แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

ปิยบุตร แสงกนกกุล : เกี่ยวกับรายงานของอัมสเตอร์ดัม


Mon, 2011-01-31 18:55


ปิยบุตร แสงกนกกุล


"This case represents a historic opportunity for international justice to confront governments who deploy their militaries to use violence against their own citizens."

Robert Amsterdam


จากการอ่านรายงานของโรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ที่ใช้ประกอบการเสนอคำร้องไปยังศาลอาญาระหว่างประเทศในวันนี้


ผมขอสรุปประเด็นสำคัญและความเห็นของผมในเบื้องต้น ดังนี้


ในความเห็นของผม รายงานของอัมสเตอร์ดัมทั้งหมด อาจแบ่งได้ ๓ ส่วนใหญ่ๆ คือ


ส่วนแรก ความเป็นมาของการเกิดขึ้นของเสื้อแดง

ตั้งแต่รัฐประหาร ๑๙ กันยา "ตลก"ภิวัตน์ รัฐธรรมนูญ ๕๐ เป็นคุณต่อพวกเอสตาบลิชเมนท์ การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน การคุกคามเสรีภาพ และการสลายชุมนุม


ส่วนที่สอง การสังหารหมู่เมษายน พฤษภาคม ๕๓ เข้าองค์ประกอบความผิดอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ส่วนนี้เป็นเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรับให้เข้ากับฐานความผิดอาชญากรรมต่อ มนุษยชาติ ส่วนนี้ เขารวบรวมพยานหลักฐานไว้ได้ดีมาก มีพยานผู้เชี่ยวชาญชื่อ Joe Ray Witty เป็นอดีตทหารอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาวุธ และสไนเปอร์ มีพยานผู้เห็นเหตุการณ์อีกหลายคน (ดูพยานทั้งหมดที่ภาคผนวก)


ส่วนที่สาม เรื่องนี้อยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศได้อย่างไร

ส่วนนี้เป็นเรื่องเขตอำนาจศาล อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยได้ลงนามใน Rome Statute แต่ไทยไม่ได้ให้สัตยาบัน (ราทิฟาย) Rome Statute นี้

ดังนั้น โดยปกติแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศย่อมไม่สามารถรับคำร้องกรณีประเทศไทยได้

อย่างไรก็ตาม อัมสเตอร์ดัมเสนอว่ามี ๒ ช่องทาง ได้แก่

ช่องทางแรก


ไอซีซีต้องเปิดกระบวนการสืบสวนสอบสวนไต่สวนในกรณีนี้ในเบื้องต้น เพื่อรอให้วันหนึ่งคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติให้ไอซีซีมีเขต อำนาจในกรณีนี้ตามมาตรา ๑๓ (บี) (เหมือนซูดาน)


ช่องทางที่สอง


ในกรณีที่ไอซีซีไม่มีเขตอำนาจอันเนื่องมาจากรัฐไม่ให้สัตยาบัน ไอซีซีอาจมีเขตอำนาจได้ใน ๒ กรณี

กรณีแรก มาตรา ๑๒ (๒) (เอ) ความผิดนั้นเกิดในดินแดนของรัฐภาคี ภาษากฎหมายเราเรียกว่า เขตอำนาจทางพื้นที่ (ratione loci)


กรณีที่สอง มาตรา ๑๒ (๒) (บี) ถ้าบุคคลผู้ถูกกล่าวหานั้นเป็นพลเมืองของรัฐภาคี ภาษากฎหมายเราเรียกว่า เขตอำนาจทางบุคคล (ratione personae)

ไอซีซีในคดีเคนยาเคยวางหลักเรื่องนี้ไว้แล้ว


กรณีไทย สามารถฟ้องอภิสิทธิ์ได้ เพราะอภิสิทธิ์เป็นพลเมืองสหราชอาณาจักรโดยการเกิด ซึ่งสหราชอาณาจักรเป็นภาคีและราทิฟายอนุสัญญากรุงโรมแล้ว

(ดูรายงานหน้า ๑๑๓)


นอกจากนี้ในรายงานยังเน้นย้ำให้ไอซีซีได้ตระหนักถึงสถานการณ์เฉพาะของไทย ได้แก่ ประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามักมีการนิรโทษกรรมให้คนสังหารหมู่ประชาชนเสมอ ดังเห็นได้จาก ๖ ต.ค. ๑๙ และ พ.ค. ๓๕, ความไม่เป็นกลางและอิสระของศาลไทย, กระบวนการสอบสวนของดีเอสไอ (รายงานหน้า ๑๑๙ เป็นต้นไป)

ในส่วนนี้อาจารย์ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิชเคยเขียนในประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๗ ไว้ ดังนี้


"... อนึ่ง มีข้อสังเกตว่า ศาลอาญาระหว่างประเทศอาจมีเขตอำนาจเหนือคดีที่รัฐนั้นมิได้เป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศก็ได้ หาก ผู้ถูกกล่าวหาว่าได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงแม้จะมิได้เป็นคนที่มีสัญชาติ ของรัฐที่เป็นภาคีของศาลอาญาระหว่างประเทศก็ตาม แต่อาชญากรรมร้ายแรงได้กระทำขึ้นบนดินแดนของรัฐที่เป็นภาคีของศาลอาญา ระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีเขตอำนาจได้ หรือในกรณีกลับกัน อาชญากรรมได้กระทำโดยคนที่มีสัญชาติของรัฐที่เป็นภาคีของศาล แม้ว่าอาชญากรรมนั้นจะกระทำขึ้นบนดินแดนหรือในประเทศที่มิได้เป็นภาคีของศาล ก็ตาม ศาลอาญาระหว่างประเทศก็มีเขตอำนาจ หรือกรณีสุดท้าย ทั้ง ผู้กระทำความผิดก็มิได้มีสัญชาติของรัฐที่เป็นภาคีศาลอาญาหรืออาชญากรรมร้าย แรงได้กระทำขึ้นในดินแดนที่มิได้เป็นรัฐภาคีศาลอาญา ศาลอาญาก็สามารถมีเขตอำนาจได้หากคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเสนอ เรื่องให้อัยการสอบสวน"

(เน้นข้อความโดยผมเอง)
...

ข้อสังเกตของผม


การที่ไอซีซีจะรับฟ้องหรือไม่นั้น ก็อาจสำคัญเหมือนกัน และแม้นว่าหากไอซีซีไม่เอาด้วย แต่ประเด็นทางการเมืองที่สำคัญกว่า มี ๓ ข้อ


ข้อแรก การกดดันไปที่ไอซีซีว่าจะตัดสินใจทำอย่างไร อย่างน้อยจะเข้ามาไต่สวนเบื้องต้นรอไว้ก่อนมั้ย เพื่อว่าวันนึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะอนุญาตให้ไอซีซีมีเขต อำนาจ (เหมือนซูดาน) แน่นอนไทยเส้นใหญ่มาก คณะมนตรีฯคงไม่ยอม แต่อย่างน้อย การกดดันขอให้ไอซีซีเข้ามาตรวจสอบก่อนก็น่าจะเป็นการดีมาก


ข้อสอง รายงานชิ้นนี้ เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานไว้เสร็จหมดแล้ว หากไอซีซีน็อคด้วยการไม่รับเพราะอ้างว่าไม่มีเขตอำนาจเพราะไทยไม่ราทิฟาย ก็เป็นการผลักลูกบอลกลับไปที่รัฐบาลไทยให้ราทิฟายโดยเร็ว


ข้อสาม ประเด็นสังหารหมู่ถูกโหมกระพือไปทั่วโลก นับเป็นความชาญฉลาดของบ๊อบแท้ๆที่เลือกญี่ปุ่นเป็นที่แถลงข่าว ช่วยไม่ได้ไทยดันไม่ฉลาดไปห้ามเขาเข้าเมืองไทยเอง

...

สิ่งที่น่าจับตาต่อไป


๑. รัฐบาลไทยและอภิสิทธิ์จะว่าอย่างไร กรณีเขตอำนาจศาลไอซีซีแบบ ratione personae อภิสิทธิ์อาจปฏิเสธว่าตนไม่ได้ถือสัญชาติอังกฤษแล้ว? เพราะผมค่อนข้างมั่นใจว่า กรณีนี้อัมเสตอร์ดัมเขาเก็บความลับได้ดีมาก เพิ่งมาเปิดเอาวันนี้ รัฐบาลไทยคงมึนไปหลายวัน


๒. เอสตาบลิชเม้นท์ไทย จะทำอย่างไร? เงียบ? ล็อบบี้สหรัฐอเมริกา? ล็อบบี้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ? หรือรัฐประหาร?

ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่


http://www.scribd.com/doc/47833346/Red-Shirts-Application-to-the-International-Criminal-Court-to-Investigate-Crimes-against-Humanity-in-Thailand


ดาวน์โหลดเอ็กเซคิวทีฟ ซัมมารี ได้ที่นี่


http://www.thaiaccountability.org/wp-content/uploads/2010/12/Executive-Summary-Final.pdf


เว็บไซต์ที่ทีมงานของอัมสเตอร์ดัมจัดทำขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ


http://www.thaiaccountability.org/


ดาวน์โหลดคำร้องฉบับภาษาไทย ได้ที่นี่


http://www.scribd.com /doc/47847337/คำร้องเพื่อขอให้มีการสอบสวน-สถานการณ์เกี่ยวกับการกระทำอัน เป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ-ในราชอาณาจักรไทย

หรืออ่านได้ที่

http://robertamsterdam.com/thai/

หมายเหตุ: ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขียนบันทึกนี้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวของเขา ประชาไทเห็นว่าน่าสนใจจึงขออนุญาตนำมาเผยแพร่ซ้ำ

http://prachatai.com/journal/2011/01/32880

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน