จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้ วันสุข
โดย ชายชาติ ชื่นประชา
ศาลอาญาระหว่างประเทศกับชะตากรรมรัฐไทย
การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ผ่านมาถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าติดตามวิเคราะห์ เนื่องจากปริมาณของผู้ชุมนุมมีจำนวนมากขึ้น และยุทธวิธีก็เคร่งครัดกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการการรณรงค์บน ประชาธิปไตย ระมัดระวังไม่ให้มีส่วนหนึ่งส่วนใดคิดใช้ความรุนแรง ถือเป็นการปรับแนวคิดและวิธีการทำงานที่สำคัญของคนเสื้อแดงคู่ขนานกันไป
ขณะเดียวกันมีข่าวแกนนำคนเสื้อแดงไปพบกับนายฮันส์-พีเทอร์ โคล รองประธานศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court) อันที่จริงสาระคงไม่ได้อยู่ที่การพบกับตัวบุคคล แต่อยู่ที่บทบาทหน้าที่ของศาลอาญาระหว่างประเทศกับเหตุการณ์ที่เกิดในเมือง ไทยมากกว่า
หัว ข้อที่รองประธานศาลฯ เดินทางมาเมืองไทยเนื่องจากมีการจัดการสัมมนาของ ศูนย์กฎหมายเยอรมนี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง “สิทธิมนุษยชนและศาลอาญาระหว่างประเทศ” เพื่อ เป็นการพูดคุยกันถึงอำนาจหน้าที่ บทบาท รวมไปถึงวิธีการที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีส่วนนำในฐานะตุลาการ โดยต้องการใช้เขตอำนาจศาลของตนในระดับนานาชาติเพื่อช่วยเหลือผลักดันมิติของ สิทธิมนุษยชนให้เกิดขึ้นในโลก
อัน ที่จริงแล้วขอบเขตอำนาจของศาลดังกล่าวจะมุ่งกระทำหรือจำกัดอยู่เพียง การจัดการเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด ซึ่งอยู่ในความห่วงใยของประชาคมระหว่างประเทศโดยรวม
ศาลนี้จึงกำหนดขอบเขตอำนาจตามธรรมนูญไว้ที่จะดำเนินการกับอาชญากรรมประมาณ 4 ประเภทคือ
อาชญากรรมอันเป็นการทำลายล้างเผ่าพันธุ์
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม
และประเด็นสุดท้ายคืออาชญากรรมอันเป็นการรุกราน
เรื่อง ของการทำลายล้างเผ่าพันธุ์เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในระยะหลังๆ ซึ่งคำนิยามคงตรงไปตรงมาตามชื่อของเรื่องคือ การกระทำใดๆด้วยเจตนาที่จะทำร้ายกลุ่มชนชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติหรือกลุ่มทางศาสนา ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเพียงเพราะเป็นกลุ่มเช่นว่านั้นดังต่อไปนี้คือ
การ ฆ่าสมาชิกของกลุ่ม การทำอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจอย่างสาหัส การจงใจก่อให้เกิดสภาวะที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการดำรงชีวิตที่จะนำไปสู่ การทำลายทางกายภาพของกลุ่มและอื่นๆ ในเนื้อหาเรื่องการทำลายล้างเผ่าพันธุ์นั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอาจจะ ยังอยู่ไกลเรื่องดังกล่าวแต่ ผู้เขียนกำลังนึกถึงเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งหลายเรื่องถ้าไม่ระมัดระวังรัฐบาลอาจถูกกล่าวอ้างว่ามีการกระทำดังกล่าว ได้ ด้วยเหตุนี้กระมังรัฐบาลจึงยังมิได้ให้สัตยาบันต่อศาลดังกล่าว
ส่วน ที่มีความใกล้เคียงกับการปฏิบัติของรัฐบาลในการปราบปรามประชาชนใน ช่วงที่ผ่านมาอาจจะได้แก่ปัญหาเรื่องการทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติก็ได้ เพราะตามนิยามในข้อ 7 ของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศบัญญัติไว้ว่า
“อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” หมายถึงการกระทำใดๆที่ได้กระทำในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีอย่างกว้าง ขวางหรืออย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายต่อประชากรพลเรือนใดๆ โดยรู้ถึงการโจมตีนั้นดังต่อไปนี้
1. การฆ่าคนตายโดยเจตนา
2. การทำลายล้าง
3. การจำคุกหรือลิดรอนเสรีภาพทางกายที่ร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งละเมิดต่อกฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของ กฎหมายระหว่างประเทศ และ
4. การรังควาน หรือกลุ่มหรือหมู่คณะใดโดยเฉพาะ อันเนื่องมาจากสาเหตุทางการเมือง เชื้อชาติ ชนชาติ ชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ศาสนา เพศ และอื่นๆ ซึ่งยังไม่ค่อยใกล้เคียงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย
ผู้ เขียนเห็นว่าเนื้อหาของธรรมนูญกรุงโรมหรือขอบเขตอำนาจของศาล รวมถึงคำนิยามที่ได้แสดงให้ผู้อ่านทราบไปในขั้นต้นนั้นน่าจะให้ข้อคิดอะไร บ้างกับเรื่องการปฏิบัติหรือตัดสินใจใช้กำลังทหารของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อ จัดการกับกลุ่มคนผู้ชุมนุมอย่างไม่เลือกหน้า
ที่ จริงแล้วรัฐบาลควรจะแยกแยะให้ดีว่าการเดินขบวนหรือชุมนุมอย่างสงบสันติ ของประชาชนที่มาเรียกร้องประเด็นต่างๆนั้นเป็นประชาชนคนรากหญ้าหรือชนชั้น กลางตัวจริง ซึ่งปัญหาดังกล่าวควรจะต้องแก้ไขด้วยวิถีทางหรือมิติทางการเมือง
การที่รัฐกล่าวอ้างว่าฝ่ายผู้ชุมนุมมีกลุ่มคนเสื้อดำติดอาวุธปะปนอยู่ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ากลุ่มคนเสื้อดำเหล่านั้นเป็นใคร เป็นพวกเดียวกับประชาชนที่มาเดินขบวนจริงหรือไม่ และมีการกระทำในลักษณะการก่อการร้ายตามข้ออ้างที่รัฐอ้างขึ้นมาหรือเปล่า
การ เหมารวมที่รัฐบาลกระทำต่อกลุ่มคนเสื้อแดงในวันนี้ ประชาชนที่บริสุทธิ์เพียงร่วมเดินขบวน แต่รัฐก็ยังคุมขังอยู่ และแจ้งข้อหาร้ายแรงถึงขั้นเป็นผู้ก่อการร้ายนั้น
ต้อง ถามบรรดาองค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ว่าเข้าข่ายการฆ่าคนโดยเจตนา เป็นการโจมตีที่มีเป้าหมายต่อพลเรือน รวมถึงเป็นการรังควานและ
ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานโดยเจตนาหรือไม่ อย่างไร
ทำ ไปทำมาเมื่ออ่านธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศให้ดีจะพบ ว่าข้อที่ 28 ระบุถึงความรับผิดชอบของผู้บัญชาการและผู้บังคับบัญชาอื่นๆที่ต้องรับผิดทาง อาญาตามอำนาจศาล เช่น
ใน กรณีที่ผู้บัญชาการทหาร หรือ บุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่โดยพฤตินัยเสมือนผู้บัญชาการทหารต้องรับผิดชอบทาง อาญาต่ออาชญากรรม อันเป็นผลจากการที่เขาไม่ได้ควบคุมกองกำลังอย่างเหมาะสมเมื่อ
1. ผบ. คนนั้นรู้หรือควรจะรู้ถึงพฤติการณ์ในขณะนั้นว่ากองกำลังได้กำลังประกอบ อาชญากรรมหรือกำลังจะประกอบอาชญากรรมเช่นที่ว่าแล้ว และ
2. ผบ. คนนั้นมิได้ใช้มาตรการที่จำเป็นและสมเหตุสมผลเพื่อปกป้องหรือปราบปรามการ กระทำการของกองกำลัง หรือเสนอเรื่องต่อผู้มีอำนาจเพื่อสืบสวนหรือฟ้องร้องคดี
ที่ กล่าวมาทั้งหมดทำให้คิดไปได้ว่ารัฐบาลกำลังมั่ว เพราะเข้าใจอย่างดีว่าโลกยุคใหม่มีองค์กรนานาชาติเช่นศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งจะสามารถเอาผิดต่อการปราบปรามที่เกิดขึ้นได้ ทาง ฝ่ายพวกเขาจึงพยายามปั้นเรื่องว่าการกระทำของคนเสื้อแดงที่ผ่านมาเข้า ข่ายเป็นผู้ก่อการร้าย ทั้งๆที่เรื่องราวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้รัฐบาลตีความเป็นเพียง “ผู้ก่อความไม่สงบ” เท่านั้น
เครดิต
http://www.dailyworldtoday.com/newsblank...ws_id=9548
เอาหล่ะ รอดู...
ความผิดตัวนี้ครอบคลุมผู้สมรู้ร่วมคิดด้วย
ใครทำอะไรไว้..เตรียมรับกรรม
http://www.internetfreedom.us/thread-11505.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น