แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ร่วมกันจารึกและบันทึกในหัวใจ: รายชื่อวีรชนและผู้บริสุทธิ์ที่สังเวยความบ้าคลั่งแห่งอำนาจของมาเฟียการเมืองไทย นับตั้งแต่ปี 2492

โดย กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย

ที่มา Time UP Thailand

ปรับปรุงเพิ่มเติม 29 มกราคม 2554



ไทย อีนิวส์ ขอนำข้อมูลที่รวบรวมโดยกลุ่มแอ็คชั่นเพื่อประชาธิปไตยนี้มานำเสนอเพื่อเตือน ความจำคนไทยผู้รักความยุติธรรมและประชาธิปไตย กันเป็นระยะถึงความรุ่นแรงและความโหดร้ายของสงครามแย่งชิงอำนาจทางการเมือง ในประเทศไทยกว่า 60 ปีที่ผ่านมา

กลุ่มแอ็คชั่นเพื่อ ประชาธิปไตย พยายามรวบรวมจากข้อมูลที่เผยแพร่ไว้ตามเวบไซด์ต่างๆ เพื่อนำมาร่วมอยู่ด้วยกัน ต้องขออภัยมา ณ ที่นี่ สำหรับรายชื่อที่ตกหล่น และ/หรือความผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่างๆ เพราะจากการค้นคว้า มีหลายเวบไซด์ ที่อ้างข้อมูลเหล่านี้ จนไม่สามารถระบุได้ว่าต้นกำเนิดมาจากที่ไหนเป็นแห่งแรก แต่ขอให้รำลึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลที่จำเป็นต้องร่วมกันเผยแพร่สู่ สาธารณชนอย่างกว้างขวาง และไม่ควรมีใครอ้างกรรมสิทธิบนชีวิตของวีรชน นักสู้ แต่ควรร่วมกันเผยแพร่ สรรเสริญและยกย่องในวีรกรรมของทุกคน


ขอร่วมบันทึกไว้สั้นๆ

ใน ช่วงการลุกขึ้นสู้ของ "ผู้มีบุญ" ที่ภาคอีสานจากข้อมูลหลายแหล่งที่ค้นพบ มีการปราบปรามครั้งใหญ่จากกองทหารจากกรุงเทพกว่า 6,000 คน ที่ที่มีอาวุธปืน กับชาวบ้านหลายพันคนที่ไม่มีอาวุธอะไรมากไปกว่าดาบและหอก การปะทะทำให้มีผู้เสียชีวิต 200-300 คน บาดเจ็บ 500 คน และถูกจับกว่า 400 คน (แหล่งข้อมูลภาษาอังกฤษอ้างว่าผู้เสียชีวิตนับพันคน) แกนนำ 9 คน ยกเว้นพระสงฆ์ 1 รูป ถูกตัดคอประหารกลางทุ่งศรีเมือง แล้วเอาหัวเสียบประจานให้คนอีสานเห็นว่าผลของการกระด้างกระเดื่องกับรัฐบาล จากกรุงเทพจะเป็นเช่นไร พร้อมกับให้ชาวบ้านดื่มน้ำสาบานและให้สัญญาว่าจะไม่ทรยศต่อกษัตริย์สยาม


ภาพการประหารชีวิตในสมัยรัชกาลที่ 5


การ ปราบปราม สังหารประชาชนในนามมีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในนามเพื่อปกป้องสถาบันฯ ในนามสงครามแบ่งแยกดินแดน ในนามการปราบปรามยาเสพติด และหรือในนามการพัฒนาประเทศ ไม่มีใครรู้ได้แน่ว่ามีตัวเลข ร้อย พัน หรือหมื่น บางคนประมาณการสูงถึง 30,000 คน (ซึ่งจากการพยายามค้นคว้ายังไม่มีข้อมูลที่สนับสนุนข้ออ้างนี้ แต่ถ้าดูความรุนแรงที่ภาคใต้ และการปราบปรามช่วงสมัยรัชกาลที่ห้า ผนวกรวมเข้าไปด้วย ตัวเลขนี้ก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน)

ถ้า ดูรายงานการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี พ. ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย จัดทำโดยสำนักงานประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน ของสหรัฐฯ เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2551 ก็จะเห็นได้ว่าความตายภายใต้อุ้งมือของรัฐไทยนั้นง่าย และไม่มีมีค่าเพียงใด

ตัว เลข จากกองการสอบสวนและนิติการ กระทรวงมหาดไทยระบุว่าในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตระหว่างถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำหรือระหว่างถูกเจ้าหน้าที่ ตำรวจควบคุมตัวทั้งสิ้น 751 ราย ในจำนวนนี้มี 52 รายที่เสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยทางการแจ้งว่าส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตจากโรคภัยตามธรรมชาติ

รายชื่อต่อไปนี้ เป็นรายชื่อเท่าที่รวบรวมได้นับตั้งแต่ปี 2492 มีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 300 วีรชน

อาจะมีรายชื่อเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อได้ค้นคว้าเพิ่มเติมมากขึ้น

ขอบคุณ และคารวะวีรชนทุกท่าน

การปราบปรามกลุ่มปรีดีในปี 2492 หลังกบฎวังหลวง

4 รัฐมนตรี และนายตำรวจที่สนับสนุนปรีดี

  1. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ อดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ และเป็นอดีตรัฐมนตรีถึง 6 สมัย,
  2. นายถวิล อุดล อดีต ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ,
  3. นายจำลอง ดาวเรือง อดีต ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม
  4. ดร.ทองเปลว ชลภูมิ อดีต ส.ส.จังหวัดนครนายก และเลขาธิการพรรคแนวรัฐธรรมนูญ
  5. พันตรีโผน อินทรทัต ถูกกระสุนปืนยิงเสียชีวิตบริเวณหน้าผาก ศพอยู่ที่พบที่อำเภอดุสิต
  6. พันตำรวจเอกบรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล

2495

  1. เตียง ศิริขันท์ ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2495 เตียงและพวกรวม 5 คน ถูกเชิญตัวไปสบสวนที่สันติบาล ก่อนที่จะถูกสังหารโหดที่บ้านเช่าพระโขนงทีละคน และนำไปเผาที่ตำบลแก่งเสิ้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พวกอีก 4 คนได้แก่
  2. นายสง่า ประจักษ์วงศ์ พนักงานขับรถ
  3. นายชาญ บุนนาค ลูกน้องคนสนิทของนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเคยถูกจับกุมที่ทำเนียบท่าช้างเมื่อครั้งเกิดกบฏวังหลวง
  4. นายน้อย บุนนาค และ
  5. นายผ่อง เขียววิจิตร

30 มิถุนายน 2502

  1. ศุภชัย ศรีสติ กรรมกรที่ถูกตัดสินประหารด้วยมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์

31 พฤษภาคม 2504

  1. ครอง จันดาวงศ์ ถูกประหารชีวิต ข้อหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์พร้อมกับ
  2. ทองพันธ์ สุทธิมาศ

24 เมษายน 2505

  1. รวม วงพันธ์ นักจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ถูกตัดสินประหารชีวิต เขาเปล่งเสียงก่อนกระสุนจะสังหารเขาว่า"จักรพรรดินิยมอเมริกาและเผด็จกา รสฤษดิ์ จงพินาศ !!!...ประชาชนไทย จงเจริญ จงเจริญ !!!...."

5 พฤษภาคม 2509

  1. จิตร ภูมิศักดิ์ นักคิด นักเขียน และนักสู้ ถูกยิงเสียชีวิตที่เชิงเขาภูพาน

รายชื่อผู้เสียชีวิตในช่วงและเนื่องจากเหตุการณ์ 14 -16 ตุลาคม 2516

มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน,

ผู้เสียชีวิตเพื่อประชาธิปไตยกลุ่มเดียวที่ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ

ข้อมูลจากเวบไซด์ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา

  1. นายคธากร ชีพธำรง อายุ 18 ปี นักเรียนปีที่ 4 พาณิชยการเซนต์จอห์น ถูกตำรวจยิง
  2. นายคง เงียบตะคุ อายุ 28 ปี ลูกจ้างคนงาน ได้ยืนดูเหตุการณ์อยู่ที่หน้าต่างชั้นบนของร้าน และถูกกระสุนปืนเข้าบริเวณคอด้านหลัง
  3. นายคงไฮ้ แซ่จึง อายุ 27 ปี ลูกจ้างคนขับรถยนต์ ถูกยิงด้วย M16 ที่สะโพกด้านซ้ายทะลุหน้าท้อง เสียชีวิตในวันที่ 16 ตุลาคม 2516
  4. นาย จีระ บุญมาก อายุ 29 ปี นักศึกษาปริญญาโทสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นผู้ถือธงชาติเดินเข้าไปขอร้องมิให้ทหารยิงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์แต่กลับถูกยิง กระสุนปืนเจาะเข้าที่ขมับด้านซ้ายเสียชีวิตทันที
  5. นายจำรัส ประเสริฐฤทธิ์ อายุ 47 ปี ผู้ช่วยช่าง สังกัดโรงเบ็ดเตล็ด แผนกผลิต กองซ่อมรถพ่วงการรถไฟแห่งประเทศไทย
  6. ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ณะที่กำลังไปช่วยเด็กนักเรียนที่ถือธงชาติ
  7. นายเจี่ยเซ้ง แซ่ฉั่ว อายุ 17 ปี ช่างซ่อมเครื่องยนต์ ถูกยิงหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  8. นายจันทรครุป หงษ์ทอง อายุ 16 ปี เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 1 โรงเรียนช่างกลบางซ่อน ถูกยิงทางด้านหลัง
  9. นาย ฉ่อง จ่ายพัฒน์ อายุ 50 ปี ช่างแก้เครื่องยนต์ ได้นำข้าวห่อไปบริจาคให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกทหารยิงกระสุนเข้าเหนือคิ้วทะลุศีรษะด้านหลังเสียชีวิตทันที
  10. นายชูศักดิ์ ไชยยุทะนันท์ อายุ 15 ปี นักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม ถูกยิง หน้าโรงเรียนเพาะช่าง
  11. นายชัยศิลป์ ลาดศิลา อายุ 25 ปี ช่างวิทยุ และโทรคมนาคมของสถานีวิทยุ 1 ปณ. และเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถูกยิงที่หน้าอก หน้าสำนักงานกองสลาก
  12. นายชีวิน ชัยโตษะ อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นปีที่๒ แผนกช่างกลโรงงาน โรงเรียนช่างกล
    พระนครเหนือ
  13. นายไชยยศ จันทรโชติ อายุ 16 ปี ช่างเชื่อมเรือ ถูกกระสุนปืนในขณะขับรถเมล์ขาว พุ่งเข้าชนรถถัง
  14. นางชูศรี พักตร์ผ่อง อายุ 42 ปี พับถุงกระดาษขาย ไปตามหาบุตรที่เชิงสะพานบางลำพู ขณะที่วิ่งหลบกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ได้หกล้ม ละศีรษะฟาดพื้นอย่างแรง
    จึงเสียชีวิตขณะถูกนำส่งโรงพยาบาล
  15. นายดนัย กรณ์แก้ว อายุ 24 ปี พนักงานขายไอศครีม บริษัทฟอร์โมส จำกัด
    ได้ถูกแก๊สน้ำตา ขณะวิ่งหนีไปทางบางลำพู ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์
  16. นายตือตี๋ แซ่ตั้ง อายุ 24 ปี ช่างปูพื้นปาเก้ถูกยิงใต้รักแร้ซ้าย
  17. นายถนอม ปานเอี่ยม อายุ 19 ปี กุ๊กทำอาหารประจำโรงแรม ถูกยิง
    บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  18. นายทอง จันทราช อายุ 40 ปี ลูกจ้างขับรถยนต์ ถูกยิงบริเวณ
    หน้าโรงเรียนเพาะช่างพาหุรัด
  19. นายธาดา ศิริขันธ์ อายุ 22 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาช่างยนต์วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
    ถูก ยิงทะลุที่ซี่โครง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2516 เพราะไปดื่มฉลองที่ประชาชนได้รับชัยชนะ ระหว่างดื่มพูดถึง 3 ทรราช ทำให้ชาย 4 คนในร้านไม่พอใจ และลุกขึ้นชักปืนยิง บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ เสียชีวิตทันที
  20. นายนิยม อุปพันธ์ อายุ 20 ปี นักเรียนน ม. 5 แผนกช่างไฟฟ้าโรงเรียนช่างกลบางซ่อน เข้าร่วมในหน่วย "ฟันเฟือง" ถูกยิงกระสุนเข้ากะโหลกศีรษะข้างขวาหลังใบหู และกระสุนฝังใน เสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช
  21. นายนพ พรหมเจริญ อายุ 40 ปี กรรมกรท่าเรือ ถูกยิงกะโหลกศีรษะแตกหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  22. นาย นิติกร กีรติภากร อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร ถูกตีและถูกแก๊สน้ำตา ที่บริเวณหน้าพระราชวังสวนจิตร และได้ถูกล้อมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์มีอาการประสาทหลอนและเป็นลมตลอดมา เสียชีวิตวันที่ 21 พฤศจิกายน 2516 จากอาการหัวใจวาย
  23. นายบรรพต ฉิมวารี อายุ 25 ปี นักศึกษาภาคค่ำชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    ไป ร่วมเดินขบวน หกล้มหัวฟาดบาทวิถี แล้วมีคนล้มทับ แต่สามารถกลับถึงบ้าน และได้เสียชีวิตเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกในวันรุ่งขึ้น (15 ต.ค,)
  24. นายบัญทม ภู่ทอง อายุ 18 ปี ลูกจ้างทำงานโรงแรม ถูกยิง บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
  25. นาย ประเสริฐ วิโรจน์ธนะชัย อายุ 19 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 4โรงเรียนช่างฝีมือ ปัญจวิทยา ที่บริเวณ สะพานผ่านฟ้าลีลาศขณะไปช่วยน้องที่ถูกยิงด้วM 16 จึงถูกยิง รวมทั้งนายสมควร แซ่โง้ว เพื่อนที่วิ่ง ตามมาจะเข้าช่วยก็ถูกยิงที่ท้อง และหน้าอก
  26. นายประสาน วิโรจน์ธนะชัย อายุ 17 ปีนักเรียนโรงเรียนภาษาศาสตร์ ถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ที่คอและหน้าอก พรุนทั้งร่าง
  27. นายประเสริฐ เดชมี อายุ 19 ปี กำลังจะศึกษาต่อ ถูกยิงเสียชีวิต
  28. นายประยงค์ ดวงพลอย อาย ุ21 ปี ขับรถรับจ้างสองแถว ถูกยิงที่สมอง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม หน้าสถานีตำรวจสมุทรปราการ
  29. นายประณต แซ่ลิ้ม อายุ 28 ปี ลูกจ้างทำเป็ดย่าง ส่งตามภัตตาคาร ถูกยิง
  30. นายประยุทธ แจ่มสุนทร อายุ 17 ปี นักเรียนชั้นม. 4 โรงเรียน ผดุงศิษย์พิทยา ถูกยิงที่หลังขณะเอาน้ำไปให้นักศึกษาที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  31. นายประวัติ ภัสรากุล อายุ 18 ปี ค้าขาย ถูกยิงหน้าอกทะลุหัวใจ เสียชีวิตทันที
  32. นาย ประสพชัย สมส่วน อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ขณะที่กำลังนั่งอยู่บนรถดับเพลิงที่ยึดมาได้ พร้อมกับกลุ่มนักเรียนได้ขับรถมุ่งไปทางบางเขน เพื่อไปบริจาคโลหิตที่โรงพยาบาลภูมิพลฯ ขณะที่รถผ่านบริเวณหน้ากรมป่าไม้บางเขต ถูกยิงที่หน้าท้องทะลุหลัง
  33. นายพูลสุข พงษ์งาม อายุ 20 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ โรงเรียนช่างกลวิทยา
    ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กระสุนเข้าหน้าอกขวา ถูกปอดแล้วทะลุเอวซ้าย
  34. นาย พันธุ์สิริ เกิดสุข อายุ28 ปี พลฯ สำรองพิเศษกำลังรอติดยศ (นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ถูกยิงที่รักแร้ซ้ายไปทะลุซี่โครงขวา
  35. นายมณเฑียร ผ่องศรี อายุ 20 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนช่างกลนนทบุรี ถูกยิง บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ กระสุนเข้าตรงขมับทะลุท้ายทอย เสียชีวิตทันที
  36. สามเณร มนตรี โล่ห์สุวรรณ อายุ 15 ปี สามเณรที่กำลังศึกษาบาลีมัธยมสาธิต วัดบางแพรกเหนือ จังหวัดนนทบุรี ถูกยิงจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณวัดบวรนิเวศ ถูกกระสุนเข้ากลางศีรษะ
  37. นายมงคล ปิ่นแสงจันทร์ อายุ 15 ปี นักเรียนชั้นม. 2 โรงเรียน อำนวยศิลป์ธนบุรี ถูกยิงบริเวณหน้าโรงเรียนเพาะช่าง
  38. นายรัตน์ งอนจันทึก อายุ 40 ปี พนักงานขับรถบรรทุก 10 ล้อ ถูกยิงที่ศีรษะและหน้าอก
  39. นาย เรียม กองกันยา อายุ27 ปี ขับรถสามล้อเครื่องถูกยิง บริเวณใกล้หัวถนนนครสวรรค์ โดยตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ในขณะขับรถให้นักเรียน และบาดเจ็บสาหัส ได้คลานไปหลบกระสุนบริเวณใกล้ๆ กัน เจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศให้ผู้ที่ไม่ใช่พวกก่อการจลาจลออกมา นายเรียมจึงได้คลานออกมา และถูกยิงเสียชีวิตทันที
  40. นายเลิศ คงลักษณ์ อายุ 46 ปี ลูกจ้างสำนักงาน ก.ต.ป. ถูกไฟคลอก เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เนื่องจากสำนักงานกองติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ถูกประชาชนเผา
  41. นายวิจิน บุญส่งศรี อายุ 19 ปี เป็นช่างเครื่องถูกยิงสะบักขวา
  42. นายวิชัย สุภากรรม อายุ 18 ปี คนงานโรงงานทอผ้า ถูกยิงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  43. นายวิเชียร พร้อมพาณิชย์ อายุ 25 ปี นักศึกษาแพทย์ปีที่ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    สติฟั่นเฟือน หลังจากได้ไปช่วยรักษาผู้บาดเจ็บ บริเวณกรมประชาสัมพันธ์ ้ผูกคอตายเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2517
  44. นายศิลบุญ โรจนแสงสุวรรณ อายุ 18 ปี พ่อค้าขายอาหารสด ถูกยิงที่หน้าอกขวา บนดาดฟ้าตึกของบริษัทเดินอากาศไทย
  45. นายสมควร แซ่โง้ว อายุ 18 ปี ทำงานเป็นช่างซ่อมรถยนต์ และขับรถรับจ้าง
    ถูกยิงที่ศีรษะด้านหลัง เนื่องจากจะเข้าไปช่วย นายประเสริฐ และนายประสาน วิโรจน์ธนะชัย
  46. นายสมชาย เกิดมณี อายุ 20 ปี แผนกช่างวิทยุโรงเรียนช่างกลนนทบุรีถูกยิง หน้าโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย
  47. นาย สุรพงษ์ บุญรอดค้ำ อายุ 16 ปี พนักงานขายผ้า ถูกยิง บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า โดนกระสุนเข้าที่หน้าอก 2 นัดศีรษะ 1 นัด
  48. นายสุดที ปิยะวงศ์ อาย ุ26 ปี รับจ้างทำลังไม้ถูกยิงที่ขมับ
  49. นายสมเกียรติ เพชรเพ็ง อายุ 19 ปี เป็นลูกจ้างขายแก๊ส ถูกยิง ที่บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช
  50. นายสุรินทร์ ศรีวีระวานิชกุล อายุ 20 ปี พนักขายแก๊ส ถูกยิงที่โคนขาขวาด้วยปืนเอ็ม 16 บริเวณบางลำพู
  51. นายสุภาพ แซ่หว่อง อายุ 16 ปี ช่างตัดเสื้อ ถูกยิง หน้ากรมประชาสัมพันธ์จากเฮลิคอปเตอร์ โดยกระสุนเจาะเข้าที่ไหปลาร้าทะลุสะโพก
  52. นาย เสวี วิเศษสุวรรณ อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนอาชีวศิลป์ รับประทานอาหารเป็นพิษ อาหารนี้มีผู้นำไปบริจาค บริเวณท่าช้างวังหลวง เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2516
  53. นายสุกิจ ทองประสูตร อายุ 18 ปี นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนเสสะเวชวิทยา ได้ไปทำการช่วยระดมคนไปร่วมต่อสู้ทางฝั่งธนบุรี แต่ประสบอุบัติเหตุ รถที่นั่งไปชนกับสิบล้อ ถึงแก่ความตายบริเวณถนนเพชรเกษม
  54. นายสุพจนา จิตตลดากร อายุ 16 ปี นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนดุสิตพาณิชยการ ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกระสุนถูกที่ศีรษะ ไหปลาร้า และตามร่างกายอีกหลายแห่ง
  55. นายสุ รศักดิ์ พวงทองอายุ 25 ปี ลูกจ้างบริษัทเอกชน ถูกยิงที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ โดยกระสุนปืนกลรถถัง เจาะเข้าระหว่างเข่าซ้ายทะลุเข่าขวา เสียชีวิตวันที่ 27 ตุลาคม 2516 โรงพยาบาลกลาง
  56. นายสาโรจน์ วาระเสถียร อายุ 48 ปี หัวหน้าแผนกจัดส่ง องค์การเภสัชกรรม ถูกลอบทำร้ายหลังจากกลับจากไปดูประชาชน บุกเข้าเผากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  57. นายสุพจน์ เหรียญสกุลอยู่ดี อายุ 19 ปี ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ ถูกยิงกระสุนเข้าท้ายทอยทะลุเบ้าตา จึงตกลงไปในคลอง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เนื่องจากจะเข้าไปช่วยชายข้างเคียงที่ถูกยิง
  58. นาย สมเด็จ วิรุฬผล อายุ 18 ปี นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกยิงทางด้านหลัง ทะลุอกและขาทั้ง 2 ข้าง จากทหาร-ตำรวจในกองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  59. นายสาย ฤทธิ์วานิช อายุ 44 ปี ช่างไม้ ถูกกระสุนปืนเข้าทางด้านหลังทะลุหน้าท้อง ขณะที่ผ่านไปหน้ากรมประชาสัมพันธ์
  60. นายแสวง พันธ์บัว อายุ 16 ปี รับจ้างทั่วไป ถูกยิง ที่หน้าผาก หน้ากรมสรรพากร เพราะไปช่วยนักเรียนหญิงที่ถูกแก๊สน้ำตา
  61. ด.ช. สมพงษ์ แซ่เตียว อายุ 14 ปี เป็นนักเรียนม. 1 โรงเรียนวัดมกุฎษัตริยาราม ถูกยิง บริเวณบางลำพู ขณะไปร่วมในเหตุการณ์
  62. นาย สมพงษ์ พลอยเรืองรัศมี อายุ 20 ปี นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ถูกแทงสีข้างซ้ายเข้าทรวงอกขณะเข้าแย่งปืนจากทหาร ใกล้กองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
  63. น.ส.หนูผิน พรหมจรรย์ อายุ 17 ปี นักศึกษา ป.กศ. ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช นั่งรถสองแถวเล็กไปร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ รถชนกัน ถูกกระแทกที่บริเวณศีรษะส่วนหน้า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  64. นายอภิสิทธิ์ พรศิริเลิศกิจ อายุ 18 ปี พนักงานขายอุปกรณ์วิทยุ ถูกยิงบริเวณขมับข้างซ้าย ขณะออกไปตามหาเพื่อน ที่บริเวณใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
  65. นายอรรณพ ดิษฐสุวรรณ อายุ 17 ปี ทำงานกับหนังเร่ฉายต่างจังหวัด ถูกยิงโดยปืนกลรถถัง ที่สนามหลวง
  66. นายเอนก ปฏิการสุนทร อายุ 41 ปี เจ้าของร้านขายอาหาร ถูกยิงขณะบุกเข้ายึด
    กองบัญชาการนครบาลผ่านฟ้า
  67. นาย เอี่ยมซวง แซ่โกย อายุ 22 ปี ลูกจ้าง ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช
  68. วีรชน นิรนาม (สตรี)ถูกยิงที่อกทะลุหลัง ตกลงไปน้ำเสียชีวิตทันที ขณะไปร่วมเดินขบวนเรียกร้องรัฐธรรมนูญ บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ (ศพไม่มีญาติ)
  69. วีรชนนิรนาม (บุรุษ)
    ถูกยิง บริเวณหน้ากอง บัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า กระสุนปืนเข้าที่สีข้างซ้าย
  70. ไม่มีข้อมูล
  71. ไม่มีข้อมูล
  72. ไม่มีข้อมูล
  73. ไม่มีข้อมูล
  74. ไม่มีข้อมูล
  75. ไม่มีข้อมูล
  76. ไม่มีข้อมูล
  77. ไม่มีข้อมูล

หยื่อ จากการลอบสังหารในห้วงระยะเวลาดังกล่าวมีลักษณะเป็นขบวนการ และไม่มีการคลี่คลายคดีแต่อย่างใด เกือบทั้งหมดเป็นผู้นำชาวนาในสังกัดสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย เฉพาะใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2518 รวมรวมโดย ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

  1. 5 เมษายน นายเฮียง สิ้นมาก ผู้แทนชาวนาสุรินทร์
  2. 10 เมษายน นายอ้าย ธงโต
  3. 18 เมษายน นายประเสริฐ โฉมอมฤต
  4. 21 เมษายน นายโง่น ลาววงศ์ ผู้นำชาวนาหมู่บ้านหนองบัวบาน จ.อุดรธานี
  5. 5 พฤษภาคม นายมงคล สุขหนุน ผู้นำชาวนานครสวรรค์
  6. 20 พฤษภาคม นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร
  7. 22 มิถุนายน นายพุฒ ปงลังกา ผู้นำชาวนาเชียงราย
  8. 3 กรกฎาคม นายจา จักรวาล รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านดง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  9. 18 กรกฎาคม นายบุญทา โยธา ถูกยิงเสียชีวิตที่ลำพูน
  10. 31 กรกฎาคม นายอินถา ศรีบุญเรือง ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ
  11. 4 สิงหาคม นายสวัสดิ์ ตาถาวรรณ ผู้นำชาวนาดอยสะเก็ด
  12. 11 สิงหาคม นายพุฒ ทรายดำ ชาวนา ต.แม่บอน อ.ฝาง
  13. 22 ตุลาคม นายบุญรัตน์ ใจเย็น ผู้นำชาวนา อ.สารภี

วีรชนที่เสียชีวิตจากการสังหารโหด 6 ตลาคม 2519

ผู้เสียชีวิต 42 คน ถูกจับกุม 3,154 คน มีศพวีรชนที่ระบุชื่อได้มีการมอบให้ญาติไปจัดการตามประเพณี 30 คน ชาย 26 คน หญิง 4 คน

  1. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  2. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  3. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  4. ถูกเผา ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้
  5. ไม่ทราบชื่อ
  6. ไม่ทราบชื่อ
  7. ไม่ทราบชื่อ
  8. ไม่ทราบชื่อ
  9. ไม่ทราบชื่อ
  10. ไม่ทราบชื่อ
  11. นายวันชาติ ศรีจันทร์สุข ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน
  12. นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส ถูกระเบิด
  13. นายวิชิตชัย อมรกุล ถูกของแข็งมีคม ถูกรัดคอ
  14. นายอับดุลรอเฮง สาตา ถูกกระสุนปืน
  15. นายมนู วิทยาภรณ์ ถูกกระสุนปืน
  16. นายสุรสิทธิ์ สุภาภา ถูกกระสุนปืน
  17. นายสัมพันธ์ เจริญสุข ถูกกระสุนปืน
  18. นายสุวิทย์ ทองประหลาด ถูกกระสุนปืน
  19. นายบุนนาค สมัครสมาน ถูกกระสุนปืน
  20. นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม ถูกกระสุนปืน
  21. นายอนุวัตร อ่างแก้ว ถูกระเบิด
  22. นายวีระพล โอภาสพิไล ถูกกระสุนปืน
  23. นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ ถูกกระสุนปืน
  24. นางสาวภรณี จุลละครินทร์ ถูกกระสุนปืน
  25. นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ ถูกกระสุนปืน
  26. นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ถูกกระสุนปืน
  27. นางสาววัชรี เพชรสุ่น ถูกกระสุนปืน
  28. นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง ถูกกระสุนปืน
  29. นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ ถูกกระสุนปืน
  30. นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ ถูกกระสุนปืน
  31. นายอัจฉริยะ ศรีสวาท ถูกกระสุนปืน
  32. นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง จมน้ำ
  33. นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ ถูกกระสุนปืน
  34. นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ ถูกกระสุนปืน
  35. นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช ถูกกระสุนปืน
  36. นายสุพล พาน หรือ บุญทะพาน ถูกกระสุนปืน
  37. นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร ถูกกระสุนปืน
  38. นายวสันต์ บุญรักษ์ ถูกกระสุนปืน
  39. นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี ถูกกระสุนปืน
  40. นายปรีชา แซ่เซีย ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด และถูกรัดคอ
  41. นางสาวอรุณี ขำบุญเกิด ถูกกระสุนปืน

ราย ชื่อเหล่านี้ยังไม่นับรวมถึงผู้สูญหายอีกจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ติดตาม หาศพไม่พบหรือมีการทำลายศพ โดยเฉพาะนายจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่โดนคนของรัฐลากคอที่สนามฟุตบอล

14 ตุลาคม 2533

ธนาวุฒิ คลิ้งเชื้อ นักศึกษารามคำแหง ตอนนั้นอยู่ในตำแหน่งประธานชมรมนักศึกษาและเยาวชน 14 จังหวัดภาคใต้ เผาตัวตายประท้วงรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ เพราะเชื่อว่า รัฐบาล พล.อ.ชาติชายปกครองประเทศคล้ายเผด็จการ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกในระบอบประชาธิปไตย อีกกระแสว่าเพราะเขาอยู่ในอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองของกลุ่มประเสริฐ ทรัพย์สุนทร

เหตุการณ์พฤษภาเลือดปี 2535

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย ดังนี้

  1. ทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาแรงงาน
  2. กฤษฎา เนียมมีศรี ถูกตีและถูกกระสุนปืน
  3. กิตติกรณ์ เขียวบริบูรณ์ ถูกกระสุน
  4. กิตติพงษ์ สุปิงคลัด ถูกกระสุน
  5. เกรียงไกร จารุสาร ถูกกระสุน
  6. กอบกุล สินธุสิงห ถูกกระสุน
  7. จักรพันธ์ อัมราช ถูกกระสุน
  8. จักราวุธ นามตะ ถูกกระสุน
  9. เฉลิมพล สังข์เอม สมองบอบช้ำ
  10. ชัยรัตน์ ณ นคร ถูกกระสุน
  11. ซี้ฮง แซ่เตีย ถูกกระสุน
  12. ณรงค์ ธงทอง ถูกกระสุน
  13. ทวี มวยดี ถูกตีศีรษะ
  14. ทวีศักดิ์ ปานะถึก ถูกกระสุน
  15. นคร สอนปัญญา ถูกกระสุน
  16. บุญมี แสงสุ่ม
  17. บุญมี วงษ์สิงโต ถูกกระสุน
  18. บุญคง ทันนา ถูกกระสุน
  19. ปรัชญา ศรีสะอาด ถูกกระสุน
  20. ประสงค์ ทิพย์พิมล ถูกกระสุน
  21. ปรีดา เอี่ยมสำอางค์ ถูกกระสุน
  22. พิพัฒน์ สุริยากุล ถูกกระสุน
  23. ภูวนาท วิศาลธรกุล ถูกกระสุน
  24. ภิรมย์ รามขาว ถูกกระสุน
  25. มะยูนัน ยีดัม ถูกกระสุน
  26. มนัส นนทศิริ ถูกกระสุน
  27. วีระ จิตติชานนท์ ถูกกระสุน
  28. วงเดือน บัวจันทร์ ถูกกระสุน
  29. วีรชัย อัศวพิทยานนท์ ถูกกระสุน
  30. ศรากร แย้มประนิตย์ ถูกกระสุน
  31. สมชาย สุธีรัตน์ ถูกกระสุน
  32. สำรวม ตรีเข้มถูกกระสุน
  33. สาโรจน์ ยามินทร์ ถูกกระสุน
  34. สมเพชร เจริญเนตร ถูกกระสุน
  35. สุชาต พาป้อ ถูกกระสุน
  36. สุรพันธ์ ชูช่วย
  37. สมาน กลิ่นภู่ ถูกกระสุน
  38. สัญญา เพ็งสา ถูกกระสุน
  39. หนู แก้วภมร ถูกกระสุน
  40. อภิวัฒน์ มาสขาว ถูกกระสุน
  41. เอกพจน์ จารุกิจไพศาล ถูกกระสุน
  42. เอียน นิวมีเก้น

รัฐประหาร 2549 และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

  1. 31 ตุลาคม 2549 นวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่พุ่งชนรถถังเพื่อประท้วงการปฏิวัติ และผูกคอตายประท้วงที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  2. 2 กันยายน 2551 ณรงค์ศักดิ์ กรอบไทสง ถูกกลุ่มพันธมิตรรุมตีเสียชีวิต

การประท้วงของคนเสื้อแดงปี 2552

  1. นายนัฐพงษ์ ปองดี อุดรธานี ถูกทำร้าย มัดมือแล้วผลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา
  2. นายชัยพร กันทัง แพร ่ ถูกทำร้ายมัดมือแล้วผลักลงแม่น้ำเจ้าพระยา

วีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเพราะการให้ใบอนุญาตฆ่าโดยรัฐบาลอภิสิทธิระหว่าง 10 เม.ย.-19 พ.ค."53

ที่มา สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการ
เมืองของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่ 10 เม.ย.- 19 พ.ค.2553 รวม 89 ราย บาดเจ็บ 1,855 คน

  1. Mr. Hiroyuki Muramoto อายุ 43 ปี ถูกยิงอกซ้าย เสียชีวิตก่อนถึง รพ. (ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์)
  2. นาย สวาท วงงาม อายุ 43ปี ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย
  3. นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข อายุ 36 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
  4. นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง
  5. นาย จรูญ ฉายแม้น อายุ 46 ปี ถูกยิงอกขวากระสุนฝังใน
  6. นาย วสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  7. นาย สยาม วัฒนนุกุล อายุ 53 ปี ถูกยิงอก ทะลุหลัง
  8. นาย มนต์ชัย แซ่จอง อายุ 54 ปี ระบบหายใจล้มเหลวจากโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตที่รพ.
  9. นาย อำพน ตติยรัตน์ อายุ 26 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  10. นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า
  11. นาย ไพรศล ทิพย์ลม อายุ 37 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย เสียชีวิตที่ รพ.
  12. นาย เกรียงไกร ทาน้อย อายุ 24 ปี ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง เสียชีวิตที่รพ.
  13. นาย คะนึง ฉัตรเท อายุ 50 ปี ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังใน
  14. พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อายุ 25 ปี แผลเปิดกะโหลกท้ายทอย
  15. พลฯ อนุพงษ์ เมืองร าพัน อายุ 21 ปี ทรวงอกฟกช ้า น่อง 2 ข้างฉีกขาด
  16. นายนภพล เผ่าพนัส อายุ 30 ปี ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตที่ รพ.
  17. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อายุ 43 ปี ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาด เสียชีวิตที่รพ.
  18. พลฯ สิงหา อ่อนทรง อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด
  19. พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  20. นายสมิง แตงเพชร อายุ 49 ปี ถูกยิงศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  21. นาย สมศักดิ์ แก้วสาน อายุ 34 ปี ถูกยิงหลัง ทะลุอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
  22. 22 นาย บุญธรรม ทองผุย อายุ 40 ปี ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน
  23. 23 นาย เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ อายุ 29 ปี แผลที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ.
  24. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 40-50 บาดแผลเข้าสะโพกขวาตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ เสียชีวิตที่รพ.
  25. นาย มานะ อาจราญ อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะ ด้านหลังทะลุหน้า
  26. นายอนันต์ สิริกุลวานณิชย์ อายุ 54 ปี ถูกยิงเสียชีวิต
  27. นางธันยนันท์ แถบทอง อายุ 50 ปี ถูกสะเก็ดระเบิด เสียชีวิตถนนสีลม
  28. รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เมษายน 2553
  29. พลทหารณรงค์ฤทธิ สาระ เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ
  30. สต.อ.กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันเพ็ญ อายุ 38 ปี มีบาดแผลกระสุนปืน เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ
  31. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี อายุ 35 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณหน้าอกด้านขวา เสียชีวิต รพ.
  32. พล.ต.ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 58 ปี ถูกยิงที่บริเวณ ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  33. นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี มีแผลเปิดบริเวณท้ายทอย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ
  34. นายปิยะพงษ์ กิติวงค์ อายุ 32 ปี ถูกยิง เสียชีวิตที่สวนลุมพินี
  35. นายประจวบ ศิลาพันธ์ ถูกยิง สวนลุมพินี
  36. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ ถูกยิง ที่ศาลาแดง
  37. นายอินทร์แปลง เทศวงศ์ อายุ 32 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  38. นายเสน่ห์ นิลเหลือง อายุ 48 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  39. นายชัยยันต์ วรรณจักร อายุ 20 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  40. นายบุญทิ้ง ปานศิลา อายุ 25 ปี ถูกยิงที่คอ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ (อาสาสมัครวชิระฯ)
  41. นายมนูญ ท่าลาด - เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  42. นายพัน คำกลอง อายุ 43 ปี ถูกยิงหน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  43. นายกิติพันธ์ ขันทอง อายุ 26 ปี แผลที่ชายโครง เสียชีวิตที่รพ.
  44. นายสรไกร ศรีเมืองปุน อายุ 34 ปี แผลที่ศีรษะ
  45. ชายไม่ทราบชื่อ โดนยิงขาหนีบ ราชปรารภ
  46. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 14 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน ซอยหมอเหล็ง
  47. นายชาญณรงค์ พลอยศรีลา อายุ 32 ปี ถูกยิงหน้าท้องและแขน ที่ราชปรารภ
  48. นายทิพเนตร เจียมพล อายุ 32 ปี แผลที่ศีรษะ
  49. นายสุภชีพ จุลทัศน์ อายุ 36 ปี แผลที่ศีรษะ
  50. นายวารินทร์ วงศ์สนิท อายุ 28 ปี แผลที่หน้าอกขวา
  51. นายมานะ แสนประเสริฐศรี อายุ 22 ปี แผลถูกยิงที่ศีรษะ (อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
  52. นางสาวสันธนา สรรพศรี อายุ 34 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขนเสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง
  53. นายธันวา วงศ์ศิริ อายุ 26 ปี แผลที่ศีรษะ
  54. นายอำพล ชื่นสี อายุ 25 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  55. นายสมพันธ์ ศรีเทพ 25 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  56. นายอุทัย อรอินทร์ 35 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  57. นายพรสวรรค์ นาคะไชย อายุ 23 ปี ถูกยิงหลายตำแหน่ง เสียชีวิตที่รพ.
  58. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง อายุ 25 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  59. นายประจวบ ประจวบสุข อายุ 42 ปี เสียชีวิตที่เจริญกรุงประชารักษ์
  60. นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล อายุ 25 ปี ถูกยิงที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
  61. นายวงศกร แปลงศรี อายุ 40 ปี ถูกยิงที่หน้าอก เลือดออกในช่องอก เสียชีวิตที่รพ.
  62. นายสมชาย พระสุวรรณ อายุ 43 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ.
  63. นายสุพรรณ ทุมทอง อายุ 49 ปี
  64. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 26 ปี
  65. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์ อายุ 27 ปี ถูกยิงใต้ราวนมขวา เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ
  66. นายสุพจน์ ยะทิมา อายุ 37 ปี
  67. นานธนากร ปิยะผลดิเรก อายุ 50 ปี
  68. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ
  69. นายสมพาน หลวงชม อายุ 35 ปี ถูกยิงที่ท้อง
  70. นายมูฮัมหมัด อารี(ออง ละวิน ชาวพม่า) อายุ 40 ปี มีแผลที่หน้าอกทะลุหลัง
  71. MR.Polenchi Fadio ( นักข่าวชาวอิตาลี ) อายุ 48 ปี ถูกยิงที่หน้าอก
  72. นายธนโชติ ชุ่มเย็น อายุ 34 ปี บาดแผลกระสุนปืนทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่
  73. หญิงไม่ทราบชื่อ ถูกยิง
  74. นายถวิล คำมูล อายุ 38 ปี มีแผลที่ศีรษะ
  75. ชายไม่ทราบชื่อ มีแผลที่ศีรษะ
  76. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ อายุ 44 ปี
  77. นายปรัชญา แซ่โค้ว อายุ 21 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายตับ
  78. นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด หัวใจ
  79. นายมงคล เข็มทอง อายุ 37 ปี ถูกยิงปอด หัวใจ (อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง)
  80. กมนเกด อัคฮาดอายุ 25 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง
  81. นายวิชัย มั่นแพร อายุ 61 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด ตับ
  82. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายปอด
  83. ชายไม่ทราบชื่อ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก สมองช ้า จากการถูกระแทก
  84. นายนรินทร์ ศรีชมภู บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง เสียชีวิตที่รพ.
  85. น.ส.วาสินี เทพปาน
  86. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ อายุ 60 ปี แผลที่ก้น เสียชีวิต 21 พค.53 06.15
  87. นายกิตติพงษ์ สมสุข อายุ 20 ปี ไฟใหม้ตึกเซ็นทรัลเวิร์ลพบศพวันที่ 21 พค.2553 เวลา 15.00 น.
  88. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว อายุ 33 ปี ขอนแก่น แผลที่หน้าอก
  89. นายเพลิน วงษ์มา อายุ 40 ปี อุดรธานี เสียชีวิตที่รพ.20 พค.53 เวลา 06.25น.
  90. นายสมัย ทัดแก้ว อายุ 36 ปี เสียชีวิตจากการปะทะหลายจุด(เป็ยรายชื่อที่เพิ่มมาจากศูนย์เอราวัณ ซึ่งตามบันทึกของ สพฉ.ไม่มีชื่อนี้)

หมาย เหตุ ทั้งหมดเป็นรายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุคาวมไม่สงบ ในเขต กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่ วันที่12 มีนาคม 2553 ถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2553

ผู้เสียชีวิตจากการกวาดล้าง

นอกจากผู้เสียชีวิตในช่วงการชุมนุม 91 ศพแล้ว หลังยุติการชุมนุม คนเสื้อแดงถูกสังหารเพิ่มอีก 5 ราย คือ

  1. ศักรินทร์ กองแก้ว (อ้วน บัวใหญ่) เสื้อแดงโคราชที่เคยมีบทบาทไปยกป้ายประท้วงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  2. สวาท ดวงมณี การ์ดเสื้อแดงระยอง ถูกยิงเสียชีวิต
  3. นายธนพงศ์ แป้นมี การ์ดของนาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถูกรถกระบะพุ่งชนเสียชีวิต
  4. กฤษดา กล้าหาญ (น้องเจมส์ การ์ด DJ อ้อ) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยปืน M 16
  5. น้อย บรรจง (แดง คชสาร) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยอาวุธปืนร่วมร้อยนัด

บางคนบอกว่ามีหลายคนที่ถูกสังหารหลังปราบปราบเสื้อแดงที่ไม่สามารถระบุได้

มีผู้เสียชีวิตจากการปกป้องสิทธิมนุษยชน ช่วงปี พ.ศ.2535-2548 จนถึงปัจจุบันดังนี้

ขอบคุณการรวบรวมจาก ฅ. ฅนสิทธิมนุษยชน

ปี 2537

  1. นางสุชาดา คำฟูบุตร ผู้คัดค้านโรงงานอุตสาหกรรม จ. ลำปาง ถูกอุ้มหายตัวไป

ปี 2538

  1. อ.บุญทวี อุปการะกุล ผู้นำการรณรงค์คัดค้านมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม จ. ลำพูน ถูกทำร้ายตกรถไฟเสียชีวิต
  2. ครูประเวียน บุญหนัก ผู้นำการคัดค้านโรงโม่หิน จ. เลย ถูกยิงเสียชีวิต ในปีเดียวกันนั้นเอง
  3. นาย วินัย จันทมโน นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชุมชน ผู้คัดค้านนายทุนตัดไม้ทำลายป่า บ้านน้ำหรา อ.ควนกาหลง จ.สตูล ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๘

ปี 2539

  1. นาย ทองอินทร์ แก้ววัตตา แกนนำผู้คัดค้านการสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรมของบริษัทบริหารและ พัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เจนโก้) จ.ระยอง ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2539
  2. นายทุนหรือจุน บุญขุนทด ผู้นำสมัชชาคนจน กรรมการบ้านห้วยทับนาย อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภุมิ แกนนำการคัดค้านการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ใช้อาวุธปืน. 38 ยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2539

ปี 2542

  1. กำนันทองม้วน คำแจ่ม ผู้นำการคัดค้านการให้สัมปทานโรงโม่หินจ.หนองบัวลำภู ถูกยิงเสียชีวิต (พร้อมกับนายสมฯ ) ในปีเดียวกัน
  2. นายสม หอมพรหม ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกำนันทองม้วน ฯ ขณะนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไปกับกำนันทองม้วน ฯ
  3. นาย อารีย์ สงเคราะห์ ผู้นำการต่อต้านการบุรุกป่าและรณรงค์ร่วมกับชาวบ้านปกป้องผืนป่า ต้นน้ำคลองคราม จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิต

ปี 2544 มีนักอนุรักษ์ 5 คน ถูกยิงเสียชีวิต

  1. นาย จุรินทร์ ราชพล ผู้นำการรณรงค์ ปกป้องป่าชายเลนชุมชนบ้านป่าคลอก ๔๐๐ ไร่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต มิให้ถูกนายทุนนากุ้งบุกรุก โดยกลุ่มนายทุนนากุ้งพยายามที่จะย้ายหมุดออกจากป่าชายเลน โดยการเป็นผู้นำตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งยื่นหนังสือคัดค้านการรังวัดสอบเขต ป่าชายเลนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ถูกยิงเสียชีวิตในวัย 50 ปี เมื่อวันที่ 30 มกราคม
  2. นายนรินทร์ โพธิ์แดง ผู้นำการคัดค้านการระเบิดหินเขาชะอางกลางทุ่ง กิ่ง อ.ชะเมา จ.ระยอง ได้เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่เขาชะอางกลางทุ่ง ท่ามกลางความขัดแย้งกับ อบต.ห้วยทับมอญ ที่ให้ความเห็นชอบในเรื่องการตั้งโรงโม่หิน ที่มีความไม่ชอบมาพากลในการ พิจารณา และการไม่รับฟังความเห็นของประชาชน รวมถึงผลกระทบจากโรงโม่หินซึ่งมีนักการ เมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับประเทศ ถูกยิงเสียชีวิตอยู่ที่หน้าบ้านตัวเอง เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม
  3. นายพิทักษ์ โตนวุธ ผู้นำคัดค้านโรงโม่หินบริษัทร็อค แอนด์ สโตน โรงโม่หินบริษัทอนุมัติการศิลา และ ได้ร้องเรียนให้ตรวจสอบ ส.ค.๑ ของโรงโม่หินในภูเขาแดงรังกาย บ้านชมภู อ.เนินมะปรางจ.พิษณุโลก พื้นที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง ถูก ยิงเสียชีวิตขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านแยกเข้าบ้านชมภูฯ หลังที่พิทักษ์ฯ กลับจากการประชุมร่วมกับคณะตรวจสอบของทางอำเภอเพื่อรับทราบความคืบหน้าฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และกลุ่มชาวบ้านกำลังดำเนินการอุทธรณ์
  4. นายสุวัฒน์ ปิยะสถิตย์ ผู้นำการคัดค้านบ่อฝังกลบขยะราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ของ หจก.ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ เนื่องจากส่งกลิ่นเหม็นสร้างมลพิษรบกวนชุมชนในแถบ ต.ราชาเทวะ ถูกยิงเสียชีวิตขณะนั่งร่วมปรึกษาหารือกับกลุ่ม บริเวณร้านค้ากลางชุมชน ในหมู่บ้านจามจุรี ม. 15 ต.ราชาเทวะ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ศาลชั้นต้นพิพากษา ประหารชีวิตผู้จ้างวานจำคุกตลอดชีวิตมือปืนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  5. นาย สมพร ชนะพล แกนนำอนุรักษ์ป่าต้นน้ำคลองกระแดะ พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในภาคใต้ และสามารถรอดพ้นจากการสร้าง เขื่อนในพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิต ขณะนั่งเขียนรายงานข้อมูลของชุมชนอยู่ที่บ้าน
  6. นางฉวีวรรณ ปึกสูงเนิน ผู้นำการต่อต้านการทุจริตในองค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ประเด็นการต่อต้านอันเนื่องมาจาก การประมูลงานรับเหมาก่อสร้างในเขต อบต. นากลาง และ การที่ผู้ตายเป็นแกนนำขับไล่ประธาน อบต. และการทุจริตอื่นๆ ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักตัวเอง เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ยังจับกุมคนร้ายไม่ได้

ปี 2545

  1. นายแก้ว ปินปันมา สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและแกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ที่ดินในพื้นที่ กิ่ง อ.ดอย หล่อ จ.เชียงใหม่ ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2545 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 ปี
  2. นาย บุญสม นิ่มน้อย ผู้นำคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงกลั่นปิโตรเคมีขนาดใหญ่ ของ บริษัทสยามกัลฟ์ โม่หินบริษัทร็อค แอนด์ สโตน ปิโตรเคมีคอล จำกัด ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2545 ผู้ต้องหามอบตัว 2 ราย แต่ศาลยกฟ้องเพราะไม่มีใครกล้าเป็นพยาน เนื่องจากการถูกข่มขู่และกลัวถูก สังหารโหดเช่นเดียวกับ นายบุญสม ฯ
  3. นายปรีชา ทองแป้น สารวัตรกำนันตำบลควนกรด อ.ทุ่งสง แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชนจากโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาล ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2545 เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ 2 ราย แต่ให้การปฏิเสธ
  4. นายบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์ ผู้นำการตรวจสอบการทำไม้เถื่อนในพื้นที่ป่าชนะ โดยได้รวบรวมหลักฐานการลักลอบทำไม้เถื่อนของกลุ่มนายทุนและข้าราชการบาง กลุ่มเข้าร่วมด้วยและเป็นแกนนำการเรียกร้องการแก้ไข กรณีอุทยานแห่งชาติแก่งกรุง ประการเขตอุทยานทับที่ดินทำกินของชาวบ้านฯ ต่อมา ได้ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ๔ คน ร่วมกันล้อมสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่ชายป่า ขณะกำลังถางหญ้าบนพื้นที่ทำกินของตนเอง [เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทั้ง 4 ตัว] อ้างว่าต้องยิงป้องกัน โดยอ้างว่า พ่อผู้เฒ่าจะเอามีดฟัน เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2545 บริเวณสวนยางพาราและสวนกาแฟ ต.คลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของอุทยานจำนวน 4 คน และอนุมัติให้ประกันตัวไปแล้ว
  5. นาย บุญยงค์ อินตะวงศ์ ผู้นำคัดค้านโรงโม่หินดอยแม่ออกรู อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ของบริษัทเวียงชัยผางาม ก่อสร้าง จำกัด ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักตัวเองถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2545

ปี 2546

  1. พ่อหลวงคำปัน สุกใส ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อดีตรองประธานเครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำปิงตอนบน ป่าชุมชนพื้นที่อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 54 ป่าชุมชน รวมพื้นที่ทั้งสิ้น 380,000 ไร่ โดย นายคำปัน ฯ มาเป็นผู้ใหญ่บ้านก็เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาป่าชุมชนเป็นอย่างมาก มีการจัดทำป้ายแนวเขตพื้นที่ป่าชุมชน ตรวจลาดตระเวณและตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่าบงขึ้นมา อนึ่ง นายคำปัน ฯ และคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่าบงได้จับกุมนายจันทร์แก้ว จันทร์แดง เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวข้อหาบุกรุก ตัดไม้ทำลายป่าเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 44 โดยในการจับกุมครั้งนั้นแม้ว่านายจันทร์แก้ว ฯ ได้ยอมรับผิดและเสียค่าปรับเป็นเงิน 25,000 บาท ในเรื่องนี้ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับนายจันทร์แก้ว ฯ เป็นอันมาก ต่อมา พ่อหลวงคำปันฯ ก็ถูก จนท.คนนี้บุกยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546 ศาลได้พิพากษาตัดสินนายจันทร์แก้วฯ จนท.หน่วยพิทักษ์ป่า ฯ ปืนโหดเป็นเวลา 25 ปี
  2. นายชวน ชำนาญกิจ ชาวบ้านผู้มีใจพิทักษ์ชุมชน เพื่อนำสันติสู่วิถีชุมชนต่อต้านการค้ายาเสพติด ร่วมกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภอ.ฉวาง จ.จ.นครศรีธรรมราชถูกคนร้านบุกยิงเสียชีวิตในบ้านของตนเอง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2546
  3. นายสำเนา ศรีสงคราม ประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ที่ร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้กับชาวบ้านในพื้นที่ เรื่องผลกระ ทบจากลำน้ำพองเน่าเสียจากโรงงาน ฟีนิกซ์ พัลพ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด โรงงานผลิตเยื่อกระดาษโครงการส่งเสริมการร่วมทุนระดับชาติโครงการแรกใน พื้นที่ภาคอีสาน จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน [ ก่อตั้งในปี 2518] โรงงานอภิโปรเจกนิรันกาลนี้ได้ปล่อยน้ำเสียลงในลำน้ำพอง สายน้ำแห่งชีวิตของชาวขอนแก่น จนเน่าเสียตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน - นักอนุรักษ์เลือดลำน้ำพองผู้นี้ ได้ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมที่เถียงนาใกล้บ้าน ที่บ้านคำบงพัฒนา ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2546 ภายหลังจากนั้นไม่กี่วัน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้จับกุม นายสมบัติ ทองสมัคร มือปืนผู้ลงมือฆ่านายสำเนา ฯ และได้ให้การซัดทอดถึงนายสมพงษ์ นารี กำนันในตำบลโคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ว่าเป็นผู้จ้างวานฆ่าศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินให้จำคุกตลอดมือปืนโหด เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2547 และ ศาลให้ปล่อยตัวผู้จ้างวานไปในภายหลังเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ

ปี 2547

  1. นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2547 ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 - ทนายสมชายฯ ทำคดีด้านสิทธิมนุษยชน เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วางระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 ได้มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย ประกอบด้วย พ.ต.ต.เงิน ทองสุก, พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์, จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง, ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ตำรวจกองปราบปราม ตกเป็นจำเลยที่ 1 – 5 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ และข่มขืนใจผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้าย แต่ไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรมหรือข้อหาอื่นที่หนัก กว่าได้เนื่องจากยังไม่พบศพหรือหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทนายสมชายตายแล้ว - 12 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลตัดสินจำคุก พ. ต. ต. เงิน ทองสุก ในข้อหาขืนใจ ทำให้สูญเสียอิสรภาพและระบุว่าเกิดจากการกระทำของร่วมกันกับ บุคคล 3 -5 คน ผู้ต้องหาซึ่งเป็นตำรวจอีก 4 นาย ยกฟ้อง เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ (คดีของทนายสมชาย ยังเต็มไปด้วยเงื่อนงำ หลังจากการหายสาบสูญไปของ พ.ต.ต. เงิน ทองสุก)
  2. นายสุพล ศิริจันทร์ ผู้นำการพิทักษ์ผืนป่าและชุมชน แกนนำคัดค้านขบวนการค้าไม้เถื่อนในลุ่มน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ต่อสู้คัดค้านกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และระดับชาติ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมในหลายครั้ง แม้จะถูกข่มขู่สารพัดวิธี พ่อหลวงนักอนุรักษ์ ก็ไม่เคยหวาดหวั่นแม้แต่น้อย - โศกนาฎกรรม สะเทือนขวัญ เย้ยอำนาจรัฐ เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น.ของวันที่ 11 สิงหาคม 2547 กลุ่มมือปืนผู้มีอิทธิพลมืดในท้องถิ่นภายใต้ขบวนการค้าไม้เถื่อน ได้ลอบสังหารผู้ใหญ่บ้านนักอนุรักษ์ ภายหลังจากเหตุการณ์ที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและป่าไม้บุกจับขบวนการค้าไม้ เถื่อนผ่านไปเพียง 15 ชั่วโมงเศษ
  3. นายเจริญ วัดอักษร ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจงบคีรีขันธุ์ อายุ 36 ปี แกน นำต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเคลื่อนไหวให้มีการตรวจสอบการ ใช้พื้นที่สาธารณะของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ โดยเปิดเผยตัวเต็มที่และได้ยื่นข้อเรียกร้องท้าทายอำนาจรัฐ 2 ข้อ คือ 1). ขอให้ยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทันที 2). ถ้าไม่เข้าใจให้กลับไปดู ข้อ 1. เขาถูกยิงเสียชีวิตเมื่อเวลา 21.30 นาฬิกา วันที่ 21 มิถุนายน 2547 ด้วยอาวุธปืนกว่า 10 นัด ภายหลังลงจากรถโดยสารที่เพิ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ในการมาพบคณะอนุกรรมการ ปราบปรามการทุจริต วุฒิสภา เรื่องข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ - เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ 5 ราย แต่ไม่สามารถ ขยายผลไปสู่กลุ่มผู้จ้างวานที่ลงขันฆ่านายเจริญฯ ได้ ขณะนี้คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล
  4. นางพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น แม่บ้านอนุรักษ์ปกป้องชุมชนจากท่าทราย จ.อ่างทอง ในฐานะรองประธานชุมชนบ้านหัวกระบือ ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นแกนนำคัดค้านการก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทรายของ นายทุนผู้ประกอบการบ่อทรายจากกรุงเทพฯ ซึ่งมีภรรยานักการเมืองดังของจังหวัด คอยหนุนหลัง ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2547
  5. พระสุพจน์ สุวโจ อายุ 39 ปี (อายุพรรษาการบวช 13 พรรษา) พระนักพัฒนาและอนุรักษ์ลุ่มน้ำฝาง ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ เดิมท่านสังกัดวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ทุกวันนี้พื้นที่ลุ่มน้ำแม่ฝางมีสวนส้มอยู่ถึง 2๐๐,๐๐๐ ไร่ แต่ครึ่งหนึ่งของสวนส้มเป็นพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก โดยกฎหมายเอื้อมมือไปไม่ถึง - ที่ผ่านมาบุคคลเหล่านี้ได้ใช้กำลังเข้าไปตัดฟันต้นไม้ แผ้วถางทำลายป่าบาง ส่วนในสวนเมตตาธรรม และยึดเอาไปขายให้กับคนนอกพื้นที่เพื่อปลูกสวนส้มอย่าง หน้าตาเฉย

พระสุพจน์และกลุ่มพุทธทาสศึกษาได้พยายามปกป้องผืน ป่าจากการถูกบุกทำลาย หลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ หลายครั้งที่พระไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้คนเหล่านี้ไม่ได้ มิหนำซ้ำยังเหิม เกริมส่งนักเลงบุกเข้ามารุมกระทืบผู้ดูแลสถานปฏิบัติธรรมจนได้รับบาดเจ็บ สาหัส

ผลพวงของสงครามปราบปรามยาเสพติดในปี 2546

ข้อมูลของ สำนักงานตำรวจแห่ง ชาติระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิต 2,596 คน เกี่ยว ข้องกับยาเสพติด 1,164 คน ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด 1,432 คน

ความรุนแรงที่ภาคใต้ 2547 - ปัจจุบัน

28 เมษายน 2547 เหตุการณ์มัสยิดกรือแซะ จังหวัดปัตตานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสังหารของเจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและทหาร 107 คน และเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน

25 ตุลาคม 2547 เหตุการณ์ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจในขณะที่ถูกลำเลียงไปโรงพักถึง 78 คน รวมกับที่ถูกยิงเสียชีวิต 6 คน เป็น 84 คนในวันเดียว พวกเขาเป็นคนไทยเช่นกัน

2 กรกฎาคม 2553 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการประณามการใช้ความรุนแรงที่ภาคใต้ ว่านับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 ราย บาดเจ็บกว่า 7,000 คน มีภรรยาม่าย 2,000 คน ต้องรับผิดชอบเด็กกว่า 5000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี วิถีการจัดการที่ภาคใต้ด้วยวิถีทหารและความรุนแรง ไม่ทำให้เหตุการณ์สงบ และยังสูญเปล่างบประมาณของรัฐรวมกันว่า 145,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าใช้งบนี้ไปกับการพัฒนาภาคใต้โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ความรุนแรงผ่อนคลายได้กว่าการใช้งบไปกับทหารและอาวุธ

แล้ว ยังมีอีกกี่สิบ กี่ร้อย กี่พัน หรือกี่หมื่นชื่อที่ตกลงเพราะผลพวงแห่งการปราบปรามนักต่อสู้เพื่อความเท่า เทียมและเพื่อประชาธิปไตย ที่ไม่มีใครรับรู้ และจดจำ

Posted by TTT at 1/29/2011 07:55:00 หลังเที่ยง Share on Facebook

http://thaienews.blogspot.com/2011/01/2492.html




1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ23 ตุลาคม 2557 เวลา 18:42

    ความยุติธรรม ความเสมอภาค ควรจะมีให้พวกเรามั่ง

    ตอบลบ

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน