แดงเชียงใหม่

กราบสวัสดี พี่น้องทุกๆท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยือน Blog นปช.แดงเชียงใหม่ ขอเรียนชี้แจงสักนิดว่า เรา ”แดงเจียงใหม่” เป็นกลุ่มคนชาวเจียงใหม่ที่เคารพรัก กติกาประชาธิปไตย ต่อสู้และต่อต้านเผด็จการทุกรูปแบบ อยากเห็นประเทศชาติภายภาคหน้า มีความเจริญ ประชาชน รุ่นลูกหลานของเราอยู่อาศัยอย่างร่มเย็นเป็นสุขในประเทศของพวกเราเอง ไม่มีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดมาสูบเลือดเนื้อ แอบอ้างบุญคุณเฉกเช่นในยุคนี้ที่พวกเราเห็น การที่จะได้รับในสิ่งที่มุ่งหวังก็ต้องมีการต่อสู้แสดงกำลังให้สังคมได้รับรู้ และเพื่อที่จะให้กลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในปัจจุบันได้เข้าใจในสังคมที่ก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงไป ไม่อาจฝืนต่อกระแสการพัฒนาของโลก การต่อสู้ร่วมกับผองชนทั่วประเทศในครั้งนี้ เรา " แดงเจียงใหม่ " ได้ร่วมต่อสู้ทุกรูปแบบ และ ในรูปแบบที่ท่านได้เข้ามาร่วมอยู่นี้ คือการเผยแพร่ข่าวสารต่อสังคม

เรา " แดงเจียงใหม่ " ขอเชิญชวนร่วมกันสร้างขวัญ และกำลังใจให้เพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมกัน


"อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง
เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล
ไม่อาจต้านมวลมหาประชาชน"

.

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

robertamsterdam : ความสองมาตราฐานของกรรมการสิทธิฯ

วันนี้วอยซ์ทีวีรายงานว่า คณะกรรมการสิทธิ์มนุษยชนแห่งชาติได้ออกแถลงการณ์เร่งให้รัฐบาลช่วยคนไทย 7 คนที่ถูกจับกุมในกัมพูชา มีเนื้อหาดังนี้

ตามที่ปรากฏข่าวกรณีคนไทย 7 คนถูกเจ้าหน้าที่ของกัมพูชาจับกุมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ใกล้หลักเขตแดนที่ 46 เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2553 ซึ่งเป็นกรณีที่สาธารณชนให้ความสนใจอย่างมาก และต้องการให้มีการตรวจสอบหรือแสวงหาข้อเท็จจริงจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ความจริงปรากฏ ประกอบกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีดังกล่าว โดยขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อพิทักษ์สิทธิของคนไทยทั้ง 7 คน และดำเนินการให้รัฐบาลหรือกระทรวงการต่างประเทศพิทักษ์สิทธิคนไทยทั้ง 7 คน นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมการเคารพและการ ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติหน้าที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบ ด้วยนั้น เห็นว่ากรณีที่เกิดขึ้นมีความอ่อนไหวอย่างยิ่งเพราะส่งผลกระทบต่ออธิปไตยและ เขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลและประชาชนทั้งของประเทศไทยและ กัมพูชาโดยทางตรงและทางอ้อม จึงขอแสดงความห่วงใยต่อกรณีดังกล่าว ดังนี้

1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการอย่างรอบคอบ และปกป้องสิทธิและเสรีภาพของคนไทยทั้ง 7 คนตามหลักสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่าง เคร่งครัด เนื่องจากความไม่ชัดเจนของแนวเขตแดนไทย-กัมพูชาย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิและ เสรีภาพในการเดินทางโดยเสรีของบุคคล ในการประกอบอาชีพ และสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนไทย-กัมพูชาที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว

2. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอแสดงความห่วงใยต่อคนไทยทั้ง 7 คนที่ถูก จับกุมบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา และขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการอย่างต่อเนื่องและจริงจังในการ ดูแลสวัสดิภาพของคนไทยที่ถูกจับกุม โดยต้องดำเนินการตามข้อ 1 ให้เกิดความชัดเจนในเรื่องแนวเขตแดนไทย-กัมพูชา และระหว่างรอการพิสูจน์และรับรองแนวเขตแดนโดยทั้งสองฝ่าย ขอให้รีบส่งคนไทยทั้ง 7 คนกลับประเทศไทยโดยเร็ว ในระหว่างการดำเนินการข้างต้น ขอให้รัฐบาลดูแลให้คนไทยทั้ง 7 คนได้รับการประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีตาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง อาทิ สิทธิในการได้รับการประกันตัวในระหว่างการพิจารณาคดี สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผยและเป็นธรรม สิทธิที่จะได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการในการต่อสู้คดีและติดต่อ ทนายความที่ตนเลือกได้ สิทธิในการได้รับการพิจารณาคดีโดยไม่ชักช้าเกินความจำเป็น ตลอดจนการอำนวยความช่วยเหลือ เช่น ล่าม เป็นต้น

3. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขอให้รัฐบาล โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งการดำเนินการเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศอย่าง เคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้ปัญหาขยายวงกว้าง อันจะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาระหว่างกัน และส่งผลกระทบต่อสิทธิในการดำรงชีวิตอย่างปกติสุขและความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนไทยและกัมพูชา

4. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติย้ำถึงเจตนารมณ์ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติ ที่มุ่งประสงค์ให้รัฐบาลประเทศต่างๆ พัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และร่วมมือกันในการส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชน อันเป็นรากฐานของเสรีภาพ ความเป็นธรรม และสันติภาพ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ความสำคัญในกรณีดังกล่าว และจะดำเนินการ ติดตาม ตรวจสอบ ข้อเท็จจริงและความคืบหน้าในการดำเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งรายงานให้สาธารณชนทราบเป็นระยะๆ ต่อไป

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
12 มกราคม 2554 ”

ในประเทศไทย แม้แต่องค์กรทางสิทธิ์มนุษยชนยังมีสองมาตราฐานเลือกปฏิบัติปกป้องสิทธิของ กลุ่มคนที่เป็นพวกพ้องของตนเท่านั้น เพราะเมื่อครั้งที่รัฐบาลทหารใช้อาวุธสงครามครบมือและมือปืนซุ่มยิงปราบปราม ประชาชนผู้เรียกร้องประชาธิปไตย จนมีประชาชนเสียชีวิตกว่า 80ราย บาดเจ็บอีกกว่าสองพันคน และยังไม่นับรวมผู้ที่หายสาปสูญ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกลับเงียบเป็นเป่าสาก

http://robertamsterdam.com/thai/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ให้ข้อมูลร่วมกัน