แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความอัลจาซีรา วิธีปฏิวัติให้สำเร็จ 5 บทเรียนสำหรับอียิปต์



Tue, 2011-02-15 16:56

14 ก.พ. 2554 - อัลจาซีราลงบทความเรื่อง "อะไรที่ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ" เขียนโดย Roxane Farmanfarmaian ซึ่งเปรียบเทียบระหว่างการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 กับการประท้วงใหญ่ในอียิปต์ครั้งล่าสุด ว่าแม้จะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีอยู่ 5 บทเรียนที่อียิปต์เรียนรู้จากการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979
Roxane Farmanfarmaian เป็นอาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และต่างประเทศของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ นักวิชาการของศูนย์ตะวันออกกลางมหาวิทยาลัยยูทาห์ เขามีชีวิตอยู่ในอิหร่านในช่วงที่เกิดการปฏิวัติและเกิดวิกฤติตัวประกัน (ช่วงปี 1979- 1981 ที่มีชาวสหรัฐฯ หลายสิบคนถูกจับเป็นตัวประกัน 444 วัน จากความขัดแย้งทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่าน)

เนื้อหาของบทความมีดังนี้
---
ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ เมื่อ 32 ปีที่แล้วชาวอิหร่านได้ประกาศความสำเร็จในการปฏิวัติ พระราชาอิหร่าน (ชาห์) ลงจากอำนาจถูกทำลายย่อยยับ ยุคสมัยใหม่คืบคลานเข้ามา

แม้ว่าสิ่งที่ตามมาจะแตกต่างจากสิ่งที่ชาวอียิปต์คาดหวังไว้มาก แต่อิหร่านก็ถือเป็นการปฏิวัติที่ประสบความสำเร็จอย่างมากสำหรับยุคศตวรรษ ที่ 20 และชาวอียิปต์ก็คงได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องนี้ในการโค่นล้มอำนาจรัฐบาลและ เรียกร้องสิทธิ

ในตอนนี้เป็นฝ่ายทหารอียิปต์ที่เข้ามามีอำนาจ โดยสัญญาว่าจะจัดการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม หมายความว่าผู้ชุมนุมจะเชื่อถือกองทัพแล้วกลับบ้านได้ล่ะหรือ อียิปต์กับอิหร่านต่างกันมาก ทั้งแรงดลใจของพวกเขาและเรื่องสื่อที่ห่างกันหลายปีแสง และด้วยความหวังว่าโครงสร้างของอียิปต์จะมีความเป็นประชาธิปไตยและปลอดภัย สำหรับผู้ที่ต้องการชัยชนะที่มาจากคะแนนเสียงประชาชน

อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวลุ่มน้ำไนล์ที่ประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน การปฏิวัติของอิหร่านได้ให้บทเรียนสำคัญบางอย่างไว้

บทเรียนที่ 1: การปฏิวัติต้องใช้เวลา

จากวันที่คนทั่วไปคิดว่าเกิดการปฏิวัติอิหร่านขึ้นแล้ว โดยเริ่มปะทุจากเหตุการณ์ประชาชนกว่า 400 รายเสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้โรงละครในอบาดาน เมืองน้ำมันของอิหร่าน จนกระทั่งถึงการประกาศชัยชนะในวันที่ 12 ก.พ. 1979 ซึ่งกินเวลาหลายเดือน หลายปี

การประท้วงเกิดขึ้นทั้งในช่วงฤดูหนาวที่มีหิมะ และช่วงฤดูร้อนที่อบอ้าว มีประชาชนถูกยิง เกิดการลุกฮือหลังจากเรื่องราวของพวกเขาที่ควรเป็นข่าวไม่ได้รับการนำเสนอใน สื่อต่างชาติ แต่การประท้วงก็ยังคงดำเนินต่อไปและใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ ผู้คนยังคงสู้ต่อไป และความสูญเสียที่เกิดขึ้นผลักดันให้พวกเขาล้มล้างระบอบทหาร

ในอียิปต์ พวกเรายังมองเห็นความต้องการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่มีจุดมุ่งหมายในการ ประท้วงแน่ชัดแล้ว คือเพื่อล้มล้างระบอบ ไม่เพียงแค่ล้มล้างผู้นำหลายคนในนั้น การลาออกของมูบารัคและการเปลี่ยนขั้วอำนาจไปสู่กองทัพอาจเป็นแค่การเปลี่ยน แปลงเพียงเล็กน้อย การเปลี่ยนระบอบต้องอาศัยกระบวนการยาวนาน ต้องมีวิสัยทัศน์และการจัดการ รวมถึงสิ่งที่ค้นพบในการประท้วงของอิหร่านคือ ความดื้อดึง
บทเรียนที่ 2: ระบอบที่หยั่งรากไม่จากไปอย่างเงียบๆ

3 สัปดาห์หลังจากการเปลี่ยนแปลง ตัวมูบารัคจะหมดอำนาจอย่างแท้จริงหรือไม่ก็ไม่อาจทราบ ที่สำคัญกว่าคือเขายังคงอยู่ในอียิปต์ ประธานาธิบดีที่ลงจากตำแหน่งเช่น เบน อาลี ของตูนีเซียจะยังไม่พ้นจากอำนาจจนกว่าพวกเขาจะถูกเนรเทศ แม้แต่ชาห์ก็ยังคงอยู่ต่อถึงปีหนึ่งแม้จะมีผู้คนยังคงเปล่งคำขวัญร่วมกันว่า "ชาห์จงตายไปเสีย" ในวันสุดท้ายของชาห์ก็เช่นเดียวกับมูบารัคคือมีความพยายามเปลี่ยนผ่านรัฐบาล โดยยังคงอาศัยระบอบเดิมที่มีอยู่ เปลี่ยนจากนายกรัฐมนตรีของเขาเป็นคนหน้าใหม่ที่เขาไว้ใจ
ในความจริงแล้วชาห์ผ่านช่วงนายกรัฐมนตรี 3 คน คนแรกมาจากกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตย จากนั้นจึงเป็นนายพล สุดท้ายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของชนเผ่าใหญ่ของอิหร่านและเป็นหัวหน้าพรรคฝ่าย ค้านพรรคเนชันแนลฟรอนท์

ประชาชนบนท้องถนนไม่ยอมรับนายกฯ คนใดเลย เช่นเดียวกับที่ชาวอียิปต์รู้สึกต่อรองประธานาธิบดี โอมาร์ สุไลมาน ผู้นำจากการคัดเลือกของชาห์มีความยินยอมเพียงเล็กน้อยแต่มาพร้อมกับคำขู่ อย่างเช่น ประชาชนควรจะกลับบ้านได้แล้ว, ทหารอยู่ควบคุมอยู่และกำลังจะเริ่มหมดความอดทน, ประชาธิปไตยแบบตะวันตกไม่เหมาะกับชาวตะวันออกกลาง

สำหรับชาวอิหร่านก็เช่นเดียวกับอียิปต์ เป้าหมายสำคัญคือการกำจัดชนชั้นนำ ระบอบที่ฉ้อฉล รวมถึงใครก็ตามที่สวมหัวด้วยสิ่งเหล่านี้ ทำให้การชุมนุมยังคงดำเนินต่อไปแม้หลังจากชาห์หนีไปแล้ว ยังคงมีมรดกหลงเหลือจนกระทั่งถูกขจัดทิ้งไปหมดในที่สุด

บทเรียนที่ 3 กองทัพไว้ใจอะไรไม่ได้

ต่างจากที่อียิปต์จนถึงตอนนี้ กองทัพอิหร่านในช่วงนั้นถือเป็นกองทัพที่ทรงอำนาจเป็นอันดับที่ 5 ของโลก แล้วก็ไม่ยอมละเว้นการทำร้ายประชาชนชาวอิหร่าน

เหตุการณ์ "สังหารหมู่วันศุกร์" ในเดือนตุลาคม 1978 เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ทหารยิงกระสุนจริงเข้าไปในฝูงชน และแม้ในวันเวลานี้กองทัพอียิปต์จะเลิกการโจมตีอย่างตรงไปตรงมาแบบนั้นแล้ว ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงต่อเนื่องกับประชาชนบนท้องถนน

กองทัพอียิปต์ซึ่งตอนนี้เป็นผู้ควบคุมรัฐบาลอยู่เรียกร้องอย่างหนักแน่น ให้เกิดเสถียรภาพ โดยบอกว่าเสี่ยงต่อการเกิดความวุ่นวายหากการชุมนุมยังคงดำเนินต่อไป แต่แม้จะมีถ้อยแถลงคล้ายๆ กันมาจากกองทัพอิหร่าน การชุมนุมก็ยังคงดำเนินต่อไป แม้จะมีการนองเลือด ฝ่ายผู้ชุมนุมก็ปฏิเสธไม่ยอมอ่อนข้อต่อกองทัพ จนในที่สุดพวกเขาก็ทำให้ทหารอ่อนแรงลง

มีการเสียบดอกไม้ที่ปลายปืน ครอบครัว มิตรสหายและเพื่อนบ้าน ต่างเข้ากอดและพูดคุยกับทหารขณะที่พวกเขาเดินขบวนไปตามท้องถนน เอาป้ายประท้วงไปแขวนไว้ที่รถถังที่จอดอยู่ริมทางเท้า ฉีดสเปรย์เป็นคำขวัญข้างรถถัง บ้างก็วางโปสเตอร์ไว้ข้างๆ

สำหรับชาวอียิปต์แล้ว นี่เป็นบทเรียนที่สำคัญ กองทัพสะสมกำลังอาวุธไว้แล้ว และในวันนี้ก็ให้สัญญาณหลายอย่างปนกันซึ่งเป็นช่วงที่อันตราย มีรายงานว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ในกองทัพเข้าร่วมการชุมนุม การปักหลักชุมนุมอย่างสงบต่อหน้ากำลังทหารน่าจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่ ผู้ชุมนุมมีอยู่ และก็อย่างได้ใช้มันอย่างเปลืองเปล่า

บทเรียนที่ 4: การนัดหยุดงานเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ

ในอียิปต์ สิ่งที่ทำให้รูปเกมเปลี่ยนไปในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาคือการประท้วงหยุดงานใน หลายๆ ที่ตามเมืองต่างๆ โดยคนงานโรงงานที่เรียกร้องค่าแรงที่ดีกว่า

ในอิหร่าน การประท้วงหยุดงานที่เริ่มต้นจากคนงานบ่อน้ำมันต่อมาได้ลามไปทั่วประเทศเป็น สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบอบล่มลง การขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันก๊าซ (ซึ่งบ้านเรือนชาวอิหร่านต้องใช้ในการสร้างความอบอุ่นช่วงฤดูหนาวที่ทารุณ กว่าอียิปต์) ทำให้มีคนต่อคิวเติมน้ำมันในปั๊มยาวเหยียดบางคนต้องรอถึง 48 ชั่วโมง

ผู้ใช้รถรวมถึงผู้ใช้จักรยานยนต์นั่งคอยอย่างอดทนในรถผ่านค่ำคืน แม้รัฐบาลจะบอกว่าชาวอิหร่านไม่ใยดีกับการประท้วงรูปแบบนี้ แต่มีเพียงชนชั้นนำและกองทัพเท่านั้นที่ได้ใช้น้ำมัน พวกเขาขับขี่ยวดยานอย่างโอ่อ่าบนถนนที่แทบโล่ง การประท้วงรูปแบบนี้จึงเป็นการต่อต้านพวกเขา

การนัดหยุดงานแม้จะไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็มีการกระจายตัวไปตามโรงงาน ตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และที่สำคัญคือโรงไฟฟ้า ซึ่งทำการตัดไฟทุกๆ 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งไปตัดไฟตรงกับช่วงที่มีข่าวจากโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นยุทธวิธีมี่ดี ชาวอิหร่านกินอาหารเย็นใต้แสงเทียนและอาศัยฟังข่าวจากวิทยุ ส่วนใหญ่จากบีบีซี

การนัดหยุดงานถือเป็นกระดูกสันหลังของการเคลื่อนไหว ขณะเดียวกันก็เอื้อให้คนหยุดงานมาร่วมชุมนุม มันส่งผลทั้งทางด้านเศรษฐกิจและในเชิงจิตวิทยา และชาวอิหร่านก็เช่นเดียวกับชาวอียิปต์ที่แสดงความยินยอมในการมีชีวิตอย่าง ลำบากเพื่อให้รัฐบาลออกจากตำแหน่งไป

บทเรียนที่ 5: การเบี่ยงเบนสื่อที่ถูกควบคุมโดยรัฐเป็นความสำเร็จสำคัญ

การลุกฮือในอียิปต์ได้สะท้อนถึงยุคสมัยเมื่อการประท้วงเริ่มต้นจากการใช้ บล็อกและทวิตเตอร์ รวมถึงมีแรงสะสมจากรายการโทรทัศน์บนอินทอร์เน็ต เฟซบุ๊ก และโทรศัพท์มือถือ แม้ว่ามูบารัคจะสั่งตัดอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ แต่การสื่อสารด้วยเทคโนโลยีก็ยังคงมีอยู่

เป็นธรรมดาที่อิหร่านในยุคนั้นจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม การเบี่ยงเบนสื่อของรัฐถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเหตุการณ์ หนังสือพิมพ์ Kayhan และ Etela'at ของอิหร่านเป็นเสมือน al-Ahram ของอียิปต์ คือเป็นปากกระบอกเสียงของรัฐบาล ขณะที่ในช่วงแรกๆ Kayhan และ Etela'at แสดงให้เห็นว่าประชาชนบนท้องถนนเผาทำลายรูปของชาห์ซึ่งมีอยู่ไปทุกที่ ติดอยู่ในทุกที่ทำงานและทุกครัวเรือน ก็ถึงจุดที่รัฐทราบดีว่ามีอะไรรั่วจากภายในแล้ว

สิ่งเดียวกันเกิดขึ้นกับ al-Ahram ซึ่งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาก็เสนอข่าวอย่างไม่เอียงข้างมากขึ้น สำหรับชาวอียิปต์แล้วนี่ถือเป็นหลักไมล์สำคัญสำหรับการมีเสรีภาพสื่ออย่าง แท้จริง สำหรับสิทธิหลายอย่างที่พวกเขาเรียกร้อง มีเรื่องเสรีภาพสื่อกับเสรีภาพในการชุมนุมที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างแรกๆ
ปรากฏการณ์ "เดอะ ไนล์ เวฟ" อาจดูเหมือนได้รับชัยชนะ แต่จนถึงตอนนี้มีสิ่งที่ยืนยันถึงการเปลี่ยนแปลงด้านชีวิตความเป็นอยู่ชาว อียิปต์น้อยมาก แม้จะมีความน่ายินดี แต่นายทหารหน้าเก่าๆ ก็ยังคงอยู่ หากการเคลื่อนไหวในครั้งนี้คิดว่าได้รับผลตอบแทนแล้ว เรื่องราวในอดีตของอิหร่านอาจช่วยให้เห็นความเป็นจริงในปัจจุบัน และหากโชคดีก็จะช่วยทำให้อนาคตของอียิปต์สดใสขึ้น แม้ตัวอิหร่านเองก็ยังคงอยู่ใต้เงามืดก็ตาม

แปลและเรียบเรียงจาก
What makes a revolution succeed? , Roxane Farmanfarmaian, Aljazeera
http://english.aljazeera.net/indepth/opinion/2011/02/201121393446561799.html


http://prachatai.com/journal/2011/02/33130

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน