เป็นข้อโต้เถียงด้วยวิธีการแบบเดียวกัน และหากพิจารณาถึงสื่อมวลชนที่เฉื่อยชามากของประเทศไทยและข้อเท็จจริงที่ระบบ การศึกษาและค่านิยมต่างๆของสังคมนั้นไม่ได้ส่งเสริมให้มีการตั้งคำถามกับผู้ บริหาร, บ่อยครั้งที่ข้าราชการไทยไม่ถูกลงโทษเมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนใน ประเทศ เป็นเรื่องยากกว่าที่จะทำให้ชาวต่างชาติเชื่อคำอธิบายที่ไม่เป็น เหตุผลเช่นนั้น – เช่นที่แถลงการณ์ของอุปทูตซาอุฯ ระบุว่า:
นาย อัชรีอ้างถึงการแสดงความเห็นต่างๆของเจ้าหน้าที่ไทยในสื่อที่แสดงเหตุผลใน การแต่งตั้ง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม และกล่าวอ้าง โดยไม่มีคำอธิบายที่มากกว่าความซับซ้อนและกฎหมายต่างๆและกฎระเบียบจำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งครั้งนี้, และกล่าวว่า “ความ เห็นของผมในเรื่องความซับซ้อนเหล่านี้และกฎหมายต่างๆที่เจ้าหน้าที่ไทยได้ อ้างถึงในการแก้ต่างให้กับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งของนายสมคิด คือ โดยทั่วไปกฎหมายทุกฉบับถูกร่างและนำมาใช้โดยความเห็นชอบของสาธารณชน ดังนั้น ผมถือว่าไม่มีกฎหมายใดซับซ้อนเกินกว่าที่จะเข้าใจได้ – ไม่ว่าจะมีกี่ฉบับ – และจุดประสงค์เบื้องต้นของมัน หรือความเข้าใจผิดต่อเป้าประสงค์ของกฎหมาย”
หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ซึ่งโดยปกตินั้นสนับสนุนรัฐบาล เขียนในบทบรรณาธิการด้วยถ้อยคำเสียดแทงว่า:
ทั้ง นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์, รองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ บอกว่าพวกเขาได้อธิบายเกี่ยวกับการแต่งตั้ง พล.ต.ท. สมคิด ให้กับนายอัชรี แล้ว นั่นเป็นเพียงการเพิ่มลับลมคมในเข้าไป
ใน ข้อเท็จจริง นายอัชรีไม่ได้รับคำอธิบายอย่างเป็นทางการตามที่ผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาล ทั้งสามคนสัญญาไว้และได้บอกกับสาธารณชนไทยว่าได้ส่งไปให้ [ทางซาอุฯ]แล้ว คำแก้ตัวคือมีเอกสารจำนวนมากที่ต้องรวบรวม แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่รัฐมนตรีทั้งสามบอกกับสาธารณชน นี่เป็นการตบหน้าข้าราชการกระทรวงต่างประเทศฉาดใหญ่ ความพยายามที่ดำเนินการ ไปแล้วของพวกเขาในการที่ประสานงานกับนักการทูตซาอุฯตามที่มีการเรียกร้อง นั้นได้ถูกทำลายลงโดยนักการเมืองพวกนี้
และรัฐบาลได้คำนวณผิดอย่างร้ายแรงถึงผลกระทบทางการเมือง หรือว่าไม่สนใจ
ประการที่สาม และเป็นเรื่องน่ากังวลที่สุดสำหรับคนที่คิดว่าอภิสิทธิ์สามารถนำประเทศไทย ไปสู่การปฏิรูปหรือการปรองดองได้ บทสุดท้ายของตำนานเพชรสีน้ำเงินแสดงให้เห็นถึงระดับที่เขายังคงอยู่ในความ ครอบงำที่ด่างพร้อยแต่เป็นของกลุ่มผลประโยชน์ที่มีสิทธิอำนาจอันชอบธรรม ไม่ ว่าใครจะคิดถึงนโยบายของอภิสิทธิ์อย่างใดก็ตาม เขาไม่ใช่คนโง่ และเขามีชื่อเสียงในเรื่องความเป็นคนซื่อตรง แต่เขาครองอำนาจ [ใน แบบ] ที่ต้องขอบคุณต่อการสนับสนุนของปัจจัยที่เป็นคำถามอย่างยิ่งในกองทัพและ ตำรวจ และนักการเมืองที่มีชื่อเสียงในทางที่ไม่ดีอย่าง เนวิน ชิดชอบ ซึ่งพรรคฯได้แต่งตั้งให้กำกับดูแลรัฐมนตรี 3 คนที่ร่ำรวยมาก สำหรับคนที่ประหลาดใจว่าทำไม
สมคิดถึงได้ถูกเสนอให้รับตำแหน่งที่เป็นข้อถกเถียงซึ่งทำให้เกิดคำถาม– แม้ว่าจะเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของไทย - มันชัดเจนว่าเป็นความเคลื่อนไหวที่ทางซาอุฯมองได้ว่าเป็นเหมือนการยั่วยุ อย่างมาก – ความจริงที่พี่ชายของเขา [สมคิด] เป็นผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในกลุ่มนายทหารและนายตำรวจที่วางแผนการรัฐประหารปี 2549 นั้นให้คำตอบที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด สองพี่น้องยังมีบทบาทสำคัญในการ เตรียมหลักฐานที่นำไปสู่คำพิพากษายุบพรรคพลังประชาชนที่สนับสนุนทักษิณ - การแทรกแซงที่เปิดโอกาสให้อภิสิทธิ์ได้จัดตั้งรัฐบาล อภิสิทธิ์ไม่อาจที่จะไม่รับรู้ถึงความเสียหายใหญ่หลวงของการแต่งตั้งที่มี ต่อผลประโยชน์ของประเทศ และแม้ว่าจะมีปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิ ทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ความพยายามของเขาในการอธิบายเรื่องดังกล่าวนั้นไม่น่าประทับใจ และเขารู้อย่างชัดเจนว่าเขาไม่มีทางเลือกแต่ต้องแก้ตัวให้กับการตัดสินใจ จนกระทั่ง “การเสียสละ”ของสมคิดทำให้เขาหลุดจากบ่วง
ในระยะยาวไปกว่านี้ คำสาปของเพชรสีน้ำเงินยังรายล้อมประเทศไทย นี่คือเรื่องราวที่ยังยาวไกลกว่าจะถึงตอนจบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น