คู่มือต้านรัฐประหาร
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
30 มกราคม 2554
เพื่อ เป็นการเตรียมตัวต้านรัฐประหาร พวกเราชาวไทยอีนิวส์ ขอแนะนำหนังสือ คู่มือต้านรัฐประหาร (Against the Coup: Fundamentals of Effective Defense) ที่เขียนโดย ยีน ชาร์ป นักเขียน และนักยุทธวิธีฝ่ายสันติวิธี ผู้ก่อตั้งสถาบัน อัลเบิร์ต ไอสไตน์ เล่มนี้ แปลโดยนุชจรีย์ ชลคุป จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง เมื่อปี 2536 เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่คนไทยจำเป็นต้องอ่านในยามนี้
ดาวโลดหนังสือ คู่มือต้านรัฐประหาร
ที่มา เว็บไซต์ The Albert Einstein Institution
มติชนเขียนไว้ว่า ต่อไปนี้คือ แนวทางเพื่อการต่อต้านรัฐประหาร 19 ประการ
1.ไม่ ยอมรับการรัฐประหารนั้น และประณามผู้นำกลุ่มรัฐประหารว่าไม่มีความถูกต้องชอบธรรม และสมควรได้รับการปฏิเสธหากก้าวขึ้นมาเป็นรัฐบาล การก่นประณามผู้ก่อการนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้นำที่มีคุณธรรม, ผู้นำทางการเมืองและทางศาสนา,เจ้าหน้าที่รัฐและสมาชิกของสถาบันทางสังคม ต่างๆทั้งหมด (อันได้แก่ สถาบันการศึกษา, สื่อมวลชน และการสื่อสาร) รวมไปถึงหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ทั้งในระดับชาติ ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือจังหวัด ตลอดจนประชาชนในภาคส่วนต่างๆ
2. ปฏิเสธที่จะกระทำการใดๆ ที่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้แก่กลุ่มผู้ก่อการรัฐประหาร ทั้งนี้ รวมไปถึงการไม่พยายามให้ผู้นำทางการเมืองที่ถูกกฎหมายไปเจรจาประนีประนอมกับ กลุ่มคนเหล่านี้
3 .ให้ถือว่าคำสั่งและประกาศต่างๆของคณะรัฐประหาร ที่ขัดแย้งกับกฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันนั้น เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และไม่ต้องให้ความเคารพเชื่อฟัง
4 .พยายามให้การต่อต้านทั้งหมดเป็นไปอย่างสันติวิธี เพื่อทำการต่อต้านรัฐประหารอย่างมีประสิทธิผลสูงที่สุด อย่ากระตุ้นให้เกิดการกระทำอันรุนแรง หรือขาดความรอบคอบสุขุม5 .ปฏิเสธและไม่เชื่อฟังกลุ่มรัฐประหารไม่ว่าจะกระทำการใดๆ ที่เพื่อสถาปนาตนเองและเข้าควบคุมเครื่องมือของรัฐและสังคม
6 .ไม่ให้ความร่วมมือแก่ผู้ก่อการรัฐประหารทุกๆวิถีทาง ผู้จะดำเนินการเช่นนี้หมายรวมไปถึงประชาชนทั่วไป,ผู้เชี่ยวชาญและข้าราชการ ทุกคน, ผู้นำทางการเมืองทุกคนของรัฐและพรรคการเมืองทุกพรรครวมทั้งพรรครัฐบาลชุด ก่อน,หน่วยงานกลางและหน่วยงานทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวง,ทบวง,กรม,กอง ระดับภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, กลุ่มสาขาอาชีพและผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ, พนักงานทุกคนขององค์กรประเภทสื่อและองค์กรด้านการสื่อสาร,พนักงานทุกคนของ ระบบขนส่ง, ตำรวจ,ทหารและกรมกองต่างๆในกองทัพ,ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ตุลาการทุกคน, พนักงานในสถาบันการเงินทุกแห่งทั้งของรัฐและเอกชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่และสมาชิกของสถาบันอื่นๆทั้งหมดของสังคม
7.ไม่ ยอมรับคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของคณะรัฐประหาร แต่ยังคงรักษาหน้าที่ตามปกติของสังคม หากว่าภาระหน้าที่นั้นสอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนเกิด รัฐประหาร รวมไปถึงกฎหมาย และนโยบายของรัฐและสถาบันทางสังคมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนภาระหน้าที่ของประชาชนดังกล่าวควรจะดำเนินต่อไป
จนกระทั่งและ ตราบเท่าที่ยังไม่ถูกถอดถอนอย่างชัดแจ้งออกจากสถานที่ทำงาน, สำนักงาน และศูนย์กิจกรรมต่างๆ แต่ถึงกระนั้นก็ควรพยายามดำเนินหน้าที่ในตำแหน่งอื่นๆต่อไปให้นานที่สุดเท่า ที่จะทำได้ ทั้งนี้ ผู้จะทำตามข้อแนะนำนี้หมายรวมเฉพาะเจ้าหน้าที่ และพนักงานของกระทรวง กรม กองและหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล
8 .รักษาหน้าที่ของหน่วยงานด้านการปกครองและหน่วยงานทางสังคมที่ถูกต้องตาม กฎหมาย บางครั้งอาจต้องสร้างองค์กรสำรองที่จำเป็นขึ้นมา เพื่อสืบต่อหน้าที่ขององค์กรที่ถูกทำลาย หรือถูกคณะรัฐประหารสั่งปิดไป
9 .ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลที่สำคัญแก่ผู้ก่อรัฐประหาร และกลุ่มผู้สนับสนุนรัฐประหาร ถ้าจำเป็นก็ให้ถอดป้ายบอกทาง ชื่อถนน สัญญาณการจราจร เลขที่บ้าน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อระงับกิจกรรมของคณะรัฐประหารและปกป้องประชาชนไว้ไม่ให้ถูก จับกุม
10. ไม่ให้วัสดุและอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่คณะผู้ก่อการ ถ้าเป็นไปได้อาจต้องเก็บซ่อนสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย11. “มีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์” ด้วยมิตรภาพกับหน่วยงานต่างๆ และกองกำลังทหารที่รับใช้คณะรัฐประหาร พร้อมๆไปกับการต่อต้านอย่างแข็งขืน อธิบายเหตุผลต่างๆที่จำเป็นต้องต่อต้านรัฐประหารให้พวกเขาทราบ ยืนยันว่าจะไม่ใช้ความรุนแรงใดๆ ต่อพวกเขา พยายามบั่นทอนความเชื่อมั่น และโน้มน้าวให้พวกเขาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต่อต้าน โดยอาจจะเป็นไปในรูปแบบของการจงใจใช้วิธีที่ไม่บังเกิดผลในการปราบปราม ประชาชน การส่งผ่านข้อมูลให้แก่ผู้ต่อต้านและอาจถึงขั้นรุนแรง ด้วยการที่เหล่าทหารละทิ้งจากคณะรัฐประหาร และหันมาร่วมต่อสู้เรียกร้องสันติภาพอย่างสันติวิธีกับกลุ่มผู้ต่อต้าน โดยพยายามชักชวนให้เหล่าทหารและหน่วยงานต่างๆที่จำเป็น หันมายึดมั่นในบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายก่อนหน้านี้
12.ปฏิเสธที่จะช่วยคณะรัฐประหารทำการเผยแพร่คำโฆษณาชวนเชื่อ
13 .บันทึกกิจกรรมและการปราบปรามประชาชนของคณะรัฐประหารทั้งในรูปเอกสาร เสียง และแผ่นฟิล์ม พยามยามรักษาหลักฐานเหล่านี้ไว้และแจกจ่ายข้อมูลออกไปอย่างกว้างขวาง ทั้งส่งให้แก่ผู้ต่อต้าน ส่งให้นานาประเทศ สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ และส่งถึงผู้ที่สนับสนุนการรัฐประหารนั้นด้วย
14 .จัดสัมมนาวิชาการหรือจัดอภิปรายในสถาบันการศึกษา โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยเริ่มจากเล็กๆ และขยายไปใหญ่สู่สาธารณะชนในสังคม
15.แจกจ่ายเผยแพร่ ใบปลิว ข้อความที่คัดค้านการรัฐประหาร และความไม่ชอบธรรมของคณะเผด็จการรัฐประหารรวมถึงส่งแฟกซ์ อีเมล์ ข้อความ สติ๊กเกอร์ หรือติดธง หรือสัญลักษณ์ต้านรัฐประหารไว้กับเสารับสัญญาณวิทยุของรถหรือตามสี่แยกไฟแดง ต่างๆ
16 .พยายาม อย่ารวมศูนย์การจัด การอภิปรายต้านรัฐประหารไว้ในที่เดียวกัน หรือที่ใดที่หนึ่ง การจัดอภิปรายต้านรัฐประหารควรเป็นไปอย่างดาวกระจาย กว้างขวางและเกิดขึ้นได้ทุกที่ เพื่อยากต่อการปรามปราบของคณะผู้ก่อการ
17 .ใส่เสื้อหรือสะพายกระเป๋า หรือติดเข็มกลัดที่มีข้อความแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐประหาร ไปในทุกที่ ที่เดินทาง
18 .หากมีเพื่อน หรือญาติพี่น้องอยู่นอกประเทศให้ช่วยกันกระจายข่าวออกไป และให้ช่วยกันต้านรัฐประหารในที่นั้นๆ
19 .อย่าทำลาย สถานที่ราชการ และช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนๆที่ต่อต้านรัฐประหารให้สำเร็จ
( ข้อมูลบางส่วนเรียบเรียงจากหนังสือ “ต้านรัฐประหาร:ยีน ชาร์ป เขียน ,นุชจรีย์ ชลคุป แปล และบทความของ ภูมิวัฒน์ นุกิจ ).
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น