16 กุมภาพันธ์ 2554
ฯพณฯ ลูอิส โมเรโน-โอแคมโป
อัยการ
ศาลอาญาระหว่างประเทศ
ตู้ไปรษณีย์ 19519
2500 ซีเอ็ม
กรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์
เรื่อง คดี ระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติและคำร้องต่ออัยการศาล อาญาระหว่างประเทศ ให้ทำการสอบสวนสถานการณ์ในราชอาณาจักรไทย กรณีการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ซึ่งยื่นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554
เรียน ท่านอัยการ
เราขอยื่น บันทึกฉบับนี้ต่อท่านเพื่อขอให้ท่านใช้อำนาจตามกฎหมายในการขอให้ศาลอาญา ระหว่างประเทศมีคำสั่งห้ามผู้พิพากษาฮันส์-ปีเตอร์ คาอูล (Hans-Peter Kaul) มิให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีที่ระบุข้างต้น เนื่องจากมีพฤติการณ์ที่อาจทำให้มีข้อสงสัยในความเป็นกลางของผู้พิพากษาท่าน ดังกล่าว (มาตรา 41.2 (60) ของสนธิสัญญากรุงโรม) ด้วยเหตุผลที่ว่า “มีการแสดงความเห็นผ่านทางสื่อมวลชน หรือโดยการเขียนบทความใดๆ หรือโดยการแสดงออกในที่สาธารณะ ซึ่งหากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการแสดงออกดังกล่าวแล้ว อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อหน้าที่ในการวางตนเป็นกลางในการพิจารณาพิพากษา คดีของบุคคลดังกล่าว” (กฎข้อ 34.1 (ดี))
เราขอยื่น คำร้องก่อนที่ท่านอัยการจะเริ่มการสอบสวนกรณีการกระทำความผิดตามที่ร้องขอ ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก ตามกฎข้อ 34.2 กำหนดว่า “การร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้พิพากษาในกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีที่ทราบ เหตุแห่งการกระทำนั้น” ประการที่สอง ในฐานะที่เป็นองค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคดีเบื้องต้น ผู้พิพากษาคาอูล อาจเข้ามีส่วนร่วมในการวินิจฉัยเบื้องต้นในเรื่องที่เกี่ยวกับการอนุมัติการ สอบสวนตามมาตรา 15.4 ของสนธิสัญญากรุงโรม และการพิจารณาเรื่องเขตอำนาจของศาลในคดีนี้ตามมาตรา 19 ของสนธิสัญญากรุงโรม
คำร้องเรียนของเรามาจากพื้นฐานของข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
เมื่อ เดือนมกราคม 2554ไม่นานก่อนที่เราจะยื่นคำร้องขอต่ออัยการในศาลอาญาระหว่างประเทศ แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นที่รับรู้กันทั่วไปในประเทศไทยว่า กำลังจะมีการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาคาอูลได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมในการสัมมนาเรื่อง “สิทธิมนุษยชนและศาลอาญาระหว่างประเทศ” ซึ่งจัดร่วมกันโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และสถานทูตเยอรมัน
ในวันที่ 21 มกราคม 2554 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้ตีพิมพ์บทสัมภาษณ์ผู้พิพากษาคาอูล (ตามเอกสารแนบหมายเลข A) เมื่อมีการสอบถามผู้พิพากษาคาอูลถึงคำร้องของ นปช. ที่จะยื่นต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ปรากฏข้อมูลว่าผู้พิพากษาคาอูลได้ตอบว่า “อัยการทราบดีอยู่ว่าประเทศไทยไม่ได้เป็นรัฐภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม . . . ดังนั้น ศาลไอซีซีไม่สามารถมีอำนาจในการพิจารณาคดีที่มีการฟ้องว่ามีการกระทำผิด กฎหมายในประเทศไทยได้ จนกว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญากรุงโรม”
“ผมขอชี้ แจงให้ชัดเจนว่า ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีทำผิดกฎหมายอาญาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แม้ว่าการกระทำผิดดังกล่าวจะถึงขั้นที่เรียกได้ว่า เป็นอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติตามมาตรา 7 ของสนธิสัญญาดังกล่าวก็ตาม”
ในทำนอง เดียวกัน เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2554 ผู้พิพากษาคาอูลได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส (ตามเอกสารแนบหมายเลข B) ซึ่งในระหว่างการให้สัมภาษณ์ดังกล่าว ปรากฏว่าผู้พิพากษาคาอูลได้ให้สัมภาษณ์ดังนี้
“ . . . เป็นเรื่องที่ไร้สาระ ทำไมถึงเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เพราะ[ทนายของ นปช.] ต้องรู้ดีว่าตราบเท่าที่ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม ศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีทางที่จะเข้าแทรกแซงนโยบายภายในประเทศของไทย ข้าพเจ้ายินดีที่ได้ชี้แจงข่าวสารที่มีความสำคัญเช่นนี้ เพราะมีคนจำนวนมากในประเทศนี้ที่ไม่เข้าใจระบบของสนธิสัญญา ดังนั้น ความเข้าใจของมหาชนจะต้องไม่ถูกนำไปในทางที่ผิด เพราะความเชื่อผิดๆ ซึ่งกำลังมีผู้ชี้นำความคิดเห็นของมหาชนไปในทางที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่ สามารถทำได้”
“อย่างที่ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว และจะขอย้ำเป็นครั้งที่สาม ศาลไอซีซีจะมีความเกี่ยวข้องกับประเทศไทยได้ ถ้าคนไทยและรัฐบาลไทยทำการตัดสินใจที่จะเข้าเป็นภาคีของไอซีซี”
คำพูดของ ผู้พิพากษาคาอูล ได้ก่อให้เกิดอคติต่อความเข้าใจของสาธารณชนในการยื่นคำร้องเรียนนี้แล้ว รัฐบาลและสื่อที่ให้การสนับสนุนรัฐบาลได้อ้างอิงถึงคำพูดของผู้พิพากษาคาอู ลมากมายหลายครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะดิสเครดิตกระบวนการของ นปช. ที่จะยื่นคำร้องต่อศาลไอซีซี ยกตัวอย่างเช่น ในวันที่ 31 มกราคม 2554 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ (ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ซี) รายงานว่า:
“เมื่อวัน จันทร์ ทนายความของ นปช. ได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อศาลอาญาระหว่างประเทศที่กรุงเฮก โดยขอให้มีการสอบสวนการกระทำผิดอาญาต่อมนุษยชาติในช่วงการสลายการชุมนุม เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปีที่แล้ว”
โดยก่อน หน้านี้ ผู้แทนของศาลไอซีซีได้แจ้งต่อขบวนการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงว่า ศาลไอซีซีไม่มีอำนาจพิจารณาความผิดที่ถือเป็นเรื่องทางการเมืองในประเทศไทย เพราะประเทศไทยยังไม่ได้ไห้สัตยาบันในสนธิสัญญาที่ลงนามไว้ตั้งแต่ปี 2548”
ต่อมาใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 บทบรรณาธิการของบางกอกโพสต์ (ตามเอกสารแนบท้ายหมายเลข ดี) ได้กล่าวหาคำฟ้องของ นปช. ว่า “ราคาถูกและไร้ยางอาย” โดยอ้างว่าทนายความที่ยื่นคำร้องต่อศาลไอซีซีนั้น “รู้ดีอยู่ว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูงของศาลไอซีซีได้บอกแล้วว่า ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาคดีและไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และไม่มีทางที่จะยินยอมที่จะรับพิจารณาคดี” บทบรรณาธิการดังกล่าวยังระบุด้วยว่า แม้จะมีการยื่นคำขอแล้ว “เพราะไอซีซีได้แถลงออกมาเองว่า จะไม่รับพิจารณาคดีดังกล่าว”
ไม่เคยมี การแถลงการณ์ใดๆ จากผู้พิพากษาท่านอื่นหรือบุคคลากรท่านอื่นๆ ของศาลไอซีซีเกี่ยวกับคำฟ้องของ นปช. การที่สื่ออ้างอิงดังกล่าวจึงอ้างอิงจากคำสัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูลเท่า นั้น
ถ้าคำให้ สัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูลถูกต้องตามความเป็นจริง หมายความว่าเขาได้แสดงความเห็นต่อสาธารณะโดยเป็นการพิพากษาตัดสินคดีแทนศาล ไอซีซีแล้วในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาล การแสดงความเห็นก่อนการพิจารณาคดีจึงทำให้ผู้พิพากษาคาอูลไม่มีคุณสมบัติที่ จะเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้
มาตรา 41.2 (60) ของสนธิสัญญากรุงโรมระบุว่า “ผู้พิพากษาจะต้องไม่พิจารณาคดีที่อาจมีข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลางของ บุคคลดังกล่าว” กฎข้อ 34 (1) (ดี) ของกฎการพิจารณาคดีและพยานหลักฐานกำหนดเรื่องคุณสมบัติของผู้พิพากษาโดยผู้ พิพากษาที่มีพฤติกรรม “แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อมวลชน โดยการเขียนหรือโดยการแสดงออกในที่สาธารณะในลักษณะที่อาจส่งผลกระทบต่อความ เป็นกลาง”
ในคดีนี้ มีข้อสงสัยอย่างสมควรเกี่ยวกับความเป็นกลางของผู้พิพากษาคาอูล เพราะได้มีการแสดงความคิดเห็นผ่านทางสื่อมวลชน โดยแสดงจุดยืนว่าศาลไอซีซี “ไม่สามารถมีอำนาจในการพิจารณาคดี” กรณีของการกระทำความผิดต่อมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเพียงเพราะไทยไม่ ได้เป็นภาคีต่อสนธิสัญญากรุงโรม
คำแถลงดัง กล่าวของผู้พิพากษาคาอูลไม่เพียงแต่เป็นการด่วนสรุป ซึ่งสร้างความเสียหายต่อผู้เสียหายและต่อกระบวนการยุติธรรม แต่ยังเป็นคำแถลงที่ไม่ถูกต้องในสาระสำคัญ ทั้งนี้เพราะปรากฏชัดเจนว่าผู้พิพากษาท่านนี้ไม่ทราบถึงพยานหลักฐานชิ้น สำคัญที่ระบุในคำฟ้องของ นปช. ว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทยซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด เป็นบุคคลสัญชาติอังกฤษ ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่เป็นภาคีของสนธิสัญญากรุงโรม ดังนั้น คำฟ้องของ นปช. จึงเข้าเงื่อนไขเรื่องเขตอำนาจศาลในกรณีของสัญชาติตามมาตรา 12.2 (บี) ของสนธิสัญญา นอกจากนี้ ผู้พิพากษาคาอูลยังไม่ได้คำนึงถึงประเด็นที่รัฐบาลไทยในอนาคตอาจยอมรับเขต อำนาจของศาลไอซีซีตามมาตรา 12.3 ของสนธิสัญญาดังกล่าว และยังไม่ได้พิจารณาถึงประเด็นเรื่องสิทธิของคณะมนตรีความมั่นคงในการเข้า พิจารณาคดีนี้ตามมาตรา 13 (บี) ของสนธิสัญญา
ตามมาตรา 36 (3) ของสนธิสัญญากรุงโรม ผู้พิพากษาจะได้รับเลือกจากบรรดาบุคคลที่มีจริยธรรมสูง มีความเป็นกลาง และมีศักดิ์ศรี โดยมีคุณสมบัติตามที่ระบุในกฎหมายของแต่ละประเทศที่เขามีสัญชาติในการที่จะ เป็นผู้พิพากษาในศาลสูงสุดของประเทศนั้นๆ”
นอกจากนี้ มาตรา 40 (2) ของสนธิสัญญากรุงโรมได้ระบุไว้ว่า “ผู้พิพากษาจะต้องไม่มีส่วนในกิจกรรมซึ่งอาจจะเป็นการแทรกแซงกระบวนการ ยุติธรรมหรืออาจกระทบต่อความเชื่อมั่นในความเป็นอิสระ”
กฎข้อ 34 (1) (ดี) ของกฎของไอซีซีว่าด้วยกระบวนวิธีพิจารณาและพยานหลักฐานได้ระบุสาเหตุของการ คัดค้านคุณสมบัติผู้พิพากษาไว้ดังนี้ “ห้ามผู้พิพากษาแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางสื่อมวลชนโดยการเขียนหรือการ แสดงออกในที่สาธารณะในลักษณะที่อาจกระทบต่อความเป็นกลาง”
ประเด็น นี้สอดคล้องกับมาตรา 41 (2) ของสนธิสัญญาซึ่งกำหนดว่า “ผู้พิพากษา” จะต้องไม่มีส่วนร่วมในคดีที่มีข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลาง”
ความเป็น กลางและความเป็นอิสระของตุลาการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามมาตรา 6 ของสนธิสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีผลต่อกระบวนการพิจารณาคดีของศาลไอซีซี ในคดีที่เป็นบรรทัดฐานระหว่าง Hauschildt V.
“การ พิจารณาเรื่องความเป็นกลางตามวัตถุประสงค์ของมาตรา 6 วรรค 1 จะต้องคำนึงถึงการตรวจสอบทางความคิดเห็น (Subjective Test) ซึ่งหมายถึง พื้นฐานความเชื่อของบุคคลที่มีต่อผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่งในคดีใดคดีหนึ่งและ ยังต้องคำนึงถึงการตรวจสอบทางภาวะวิสัยด้วยว่า ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดได้ดำเนินการใดที่จะเป็นหลักประกันที่เพียงพอในเรื่อง ของความเป็นกลาง”
“สิ่งที่ ต้องให้ความสำคัญ คือ ความเชื่อมั่นซึ่งศาลในสังคมประชาธิปไตยจะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่สาธารณ ชน…..ด้วยเหตุนี้ในกรณีที่มีเหตุผลที่ควรเชื่อที่ทำให้มีความวิตกว่าผู้ พิพากษาคนหนึ่งคนใดขาดความเป็นกลาง สิ่งที่ต้องใช้ในการตัดสินคือ เหตุแห่งความวิตกนั้นสามารถมีหลักฐานยืนยันได้หรือไม่”
ด้วยเหตุ นี้ ในรัฐที่เป็นประชาธิปไตย หน้าที่ของศาลไม่เพียงแต่ต้องจัดให้มีความยุติธรรม แต่ต้องดำเนินการให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ได้มีการให้ความยุติธรรมแล้วด้วย เมื่อคำนึงถึงคำให้สัมภาษณ์ของผู้พิพากษาคาอูล ซึ่งเป็นการด่วนสรุปความเห็นทางกฎหมายหรือด่วนให้คำวินิจฉัยก่อนการสืบพยาน ในประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลนี้ จึงมีเหตุอันสมควรที่อาจจะทำให้เกิดข้อสงสัยในเรื่องความเป็นกลางของผู้ พิพากษารายนี้ได้
ดังนั้น ก่อนที่ผู้พิพากษาคาอูลจะมีโอกาสที่จะวินิจฉัยประเด็นเรื่องเขตอำนาจศาลใน คดีนี้ จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการให้เขา “ไม่มีคุณสมบัติ” [ในการเป็นผู้พิพากษาในคดีนี้] ตามเงื่อนไขแห่งสนธิสัญญากรุงโรม
อัยการของ ศาลไอซีซี มีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการร้องขอให้มีการกำหนดว่าเขาไม่มีคุณสมบัติ ที่จะนั่งพิจารณาคดีนี้เมื่อมีพฤติกรรมต่างๆ ที่เข้าเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา เราจึงขอเรียกร้องให้ท่านอัยการใช้อำนาจในการร้องขอต่อศาลอาญาระหว่างประเทศ ในการกำหนดให้ผู้พิพากษาคาอูลไม่มีคุณสมบัติที่จะนั่งพิจารณาพิพากษาในคดี นี้
นอกจากนี้ ตามกฎข้อ 34 (2) ของกฎว่าด้วยการพิจารณาคดีและพยานหลักฐานของไอซีซี เราขอร้องให้มีการส่งสำเนาคำร้องนี้ให้แก่ผู้พิพากษาคาอูลด้วย
ขอแสดงความนับถือ
โรเบิร์ต อาร์. อัมสเตอร์ดัม
สำนักกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เพรอฟ
ศาสตราจารย์ ดัก แคสเซล
จี. เจ. อเลกซานเดอร์ คนูป
สำนักกฎหมายคนูป แอนด์ พาร์ทเนอร์
ทนายความของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ
http://robertamsterdam.com/thai/?p=707
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น