เมื่อ เวลา 07.00 น.วันที่ 6 ตุลาคม ที่สวนประติมากรรมประวัติศาสตร์ : ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย มีการจัดกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ครบรอบ 34 ปี มีพิธีตักบาตรพระสงฆ์จากนั้นมีการแสดงนาฏลีลาโดยการจำลองเหตุการณ์ปิดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และกราดยิงนักศึกษา และมีการวางพวงมาลา ที่ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยมีนายสุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมธ. พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และนายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมถึงนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปร่วมรำลึกมี เจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยประมาณ 10 นาย
นาย สุรพล กล่าวสดุดีและประกาศเจตนารมณ์ 34 ปี 6 ตุลา มีใจความว่า ในโอกาสครบรอบ 34 ปี 6 ตุลาคม 2519 ครบรอบ 10 ปี ประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกเหตุการณ์สร้างขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ด้วยน้ำพักน้ำแรงของผู้มีน้ำใจและผู้อยู่ในเหตุการณ์เพื่อรำลึกถึง ขบวนการนักศึกษาเดือนตุลาที่กล้าลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อสังคมทื่้ดีงาม ซึ่งการรวมตัวของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์ในการ ต่อสู้ เมื่อ 30 ปีที่แล้วที่ทำให้คนมารวมกันเพื่อสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทยจนถึงวันนี้ ภารกิจของคนเดือนตุลายังไม่เสร็จสิ้นจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมรำลึก เหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ในทุกปี
นายสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวสดุดีถึงวีรชน 6 ตุลาคม ว่า การรวมตัวกันของนักศึกษาในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 มีนักศึกษาถูกฆ่าตายเพราะความขัดแย้งทางการเมืองเพียงแค่การคิดต่างกัน ขบวนการนิสิตนักศึกษาคิดไม่ตรงกันกับรัฐบาลถูกมองว่าเป็นความคิดแบบ คอมมิวนิสต์ แต่ชนชั้นนำและชนชั้นปกครองในสมัยนั้นไม่รู้วิธีแก้ปัญหาแบบสันติวิธีโดยใช้ ประชาธิปไตยกลับใช้วิธีการที่รุนแรงเข่นฆ่าเพื่อหาทางออก "ชนชั้นนำคิดว่าเมื่อคิดต่างต้องฆ่า" หลังจากที่ฆ่านักศึกษาแล้วทหารเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศกว่า 1 ปี
นายสุทธาชัย กล่าวถึงบทเรียน 6 ตุลาคม ว่า ได้ เห็นความผิดพลาดของชนชั้นนำในการแก้ปัญหามีการใส่ร้ายนักศึกษาโดยใช้สื่อและ ฆ่านักศึกษาจนเกิดการสูญเสียชีวิต เวลาผ่านไป 34 ปี ชนชั้นปกครองของไทยพ.ศ.2553 ยังคงใช้วิธีรุนแรงเข้าไปแก้ไขปัญหาทางการเมืองไม่เลือกใช้วิธีสันติวิธี หรือวิธีแบบประชาธิปไตย ชนชั้นปกครองใช้วิธีการเดิมๆแก้ปัญหาเอากำลังเจ้าหน้าที่เข้าสลายการชุมนุม โดยใช้คำพูดที่สวยหรูสุดท้ายคือประชาชนต้องสูญเสียชีวิต ถ้าดวงวิญญาณของวีรชน 6 ตุลาคม มีจริงช่วยชี้นำอย่าได้ให้ชนชั้นปกครองใช้วิธีการเดิมแก้ปัญหาโดยการเอาทหาร มาฆ่าประชาชนอย่าใช้วิธีการแบบประเทศพม่าขอให้ใช้วิธีการแบบประเทศที่เจริญ แล้ว
"บทเรียนการฆ่าประชาชน ที่ผ่านมา(เมษายน-พฤษภาคม53)ขอให้เป็นครั้งสุดท้ายเพราะมันเป็นเรื่องที่น่า เศร้าใจและไม่อยากให้เกิดขึ้นอีกแล้วในประเทศที่เปิดประเทศไปสู่เสรีวิธีการ แบบเก่าควรยกเลิกทันที ขอให้ทุกคนช่วยกันไว้อาลัยวีรชน 6 ตุลาและเหตุการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาเพื่อสังคมไทยจะได้ไม่เกิดความรุนแรง เกิดขึ้นอีก ไม่เช่นนั้นจะมีการฆ่าประชาชนฝ่ายเดียว ใครก็ตามที่เป็นนายกฯอย่าได้ใช้วิธีการแบบนี้แก้ปัญหาโดยใช้บทเรียน 6 ตุลาเป็นตัวอย่าง" นายสุทธาชัย กล่าว
นายจินดา ทองสินธุ์ อายุ 86 ปี บิดานายจารุพงษ์ ทองสินธุ์ ผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม ที่ถูกลากคอในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวสดุดีและรำลึกถึงผู้เสียชีวิตว่า ที่ผ่านมาถือว่าวีรชนได้รับความเป็นธรรมอยู่บ้าง ญาติวีรชน 6 ตุลาคม ไม่เคยออกมาเรียกร้องจากรัฐบาล พวกเราไม่เคยได้รับการเยียวยาและเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีการนิรโทษกรรมให้ ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้บริสุทธิ์
"ใน ฐานะตัวแทนญาติวีรชนอยากให้ทุกคนมีความรักสามัคคีให้ผู้ปกครองประเทศได้ ปฏิบัติเท่าเทียมกัน ฝ่ายชาวบ้านที่เป็นผู้สูญเสียไม่ได้รับการเหลียวแล แต่ฝ่ายเจ้าหน้าที่มีการปูนบำเหน็จเยียวยาดูแลครอบครัวคนที่เหลืออยู่หมด แต่วันนี้ผมไม่มีลูกชายที่หวังพึ่งต้องอยู่อย่างลำบากกลับไม่ได้รับการดูแล จากรัฐบาลประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศในขณะนั้น มาจนถึงวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้ขึ้นมาปกครองประเทศอีกครั้งเหตุการณ์วน เวียนมา 34 ปี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้มีกระบวนการเยียวยาครบถ้วนแต่เฉพาะเจ้าหน้าที่ ปูนบำเหน็จ เลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือนดูแลบุพการี ได้รับการเยียวยาพอสมควร ระหว่างที่รัฐบาลลพรรคประชาธิปัตย์ยังบริหารประเทศอยู่ควรจะหันมาสนใจพวกเรา บ้างแม้เพียงเศษเล็กๆน้อยๆขอเยียวยาเราบ้างและรัฐบาลยังพอมีเวลาเหลืออยู่ ต้องคิดแล้วว่าจะปฏิบัติกับพวกเราอย่างไร"
รศ.ดร.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าชนชั้นปกครองไม่ได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยวิธีการ ประชาธิปไตย รู้เพียงแต่ว่าต้องใช้กำลังแก้ปัญหา ความสูญเสียย่อมเกิดขึ้นความเจ็บปวดที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การต่อสู้ของประชาชนไม่มีวันสิ้นสุดความพยายามในการหาแนวทางให้รัฐเลิกใช้ ความรุนแรงกับประชาชนโดยยึดแนวทางประชาธิปไตยน่าจะเป็นหนทางปลอดภัยที่สุด ต่อประชาชนและประเทศชาติ
"จากประสบการณ์ทาง การเมืองที่ผ่านมาคนมีอำนาจย่อมไม่ยอมสูญเสียอำนาจ อยากถามว่าในมหาวิทยาลัยได้ให้พื้นที่ยืนอย่างสง่างามจากบทเรียนการต่อสู้ 6 ตุลาคม บทเรียนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชน นักศึกษาและทุกกลุ่มในสังคมแล้วหรือยัง เหตุการณ์ยังคงอยู่และพูดในมุมของญาติวีรชนเท่านั้นหรือเหตุใดมหาวิยาลัยไม่ ให้ความสำคัญทั้งที่เห็นหน้าที่โดยตรงของนักวิชาการ วันนี้ความจริงได้นำมาสู่สังคมไทยอย่างแท้จริงแล้วหรือยัง ในเหตุการณ์ล่าสุดของการเรียกร้องประชาธิปไตยประชาชนได้ออกมาเรียกร้องให้ ยุบสภาโดยการเรียกร้องตามประชาธิปไตยซึ่งไม่ใช่นักศึกษาแต่พวกเขาคือประชาชน ในทุกกลุ่มสังคม ของประเทศ แต่สิ่งที่เขาได้รับไม่ต่างจากวีรชน 6 ตุลาคม คือ กระสุนปืนจากทหาร ทุกวันนี้มหาวิทยาลัยได้ยอมรับว่ามีคนตาย91 ศพในเหตุการณ์ความรุนแรงที่รัฐได้กระทำต่อประชาชนแล้วหรือยัง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปฏิกิริยาทันทีหลังเหตุการณ์สังหารประชาชน คือ การเยียวยา นักธุรกิจ แม่ค้า ย่านสยามแสควร์ นั่นคือสิ่งที่มหาวิทยาลัยกำลังทำ ยอมรับแล้วหรือยังว่ามีการฆ่ากันตายหรือจะยอมรับแค่ว่ามีการฆ่ากันเองไม่ยอม รับอาชญากรรมที่รัฐกระทำกับประชาชน ขอเรียกร้องความจริงขอให้มหาวิทยาลัยร่วมที่จะเป็นผู้ตีแผ่ความจริงในบทบาท ของนักวิชาการให้สังคมได้รับรู้ปัญหา"รศ.ดร.สุดา กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น